ไขข้อสงสัย "คาร์บอนเครดิต" โครงการลักษณะใดสามารถขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองไปซื้อขายในตลาดได้ I EP.8

กลไกคาร์บอนเครดิต ถือเป็นเครื่องมือการเงินที่สำคัญเพื่อช่วยให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปี 2021 ตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลกอยู่ที่ 1,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 20 ล้านบาท ซึ่งยังมีโอกาสที่ตลาดคาร์บอนเครดิตของไทยจะเติบโตเทียบเท่ากับตลาดโลกได้ อย่างไรก็ดี โครงการในลักษณะใดที่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตและไปซือขายในตลาดได้ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างกลไกการซื้อขายใบอนุญาตและการทำโครงการฯ ร่วมไขข้อสงสัยกันใน EP. นี้ค่ะ
พูดคุยกับ พี่ติ๊ก บุญรอด เยาวพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท The Creagy และ ที่ปรึกษาด้าน climate change และ carbon credit
00:00 เกริ่นนำ
01:29 Carbon credit คืออะไร
02:33 ทุกกิจกรรมที่ลดก๊าซเรือนกระจก สามารถทำเป็น Carbon credit ได้หรือไม่ และโครงการในลักษณะใดที่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตและไปขายในตลาด
04:47 ทำไม Carbon credit จึงมีส่วนช่วยในการลดโลกร้อนได้
06:16 ภาคส่วนไหนที่จะมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ใครสามารถทำคาร์บอนเครดิตได้
07:30 สถานการณ์การซื้อชายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยเป็นอย่างไร ปัจจุบันราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิต มีราคาอยู่เท่าไหร่
11:24 ข้อแตกต่างระหว่างกลไกการซื้อขายใบอนุญาตการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme) กับการทำโครงการคาร์บอนเครดิต (Crediting mechanism) แตกต่างกันอย่างไร
14:10 เรื่อง CBAM หรือ ภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน ผู้นำเข้าสามารถนำคาร์บอนเครดิตที่ซื้อมาไป offset เพื่อส่งสินค้าไปขายใน EU ได้หรือไม่อย่างไร เพื่อลดการจ่ายภาษีนำเข้าสินค้าใน EU ในอนาคต
16:35 CBAM เริ่มดำเนินการเมื่อไหรา
17:58 คำถามจากทางบ้านเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตของโครงการด้านป่าไม้ หากเค้ามีต้นมะม่วง ต้นมะขาม เค้าสามารถเอาไปขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้มั๊ย
22:36 ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้อย่างไรบ้าง
ERI Podcast Presented by Energy Research Institute, Chulalongkorn University
Website: www.eri.chula.ac.th
Facebook Fanpage: / energy.resea. .
Email: eri@chula.ac.th
โทร: 0-2218-8096-7
#erichula #eripodcast #carboncredits #คาร์บอน

Пікірлер: 15

  • @RangsantBandhukul
    @RangsantBandhukul Жыл бұрын

    ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาจะเสียเปรียบเพราะระบบไม่เป็นมาตรฐานและขาดความรู้ความเข้าใจจะเสียเปรียบเทียบในขีดความสามารถในการแข่งขันเพราะต้องเสียภาษีคาร์บอนเครดิตในการส่งออกนำเข้าสินค้าและขาดแคลนเงินจากการลงทุนในต่างประเทศทำให้ประเทศและประชาชนยากจนและยากลำบากมากขึ้นไม่มีทางพ้นกับดักแห่งความยากจนได้

  • @pannatatjuthasmith239
    @pannatatjuthasmith239 Жыл бұрын

    เกาไม่ถูกที่คัน ( คาร์บอนเครดิต ) 1. เหมือนเดินตามตูด ตามเกมฝรั่ง / ทำนองเดียวกันกับ การบังคับทำ มาตรฐาน ISO TQM และ อื่นๆที่ผ่านมาในอดีต 2. รู้ทั้งรู้ว่า ตั้งแต่ยุคปฏิวีติอุตสาหกรรม ฝรั่งสูบปล้นทรัพยากร จากเกือบทุกที่ในโลก เพื่อไปบำรุงบำเรอความสุขสบายให้กับชาติมัน และ ปล่อยของเสียสู่ชั้นบรรยากาศมาแล้วมากมาย จากอดีต ถึง ปัจจุบัน 3. สิ่งที่ควรส่งเสริม ให้ ปชช.ไทย คือเข้าการถึง พลังงานทางเลือก ในระบบที่ตอบโจทย์จริง ลด หรือ ไม่ต้องพึ่งพา พลังงานผูกขาดเดิมๆ คือ ( รฟฟ. บ.ถ่านหิน บ.ปิโตรเลียม )เลย เช่น - รถยนต์ไฟฟ้า ระบบ FCEV หรือเซลล์เชื้อเพลิง ทั้งแบบที่ใช้ ( กรีนไฮโดรเจน / กรีนเอทานอล / แอมโมเนีย ) รวมไปถึง การผลิตเชื้อเพลิงเหล่านี้ ที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ ที่ใช้วัตถุดิบหมุนเวียนจากท้องถิ่น ใช้พลังงานสะอาดในการผลิต และ แยกฐานการผลิตได้ เพิ่อลดการผูกขาดจากกลุ่มทุนพลังงานเดิม - สนับสนุนโซลาร์รูฟทอป ระบบไฮบริด + การยึดแผงในระบบตามตะวัน

  • @erichulaofficial9178

    @erichulaofficial9178

    Жыл бұрын

    ขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ ความคิดเห็นของท่านเป็นประโยชน์มากค่ะ

  • @rasameesin890
    @rasameesin890 Жыл бұрын

    ทำไมเกษตรกรต้องเสียค่าประเมินเอง

  • @user-os8mx2bz2k
    @user-os8mx2bz2k Жыл бұрын

    ทำไมคิดเฉพาะส่วนที่เพิ่ม ส่วนเก่าที่มีต้นไม้ก่อนแล้วไม่คิดให้ เขาจะเว้นต้นไม้ไว้ทำไม

  • @woody_0
    @woody_0 Жыл бұрын

    อยากให้ส่งเสริมให้ความรู้กับชาวสวนยางให้มาก วิธีการขึ้นทะเบียนควรง่าย จะได้เป็นรายได้เพิ่มเติมกับชาวสวนยางครับ เพราะส่วนมากยังไปวุ่นวายกับราคายาง ราคาขึ้น ราคาลงทั้งที่เราควบคุมราคาไม่ได้

  • @erichulaofficial9178

    @erichulaofficial9178

    Жыл бұрын

    ขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ การผลักดันเรื่องสวนยาง จะเป็นประโยชน์มากๆค่ะ

  • @user-cl8ke1ed7p
    @user-cl8ke1ed7p9 ай бұрын

    ต้นไม้มีอยู่แล้วควรขายได้เลยไม่ใช่ปลูกใหม่อย่างเดียว

  • @boatpratiphan.youtube
    @boatpratiphan.youtube Жыл бұрын

    👍👍

  • @user-cl8ke1ed7p
    @user-cl8ke1ed7p9 ай бұрын

    ยกเลิกทุนผูกขาดหรือเสือนอนกินกับทำนาบนหลังคนได้แล้ว

  • @lovethailand5125
    @lovethailand51259 ай бұрын

    ต้องปลูกอย่างน้อยกี่ไร่ค่ะ

  • @bchompoo

    @bchompoo

    3 ай бұрын

    10 ไร่ขึ้นไปค่ะ ฟังมาจากอีกช่องนึง

  • @virojkraidej7960
    @virojkraidej7960 Жыл бұрын

    ปลูกสักปาล์มยางพาราไปแล้วของผมน่าจะขายได้เลยสัก25ปียาง13ปีป่าล์ม8ปีน่าจะได้เงินรัฐมีแต่ขายฝันครับไม่เกิดตามมานานแล้วคลอดสักทีจะดีใหมคนบ้านนอกคอกนาไม่ต้องรอแต่แจกๆ

Келесі