“ปรับตัวอย่างไร ให้เดินต่อไปถึง” ภาคอุตสาหกรรมไทยกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก I EP:2

ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนที่สูง รองลงมาจากภาคพลังงาน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ บทบาทของธุรกิจที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดน้อยลง ซึ่งไม่เพียงแต่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ในไม่ช้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกกดดันจากบริษัทใหญ่ทั้งในและต่างประเทศให้ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ (carbon footprint)
EP.2 พูดคุยกับ ดร. ชาตรี วัฒนศิลป์ นักวิจัยสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
00:00 เริ่มรายการ
01:32 อุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยมีอะไรบ้าง
03:35 เชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง และเชื้อเพลิงเหล่านั้นมาจากแหล่งใดบ้าง
06:06 ภาคอุตสาหกรรม เป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 ที่สูงอย่างต่อเนื่อง อยากให้อธิบายถึงกระบวนการอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไร
09:55 จากที่ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero) ภายในปี ค.ศ. 2065 เพื่อสอดรับกับเป้าหมายดังกล่าว ภาคอุตสาหกรรมควรปรับตัวอย่างไรบ้าง
11:40 เทคโนโลยีเป็น key man ที่สำคัญในการช่วยลดคาร์บอน (decarbonize) หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีเหล่านี้มีอะไรบ้าง
23:50 ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวต่อนโยบายเหล่านี้ หากไม่ทำได้หรือไม่
27:35 ปัจจุบัน ภาครัฐมีนโยบายมาตรการ กลไก สิทธิประโยชน์อะไรบ้างที่จะส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อปรับตัวเข้าสู่ เป้าหมายดังกล่าว
--------------------------
ERI Podcast Presented by Energy Research Insitute, Chulalongkorn University
Website: www.eri.chula.ac.th
Facebook Fanpage: / energy.resea. .
Email: eri@chula.ac.th
โทร: 0-2218-8096-7
#erichula #eripodcast
ติดตาม ERI Podcast ได้ที่ช่องทาง:
Spotify: open.spotify.com/show/2eKYiaJ...
Anchor: anchor.fm/eri-chula/episodes/...
Podbean: www.podbean.com/media/share/p...

Пікірлер

    Келесі