ประเทศนี้ไม่ได้มีแค่ภาษาไทย

ประเทศนี้ไม่ได้มีแค่ภาษาไทย
“กูย-กวย” “แสก” “มอแกน” “ม้ง” ทั้งหมดนี้เป็นภาษาในประเทศไทยนี่แหละ ที่จริงในไทยมีภาษาเกือบร้อยภาษา แต่ปัญหาก็คือภาษาพวกนี้ หลายภาษากำลังจะสาบสูญไป เราจะแก้ปัญหานี้ยังไง? ...เดี๋ยวพูดให้ฟัง
Facebook:
/ pudproduction

Пікірлер: 668

  • @user-tj5dl4xg3n
    @user-tj5dl4xg3n2 жыл бұрын

    พูดถึงภาษา มีมุมมองหนึ่งที่เรามองมานานแล้วคือ ภาษาอีสานแทบจะครอบคลุมไปทั่วแล้ว คือคุยกับใครเป็นภาษาไทยเขาก็ตอบอีสานมา ก็เข้าใจแหละว่า แถวอีสานมันเหลื่อมล้ำด้านเศรษกิจคนจนอยู่ไม่ได้ต้องออกมาหางานทำในเมือง จึงกลายเป็นว่าภาษาอีสานแทบจะอยู่ทุกที่แล้ว

  • @badguy1612

    @badguy1612

    2 жыл бұрын

    ผมเป็นคนอีสานพูดอีสานไม่เป็น

  • @wayuch5367

    @wayuch5367

    2 жыл бұрын

    เจ้าเชื่อเรื่องพยานาค บ่

  • @yellowduck8027

    @yellowduck8027

    2 жыл бұрын

    มีอยู่ทั่วโลกค่ะ😅เหมือนอาหารไทย😅

  • @user-tj5dl4xg3n

    @user-tj5dl4xg3n

    2 жыл бұрын

    @@yellowduck8027 อันนี้ใช่ค่ะ555555 เห็นคลิปไวรัลคนไทยต่างประเทศพูดอีสานกันฉอดๆ5555555

  • @user-tj5dl4xg3n

    @user-tj5dl4xg3n

    2 жыл бұрын

    @@badguy1612 เอ๊ะ?

  • @srisattanakhanahut
    @srisattanakhanahut2 жыл бұрын

    สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดไม่ใช่ภาษาพูดแต่เป็นภาษาเขียน คนอีสานในอดีตใช้อักษรไทน้อย(อักษรลาวเดิม)ในการเขียนเรื่องราวต่างๆทางโลก และใช้อักษรธรรมหรืออักษรธรรมล้านช้างในการเขียนเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ส่วนภาคเหนือก็มีอักษรตั๋วเมืองใช้เขียนเรื่องราวทางโลก อักษรธรรมล้านนาใช้เขียนเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ปัจจุบันอักษรพวกนี้หายากและมีน้อยคนที่เขียนเป็น โดยเฉพาะอักษรธรรมที่กำลังจะสูญหายและยังมีอักษรของชนกลุ่มน้อยอีก

  • @nonameguy3665

    @nonameguy3665

    Жыл бұрын

    ชนกลุ่มน้อยตามดอย ส่วนมากที่เห็นจะใช้อักษรโรมันเป็นส่วนใหญ่ เพราะแต่เดิมมีแต่ภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน

  • @jakelovebuy
    @jakelovebuy2 жыл бұрын

    ภาษาท้องถิ่นควรอนุรักษ์จริง ๆ แหละจังหวัดเลยก็มี ภาษาไทย-เลย ซึ่งวิธีการพูดเหมือนภาษาลาว ผมชอบนะแต่ไม่เคยพูดได้เลย เพราะ เพื่อนในรุ่นเดียวกันไม่มีใครพูดเลยมีแต่คนพูดอีสาน ไม่เคยได้ฝึกพูดเห็นแต่ผู้เฒ่า ผู้แก่พูดกัน ก็เสียวมันหายไปตามกาลเวลาอยู่

  • @hasunmj8372
    @hasunmj83722 жыл бұрын

    เคยลงภาคสนามทำงานวิจัยที่เกาะลันตา แล้วได้ไปคุยกับชาวเล"อูรักลาโว้ย"หนึ่ง เขาได้กล่าวว่า "ผมไม่อยากให้ลูกฝึกภาษา(มลายู)เดิมของเรา เพราะมันไม่สามารถทำมาหากินไม่ได้ ให้ไปฝึกภาษาจีน อังกฤษดีกว่า" เราเศร้ามากในฐานะที่เราก็เป็นคนพูดภาษาตระกูลมลายูเหมื่อน

  • @user-wl2it3rm3n
    @user-wl2it3rm3n2 жыл бұрын

    เห็นด้วยน่ะ เด็กทั้งประเทศเรียนไทยก็ดีแล้ว ได้มีภาษากลาง แต่ควรเรียนภาษาถิ่นของตัวเองด้วยดีมั้ย เวลาผ่านไปเด็กรุ่นใหม่จะได้ไม่ลืมความหมายของคำภาษาถิ่นตนเอง อยากน้อยๆก็เคยรู้มาก่อนก็ดีน่ะ ดีกว่ายัดเยียดภาษากลางจนกลืนกินภาษาอื่นหมด จนการพูดภาษาถิ่นมันน่าอาย

  • @akkarachaiparallel4371
    @akkarachaiparallel43712 жыл бұрын

    ซึ้งใจมากครับ ที่ทางช่องทำเรื่องนี้ออกมา ผมเคยลงเรียนวิชาวิชาพัฒนาโวหาร และเคยอาจารย์ก็ให้ศึกษาเกี่ยวกับภาษาท้องถิ่นอีกด้วย ทำให้ผมไม่อยากให้ภาษาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในทั่วทุกมุมโลกจางหายสูญพันธุ์ไป เพราะเท่ากับประวัติศาสตร์ก็จะจางหายไปด้วย ผมคิดเรื่องประเด็นมาตลอดเป็นเวลากว่าสิบปี ก็ได้แค่คุยกันในกลุ่มเพื่อนและอาจารย์ประเด็นคือภาษาใต้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา เป็นเพราะปัจจัยหลายอย่าง เช่น สังคม,เทคโนโลยี,กระแสที่เป็นดั่งแฟชั่น ส่วนมากคนที่ใช้ภาษาวิบัติเหล่านี้จะเป็นวัยรุ่นหรือกลุ่มคนที่ใช้ Social Network มากๆและได้รับอิทธิพลมา ใช้จนรากฐานของคำเก่าๆถูกแทนที่ไปเลย ( เท่าที่ผมได้รับข้อมูลมาก็คือ ดูเหมือนจะเป็นกระแส,รสนิยม,แฟชั่น การใช้ภาษาวิบัติ,ลูกผสม,หรืออะไรก็ตามที่มาจาก Social Network ส่วนมากจะเป็นวัยรุ่นที่นำมาใช้แบบจริงจัง ผมเป็นห่วงเรื่องนี้มากครับ เพราะแค่ในจังหวัดนครศรีฯ ก็มีภาษาท้องถิ่นที่มีสำเนียง คำพูด ที่บางที่ก็แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด )

  • @BLUE_XIE
    @BLUE_XIE2 жыл бұрын

    การเป็นmemberในช่องพี่ ผมว่าได้ฟังpodcastก็เป็นเรื่องที่ดีนะ แต่การที่เป็นMemberแล้วมานั่งฟังเรื่องที่พี่บ่นอาจจะไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นการมานั่งคุยได้ฟังความคิดเห็นจากพี่อันนี้น่าจะดีกว่า เพราะผมว่าพี่มีความคิดที่ดีมากๆเลยแหล่ะ ดูจากการออกมาพูดหลายๆคลิป ใจจริงผมก็อยากเป็นmemberพี่นะ แต่ก็มีปัญหาการเงินนิดหน่อย ถ้าวันไหนมีเงินจะมาเป็นmemberนะคับ

  • @snplzz

    @snplzz

    2 жыл бұрын

    ผมว่าเรื่องที่บ่นเป็นเรื่องที่ดีครับ ไม่แน่ใจว่ามองกันในแง่มุมไหน ผมเข้าใจว่าเป็นการสตรีม ถามตอบไปมาได้ ได้เห็นมุมมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเพียวๆ

  • @hellomotherfk5331

    @hellomotherfk5331

    2 жыл бұрын

    ผมกลับมองว่าบ่นๆ นี่แหละดีมากเลย ไม่ต้องประดิษฐ์คำ

  • @diobrandonumbar1

    @diobrandonumbar1

    2 жыл бұрын

    ผมขอนิยามคำว่า "แสดงความคิดเห็นเชิงบ่น" ok คราวนี้มันก็จะไม่ใช่แค่บ่นอีกต่อไปแล้ว👍.

  • @doungpornjankaew6631

    @doungpornjankaew6631

    2 жыл бұрын

    มันเจ้าถึงความจริงที่มันเกิด​ ความรู้สึกที่ได้รับ​ ใครจะเรียกว่าบ่น​ ด่า​ แสดงความเห็น​ วิจารณ์​หรืออะไรก้อตามครับ​ ช่องนี้ให้ความรู้และชี้ให้เห็นถึงทางเลือกและอะไรที่เราไม่เคยรู้มาก่อน​ ทำให้เปิดมุมมองทางความคิดครับ​ ใครชอบแบบด่าๆดูได้ที่ช่องเจาะข่าวตื่น​ ของจอน​ วิญญู

  • @user-ql8xt3tq8g

    @user-ql8xt3tq8g

    2 жыл бұрын

    เขาพูดครับไม่ได้บ่น เสียงของเขาอาจจะเหมือนเสียงคนบ่น แต่ว่ามันเป็นการพูดให้ฟัง เฉยๆ เท่าที่ฟังมาดูทุกคลิป เป็นการพูดให้ฟัง จากแนวความคิดนอกกรอบ แบบมีเหตุผลตรรกะ สาระและความรู้ครับ

  • @jinnyweasly3143
    @jinnyweasly31432 жыл бұрын

    ในมุมมองบรรจุลงไปในหลักสูตร มันยากมากค่ะ ควรจะสอนโดยผู้มีความรู้จริงๆ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว มันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างเลย แม้แต่ในตอนนี้ คนจบเอกประถม ต้องสอนได้ในทุกวิชา ความเป็น specialists จึงเกิดขึ้นยากมาก สอนไม่ตรงกับเอก เช่น จบเอกคณิตมา แต่ถูกให้ไปสอน พละและสุขศึกษา ด้วย เพราะฉะนั้นการศึกษาไทยมันแย่นะคะ พอโครงสร้างมีปัญหา ครูได้รับผลกระทบเพิ่มภาระเข้าไปอีก กรรมไปตกที่นักเรียน เพราะฉะนั้น ต้องเปลี่ยนตั้งแต่ระบบเลยค่ะ ต้องทำเห็นความสำคัญของภาษาถิ่น แล้วให้เป็นวิชาเลือก สอนโดนครูพิเศษก็น่าจะดีนะคะ เพราะเด็กควรมีสิทธิ์เลือกที่จะเรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ ไม่ควรยัดมาในหลักสูตรอีก(หลักสูตรปัจจุบัน)เพราะมันไม่ฟิตกันเลย

  • @user-ld9tl7bz4v

    @user-ld9tl7bz4v

    2 жыл бұрын

    ผมเป็นคนเดียวมั้งที่แม่ผมเป็นชาวม้งแต่ผมไม่ชอบวัฒนธรรมภาษาผมไม่คิดว่าถิ่นผมเกิดมันจะพัฒนาได้เพราะการอนุรักษ์แม่ผมเคยพาผมไปเยี่ยมยายจะบอกตลอดเลยว่าชาวบ้านเป็นพวกไร้อารยะเมื่อก่อนมันมีวัฒนธรรมจับผู้หญิงคลุมถุงชนทุกวันนี้เขาไม่พูดม้งกันแล้วพูดแต่คนแก่แต่มันก็ดูมีอารยะขึ้นหน่อยๆนะ

  • @nuaym7906

    @nuaym7906

    2 жыл бұрын

    โรงเรียนส่วนใหญ่ในปัตตานี บรรจุภาษามาเลย์สำเนียงมาเลเซีย​ลงในหลักสูตร และแทบทุกที่ก็จะทำป้ายเป็นภาษามาเลย์ แต่ก็จะมีภาษาไทยบ้างปะปนกันไป และแทบจะใช้ภาษานี้เป็นภาษาออฟฟิศ อย่างไรก็ตามเด็ก98%ก็พูดภาษาไทยได้(แต่อาจไม่แข็งแรง)​ ข้อเสียคือเวลาพูดภาษาไทยในโรงเรียนกับเพื่อน คนรอบตัวจะหาว่าดัดจริต «ถ้านึกไม่ออกเหมือนกับโดนหาว่ากระแดะเวลาพูดภาษาอังกฎษ» คนที่ภาษาไทยไม่แข็งแรงก็อาจพัฒนาภาษาไทยได้ไม่เต็มที่ อาจส่งผลเสียในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา เลยขอส่งเสริมให้เป็นแค่วิชาเลือกเหมือนกัน😢

  • @jasminniemn5165

    @jasminniemn5165

    2 жыл бұрын

    @@nuaym7906 เราว่าความไม่ใช้จะทำให้พูดไม่ชัด ส่งผลเสียกับการออกเสียง วิธีแก้คือการใช้นะคะ ทั้งนี้มันขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมด้วยว่ามีโอกาสใช้ภาษานั้นๆไหม สำหรับตัวเราพูดได้ชัดทั้งไทย มลายู และอังกฤษ จะเป็นการเสียดายเหมือนกันหากเอาภาษามลายูเป็นแค่ตัวเลือก 😭 เพราะกลัวเด็กจะไม่เอาเลย

  • @louisjupiter1621
    @louisjupiter16212 жыл бұрын

    คือกูดูคลิปครั้งเดียวก็เข้าใจแล้วนะว่าเขาจะสื่อถึงอะไร แต่ทำไมคอมเมนต์บางอันเหมือนต้องการจะด่าจะว่าอย่างเดียว ไม่ได้โฟกัสเนื้อหาเลย

  • @botbot1688

    @botbot1688

    2 жыл бұрын

    ใช่เลย เหมือนฟังไม่จบ

  • @orpheouz

    @orpheouz

    2 жыл бұрын

    ถ้าไม่ใช่ขาดทักษะ วิเคราห์ สังเคราะห์ (ปัญหาการศึกษาอย่างนึง) ก็ IO นั่นแหละ

  • @numai8131

    @numai8131

    2 жыл бұрын

    จริง เหมือนง้างมาตั้งแต่เห็นชื่อคลิป5555

  • @TheRungruang1
    @TheRungruang12 жыл бұрын

    ส่วนตัวคิดว่า สิ่งที่น่าจะช่วยให้รักษาพวกภาษาได้จริงๆน่าจะเป็น "เทคโนโลยี" ครับ เพราะว่าการที่จะให้ต้องเรียนหลายๆภาษามันจะเป็นการหนักกับผู้เรียนจนเกินไป บวกกับเป็นการทำให้ต้องใช้เวลาในการเรียนภาษาอื่นๆเพิ่มขึ้นไปอีก สำหรับผม เวลาเป็นสิ่งที่ตายตัว ถ้าต้องเสียเวลาจำนวนมากเพื่อทั้งรักษาภาษาถิ่น ใช้พูดภาษากลาง มันเกิดการเสียเปรียบในด้านเวลา เมื่อเทียบกับประเทศที่ใช้แค่ภาษาเดียวแต่ครอบคลุมทั้งโลก เทคโนโลยีจึงควรที่จะมีการทำให้กำแพงทางภาษาทลายลง อยากให้มันเป็นจริงในเร็ววันจริงๆ ถึงวันนั้นปัญหาด้านภาษาน่าจะหมดไป

  • @user-vs9ej4xo7o
    @user-vs9ej4xo7o2 жыл бұрын

    จะกี่ภาษาก็ได้ แค่มีภาษากลางที่คุยกันรู้เรื่องก็พอ เหมือนตอนแรกที่จะเอาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จะสื่อสารกันทั้งโลก ซึ่งใครๆก็อยากได้ภาษาในชาติตัวเอง ซึ่งสุดท้ายแล้วที่เลือกภาษาอังกฤษเพราะมันง่ายจริงๆนั้นล่ะ สื่อสารกันรู้เรื่อง จะมีโปรแกรมหนังก็มีภาษาอังกฤษ ทำให้ไม่ว่าชนชาติไหนที่รู้ภาษาอังกฤษ เหมือนเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกลระดับโลก อนาคต Ai จะฉลาดขึ้นทุกวัน แอปสื่อสารที่แปลภาษาอัติโนมัติก็เริ่มมีแล้ว อนาคตกำแพงภาษาอาจจะหมดไป ขึ้นอยู่ว่าจะเปิดใจรับหรือไม่เท่านั้น ปล.ควรให้มีบันทึกรูปแบบภาษา ทุกภาษาไว้ ไม่อย่างงั้นสูญพันธุ์แน่ๆ จะในรูปแบบวิธีเขียนก็ดี บันทึกเสียงก็ดี ภาษากาย อัดวิดีโอไว้ด้วยก็ได้ และเปิดให้ใครก็ได้เข้าถึง ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน เช่นเข้าดูฟรีได้ 2 วันต่อสัปดาห์ จ่ายเงินดูได้ทุกวัน จ่ายเดือนต่อเดือน สะสมสูงสุดได้ครึ่งปี มีให้เลือกไม่ตัดเงินอัตโนมัติอย่างเดียว แล้วเอางบตรงนั้นมาบำรุงรักษา พัฒนาระบบ

  • @user-ej6sq1yy2e
    @user-ej6sq1yy2e2 жыл бұрын

    2:48 เคยมียายแก่จากหมู่บ้านอื่นมาซื้อของที่ร้านเรา ตอนเขาซื้อของเสร็จก็พูดกับเรา"เติ๊บๆ" เราก็งงว่ายายแก่บ่นอะไร สรุปก็คือยายเขาขอถุง คือยิ่งมีความเจริญมากเท่าไหร่ภาษาท้องถิ่นบางตัวก็ค่อยๆเลือนหายไป ถ้าวันนั้นยายไม่พูดคำนั้นผมก็คงไม่รู้ว่ามีคำนี้อยู่เลยด้วยซ้ำ555

  • @Lantern449
    @Lantern4492 жыл бұрын

    ที่บ้านแม่ใช้ภาษามลายู ส่วนตัวใช้ภาษาไทย มีผสมมลายูบ้าง แต่ให้พูดมลายูหมดไม่ได้จริงๆ ในหัวรันศัพท์ไทยตลอด คงเพราะเวลาส่วนใหญ่อยู่โรงเรียน ใช้แต่ภาษาไทย แอบเศร้านะ เพราะภาษามลายูสนุก+แฟนตาซีมาก เห็นคนแก่เม้ามอยกันแล้วภาพมาเป็นฉากๆ แต่เราร่วมสนทนาด้วยไม่ได้ เพราะใช้ไทย คนแก่ๆจะไม่เข้าใจเลย

  • @kiloPhyll

    @kiloPhyll

    Жыл бұрын

    ในอดีต คนเบตงเชื้อสายจีนกับมลายูพูดคนละภาษา แต่ตอนนี้พูดภาษาไทยร่วมกันแล้ว เป็นความสำเร็จของรัฐไทย

  • @Melwood430
    @Melwood4302 жыл бұрын

    พ่อแม่ผมเป็นคนสุรินทร์ ผมเกิดและโตที่กรุงเทพ ผมฟังรู้เรื่อง3ภาษา ภาษากลาง พ่อแม่สอน ภาษากูย พ่อแม่สอน พอพูดได้ฟังรู้ ภาษาอีสาน คนรู้จักพูดก็เลยเข้าใจเป็นบางคำ โรงเรียนสอนภาษาเหนือ ภาษาใต้ แต่ลืมไปแล้ว

  • @globalpoliticwiththanis2388

    @globalpoliticwiththanis2388

    2 жыл бұрын

    นับถือ!

  • @loop2696
    @loop26962 жыл бұрын

    ประเทศไทยเท่าที่รู้ตอนนี้ มีภาษาที่ใช้อยู่ 66 ภาษา ชาติพันธุ์มีหลักร้อย วุ่นวายแต่ก็สนุกแบบงงๆดี คือบางพื้นที่ แค่ต่างหมู่บ้านก็พูดคนละภาษาแล้ว ภาษากลางที่ใช้ทุกวันนี้ สำเนียงที่ออกเสียงกันก็มีแต่คนกรุงเทพฯ ที่ใช้ ภาคกลางจังหวัดอื่นคือเหน่อหมด เหน่อสำหรับกทม. ในอดีตเขาก็คงว่าคนบางกอกพูดเหน่อ พูดไม่ชัด (ก็ไม่ชัดจริง ออกเสียงตามตัวอักษรไม่ได้) มีคนรู้จักเป็นคนไทใหญ่ เราถามภาษาไทยเขาตอบภาษาไทใหญ่ก็พอเข้าใจกันอยู่ 😅 หรือคนเหนือ อีสาน ใต้ ก็เป็นคล้ายๆ กัน

  • @loop2696

    @loop2696

    2 жыл бұрын

    เรื่องการสอนภาษา ยกตัวอย่างคนไทใหญ่ เขาบอกว่า ช่วงเรียนปกติเขาเรียนเป็นภาษาพม่ากัน พอปิดเทอมก็ไปเรียนภาษาไทใหญ่ (เลิกเรียนไปเรียนอังกฤษ/จีน ขยันกันสุดๆ) ส่วนชาติพันธุ์อื่นอย่าง มอญ โดนกีดกันพอสมควร เพราะคนมอญกลืนเป็นพม่าพูดมอญอ่านอักษรมอญไม่ได้แล้ว อีกอย่างบางภาษาไม่มีตัวอักษร การจะสืบหารักษาก็เป็นไปได้ยาก อย่างภาษาม้ง ภาษากะเหรี่ยง เลยเล่าเรื่องราวผ่านบทเพลงแทน

  • @soravisable

    @soravisable

    2 жыл бұрын

    ที่เรามักไม่เรียกภาษาไทยกลางของคนกรุงเทพว่า “เหน่อ” เป็นเหตุผลทางสังคมและการเมืองมากกว่า เราถูกสอนลงไปในจิตใต้สำนึกว่าสำเนียงที่ใช้ในกรุงเทพมีความสูงส่งกว่าในทางสังและเศรษฐกิจเลยไม่มองมันว่าเหน่อ ไม่ใช่เหตุผลทางภาษาอะไรเลยครับ เอาเข้าจริงบ้านอยู่ห่างกันสัก 10 กิโล สำเนียงภาษาไทยกลางก็ต่างกันแล้วเป็นเรื่องปกติ

  • @smartmonke7507
    @smartmonke75072 жыл бұрын

    เคยอยู่ในชุมชนของคนม้ง-กระเหรี่ยง​ครับ พวกเขาก็พูดไทยได้ปกตินะแต่ก็ควบคู่กับภาษาถิ่นด้วย พวกภาษาถิ่นมักจะใช้กับคนในครอบครัว ภาษาไทยก็ใช้กับเพื่อนๆที่โรงเรียน ผมว่าเขาก็ดูไม่มีปัญหาอะไรเลยกับการใช้ภาษา

  • @funnyvideos-rg1xj
    @funnyvideos-rg1xj2 жыл бұрын

    ผมพูด ภาษา มือลายู ครับ พอพูดภาษาไทย จะมีสำเนียงเอกลักษณ์ เฉพราะ ฟังปุป รู้ ปับว่ามาจาก สามจังหวัด (ภูมิใจในบ้านเกิด) ไม่อายใคร

  • @kridsadayantarawattana9188

    @kridsadayantarawattana9188

    2 жыл бұрын

    เป็นคนเหนือ ที่อู้เมืองและเขียนอ่านล้านนา แต่อยากเรียนมือลายูมากๆ คนที่นั้นใจดีสุด ๆ

  • @jatupattaorang8097
    @jatupattaorang80972 жыл бұрын

    ไม่ต้องคิดมาก ลูกครึ่งไทยจีน ในไทย แทบจะพูดจีนไม่ได้เลย ทั้งๆที่ ลูกครึ่งจีนในประเทศอื่นก็ยังพูดกันอยู่

  • @Nildara
    @Nildara2 жыл бұрын

    ผมคนเหนือ ก็พูดได้หลายสำเนียงนะ 1.คำเมือง อันนี้พูดได้ตั้งแต่เด็ก 2.ไทเลย อันนี้สำเนียงคล้ายลาวเวียงจันทร์ 3.ภูไท พูดได้เพราะเคยอยู่มุกดาหาร 2 ปี 4.ภาษาพม่าย่างกุ้ง อันนี้พูดได้เพราะ มีเพื่อนพม่าเยอะ และชอบเป็นพิเศษ เพราะชอบสาวพม่า สาวพม่าสวยครับ 😆

  • @BamesMyZ

    @BamesMyZ

    2 жыл бұрын

    สาวสวยจริงหรือ

  • @ootakiyoshi

    @ootakiyoshi

    2 жыл бұрын

    @@BamesMyZ จริงครับ แต่ส่วนใหญ่เค้าไม่ค่อยมองชายไทยนี่สิ 🥺

  • @nonsri2563

    @nonsri2563

    2 жыл бұрын

    ภาษาลาวเวียงจันทน์ในแขวงเวียงจันทน์ทุกวันนี้ไม่ใช่สำเนียงแท้ๆเป็นสำเนียงของคนที่อพยพมาจากแขวงอื่น สำเนียงเวียงจันทน์จริงๆจะไม่มีสระเอือมีแต่สระเอียซึ่งในลาวหาฟังยากมากครับ ส่วนสำเนียงไทเลยเป็นสำเนียงทางหลวงพระบางครับ

  • @ootakiyoshi

    @ootakiyoshi

    2 жыл бұрын

    @@nonsri2563 สำเนียงเหมือนคนเหนือครับ บางที่ก็พูดสระเอียแทนเอือ อย่างเกลือ จะเป็น เกื๋อ, เกี๋ย เรือน (n) > เฮือน (n), เฮียน(n) เกลือก(กลิ้ง) (v) > เกือก(v), เกียก

  • @nonsri2563

    @nonsri2563

    2 жыл бұрын

    @@ootakiyoshi จริงเหรอครับ ผมไม่เคยได้ฟังนะ

  • @Harley.M
    @Harley.M2 жыл бұрын

    ภาษาไทยในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงมากเลยครับ คำเบสิคดั้งเดิมเลิกใช้ไปบางคำ มีคำใหม่เกินขึ้นมาแทน และมีการใช้ภาษาอังกฤษบางคำมาปะปนแบบที่เราไม่รู้ตัวจนกลายเป็นคำศัพท์หลักในปัจจุบัน อย่างคำว่าไชโยที่หมายถึงดีใจที่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว เรากับอุทานเป็นคำว่า เย้ เจ๋ง แจ๋ว และในยุคนี้บางคนเริ่มใช้อุทานเป็นภาษาอังกฤษเป็นคำว่า nice จนติดปาก คำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆเลยแม่จ้าวโว้ย เริ่มงงไปหมดแล้ว 555 ผมทำงานบริการ หลายครั้งผมเห็นไทยหลายคนมาคุยกันเป็นภาษาอังกฤษเลยแบบไม่พูดไทยเลยก็มี อาจเป็นเพราะบางคนอาจจะต้องทำงานกับคนต่างชาติเลยต้องพูดให้ค้องด้วยมั้ง ไม่แน่ในอีก50ปี ภาษาไทยอาจจะใช้น้อยลงไปก็ได้

  • @nonameguy3665

    @nonameguy3665

    Жыл бұрын

    ภาษาไทยไม่มีวันใช้น้อยลงหรอก ถ้ารัฐบาลไม่บ้าจี้บรรจุภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ภาษาที่ 2

  • @gamelook6166
    @gamelook61662 жыл бұрын

    ค่อนข้างเห็นด้วยครับ แต่ในทางปฏิบัติ การเรียนเรื่องภาษาถิ่นที่เลือนลางไปแล้วเกือบชั่วอายุคนเป็นอะไรที่ค้นคว้ายากมากๆ เข้าใจยากและน่าเบื่อ อาจจะเป็นเพราะเป็นวิชาเสริมเลยดูไม่สำคัญ อาจจะเป็นเพราะการบ้านเป็นกองๆจนไม่มีเวลาไปค้นคว้า(อย่าหวังว่าจะค้นในอากู๋วไม่มีจ้า) การสื่อสารครูเองมันเก่าเข้าใจยาก หรือความไม่เอาใจใส่และไม่ให้ความสำคัญของตัวผมเอง บอกเลยว่าตัวผมและเพื่อนในสมัยเรียนไม่เข้าใจว่าจะเรียนกันไปทำไมในเมื่อมันภาษาที่มีอยู่ตอนนี้ก็ดีแล้ว วิชาหลักที่เรียนอยู่ก็หนักมากพอแล้ว มาเจอวิชาเสริมอีก omg ตกยกห้อง เพราะงั้นอาจจะต้องมานั้งคิดกันก่อนว่าก่อนจะเพิ่มอันนี้เข้าไปเราควรลดอะไร ปล.อันนี้ผมเอามาจากประสบการณ์ที่ผมเรียนในสมัยมัธยมนะครับ อาจจะใช้ไม่ได้กับที่อื่นหรือการศึกษาระดับอื่นๆ แต่ก็เอามาแชร์กัน

  • @thatsanee8812
    @thatsanee88122 жыл бұрын

    5:21 อันนี้จริงง เราอยู่ภาคใต้ได้เรียนภาษามลายูตั้งแต่อนุบาล3 แล้วเรียนภาษาอาหรับเพิ่มตอนมัธยม (แล้วแต่โรงเรียน) แต่ในหลักสูตรกลางมีสอนภาษาไทยบทภาษาถิ่นอยู่ ทั้งเหนือกลางอีสานใต้ แต่สำเนียงครูจะเพี้ยนกลางอ่ะนะ บางคำก็รู้มาบ้างแต่ที่สอนมันเขียนอีกอย่างก็เถียงกับครูหน่อยๆ ส่วนเรื่องภาษาถิ่นจริงๆ แค่ต่างอำเภอก็ออกเสียงต่างกันแล้ว(แต่มีเอกลักษณ์ดีนะ) เช่นสถานการที่มีคนเรียกแล้ว้ราหันไปถามว่าทำไม/อะไร อำเภอ1 : ด่อย อำเภอ2 : ใด่ อำเภอ3 : ใซ่ อำเภอ4 : ไหร #สำเนียงใต้ อำเภอ5 : พรื่อ แค่นี้ก็ไม่เหมือนกันเนอะ แล้วอต่พื้นที่ว่าติกับอะไร บางที่ติดทะเลแขกเยอะ จีนเยอะ ติดจังหวัดนั่นนี่คนย้ายย้ายมาพูดเพี้ยน พูดตาม ไรงี้ ส่วนเรื่องของการใช้งานอันนี้ก็จริงอีก บางอย่างยังนึกไม่ออกแต่คำเรียกของที่มีรสเปรี้ยวบางพื้นที่ของภาคใต้ ก็ใช้คำว่าส้ม ไว้ด้านหน้า เช่น ส้มนาว (บางถิ่นเรียกลูกนาว) = มะนาว ส้มรด= สับปะรด ส้มงวง= ใบชะงวง ส้มขาม=มะขาม

  • @armaraxx8000
    @armaraxx80002 жыл бұрын

    1.ในส่วนของวีดีโอที่พูดประมาณว่า แต่ละภาษามีลักษณะ อรรถรสที่ไม่เหมือนกัน เราเห็นด้วยแบบเห็นด้วยมากๆ ยกตัวอย่างเช่น เราชอบคำคมของจีน บางครั้งพอเราอ่านปุ๊บเรารู้สึกว่ามันคมคาย หรือบางคำคมก็ลึกซึ้งจนเราคิดภาพตามได้ แต่ถึงเราจะเข้าใจประโยคและลึกซึ้งกับมันขนาดไหน พอมาแปลเป็นไทย บางครั้งมันก็ไม่ได้อรรถรส หรือสัมผัสอะไรได้เลยในคำคมนั้นๆ 2.ในส่วนของการพลัดถิ่น เพราะระบบเศรษฐกิจและโครงสร้างสังคมมันห่วยแตก จนภาษาถิ่นต่างๆเริ่มเลือน อันนี้ก็เห็นด้วยแบบเห็นด้วยมากๆ เพราะส่วนตัวเป็นชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือ(เป็นอาข่า ชุดชาติพันธุ์ช่วงท้ายๆของวีดีโอ) เราก็เป็นเด็กดอยคนนึงที่มาเรียนในเมือง ทีนี้ไม่ค่อยได้พูดภาษาถิ่นเท่าไหร่ พอกลับบ้านก็หลงๆลืมๆบ้าง พูดไทยปนกับภาษาถิ่น จนบางครั้งพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่เราจะสื่อ พ่อบอกตลอดเลยว่ารู้สึกเศร้าใจที่คนรุ่นใหม่เริ่มไม่ค่อยพูดภาษาชาติกำเนิดของตัวเองกันแล้ว และรู้สึกเศร้าใจมากๆที่เห็นภาษาเริ่มเลือนจางไปทีละนิด #ขอบคุณที่ทำวีดีโอดีๆให้ได้รับชมนะคะ💖

  • @fraxnky15
    @fraxnky152 жыл бұрын

    ส่วนตัวรู้สึกว่ามันยากในการใช้ชีวิตมากเราเรียนที่นราธิวาสมาโรงเรียนตัดจีนออกใส่มาลายูแทน แล้วพอเราจบม3ต่อม.4ที่อยู่เราไม่สามารถเรียนจีนหรืออะไรที่หลักสูตรทางไทยตั้งไว้ให้เลยเรียนไม่รู้เรียนตามไม่ทันงง ไม่ใช่ว่าการเรียนภาษาถิ่นไม่ดีนะแต่เราว่าต้องมองด้วยว่าเราต้องได้อะไรจากที่เรียนต่อยอดได้ไหม

  • @alex_rabbitigot7ahgasearmy609

    @alex_rabbitigot7ahgasearmy609

    2 жыл бұрын

    แถบนั้นอยู่ติดมาเลเซีย มีพวกมลายูเยอะ คงเรียนไว้เพื่อสื่อสารกับคนในพื้นที่และไม่ให้ภาษาหายไป ดูอย่างปัจจุบันคนในพื้นที่เริ่มใช้ภาษาไทยกันมากชึ้นและยืมอักษรไทยในการเขียนมลายู โดนอิทธิพลภาษาไทยกลืนเยอะมาก ภาษามลายูปัตตานีมีหลายคำที่ยืมคำไทยมาใช้จนรุ่นลูกหลานพูดไทยคำ มลายูคำ สูญเสียอัตลักษณ์ของภาษาไปมากพอสมควร ส่วนตัวมองว่าภาษามลายูนำไปต่อยอดได้อยู่นะ ครึ่งหนึ่งของประชากรอาเซียนใช้ภาษามลายู อาจใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ในปี2025 ค่าGDPของอินโดนีเซียจะพุ่งเป็นอันดับ1 เรามองว่าภาษามลายูอาจจะได้ใช้ในอนาคต

  • @wave3648
    @wave36482 жыл бұрын

    ถ้าคุณไม่ใช่นักภาษาศาสตร์คุณก็เรียนภาษาเพื่อสื่อสาร ไม่ได้ต้องเข้าใจความเป็นมาของภาษานั้น แล้วถ้าคุณจะเรียนภาษาสักภาษานึงให้คล่องมันต้องใช้ความพยายามและเวลากับมัน คุณจะยัดเยียดให้นักเรียนเรียนภาษาถิ่นที่ใช้ได้แต่ในท้องถิ่นนั้นทำไม สู้เอาเวลาไปปรับปรุงพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษที่ใช้ได้ทั่วโลกให้เด็กไทยใช้ได้เก่งๆไปเลยไม่ดีกว่าหรอ อันนี้ผมไม่ขัดศรัทธาคนที่จะเรียนภาษาถิ่นนะ แต่ให้มันเป็นวิชาเลือกไม่ใช่วิชาหลักเหอะเพราะมันก็จะวนกลับมาเหมือนเดิมคือ การยัดความรู้ที่ไม่จำเป็นให้นักเรียน แล้วอีกอย่างภาษาถิ่นแค่เปลี่ยนจังหวัดหรือเปลี่ยนอำเภอคนก็พูดต่างกันละ เหมือนภาษาใต้จ.สงขลาก็พูดไม่เหมือนกับชุมพรในบางคำ แล้วคุณจะให้ยึดอันไหนเป็นหลักละ หรือจะทำหลักสูตรแยกไปแต่ละจังหวัดละ แล้วต้องเสียเวลา เสียเงินทุนไปเท่าไร แล้วเราจะได้อะไรกลับมาบ้างจากการทำละ ดังนั้นผมมองว่าภาษาถิ่นมันก็เหมือนกับแผ่นCD แฟลชไดร์ฟ ที่ค่อยๆหายไปเพราะข้อจำกัดต่างๆ มันไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้นเลย

  • @feitus968

    @feitus968

    2 жыл бұрын

    เราเห็นด้วยนะคะว่าไม่ควรให้เป็นวิชาหลัก ควรให้เป็นวิชาเลือก แต่ปัญหาใหญ่คือการใช้ภาษาถิ่นถูกมองว่าล้าสมัย หรือไม่มีการศึกษา เนื่องจากการเข้ามาของภาษากลางและปวศชาตินิยม เราคิดว่าสิ่งที่ควรแก้คือการปลูกฝังให้คนในชาติเคารพความแตกต่างทางภาษาและชาติพันธุ์มากกว่า เรามองว่าเรื่องนี้ควรที่จะถูกแก้ไขก่อน

  • @tomtamtamtom9242

    @tomtamtamtom9242

    2 жыл бұрын

    เห็นด้วยครับ

  • @csk4707

    @csk4707

    2 жыл бұрын

    ใช่ครับและคิดว่าถ้าจะให้สอนเป็นเลือกควรจะใช้เป็นlanguageมากกว่าdialectน่าจะดีกว่านะครับ

  • @wave3648

    @wave3648

    2 жыл бұрын

    @@feitus968 การเคารพความแตกต่างเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีและมีในทุกๆเรื่องอยู่แล้วครับไม่ว่าจะเรื่องเพศ ความคิดแนวคิด ความชอบ และรวมไปถึงภาษาด้วย

  • @nokaton

    @nokaton

    2 жыл бұрын

    คือมันเรียนควบคู่กันได้ครับ และภาษาถิ่นก็ไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาหลัก อะไรขนาดนั้น แต่อย่างน้อยก็ต้องสอนให้เด็กรู้ว่านี่นะมันมีความหลากหลายทางภาษาอยู่ สมัยผมเรียนโรงเรียนก็สอนภาษาถิ่นแทรก ๆ ในวิชาภาษาไทย มันก็ไม่ใช่อะไรที่ต้องเรียนเยอะขนาดนั้น ซึ่งถ้าให้เรียนเยอะจนไปรบกวนวิชาอื่น ผมก็ไม่เห็นด้วยเหมือนกัน

  • @kingutherz8536
    @kingutherz85362 жыл бұрын

    คนแถวบ้านผมพูดภาษากลาง อีสาน เขมร ลาว ก็อย่างที่แอดบอกนั่นแหละ ใกล้ใครก็พูดภาษานั้น(สรุปง่ายๆนะ)

  • @radhanasiri
    @radhanasiri2 жыл бұрын

    ปัญหาคือการยัดเยียดค่านิยมแบบเหมาโหล ว่าภาษาถิ่นคือพูดไม่สุภาพที่แบบที่ราชการและโรงเรียนรุ่นก่อนๆทำเยอะ ต้องเลิก มองที่การสื่อสารเป็นหลัก ไม่ใช่แค่การออกเสียง เพราะต่อให้คำเดียวกัน แต่ละท้องถิ่นก็ใช้ความหนักเบา ให้มุมมองต่างกันไปบ้าง

  • @pacharatonxd7723

    @pacharatonxd7723

    2 жыл бұрын

    เวลาเจอต่างชาติ คุณใช้ภาษาไทยสำเนียงอะไร

  • @pacharatonxd7723

    @pacharatonxd7723

    2 жыл бұрын

    ภาษาราชการคือ เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ นะ

  • @wave3648

    @wave3648

    2 жыл бұрын

    มันต่างอะไรกับการไปพูดภาษาไทยกลางสภา UN ละครับ ถ้าคนในนั้นฟังไม่ออกก็จบ อยู่ๆคนมาพูดภาษาที่คุณฟังไม่ออกใส่คุณจะเข้าใจและทำตามที่เขาต้องการได้หรอ

  • @pacharatonxd7723

    @pacharatonxd7723

    2 жыл бұрын

    @@wave3648 รู้จัก ล่ามแปลไหม

  • @wave3648

    @wave3648

    2 жыл бұрын

    @@pacharatonxd7723 แหม่ทำไมจะไม่รู้จักละครับ แต่ว่านะการจะไปพูดที่สภาUNก็ควรมีความสามารถภาษาอังกฤษระดับนึงนะครับ ไม่งั้นอายเขา

  • @momocoong
    @momocoong2 жыл бұрын

    ชอบสำเนียงของช่องนี้นะ เหมือนเพื่อนนั่งคุยกับเรา

  • @hopyworst6054
    @hopyworst60542 жыл бұрын

    ยากนะ เรียนภาษาถิ่นไปด้วย ควบคู่กับภาษากลาง มันจะงงอะ เอาจริง อย่างคำเมือง กะ ไทยกลาง ต้องมาผันเสียงละก็ตัวคำต่างกัน เรียนยาก นี่เคยเรียนภาษาไทยกลางมาตลอดละจะจำตลอดว่ามี 5 วรรณยุกต์ ระบบคำ พอมาเรียนภาษาถิ่นตัวเอง ล้านนา อีดอก 5 วรรณยุกต์ก็จะตายละ ล้านนาปาไป 7 วรรณยุกต์ หนักกว่าเดิมโอ้ย ระบบคำซับซ้อนไปอีก ดีที่พูดภาษาได้ แต่ไม่เคยมาเรียนเขียน อ่านออกเสียงจริงๆจังๆเลย รู้สึกเลยว่ายาก

  • @iop2541
    @iop25412 жыл бұрын

    จากประสบการณ์ของผมนะครับ มีหลาย ๆ คนที่ยังเข้าใจผิดว่าคนโคราชพูดภาษา(ลาว)ถิ่นอีสาน ประมาณว่า "เป็นคนโคราช ทำไมพูดอีสานไม่ได้? ทำไมถึงฟังอีสานไม่รู้เรื่อง?" ซึ่งที่เป็นแบบนี้ส่วนตัวผมคิดว่า ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการแบ่งภูมิภาคของไทย ตามภูมิศาสตร์ จึงทำให้บางคนเข้าใจว่า คนอีสาน ต้องพูดอีสานได้หมดทุกคน ซึ่งจริง ๆ แล้วในภาคอีสานมีภาษาถิ่นหรือสำเนียงย่อยอีกมากมาย

  • @diamonch1215

    @diamonch1215

    2 жыл бұрын

    อีกส่วนนึงน่าจะเป็นเพราะว่าโคราชไม่ได้เป็นส่วนนึงของอาณาจักรจากลาวด้วยครับ พิมายนี่เป็นเมืองที่ขึ้นกับสยามมาตั้งแต่อยุธยาแล้ว ขณะที่จังหวัดอื่นๆในอีสานเนี่ยเคยเป็นส่วนนึงไม่ของเวียงจันทร์ก็จำปาศักดิ์มาก่อน

  • @cuteboy219

    @cuteboy219

    2 жыл бұрын

    โคราชมีแค่บางอำเภอครับที่พูด

  • @alemalem6728

    @alemalem6728

    2 жыл бұрын

    โคราช เป็นชาวสยาม ภาษาโคราชคือสำเนียงนึงของชาวสยาม เหมือนกับ สุพรรณ เพชรบุรี ระยอง คนละพวกกับชาวลาวอีสาน

  • @hoknuttawat1093
    @hoknuttawat10932 жыл бұрын

    ปัจจุบันผมก็ยังใช้ภาษาโคราชในการสื่อสาร ผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีนแต่พื้นเพผมพูดโคราช แต่อาศัยอยู่จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่เขตนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติพันธุ์ ไทย จีน อีสาน ส่วย เขมร

  • @kiloPhyll

    @kiloPhyll

    Жыл бұрын

    โคราชบ้านเองงงง :) (สำเนียงเฉพาะตัว อีสานผสมกลางเหน่อๆนะ ผมว่า)

  • @numai8131
    @numai81312 жыл бұрын

    แล้วในไทยมีใครจดบันทึกภาษาถิ่นต่างๆรึยัง สิ่งเหล่านี้จะนิ่งจางหายไปตามกาลเวลา เทคโนโลยีสมัยนี้เราบันทึกเสียงได้แล้ว น่าจะมีคนทำเก็บไว้ทุกๆภาษาบ้างนะ

  • @nyxchrist7680
    @nyxchrist76802 жыл бұрын

    โรงเรียนแถวบ้านก็สอนภาษาล้านนาครูที่สอนบ่นอยู่เรื่อยๆว่าภาษากลางชอบกำหนดคำไปเรื่อย เช่นคำว่า 'เสื้อม่อฮ่อม' จริงๆมันเขียนว่า เสื้อหม้อฮ่อม ความหมายคือหม้อที่ต้มเสื้อให้เป็นสีฮ่อมคือจารย์แกเคยไปอธิบานกับกระทรวงอะไรสักอย่างแต่ก็ไม่แก้ มีหลายคำที่เริ่มหายไปโดยที่ไม่มีใครรู้

  • @leyuchiha4426
    @leyuchiha44262 жыл бұрын

    เห็นด้วยมากก บางครั้งเราก็ให้ค่ากับบางภาษา ภาษามากกเกีนไป

  • @thechivalry4667
    @thechivalry46672 жыл бұрын

    เป็นคนเหนือค่ะ พูดคำเมืองได้ พูดไทลื้อก็ได้ อยากบอกว่าคนเหนือเขาไม่ได้มีแต่สำเนียงเชียงใหม่ เคยเจอคนที่ทำเป็นรู้ดีกว่าเราที่เป็นคนพะเยา บอกว่าสำเนียงพะเยาไม่ใช่คนเหนือ คนเหนือเขาไม่ได้พูดแบบนี้ คือตลกมา ทำไมถึงทำเป็นรู้ดีเอ่ย แม้แต่สำเนียงลื้อก็ไม่ได้เหมือนกันทุกที่นะคะ

  • @Chonggafair_2

    @Chonggafair_2

    2 жыл бұрын

    บางคนเเบบทำเหมือนรู้

  • @nokaton

    @nokaton

    2 жыл бұрын

    เชียงใหม่เอง จังหวัดเดียวยังแบ่งสำเนียง สายเหนือ สายใต้ เลย เอาจริง ๆ เชียงใหม่แต่ละอำเภอ สำเนียงพูดต่างกันหมด เพราะว่าเป็นเมืองที่โฮะคนกลุ่มต่าง ๆ ไว้เยอะมาก บางทีหมู่บ้านติดกัน คนละเชื้อสายก็มี บ้านนี้เป็นลื้อ หมู่บ้านข้าง ๆ เป็นขืน อีกบ้านใกล้ ๆ อะไรก็ไม่รู้ผสมกันจนแยกไม่ออก เลยไปหน่อย ติดเขตลำพูน มีสำเนียงยองอีก ถ้าไปแถวแม่วางใกล้เชิงดอย มีพูดภาษาลั๊วะอีก เยอะแยะไปหมด เอาจริง ๆ เรื่องภาษาเหนือนี่ก็เหมือนกัน คือ พอพูดถึงภาษาเหนือ ส่วนมากคนต่างพื้นที่ หรือคนภาคกลางก็จะชอบมีแนวคิดแบบ Chiang Mai-centric คือจะคิดถึงเฉพาะสำเนียงเชียงใหม่แค่ในเขตตัวอำเภอเมืองด้วยซ้ำ

  • @sujisuzyzoogee

    @sujisuzyzoogee

    2 жыл бұрын

    เห็นด้วยเลย เราก็มาจากพะเยา แต่พูดลื้อไม่ได้อะเสียดายจัง เพราะเค้าเปลี่ยนมาพูดญวนกันหมด แล้วญวนแต่ละจังหวัดก็ไม่เหมือนกันไปอีก ย่อยไปกว่านั้นแค่ต่างหมู่บ้านก็พูดคนละแบบแล้ว สำเนียงเชียงใหม่มันรื่นหูและดังก็จริง แต่คนจังหวัดอื่นก็เมืองเหมือนกัน

  • @thajteiyfix217
    @thajteiyfix2172 жыл бұрын

    เรื่องภาษารร.สอนไม่ใด้หรอกครับ เวลาเรียนมันน้อยเกินไป การจะพูดภาษาใดๆใด้ จะต้องใช้บ่อยๆ การที่มานั่นท่องเหมือนที่รร.มันไม่ช่วยเลยซักนิด มันไม่ใช่แค่อยู่รร.มีครูดีๆแล้วจะพูดใด้ แต่อยู่ที่บ้านผู้ปกครองก็ต้องให้ความร่วมมือด้วยซึ่งมันแทบเป็นไปไม่ใด้เลย

  • @alongkorn1821
    @alongkorn18212 жыл бұрын

    เพราะฉนันกะเทยอย่างเราต้องเข้าเรียน ภาษาลู

  • @ahdhdjd1067

    @ahdhdjd1067

    2 жыл бұрын

    เออเนาะภาษาลูต้องเน้นท่องไว้หาผู้ค่ะ

  • @promleaw1128
    @promleaw11282 жыл бұрын

    ผมไท-ยวนราชบุรี เห็นเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยอู้กำเมืองกันเเล้วครับ ส่วนรุ่นพ่อเเม่ก็พูดได้เเต่สำเนียง เเต่ศัพท์หายเเทบหมดเเล้ว

  • @atthiradet3280
    @atthiradet32802 жыл бұрын

    ภาษา คือ เครื่องมือทางการสื่อสาร แต่ปัจจุบัน คนเราใช้ภาษาในการเหยียดคนอื่น เราคือคนภาคกลาง ที่รักในการพูดภาษาอีสาน

  • @fixth8841
    @fixth8841 Жыл бұрын

    บ้านผมสตูล ที่รร.ก็มีสอนภาษามลายูด้วย แต่ก็ไม่ค่อยใช้ เพราะพื้นที่บ้านผมพูดภาษาใต้กันส่ะหมด

  • @thboy1037
    @thboy10372 жыл бұрын

    ในคลิปและหลายๆความเห็นได้อธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของภาษาถิ่นเพื่อตอบคำถามที่ว่าจะเรียนไปทำไมไปแล้ว เลยอยากอธิบายเพิ่มเติมครับว่า สำหรับเด็กที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่แล้วการเรียนและใช้ภาษาถิ่นถือว่ามีความสำคัญและอาจส่งผลต่อการเรียนภาษาไทยและวิชาอื่นๆได้ครับ คือโดยปกติพอเด็กเข้าโรงเรียน ก็มักจะไปเรียนกับครูที่ใช้ภาษาไทยเลย ซึ่งทำให้มีจำนวนมากที่เรียนแล้วไม่เข้าใจ พอเรียนแล้วไม่เข้าใจก็จะทำให้ใช้ภาษาไทยได้ไม่คล่อง โอกาสในการจะศึกษาต่อในระดับที่สูงขี้นก็จะน้อยลงและทำให้โอกาสในการทำงานน้อยลงตามไปด้วย ในบางบริเวณก็ส่งผลต่อความมั่นคงด้วยเช่นกัน เช่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คนส่วนใหญ่พูดภาษามลายูถิ่นปัตตานี (เรียกกันว่าภาษายาวี ความจริงแล้วคำว่ายาวีหรือ Jawi นี้เป็นชื่อเรียกตัวอักษรอาหรับที่ถูกดัดแปลงเพื่อเขียนภาษามลายู ปัจจุบันยังมีใช้อยู่เล็กน้อยและมักเป็นในเชิงวัฒนธรรมในบรูไนและมาเลเซีย ส่วนเอกสารราชการและที่ใช้ในชีวิตประจำวันมักใช้อักษรรูมี Rumi หรือตัวอักษรโรมัน ABC แทน) พอเรียนด้วยภาษาไทยทันที ก็ทำให้จำนวนมากเรียนไม่รู้เรื่อง ผลการเรียนไม่ดีนัก และต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ส่วนหนึ่งอาจถูกชักจูงโดยกลุ่มผู้ไม่หวังดีได้โดยง่าย ต่อมาเลยมีแนวคิดที่เรียกว่า "ทวิภาษา" ขึ้น ถ้าจำไม่ผิดน่าจะของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยในชั้นเล็กๆจะให้เด็กเรียนกับครูที่ใช้ภาษาไทยและครูที่ใช้ภาษาถิ่นพร้อมกัน เพื่อให้เด็กค่อยๆปรับตัว ผลคือเด็กเรียนและใช้ภาษาไทยได้ดีขึ้น และเรียนวิชาอื่นๆได้ดีขึ้น เริ่มจากกลุ่มที่ใช้ภาษามลายูถิ่่นปัตตานี ต่อมาได้ขยายไปกลุ่มภาษาอื่น เช่น ภาษาม้ง อีกด้วย แม้จะถือได้ว่าภาษาไทยภาคกลางที่ถือว่าเป็นมาตรฐานนั้นเป็นภาษาราชการของไทยมานับร้อยปีแล้ว ทว่าความเป็นจริงกว่าที่ภาษาไทยภาคกลางหรือภาษากรุงเทพฯจะเป็นภาษากลางในการสื่อสารอย่างแพร่หลายก็เพิ่งไม่กี่สิบปีมานี้เอง สมัยก่อนสื่อวิทยุ โทรทัศน์ยังไม่แพร่หลาย ภาษาในแต่ละถิ่นยังคงเอกลักษณ์ของตนไว้มาก คุณนิติภูมิ นวรัตน์ ที่เคยเขียนคอลัมน์เปิดฟ้าส่องโลกในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐซึ่งมีพื้นเพมาจากจังหวัดตราดและจังหวัดจันทบุรีนั้นเคยเล่าว่าสมัยก่อนถ้าบ้านไหนจะส่งลูกหลานไปเรียนต่อในกรุงเทพฯ ก็มักจะจ้างครูมาสอนพูดภาษากรุงเทพฯให้ก่อนเลยทีเดียว นี่คือภาษาถิ่นภาคตะวันออกที่ยังถือว่าไม่ต่างกับภาษากรุงเทพฯมากนัก ถ้าเป็นภาษาถิ่นอื่นๆหรือภาษาอื่นๆที่ไม่อยู่ในตระกูลไท - กะไดคงแตกต่างกันมากอย่างแน่นอน ต่อมาภาษากรุงเทพฯแพร่หลายมากขึ้นเพราะสื่อแพร่หลายมากขึ้น

  • @nattapong_j3319
    @nattapong_j33192 жыл бұрын

    หมู่บ้านที่พังงาผมเเรกๆพูดภาษามาลายูเเต่ตอนนี้ไม่ใครพูดเป็นกันเลยหันมาพูดภาษาใต้กันหมดเเล้วเเต่ไม่ใช่สำเนียงพังงานะเป็นสำเนียงเหมือน พัทลุง+นครศรีธรรมราช

  • @NEW-56
    @NEW-562 жыл бұрын

    สมัยนี้พ่อแม่คนเหนือ คนอีสาน สอนลูกหลานให้พูดแต่ภาษาไทยกลางหมดแล้ว

  • @Vanessa-sv2er
    @Vanessa-sv2er2 жыл бұрын

    ตอนเด็กๆเราก็เคยพูดภาษาถิ่นของบ้านเราได้ แต่ยิ่งนานขึ้นโตขึ้นเราก็แทบจะไม่ได้ใช้ภาษาถิ่นของเราเลยจนลืมหมดแล้ว รู้สึกเสียดายและเสียใจเหมือนกัน

  • @nationalanthemth9631
    @nationalanthemth96312 жыл бұрын

    ตัวผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีนอยู่กรุงเทพพ่อจีนแต้จิ๋ว แม่ไทย แต่คนในครอบครัวตอนนี้ไม่มีใครพูดจีนแต้จิ๋วได้แล้วนอกจากอาม่าเราคนสุดท้าย เคยคิดอยากหาเวลาให้อาม่าช่วยสอนภาษาให้เหมือนกันครับ ถึงอาจจะไม่ได้เอาไปใช้มากมายแต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหายแถมได้ภาษาเพิ่มด้วย 😁

  • @discgato5895

    @discgato5895

    2 жыл бұрын

    ครับ😁👍🏼

  • @soravisable

    @soravisable

    2 жыл бұрын

    ผมพูดกับอาม่าตลอดครับ ปัจจุบันก็ยังใช้ในครอบครัวและหมู่ญาติอยู่ แม้ว่าจะพูดไม่คล่องแต่อย่างน้อยใช้เป็นและเข้าใจมีประโยชน์มากครับ เป็นลูกหลานคนจีนที่ไม่เข้าใจภาษาท้องถิ่นของตัวเองเลยนี่เสียความรู้เกี่ยวกับครอบครัวตัวเองไปมากนะครับ หลายสิ่งหลายอธิบายเป็นภาษาไทยมันก็ไม่ตรงเสียทีเดียว

  • @topstory5978

    @topstory5978

    2 жыл бұрын

    ไปเรียนเพิ่มเป็นภาษาจีนกลางจะเป็นประโยชน์กว่าครับ

  • @nonameguy3665

    @nonameguy3665

    Жыл бұрын

    ​@@topstory5978 จีนแมนดารินก็กลืนจีนกวางตุ้ง จีนฮกเกี้ยน จีนแต้จิ๋ว หรือแม้แต่ภาษาอุยกูร์ ภาษามองโกล ภาษาทิเบต อีกที

  • @isee417
    @isee4172 жыл бұрын

    ลำพังเรียนภาษาต่างประเทศก็ยากพอแล้ว ยังต้องเรียนภาษาถิ่นอีก

  • @bonnieow1740
    @bonnieow17402 жыл бұрын

    ผมมีเรื่องหนึ่งที่คาใจมาก เรื่องโยนงานไปโยนงานกันมา อย่างของตำรวจ หรือหมอ ครับ ปัดงานกันไปปัดงานกันมา

  • @natthapongnameangrak9924

    @natthapongnameangrak9924

    2 жыл бұрын

    (ในความคิดผมนะ)มันก็คือกระบวนโง่ๆที่ทำให้งานล่าช้าพอมันช้าคนก็จะลืมพอคนลืมตำรวจก็โยนงานทิ้งแต่งานไหนทำแล้วได้เลื่อนขั้นหรือพวกคนใหญ่คนโตเป็นคนสั่งแม่งขยันขึ้นมาทันที

  • @natthapongnameangrak9924

    @natthapongnameangrak9924

    2 жыл бұрын

    แล้วผมเคยเห็นในข่าวครั้งนึงที่ชาวบ้านออกมาบอกว่าพวกตำรวจทำงานล่าช้า/ไม่เคยเสร็จ แล้วอยู่ๆพวกตำรวจก็ออกมาแก้ข่าวว่า "ทำสุดฝีมือแล้ว"

  • @natthapongnameangrak9924

    @natthapongnameangrak9924

    2 жыл бұрын

    ส่วนหมอนี้ผมไม่รู้

  • @l_i7411
    @l_i74112 жыл бұрын

    ชอบเรื่องเกี่ยวกับภาษามาก แล้วชอบการนำเสนอในคลิปมาก ไม่เบื่อเลยค่ะ ชอบมาก ๆ อีกที่นำเสนอวิธีแก้ปัญหาด้วย ทำได้ดีมากค่ะ ขอบคุณนะคะ

  • @ccchemicaaa

    @ccchemicaaa

    2 жыл бұрын

    เมคเฟรนด์กันไหมคะ ;--;

  • @bestnaphat3172
    @bestnaphat31722 жыл бұрын

    ผมอยากให้พี่ทำคลิป ทำไมต้องกินเหล้า เพราะสมัยนี้คือไม่ว่าจะงานอะไรก็ต้องมีเหล้าเบียร์แอลกอฮอ มันเกิดแนวคิดนี้จากอะไร เพราผมมองว่าการซื้อแอลกอฮอราคาแพงๆมาดื่มสังสรรมันไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรเลย มันทั้งเปลืองเงิน เกิดผลเสียต่อร่างกาย และอะไรอีกมากมาย ทั้งๆที่คนรู้แต่ก็เลือกที่จะกินกัน โอเครอันนี้คือข้อสงสัยของผม ผมเลยอยากให้พี่ช่วยหาข้อมูลมาทำคอนเท้นนี้หน่อย ผมเชื่อว่าไม่ได้มีแค่ผมคนเดียวที่อยากรู้

  • @pookpiki5081

    @pookpiki5081

    2 жыл бұрын

    ขอแสดงความคิดเห็นของเราหน่อยนะคะ เราว่าที่คนตัดสินใจดื่มกันทั้งที่รู้ถึงผลเสียที่จะตามมา อาจจะเป็นเพราะไม่อยากรู้สึกแปลกแยก ทำตามๆกันไป ต้องการเป็นที่ยอมรับจากพวกพ้อง​ หรือดื่มเพื่อเข้าสังคมแม้จะไม่ได้อยากดื่ม ส่วนตัวเราเองก็ไม่ดื่มค่ะ เพราะไม่ได้สนใจว่าคนจะมองยังไง+ไม่อยากทำตามคนอื่นด้วย อยากรู้สึกสเปเชี่ยล5555

  • @bestnaphat3172

    @bestnaphat3172

    2 жыл бұрын

    @@pookpiki5081 ใช่ๆอันนี้เป็นเหตุผลที่เราแบบเฉยๆมาก คือแค่เห็นคนอื่นกินเลยกินตามหรอ..?อะไรประมานนี้ เลยอยากให้พี่เขาช่วยหาข้อมูลมาทำคลิปเพราะจะได้รู้ถึงจุดกำเนิดว่ามันเกิดจากอะๆร

  • @user-ql8xt3tq8g

    @user-ql8xt3tq8g

    2 жыл бұрын

    คำตอบง่ายมากครับ เป็นประเพณี ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มนุษย์ไม่สนว่า สิ่งนี้จะถูกหรือผิด มนุษย์สนแค่ว่า เมื่อได้กินแล้วมันได้ความสนุก ทำตามๆกัน พัฒนะอธิบายเรื่องนี้ได้เพียงแค่ข้อเดียวครับก็คือทำตามกันทั้งนั้น ไม่มีอะไรมากกว่านี้เลย ไล่มาตั้งแต่กษัตริย์จนถึงคนรากหญ้า ลดแล้วแต่กินเหล้ากินเบียร์ มันเหมือนเป็นประเพณีของโลกใบนี้ไปแล้วครับ และพวกเราก็ถูกปลูกฝังมาให้มองเหล้าเบียร์เป็นเรื่องปกติ มนุษย์เราก็เลยบอกว่าการกินเหล้าเบียร์ ก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะว่าเราถูกปลูกฝังมาแบบนั้นทั้งที่จริงแล้วมันผิด

  • @user-ql8xt3tq8g

    @user-ql8xt3tq8g

    2 жыл бұрын

    @@bestnaphat3172 เริ่มแรก สมัยเมื่อครั้งตั้งแต่อดีตโบราณ ณาการ มนุษย์ ได้มีวิวัฒนาการ ทั้งเรื่องอาหาร สุรา เบียร์หรือน้ำหมัก ซึ่งมนุษย์ได้ค้นพบว่าสุราหรือเหล้าหรือเบียร์พวกเนี้ย มันช่วยให้ คงที่อุณหภูมิในร่างกายมนุษย์ไว้ได้ เพราะสมัยก่อนไม่มีตึกรามบ้านช่องตึกสูง แบบนี้ มีแต่ต้นไม้และป่าไม้ ซึ่งแม้แต่เขต พื้นที่ ในแนวเส้นศูนย์สูตร ก็ยังมีอากาศที่เย็นจัด เพราะฉะนั้นมนุษย์ทั่วทุกพื้นที่เลยกินเหล้าหรือเบียร์ ที่หมักจาก ของต่างๆ กินเพื่อ ทำให้อุณหภูมิในร่างกาย ไม่เย็นจนเกินไป เพราะแอลกอฮอล์ มันช่วยลดอาการหนาวได้ หลังจากนั้นมนุษย์ก็เลยกินเหล้ากินเบียร์ ตามกันมาเรื่อยๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันครับ เคยเห็น หนังจีนสมัยก่อนไหมครับ เขาจะหมักเหล้าเป็นไหเป็นโถ กินเหล้าแทนน้ำ เมื่อกินข้าวเสร็จก็ต้องกินเหล้าตาม เพื่อคงที่อุณหภูมิในร่างกายเอาไว้ เพราะสมัยก่อนอากาศมันหนาวมากครับ เพราะมันยังไม่มีอุตสาหกรรมหนัก มนุษย์ยังไม่ได้ปล่อย ก๊าซพิษ ทำให้โลกในสมัยก่อนนั้นมีอุณหภูมิที่เย็นมาก และนอกจากเสื้อกันหนาวแล้วก็เป็นพวกแอลกอฮอล์นี่แหละครับที่ทำให้อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ ไม่หนาวเย็นมากจนเกินไป มันก็เลยกินกันต่อมากลายเป็นประเพณี ที่ทุกประเทศทั่วโลก กินเหล้ากินเบียร์ นี่แหละครับ

  • @Aurontime777

    @Aurontime777

    2 жыл бұрын

    น่าจะมีคลิปของ echo ที่ทำเรื่องนี้นะ ลองไปดู

  • @rayt.8611
    @rayt.86112 жыл бұрын

    ขอรีเควสอะไรที่ไม่เกี่ยวกับคลิปหน่อย55555 คือเราชอบฟังpodcastพูดมากของช่องนี้ในSpotify แบบฟังเพลินมั้ก เราอยากให้พี่ทำpodcastเพิ่มขึ้นเยอะๆเลยเราอยากฟังง🥺

  • @whatTabouTyoU
    @whatTabouTyoU2 жыл бұрын

    เราสามารถใช้ภาษาพาร์เซลได้อย่างชำนาญ แต่ว่าหาคนสนทนาด้วยได้ยากมาก ปัจจุบันก็เอาไว้คุยกับงูตอนดำนาหรือเข้าป่ายามหาหน่อไม้เท่านั้นเอง อยากให้ กศธ.บรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนครั่ะบ

  • @cobaltian1986

    @cobaltian1986

    2 жыл бұрын

    คุยกับน้อนงูไม่รู้เรื่องระวังโดนสวบหัวเอานะคะ

  • @muninbyn3323
    @muninbyn33232 жыл бұрын

    ชื่นชมการนำเสนอมากเลยค่ะ🤩

  • @oyefirangi2624
    @oyefirangi26242 жыл бұрын

    ภาษาไทอาหมทุกวันนี้ก็เป็นภาษาที่ตายเรียบร้อยแล้ว ซึ่งรับการพูดทางอัสสัมมากเกินไป จนตอนนี้ลูกหลานพยายามรื้อฟื้นจาก ภาษาใกล้เคียง

  • @oathka
    @oathka2 жыл бұрын

    ชอบข้อมูล👏 ใช้คำพูดฟังง่ายดี ชอบการ์ตูน

  • @oathka

    @oathka

    2 жыл бұрын

    @@her2535 อร้ายเรียกป้าโอ้ทค่ะ เพราะไม่ได้เป็นครู มาหาความรู้เหมือนกัน 😊

  • @saransaelim4840
    @saransaelim48402 жыл бұрын

    อย่างแรกเลย ภาษาไทยออกจากหลักสูตรได้มั้ยวะ??? พูดได้กุก็พอใจละ

  • @blackn8839
    @blackn88392 жыл бұрын

    รักช่องนี้จัง ทำคอนเท้นตรงไปตรงมา แทรกความรู้ เล่าสนุกด้วย

  • @mewwarichtossatisrangsun2439
    @mewwarichtossatisrangsun24392 жыл бұрын

    เพิ่งเคยดูคลิป พี่พูดเหมือนครูสังคมเลยค่ะ จะหลับ แต่ดี หนูชอบ ดีใจที่มาเจอคลิปตอนจะนอน..ได้มียานอนหลับเพิ่มอีกหนึ่งเม็ด

  • @waroot1234
    @waroot12342 жыл бұрын

    เอาจริงๆ คำภาษาลาวโบราณ บางคำ ผมไม่เข้าใจแล้วว่ามันคืออะไร เวลาคนเฒ่าคนแก่พูด ครับ ผมเป็นคนอีสานที่ชีวิตส่วนใหญ่พูดแต่ภาษาไทยกลาง มากกว่าภาษาถิ่น

  • @cuteboy219

    @cuteboy219

    2 жыл бұрын

    อยู่จังหวัดไหนครับ

  • @waroot1234

    @waroot1234

    2 жыл бұрын

    @@cuteboy219 สกลนครครับ

  • @knotnot732
    @knotnot7322 жыл бұрын

    เห็นด้วยมากๆ เพราะส่วนตัวคิดว่าภาษาก็เป็นสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่ง มันมีผลต่อนิสัยใจคอของคนเหมือนกันนะ รวมถึงความสามารถและมุมมองของคนด้วย เอาแค่ปัจจุบันก็มีคำแปลกๆที่แต่ละสาขาวิชาชีพนั้นๆเข้าใจ แต่สาขาอาชีพอื่นไม่เข้าใจตั้งเยอะ ถึงมันจะเป็นภาษากลางเหมือนกันก็เหอะ ส่วนตัวเราก็อยากให้อนุรักษ์ไว้ หรืออย่างน้อยจดบันทึกไว้ก็ยังดี บางทีมันอาจจะสามารถบอกวิถีชีวิตของคนที่ใช้ภาษานั้นๆเลยก็ได้นะ

  • @adriancarton5182

    @adriancarton5182

    2 жыл бұрын

    มีน้องเป็นหมอ เวลาคุยกับเพื่อนหมอด้วยกันเป็นศัพท์แพทย์ฟังแล้วเข้าใจกันเอง คนไม่ได้เรียนมาฟังไม่รู้เรื่องเลย

  • @pppkotka908
    @pppkotka9082 жыл бұрын

    นี่คิดว่า ภาษาถิ่นไม่ต้องเรียนขนาดนั้น เพราะก็ใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ควรตราไว้ในหลักสูตร แต่ควรเรียนภาษาที่เป็นสากลเพื่อให้สามรถใช้ชีวิตในโลกโลกาภิวัฒน์ ในอนาคตได้

  • @nokaton

    @nokaton

    2 жыл бұрын

    มันเรียนควบคู่กันได้ครับ

  • @CableGraceCB
    @CableGraceCB2 жыл бұрын

    คิดว่าไทยที่ภาษา 4สาย เหนือ อีสาน กลาง ใต้ แต่ก็จะมีภาษาภายในสายนั้นๆแยกย่อยไปอีก เช่นภาคเหนือ มีภาษาเหนือ ทั้งไป เชียงใหม่ เชียงราย ลื้อยอง แต่ละที่ก็จะมีภาษาเหนือในสำเนียงที่ต่างกันไป แต่ก็พูดกันรู้เรื่องแหละแค่คำศัพท์บางอย่างอาจจะต่างกันไป เอาเข้าจริงๆในแต่ละภูมิภาคก็มีภาษาถิ่นในภาษานั้นไปแยกย่อยไปอีก

  • @YoshitoChanX1
    @YoshitoChanX12 жыл бұрын

    ผมเคยพูดภาษาใต้เพราะเป็นคนใต้มาก่อน แต่พอย้ายมาที่ยะลา เขาจะพูดภาษามลายู ถึงจะพูดไทยได้ แต่ก็พูดได้เฉพาะภาษาไทยกลาง ผมเลยต้องพูดภาษากลาง และสำเนียงภาษาใต้ที่ผมเคยพูดอยู่ทุกวัน ก็ได้หายสาบสูญไปเกือบหมด....

  • @Listentomy_soul
    @Listentomy_soul2 жыл бұрын

    เป็นคนเหนือที่พูดเหนือไม่ได้ทั้งๆที่บ้านพูดทั้งคำเมือง ลื้อ แต่เราแค่ฟังออกแต่พูดไม่ได้ เราเสียดายมากๆถามแม่ว่าทำไมไม่สอนตั้งแต่เด็กๆแม่ให้เหตุผลว่ากลัวจะแยกไม่ออกเวลาพูดจะได้ไม่ติดขัด

  • @naxxan4964

    @naxxan4964

    2 жыл бұрын

    เสียดายแทนมากเลยค่ะ มันสามารถแยกได้ สนุกด้วยค่ะเวลาได้คุยเปลี่ยนภาษาไปมา ถ้ายังอยากพูดได้ลองเอาตัวเองไปอยู่ในสังคมแบบนั้นแล้วฝึกมันดูนะคะ ถ้าตั้งใจที่จะพูดให้ได้จริง ๆ เราเชื่อว่าคุณจะทำได้แน่นอน เราเคยเห็นแม่เพื่อนคนที่ไม่ใช่คนเหนือแต่เค้าฝึกพูดกับคนเหนือไม่กี่ปีจนพูดได้ค่ะ ดูไม่ออกเลยว่าไม่ใช่คนเหนือ55 แต่เพื่อนอีกคนอยู่มาเป็นสิบปีก็ยังพูดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเราจริง ๆ ค่ะ ไม่มีอะไรเกินความพยายามค่ะ ฮึบ ๆ 💪🏼💗✨

  • @user-it9fe2kr3g
    @user-it9fe2kr3g2 жыл бұрын

    ทันต่อเหตุการณ์และได้ความรู้เต็มๆ

  • @tomtaemp9801
    @tomtaemp98012 жыл бұрын

    คลิปนี้ดีมากๆเลยค่ะ พูดเรื่องภาษาถิ่นได้เข้าใจง่ายแล้วก็กระชับมาก

  • @Ninlakarn
    @Ninlakarn2 жыл бұрын

    เห็นด้วยครับ ภาษาอีสาน ภาษาคำเมือง ภาษาปักษ์ใต้ ภาษามลายู ภาษาของเผ่าต่างๆ ฯลฯ ก็เป็นภาษาของชาติเราครับ

  • @Lollipop-.-sweetie
    @Lollipop-.-sweetie2 жыл бұрын

    อันนี้ความคิดเห็นเรานะ เราว่ามันเป็นวิวัฒนาการของมนุษย์มากกว่า แบบสมัยยุคหินเราก็ไม่ได้ใช้ภาษาเหมือนในปัจจุบัน แล้วลองคิดดูว่าในสมัยยุคหินคนไม่ได้อยู่รวมตัวกันเยอะเหมือนสมัยนี้ต่างก็มีหลายเผ่าหลายพวกเพราะไปมาหาสู่กันยาก ซึ่งแน่นอนว่าการใช้สัญลักษณ์หรือเสียงในการพูดคุยในแต่ละเผ่าต้องมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน พอวิวัฒนาการมาอีกหน่อยก็เริ่มอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่มากขึ้นมีความเป็นเมืองมากขึ้นภาษาก็เริ่มวิวัฒนาการมากขึ้นจากที่มีแค่สัญลักษณ์หรือเสียงเอาไว้พูดคุยกันในกลุ่มเพื่อแค่ล่าสัตว์หาเหยื่อ ก็มีความซับซ้อนมากขึ้นมีภาษาที่ใช้แทนชนชั้นวรรณะ พอต่อมาก็มีการค้าขายแลกเปลี่ยนความแตกต่างทางภาษาก็เริ่มมีการยืมคำจากชนเผ่าอื่นมาใช้มากขึ้น เราว่าวิวัฒนาการทางภาษามันมีมาตลอด และแน่นอนระหว่างทางที่มีภาษาที่เราใช้อย่างในปัจจุบันนี้ มันต้องมีภาษาอีกหลากหลายมากมายที่เกิดขึ้นและหายไป เพราะไม่สามารถใช้แทนได้กับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยต่างๆ อย่างปัจจุบันการติดต่อสื่อสารที่สามารถเชื่อมต่อไปได้ทุกมุมโลกเราสามารถรู้ทันเหตุการณ์จากทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสมัยก่อน ดังนั้นภาษาก็เริ่มมีความใกล้ชิดมากขึ้นมีการยืมใช้ภาษาของแต่ละที่ง่ายขึ้นเพราะมันเสียเวลาที่ต้องคิดคำขึ้นมาใหม่และผู้คนก็เข้าใจความหมายของมัน ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงของภาษานี้มันก็จะยังคงเกิดขึ้นตลอดเวลาซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าอีก100-200ปีข้างหน้าเราอาจจะไม่ได้ใช้ภาษาไทยอย่างในปัจจุบันอีกก็ได้ ดังนั้นเราจึงคิดว่าไม่ว่าภาษาท้องถิ่นหรือภาษาที่ใช้สื่อสารสากลมันจะหายหรืออยู่หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าภาษานั้นมีคำที่จะสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของโลกที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทันหรือไม่ ถ้าทันและมีการแลกเปลี่ยนตลอดเวลาก็คงอยู่ แต่ถ้าไม่ทันมันก็หายไปตามกาลเวลา

  • @user-be1xj9hg4c

    @user-be1xj9hg4c

    2 жыл бұрын

    เรื่องการเปลี่ยนแปลงของภาษามันมีแน่นอน แต่การรักษาเพื่อไม่ให้เกิดการทำลายวัฒนธรรมทางภาษานี่สิ เพราะคุณค่าในตัวภาษาเหล่านั้นสะท้อนแนวคิดบุคคลผู้ใช้ ยิ่งถ้าการรวมศูนย์ภาษาเกิดขึ้นยิ่งเป็นการกีดกันบุคคลผู้ใช้ เหมือนที่ในคลิปได้บอก การยืมคำต่างประเทศมันมีอยู่แทบจะทุกภาษาอยู่แล้ว ญี่ปุ่นคือตัวอย่างที่ดี แต่ภาษาริวกิว และไอนู ก็แทบไม่มีผู้พูดเพราะ ความเจริญไปรวมที่เมืองที่คนพูดญี่ปุ่นกลาง เรื่องวิวัฒทางภาษาน่าจะเป็นกระบวนการนึงที่เกิดขึ้น แต่มันไม่น่าจะเป็นการไปทำให้เกิดข้อผูกมัดในระบบเศรษฐกิจหรือสังคมจนคนต้องละเลยของๆที่ท้องถิ่นเจ้าตัวมี

  • @user-tl5gf2zl3g
    @user-tl5gf2zl3g2 жыл бұрын

    ไม่ใช่แค่คนกลุ่มน้อยนะที่เสี่ยงภาษาจะสูญพันธุ์อย่างคนกลุ่มใหญ่อย่างคนโคราชปัจจุบันแทบจะเรียกว่าภาษาโคราชไม่ได้แล้วเพราะคำศัพท์เฉพาะแทบจะไม่มีใครพูดแล้ว เหลือเพียงสำเนียงพูด

  • @murodza
    @murodza2 жыл бұрын

    ฟังแล้วน่าเศร้าจัง ควรมีการตั้งกลุ่มอนุรักษ์ภาษาและตัวอักษรของกลุ่มชนต่างๆ ไว้ไม่ให้ศูนย์หายกันไปน่าจะดีนะครับ

  • @kominbunsri2278

    @kominbunsri2278

    2 жыл бұрын

    มันมีกลุ่มเฟสบุ๊คที่สอนภาษาล้านนาอยู่นะ

  • @supanat3642

    @supanat3642

    2 жыл бұрын

    อักษรล้านนาสมัยนี้คนอ่านออกเขียนได้มีน้อยมากครับ โดนอักษรไทยกลืนแทบจะหมดแล้วครับ

  • @kominbunsri2278

    @kominbunsri2278

    2 жыл бұрын

    @@supanat3642 แต่มันเรียกไม่ยากครับ รวมๆ เหมือนภาษาไท+ลาว+ภาษาพม่าไทใหญ่ยิ่งเป็นคนพูดภาษาเหนืออยู่แล้ว เรียนด้วยตัวเองก็อ่านออกครับ มันเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน

  • @harubiburger
    @harubiburger2 жыл бұрын

    หัวข้อนี้ดีมากๆ!!!!👍👍👍

  • @AAa-ul8zq
    @AAa-ul8zq2 жыл бұрын

    ภาษาไทดำ(ลาวโซ่ง)ในไทยกำลังจะหายไปเพราะลูกหลานชาวไทดำไม่สนใจจะใช้ในชีวิตประจำวันแล้วเพราะสื่อสารกับคนภาคกลางได้อยากถึงคุยกันไม่รู้เรื่องเลยทุกวันนี้ ต่างจากภาษาภูไทในภาคอีสานที่หนุ่มสาวชาวภูไทยังใช้พูดกันอย่างปรกติและยังสามารถใช้ภาษาภูไทพูดคุยสื่อสารกับคนอีสานและคนลาวได้ดี

  • @user-cq7lp8xi1q
    @user-cq7lp8xi1q2 жыл бұрын

    บ้าน อยู่ติดชายแดนทางเหนือค่ะ คนส่วนมากเป็นคนไทยใหญ่ (ไต) บางคำ ออกเสียงเหมือนกันคงา หมายต่างกันก็มีค่ะ เช่น หวาน (ไทยกลาง) แปลว่ารสชาติ (ไต) คือ อร่อย ค่ะ ถ้ามีคนถามว่า อาหารนี้หวานไหม คือเขาถามว่าอร่อยไหมค่ะ / หนาว (ไทยกลาง) แปลว่าอากาศ (ไต) แปลว่า ไม่สบาย เป็นไข้ค่ะ

  • @oak7522
    @oak75222 жыл бұрын

    เหลือแค่นิโคลโรบินสินะ ที่อ่านศิลาโพเนกลีฟได้ เพราะงั้นเธอถึงได้เป็นที่ต้องการตัวจากรัฐบาลโลกมากยังไงหล่ะ

  • @marvinmiller6471
    @marvinmiller64712 жыл бұрын

    ภาษาหายไปก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อาจเกิดขึ้นในอนาคตหมื่นปีพันปีข้างหน้า แต่สิ่งจะเกิดขึ้นอีกแน่ๆ คือคำใหม่ๆ บางครั้งอาจเกิดขึ้นจากการรวมทุกภาษาไว้ด้วยกัน ก็เหมือนสีผินั่นแหละสุดท้ายแล้วจะเหลือแค่สีผิวแบบเดียวเพราะในอนาคตจะเต็มไปด้วยลูกครึ่ง

  • @user-ur6tb1ew1o
    @user-ur6tb1ew1o2 жыл бұрын

    ชอบทุกคลิป ช่วยทำคลิปให้ฟังเยอะหน่อยครับ

  • @user-xe5ce9tm5d
    @user-xe5ce9tm5d2 жыл бұрын

    ชอบคอนเทนต์ช่องนี้มากเลยค่ะ

  • @Pixxie99999
    @Pixxie99999 Жыл бұрын

    ชอบมากค่ะ

  • @kridsadayantarawattana9188
    @kridsadayantarawattana91882 жыл бұрын

    อู้ภาษาล้านนา และเขียนล้านนาได้เน้อครับ ภาษาล้านนาอู้ม่วนฟังหวานเน้ออ

  • @WERpXD
    @WERpXD2 жыл бұрын

    พี่ครับคืออันนี้ผมสงสัยวิชาสังคมอะครับที่มักจะสอนศาสนาพุทธมากกว่าศาสนาอื่นอะครับถึงจะบอกว่าคนไทยนัยถือศาสนาพุทธเยอะก็เถอะ

  • @sorakam359

    @sorakam359

    2 жыл бұрын

    มันเป็นไปตามหลักสูตรจ้า โดยขึ้นอยู่กับภูมิภาค และผู้จัด รวมกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งในหมวดสังคมมันโคตรกว้าง. โดยสิ่งที่สำคัญมากที่สุดตัองคำนึงว่าผู้เรียนจะได้อะไรและนำไปใช้อะไร ซึ่งมากกว่า90%เรามั่นใจว่าเค้าถามพุทธนะ ส่วนตัวลุยสนามสอบมาพอควร สามารถใช้ยันสอบป.ตรีสอบ และสอบเข้าทำงานเราก็เจอแต่พุทธนะ ยิ่งสอบครูยิ่งเจอเยอะ

  • @Bosston_0987
    @Bosston_09872 жыл бұрын

    ภาษาก็เปรียบเสมือนการระบายสีน้ำลงบนกระดาษ เมื่อหยดของสีแดงไหลมาบรรจบกับหยดของสีน้ำเงิน มันก็จะผสมประสาทกัน จนเกิดเป็นหยดของสีม่วง ประมาณนี้ละมั้ง

  • @bigshotthai9725
    @bigshotthai97252 жыл бұрын

    ก็ครูภาคกลางทั้งนั้นที่โยกไปสอนล้านนา อิสาน ใต้

  • @Stepprometropolis
    @Stepprometropolis2 жыл бұрын

    สุดยอดแห่งช่องเลย

  • @user-gu1wp7zk7u
    @user-gu1wp7zk7u2 жыл бұрын

    ชอบมากๆครับ

  • @dadaw.0
    @dadaw.02 жыл бұрын

    เราอยากสนับสนุนพูดมากเลยนะแต่ติดที่เราไม่มีเงิน55555

  • @user-qq8wh2vr8e
    @user-qq8wh2vr8e2 жыл бұрын

    สิ่งที่ไม่ได้ใช่ย่อมหายไป เป็นแบบนั้นถูกต้องแล้วครับ

  • @lucuslaphis447
    @lucuslaphis4472 жыл бұрын

    ปัจจุบัน​หมู่บ้านเรากับหมู่บ้านข้างๆต่างกันแบบคนละโยชน์​เลย

  • @harryjcy4500

    @harryjcy4500

    Жыл бұрын

    พูดภาษาอะไรอะ

  • @user-iz8wk8xh7b
    @user-iz8wk8xh7b2 жыл бұрын

    แล้ว ภาคอีสาน ก็ไม่ได้มีภาษาอีสาน

  • @anishiable
    @anishiable2 жыл бұрын

    ภาษาไทยไม่ยาก แต่ที่ยากคือภาษาคน ขอบคุณครับ

  • @Pr3mmz
    @Pr3mmz2 жыл бұрын

    สมัยเรียนม.ต้นที่เชียงใหม่ ยุคนายกแม้ว โรงเรียนผม(เอกชน) ก็มีวิชาท้องถิ่นของเราให้เรียนนะ เป็นวิชาย่อยของสังคม มีเรื่องภาษาถิ่น เขียนตัวเมืองให้เรียนด้วย ตอนนั้นเวลากลับบ้าน ผ่านวัดนั่นนี่เห็นเขียนชื่อตัวเมืองเราก็พยายามอ่าน สนุกดี จนย้ายเข้ามาเรียนกทมก็ลืมๆ มันไป ไม่รู้สมัยนี้ยังมีสอนอยู่มั้ย

  • @PAPARKboat
    @PAPARKboat2 жыл бұрын

    บ้านผมแถวชายแดนตาก มีภาษา ปวากะญอ โป้ พม่า ปวาเกอเจอ เลชอแหวะ ซึ่งเราก็อยุ่ในไทยครับ ภาษาเยอะมาก

  • @Victorianus-Romulus-Helena
    @Victorianus-Romulus-Helena2 жыл бұрын

    ประเทศนี้ไม่ได้มีแค่ชาติพันธุ์เดียว ภาษาเดียว เราคือคนอีสาน มีภาษาเป็นของตัวเอง ประเพณีวัฒนธรรม ศาสนาของเรา ชาวสยาม[กรุงเทพ]ต้องเคารพความแตกต่างของเรา โดยเฉพาะภาษาเรื่องภาษาคือเรื่องสำคัญที่ละเลยไม่ได้ อย่าพยายามยัดเหยีดหรือทำให้พวกเราเป็นเหมือนกับพวกคุณ ถ้าเราต่างให้ความเคารพซึ่งกันแหละกันในความแตกต่าง เราจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

  • @wowroblox6953

    @wowroblox6953

    2 жыл бұрын

    จริงคนับ

  • @theneo2008

    @theneo2008

    2 жыл бұрын

    คุณอะอย่าพยายามแบ่งแยก ใครเขายัดเยียดอะไร ถ้าจะพูดถึงไอเด็กเหี้ยที่ดูถูกชาวอีสานมันแค่กี่ตัว และหนึ่งในนั้นก็เป็นคนอีสานด้วยซ้ำ ปากบอกอยากอยู่ร่วมกันตัวคุณยังแบ่งแยกใช้ตรรกะเหมารวม แล้วคุณจะมีมุมมองต่างอะไรกับไอเด็กเหี้ยพวกนั้นอะ

  • @user-hp9uu5ld6u

    @user-hp9uu5ld6u

    2 жыл бұрын

    เป็นเอามากไร้สาระเคยได้ยินไหมลาวต้มลาว

  • @Victorianus-Romulus-Helena

    @Victorianus-Romulus-Helena

    2 жыл бұрын

    @@theneo2008 ผมก็พูดชัดเจนแล้วนะครับว่าถ้าเราต่างให้ความเคารพซึ่งกันแหละกันเราก็อยู่ร่วมกันได้หรือคุณไม่อยากอยู่ร่วมกับพวกผมหรอครับ แล้วยัดเยียดจริงไหมครับ การศึกษาส่วนมากก็ภาษาไทย ประวัติศาตร์ก็ไทยและอีกหลายอย่าง ไม่งั้นหลายๆที่ในประเทศไทยคงไม่มีคนที่ลืมภาษาของตัวเองหรอครับ และก็อย่าหลงประเด็น แล้วอย่ายัดเยียดคนคิดต่างว่าแบ่งแยกหรือชังชาติ

  • @theneo2008

    @theneo2008

    2 жыл бұрын

    @@Victorianus-Romulus-Helena อาการหนักละ ดูท่าจะรักษาไม่หาย เอาตามที่คุณว่าก็ได้ผมยอมครับ

  • @Bosston_0987
    @Bosston_09872 жыл бұрын

    ผมสงสัยมาโดยตลอดว่า คนสมัยก่อนรู้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาของตัวเองได้ยังไง ซึ่งตอนนั้นยังไม่มี Google แปลภาษา ไม่มีพจนานุกรม แล้วเขาจะรู้ได้ไง ว่าคำไหนหมายถึงอะไร เช่น cat แปลว่า แมว / love แปลว่า รัก ใครมีข้อสันนิษฐานบ้างช่วยไขข้อสงสัยให้ที

  • @user-it5wt2rd7v

    @user-it5wt2rd7v

    2 жыл бұрын

    คือก่อนจะมีทูตมาสานสัมพันธ์ไมตรี มันจะมีการติดต่อกันแบบไม่เป็นทางการอยู่ก่อนแล้วครับเช่น โปรตุเกสกับอยุธยา โดยคนที่มาติดต่อก็จะเป็นพ่อค้า นักสำรวจ เขาก็จะใช้ภาษาใบ้กัน แล้วค่อยเรียนรู้ทีละนิดกับคนพื้นเมือง เช่นชี้ไปที่แมว แล้วคนพื้นเมืองก็จะบอกว่านี้คือแมวเขาจำไว้ทีละคำ แต่ถ้าโปรตุเกสจะไปละแวก ก็จะมายืมล่ามอยุธยาที่พูดเขมรได้เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปเรียนภาษาเขมรเอง

  • @user-it5wt2rd7v

    @user-it5wt2rd7v

    2 жыл бұрын

    เก็ทไหมคับ

  • @FeeSon
    @FeeSon2 жыл бұрын

    แค่เกาะภูเก็ต ยังมีตั้ง 3สำเนียงเลย (เท่านับได้) 1 ลิ้นคนเมือง 2 สำเนียงชาวประมง 3 สำเนียง บางเทา-กมลา

  • @Te3pled0g
    @Te3pled0g2 жыл бұрын

    ขนาดในจังหวัดเดียวกันคนละสำเนียงเลย

  • @sineenardkittikajorn1813
    @sineenardkittikajorn18132 жыл бұрын

    อยู่สุรินทร์ เข้าใจไทย เขมร ส่วย ลาว ก็แยกสมองแทบไม่ทัน5555

  • @user-hz8lb4si9w
    @user-hz8lb4si9w2 жыл бұрын

    Good

  • @godogbo
    @godogbo2 жыл бұрын

    คอนเท้นดีตลอดเลย ไว้มีตังจะมาสมัครเมมเบ้อนะคะ สนับสนุนค้าบ

  • @jirawatsenatnai9074
    @jirawatsenatnai90742 жыл бұрын

    ภาษาอีสานมีคำพูดตลกเยอะสุดละ

  • @thitimap.2888
    @thitimap.28882 жыл бұрын

    เวลาไปเที่ยวต่างจังหวัด แม่ค้าพูดกลางใส่ ทั้งๆที่เราว่าเราเข้าใจและอยากเรียนรู้ภาษาถิ่นบ้านเขานะ สงสัยเขาคงคิดว่าเราจะฟังภาษาบ้านเขาไม่ออกแน่ๆเลย

  • @JamesSTN

    @JamesSTN

    2 жыл бұрын

    ใช่ครับ เดี๋ยวจะฟังไม่ออก

  • @thitimap.2888

    @thitimap.2888

    2 жыл бұрын

    @@JamesSTN 😂

  • @JamesSTN

    @JamesSTN

    2 жыл бұрын

    @@thitimap.2888 ผมคนนึงก็ไม่อยากพูดภาษากลางนะ มันยังไงปากไม่รู้

  • @cuteboy219
    @cuteboy2192 жыл бұрын

    ไม่อยากให้ภาษาย่อยๆถูกกลืนจากภาษาใหญ่ๆ

Келесі