อุปกรณ์ตัวนี้คือ " Variable Capacitor " คาปาปรับค่าได้ !!

Ойын-сауық

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมา พูดถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวหนึ่ง
เป็นอุปกรณ์ที่สามารถ เก็บประจุ และ สามารถ ปรับค่าความจุ ได้ตามที่เราต้องการ แต่จะเป็น ค่าในช่วงๆหนึ่ง
ที่อุปกรณ์ตัวนั้นกำหนดเอาไว้
ซึ่งก็ ถือว่ามีประโยชน์ ในการใช้งานและการออกแบบ ในบอร์ดวงจรต่างๆ
อุปกรณ์ชิ้นนี้มีชื่อว่า
Variable Capacitor ถ้าใครเกิดทันในยุค 90 ลงไป ก็จะคุ้นเคย กับ อุปกรณ์ตัวนี้ เป็นอย่างดี
เพราะว่ามันอยู่ใน วิทยุ Analog แบบเก่า
แต่ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า
ปกติ ตัวเก็บประจุ หรือ Capacitor ที่เรารู้จัก มักจะเก็บค่าความจุมากสุด อยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่งเท่านั้น
อย่างเช่น C ตัวหนึ่งมีความความจุ 1,000uF
ซึ่งถ้าหาก ค่าความจุเปลี่ยนไป ไม่ว่า จะมากขึ้นหรือน้อยลง เราก็สันนิฐานได้เลยว่า ว่ามันเริ่มเพี้ยนแล้ว
และถ้าค่ามันเกิย 10% ไปก็ตีว่ามันเสีย
แต่ Variable Capacitor เป็นอุปกรณ์ที่ ทำงานตรงกันข้าม
ถ้าตัวมันปรับค่าความจุไม่ได้ก็ คือตัวมันเสีย ไม่มีประโยชน์
ส่วนประกอบ
ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ กันหทมดครับ นั้นก็คือ
1. มีแผ่นโลหะ ที่ติดอยู่กับที่ ซ้อนกันหลายๆแผ่นจะเรียกว่า Stator
2. มีแผ่นโลหะ ที่เคลื่นที่ได้ เรียกว่า Rotor
ซึ่งติดกับ Shaft ทีเป็น เพลาหมุน อยู่แกนกลาง อีกทีหนึ่ง
ส่วนใหญ่ค่าก็จะอยู่ในช่วง PF
และก็มีตั้งแต่ 2 ขา ขึ้นไป
ส่วน
3 ขา มักจะใช้ในวิทยุ AM (Pin1 170pf , Pin2 , Pin3 340pf) ขากลางมักจะเป็นขากราวด์
ส่วน
6ขา มักจะใช้ในวิทยุ FM และใช้ค่าที่ น้อยกว่า
variable capacitor ที่ใช้ในวงจรกรองสัญญาณวิทยุ มักจะใช้ร่วมกับ ตัวเหนี่ยวนำ ร่วมด้วย
ตัวเหนี่ยว ถ้าเพื่อนๆเคยรื้อวิทยุออกมาดู มันก็คือ ขดลวดเส้นเล็กๆ ที่พันบน รอบแกนหลาย ร้อย หลายพันรอบ นั้นแหละครับ
เขาจะเรียกว่าเป็นแบบ LC tank ciruit
ซึ่งมันทำหน้าที่กรองสัญญาณที่ไม่ต้องการออกไป และให้ความถี่ที่ต้องการผ่านไปได้เท่านั้น
นอกจากนี้มันยังมี การเสริมสัญญาณต่อกัน หรือเรียกว่า แอม-พลิ-ฟิ-เค-ชั่น amplification ซึ่งจะช่วยให้
เพิ่มระดับสัญญาณไฟฟ้า เข้าสู่วงจร ได้อีกด้วย ส่งผลให้สัญญาณนั้นมีแรงส่งที่มากขึ้น
สำหรับ ค่าของ L และ C ในวงจร LC tank circuit หากมีค่าเปลี่ยนไป
จะทำให้ ความถี่คงที่ เปลี่ยนแปลงตาม
เพราะฉะนั้นการ
ปรับค่า C ให้มีค่ามากหรือน้อย ดูเหมือนว่า น่าจะทำได้ง่ายกว่า
การไปลดรอบ และ ไปเพิ่มจำนวณ รอบ ของตัวเหนี่ยวนำ
ซึ่งน่าจะยุ่งยาก เป็นอย่างมากครับ
สำหรับคลิปนี้ ผมขออธิบายไว้เท่านี้ก่อน
ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Пікірлер: 15

  • @myheartislonely.
    @myheartislonely.4 ай бұрын

    เคยเจอในวิทยุ am ผมปรับเล่นบ่อย 😁😁

  • @tuna6423
    @tuna64237 ай бұрын

    วีดีโอมีประโยชน์มากๆครับ 🎉

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    7 ай бұрын

    ขอบคุณ มากๆ ครับ

  • @user-sg4lt4yi2s
    @user-sg4lt4yi2s7 ай бұрын

    อธิบาย เข้าใจง่าย ขอบคุณ

  • @user-pc5xj8ce2v
    @user-pc5xj8ce2v7 ай бұрын

    สุดยอดติดตามครับ

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    7 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับ

  • @prateepprechathvanich2138
    @prateepprechathvanich21387 ай бұрын

    ได้ความรู้เพิ่มดีมากครับ..... ผมเกิดทัน ตอนนี้ผมมีอยู่1ชิ้นเก็บไว้นานนนนนแล้ว........สมัยก่อนผมเล่นวิทยุแร่ด้วยครับ

  • @be4885
    @be48857 ай бұрын

    คลิปต่อไปน่าจะ variable inductor

  • @PALMHAWi
    @PALMHAWi7 ай бұрын

    พี่คับ อยากให้พี่ลองทำเคื่องเล่นmp3แบบพกพาหน่อยคับ

  • @07ring07
    @07ring077 ай бұрын

    👍❤

  • @MultiImk
    @MultiImk7 ай бұрын

    ขอสอบถามครับ แหล่งจ่ายไฟ 12V ใช้สั่งรีเลย์ 12 V แต่แรงดันตกเหลือ 8 v เนื่องจากเดินสายไกล มีวิธีแนะนำแบบไหนให้ไฟกลับเป็น 12 v ได้บ้างครับ

  • @prateepprechathvanich2138

    @prateepprechathvanich2138

    7 ай бұрын

    เพิ่มขนาดสายไฟครับ

  • @vanichtanakidja4542

    @vanichtanakidja4542

    7 ай бұрын

    ถ้าเพิ่มขนาดสายแล้วยังไม่ได้ลองใช้วงจร Step up

  • @vivoy53vivo28
    @vivoy53vivo287 ай бұрын

    ผมอยากให้พี่เอาวงจรหรือเครื่องตรวจจับควัน มาชำแหละอธิบายการทำงานตัวจับควัน ผมอยากรู้555😂😂😂

  • @user-ck6py3um6p
    @user-ck6py3um6p7 ай бұрын

    อ้าวผมนึกว่าrมาตลอด

Келесі