หลอดไฟ LED คืออะไร ? หลอด LED ทำงานอย่างไร ?

Ойын-сауық

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับ หลอดไฟที่ให้แสงสว่าง ณ ปัจจุบันนี้ เราคง ปฎิเสธไม่ได้เลยนะครับว่า
หลอด LED นั้น เป็นนิยมใช้กันมากขึ้น
เนื่องจาก คุณสมบัติที่ดีของมัน อย่างเช่น
1.ราคาถูก
2.ใช้พลังงานต่ำ
3.อายุการใช้งาน ยาวนานมากขึ้น
มันก็เลยเป็นตัวเลือกช้อย แรกๆ ที่ผู้คนต้องการ ซื้อมาใช้
เพราะฉะนั้น ในวันนี้ผม จะมาอธิบายว่า หลอด LED นี้ มันทำงานอย่างไร อธิบายแบบง่ายๆสไตล์ช่อง ZimZim ละกันครับ
แต่ก่อนอื่น เรา ไปทำความรู้จัก กับมันก่อนครับ
หลอด LED ชื่อเต็มๆ ของมันก็คือ Light-Emitting Diode หรือแปลเป็นไทยก็คือไดโอด เปล่งแสง
หลักการทำงานของมันง่ายๆ เพียงแค่
เราปล่อยแรงดันเข้าไป มันก็จะ ปล่อยพลังงาน โฟตอนออกมา
ซึ่งอยู่ในช่วงที่ มนุษย์ สามารับรู้ได้ โดยเป็นช่วงความยาว ประมาณ 400 - 700 nm ครับ
ทีนี้เราลองกลับกัน ถ้าหากเรา ยิง โฟตอน กลับเข้าไป
มันก็ สามารถ สร้างแรงดัน ย้อนกลับ เล็กๆน้อยๆ ออกมาได้เหมือนกันนะครับ
สัญลักษณ์
ถ้าเรามาดูที่สัญลักษณ์ สังเกตุว่ามันคล้าย กับไดโอดมากๆ
แต่มันจะมีลูกศร ชี้ออกมา เพื่อบ่งบอกว่าตัวมัน มีแสง ที่กำลังพุ่งตรงออกไป
ที่จริง หลอด LED และ ไดโอด มันทำงานบนหลักการเดียวกัน นะครับ
นั้นก็คือ มันยอมให้กระแสไฟไหลผ่านในทิศทางเดียว
ผมจะลอง ต่อ LED ที่ไฟ 3V ดูนะครับ นี่ครับ ไฟออก
แต่ถ้าผมต่อไฟ แบบไม่ถูกต้อง ไฟมันจะดับครับ แต่มันไม่ได้ขาดนะครับ เมื่อเราต่อให้ถูกต้องอีกครั้ง มันก็จะทำงานเหมือนเดิม
วิธีสังเกตุ ขั้วต่อ
1.ขาที่ยาวที่สุดจะเป็นขั้ว +
แต่ในกรณีที่ขามันยาวเท่ากัน
ให้สังเกตุ
2.ขอบเคสด้านที่แบนๆ จะเป็นขั้ว -
หรือ
3.สังเกตุ จาก แผ่นโลหะข้างใน
แผ่นที่ใหญ่กว่า ก็คือขั้ว - ครับ
ไดโอด ก็ทำงานเหมือนกัน
ถ้าต่อขั้วถูกต้องไฟก็จะไหลผ่านไปได้ ถ้าต่อผิดขั้ว กระแสไฟก็จะไม่ไหลผ่าน
ไดโอด ที่ทำงานปกติ
กระแสไฟจะไหลจากบวกไปลบ เสมอๆ
แต่ถ้ามองใน มุมของ อิเล็กตรอน มันจะไหลจาก ลบไปบวก
ทีนี้ เรามาดูโครงสร้าง ของไดโอด ในขณะที่มันกำลังทำงานกันครับ ก็จะพบกับอะตอม ของ สารกึ่งตัวนำทั้ง 2
เราจะเห็นว่า อิเล็กตรอน จะถูกเคลื่อนย้าย จาก อะตอม 1 มายัง อะตอม 1
หรือ อะตอมที่มี วาเลนซ์ อิเล็กตรอน 5 ตัว จะมีพลังงาน กระโดด ไปหา
อิเล็กตรอนที่มี วาเลนซ์อิเล็กตรอน 3 ตัว
เมื่อมัน กระโดดข้ามรอยต่อนี้ มันก็เกิดพลังงานที่สูญเสียไป เกิดขึ้น
เนื่องจากกฎอนุรักษณ์ พลังงานกล่าวไว้ว่า พลังงาน ไม่สามารถสร้างหรือทำลายได้ พลังงานจึงเปลี่ยนรูปได้เท่านั้น
เพราะฉะนั้น พลังงานที่ อิเล็กตรอนสูญเสีย ตอนที่มันไปกระโดด ก็เลยเปลี่ยนเป็น โพตอน ออกมา
กระบวนการนี้ จะเกิดขึ้นภายในอะตอม นะครับ
ส่วนระยะในการกระโดด แต่ละครั้งของ มันก็จะมีอัตราคงที่
เลยทำให้ โฟตอนมีค่าสเปกตรัมค่าหนึ่งที่มีความยาวของคลื่นเท่ากันเสมอ
ซึ่งมันก็หมายความว่า เราสามารถเติม สิ่งเจือปนภายใน สารกึ่งตัวนำ เพื่อให้ไดโอด ปล่อยแสงที่มีสเปกตรัม
ที่แตกต่างกันออกมา ได้
มนุษย์ สามารถรับรู้สีต่างๆได้ ก็ขึ้นอยู่กับ ความยาวของโฟตอนนี้และครับ ในช่วงประมาณ 400 - 700 nm หรือเรียกว่าช่วง
Visible Light
ทีนี เมื่อ เรารู้ว่า แสงมันเปล่งออกมาอย่างไรได้แล้ว
แล้วทำไมปรากฎการนี้ เราถึงไม่เห็นแสงส่อง ออกมาจากไดโอด ตัวปกติ ละ
มันมี 2-3 สาเหตุ หลักๆ ดังนี้ครับ
1. ตาของเราไม่สามารถมองเห็น สเปกตรัม ที่มัน ปล่อยออกมาได้
อย่างที่ผมบอก เราจะไม่เห็นเพราะว่า เกินขอบเขตรับรู้ของดวงตาของเรา เพราะ ไดโอด ผลิตโฟตอนในช่วงอินฟาเรด
นอกจากนั้น
สัญญาณ วิทยุ ก็เป็น คลื่นโฟตอนเหมือนกัน มีขนาดประมาณ 3M เราก็มองไม่เห็น
สัญญาณ WiFi มีขนาดประมาณ 6 Cm เราก็มองไม่เห็น
และรังสี X-ray ประมาณ 0.01 nm เราก็มองไม่เห็นเช่นกัน
และ 2. ต่อให้ตาเรามองเห็น แต่มันมี ปลอกหุ้มอยู่ และ คอยดูดซับ โฟตอนเอาไว้
เพราะฉะนั้นแทนที่ แสงจะออกมา มันก็กลายเป็น ความร้อนออกมาแทน
และ 3. ต่อให้มันไม่มีปลอกหุ้ม
แต่เนื่องจากแสง จะถูกสร้างขึ้น เฉพาะในจุดที่สารกึ่งตัวนำทั้ง 2 สัมผัสกัน เฉพาะฉะนั้น เราจะไม่มีทางที่จะเห็นแสงได้เลยครับ
เพราะพื้นที่มันหนาไปครับ
ฉะนั้นวิธีแก้ไขปัญหา ก็คือ ให้เราย้ายสารกึ่งตัวนำทั้ง 2 ออกมา เพื่อไม่ให้มันทึบ
หลังจากนั้นลดความหนา ของชั้น สารกึ่งตัวนำ บางตัวลง จนแสงสามารถส่องผ่านทะลุได้
และนี่คือ วิธีการทำงานทั่วไปของ LED มาจนถึงทุกวันนี้
เพราะฉะนั้น หลอด LED ก็จะมีชั้นหนึ่งที่เป็น ซับสเตรด
แล้วเราก็จะเพิ่มชั้นของสารกึ่งตัวนำชนิด N ลงไป
และเพิ่มสารกึ่งตัวนำชนิด P ที่บางกว่า ลงไป
นอกจากนี้ เราจะต้อง ต่อ ลวดเส้นเล็กๆ ออกมา นำกระแสได้
มาถึงตอนนี้ แสงมันก็ออกมาแล้วครับ
แต่แสงที่ออกมา มันจะกระจัดกระจาย ไม่เป็นทิศเป็นทาง
ดังนั้น ทางผู้ผลิต เขาก็จะเพิ่ม ตัวสะท้อนแสง เป็น รูปกรวย
เพื่อให้แสงรวมตัวกัน ส่องไปยังด้านบน
แล้วเขาก็จะใส่อิพ๊อกซี่เรซิน เคลือบ เพื่อให้มันมีความทนทานมากขึ้น ออกมาเป็น LED
สำหรับหลอดไฟ LED ก็มีหลากหลายขนาด หลากหลายรุ่น
ตัวที่เราเจอบ่อยๆ ก็จะเป็นขนาด 5 มิลลิเมตร
หรือ เล็กลงมาหน่อยก็ 3mm เราสามารถสั่งเป็นกล่อง มาทดลองมาต่อง DIY ได้นะครับ
อย่างตัวนี้ ขนาด 3mm 500 ดวง ราคา 100.- เองครับ
ขนาด 10 mm ก็มีขาย ด้วยเหมือนกันครับ หัวมันก็จะโตมากกว่าปกติ
LED บางตัว เปลี่ยนสีได้เอง
LED บางตัว ก็สามารถ ป้อนไฟได้ 2 ฝั่ง
และมีบางตัว มี 3 Pin 2 ไส้ ในตัวเดียวกัน ป้อนไฟ ด้านหนึ่งสีหนึ่ง อีก ด้านสีหนึ่ง
และ LED แบบ RGB ก็มีครับ ซึ่งมี 4 ขา และมีหลอด LED 3 ดวงแยกจากกัน
หลอด LED มันจะกิน แรงดันประมาณ 2V - 3V อาจจะมากหรือต่ำกว่านี้นิดหน่อย และ การ กระแสก็ กินในระดับ มิลิแอมป์
เนื่องจากคลิปนี้ ผมอธิบายตามความเข้าใจของผม ถ้าหากข้อมูลมีความผิดพลาดประการใด
เพื่อนๆสามารถ คอมเมนท์ เสนอแนะได้เลยนะครับ
ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่าน ที่ติดตามรับชมครับ
#หลอดLEDคืออะไร? #LED

Пікірлер: 71

  • @mr.strange8010
    @mr.strange80105 ай бұрын

    เรียนจบอิเล็กส์มาตั้งหลายปีเพิ่งรู้ว่าถ้าจ่ายแสงย้อนกลับให้ led มันจะผลิตไฟฟ้าได้ 😂 ลองมาเมื่อกี้ได้จริงด้วย ขอบคุณสำหรับคลิปดีๆ นะครับ

  • @ZeroZOo548
    @ZeroZOo548 Жыл бұрын

    เข้าใจง่ายกว่าครูสอนอีกครับ

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @user-dm4zu8bh3f

    @user-dm4zu8bh3f

    Жыл бұрын

    จริงครับตอนเรียนไม่รู้เรื่องเท่านี้

  • @user-sd8lh1cr3y

    @user-sd8lh1cr3y

    11 ай бұрын

    นั่นเพราะ ตอนเรียนไม่รู้อะไรเลย บางทีก็ไม่ได้ตั้งคำถามก่อนเรียนด้วยซ้ำ สื่อการสอนก็ไม่ได้ไปทีละสเตปแบบช่องนี้ทำ ก็ต้องบอกเลยว่าช่องนี้ทำสื่อออกมาได้ดีมากๆ รื้อความรู้ได้กระจ่างดีมาก

  • @PichasitNutthanapong
    @PichasitNutthanapong11 ай бұрын

    ทำสื่อได้ดีมาก อธิบายได้เห็นภาพเข้าใจง่ายชัดเจน อยากให้เหล่าคณาจาร์ยมาดูคลิปช่องนี้เอาไปเปิดสอนในสถาบัน เป็นกำลังใจให้ทำต่อไปนะครับ

  • @Chalee2151
    @Chalee215111 ай бұрын

    อธิบายเป็นขั้นตอน เข้าใจง่ายและได้ประโยชน์ดีมากครับ

  • @dire799
    @dire799 Жыл бұрын

    อธิบายได้เข้าใจง่ายดีครับ❤

  • @prasitinthachot8199
    @prasitinthachot819911 ай бұрын

    อธิบายได้ดีมากเข้าใจง่ายดีครับ

  • @user-ee3iv1ju1g
    @user-ee3iv1ju1g Жыл бұрын

    ขอบคุณครับสำหลับความรู้ดีๆครับผม

  • @noom_office
    @noom_office Жыл бұрын

    เยี่ยมไปเลยครับ เข้าใจง่าย

  • @ratchanonjongyoa5945
    @ratchanonjongyoa594511 ай бұрын

    สื่อดีมากเลยครับ ให้เป็น No.1ในใจเลย

  • @docholidaythai
    @docholidaythai7 ай бұрын

    ดูเพลินดีจังได้ความรู้ด้วย ขอบคุณนาจ๊า

  • @vipopsaetae6142
    @vipopsaetae614211 ай бұрын

    เป็นความรู้ครับ ขอบคุณครับ❤❤❤

  • @johnmcprom2514
    @johnmcprom2514 Жыл бұрын

    ติดตามมานานแล้ว เสียงเหมือน อาจารย์ที่ปรึกษาผมสมัยเรียนป.ตรีมาก ทำคลิปดีมากเลยครับผม

  • @chalermpolyaipram2962
    @chalermpolyaipram2962 Жыл бұрын

    เยี่ยมๆครับทำต่อไปครับ

  • @user-sq4ee1qy3y
    @user-sq4ee1qy3y10 ай бұрын

    ขอบคุณความรู้ครับ❤❤

  • @asreephuteh
    @asreephuteh Жыл бұрын

    ฟังง่ายดีจริง

  • @montreekk8566
    @montreekk856611 ай бұрын

    อธิบายเข้าใจง่ายเหมือยเป็นครูสอน นร.

  • @kachainplaiyngam373
    @kachainplaiyngam373 Жыл бұрын

    เพิ่งรู้ครับว่าหลอด led ยุคนี้มีหลายขาหลายสี ผมยังติดความจำเก่าๆ ผมนี่ตามวัฒนาการไม่ทัน เห็นคลิปก็เพิ่งรู้ และเข้าใจการทำงานได้ แต่บางอย่างเห็นแล้วกลับตามไม่ทันก็มี อันนี้เศร้าแป๊บ ขอบคุณครับ

  • @winvee290
    @winvee290 Жыл бұрын

    รักช่องนี้มาก

  • @htsuperbike5393
    @htsuperbike5393 Жыл бұрын

    สุดยอดครับอาจาร

  • @user-rw6xc5gh9r
    @user-rw6xc5gh9r Жыл бұрын

    ผนชอบช่องนี้มากครับ

  • @ponsukpodsuwan
    @ponsukpodsuwan11 ай бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @be4885
    @be4885 Жыл бұрын

    ปัจจุบันแหล่งกำเนิดแสงแบบนี้มี led,หลอดใส้,หลอดอาร์ค,เลเซอร์ขาว lep ที่ใช้ตามไฟฉาย,โปรเจคเตอร์ตัวท็อปของค่ายแบรนต่างๆ หรือว่าในไฟสูงรถ ที่เขาว่า bi laser อะไรนั่น มันคือการเอาเลเซอร์สีน้ำเงินมาเป็นแหล่งกำเนิดแสงแทน led สีน้ำเงิน ในการกระตุ้นสารเรืองแสงให้ได้แสงสีขาวที่มีควาทเข้มแสงพื้นผิวมากกว่า เมื่อเอามารวมแสงมันจะให้ระยะทางส่องแสงได้ใกลกว่า แต่ข้อเสียคือมันหาซื้อได้ยากและมีราคาแพงมาก ราคาอย่างต่ำคือหลักพัน อายุการใช้งานเท่า ledแต่ประสิทธิภาพมากกว่า เลเซอร์ 0.25วัตต์ให้แสง 600ลูเมนได้

  • @laujncuab4311
    @laujncuab4311 Жыл бұрын

    ขอสอนวิธีต่อตัวต้านทานหลอด​ led 3v 1ตัวใส่ไฟ12vให้ดูนะครับ

  • @KaPongz11

    @KaPongz11

    3 ай бұрын

    V=IR เอาแหล่งจ่าย12v. ลบด้วยแรงดันที่ค้องการ 3v. = 9vที่จะต้องลด ฉนั้น V= 9 I= กระแสที่หลอดledจะกินตามสเปคประมาณ 0.02A R= ค่าตัวต้านทาน ฉนั้น V/I = R 9÷0.02=450 ก็หาตัวต้านทาน ค่า450หรือมากกว่าเล็กน้อย มาต่อที่หลอดขั้ว+ก่อนจะต่อกับแหล่งจ่าย12Vแค่นั้นครับ

  • @north170
    @north1709 ай бұрын

    ชอบเสียงช่องนี้ๆๆๆ

  • @woraratpitiyakulchorn2593
    @woraratpitiyakulchorn2593 Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ...ท่าน ไหนๆวันนี้มา LED แล้ว ขอให้ท่านทำ LED ไฟหน้ารถยนต์กับไฟฉายแรงูงหน่อยครับว่าทำไมมันถึงสว่างไสวมามายนัก

  • @okGoGo-iz6yk
    @okGoGo-iz6yk Жыл бұрын

    ขอสอบถามคัพ มีเตอร์ดิจีตอลตั้งยานวัดDCเผอไปวัดACจากหมอแปรง12vมิเตอร์จะพังไหมคัพ

  • @obeeokoom4360
    @obeeokoom436011 ай бұрын

    สุดยอดมาก

  • @user-yg1ti9rm9n
    @user-yg1ti9rm9n Жыл бұрын

    ทำวงจร Jump start รถยนต์ จากพาวเวอร์ แบ้งให้ดูหน่อยครับ

  • @ghhvbb7847
    @ghhvbb784711 ай бұрын

    ช่วงเรียน สมองไม่มีความรู้ใดๆเรย ฟังไปแค่จำ แต่ไม่เข้าใจ ประสบการณ์ เยอะจะเข้าใจ และสรุปความรู้ได้ดี คนเรียน จบใหม่จึงท่องจำเป็นหลัก

  • @runkor4551
    @runkor4551 Жыл бұрын

    ติดตามตลอดครับผม

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @aekkup
    @aekkup18 күн бұрын

    ถามหน่อยครับ ผมดูคลิปนึง เขาเอาledตัวนี้ ต่อแบบอนุกรม 32ดวง เขาบอกว่าถ้าเอาไปตากแดด แล้วสามารถสร้างกระแสไฟถึง9vจริงไหมครับ

  • @user-fr6yj8sj1o
    @user-fr6yj8sj1o Жыл бұрын

    ชัดแจ้งแดงแจ๋

  • @user-gf8iu6dx3n
    @user-gf8iu6dx3nАй бұрын

    วันนี้บ้านวาเล่ย์ใต้ไฟหลอดปิดเวลา14:56น.วันนี้บ้านวาเล่ย์ใต้ไฟ(หลอดเปิดเวลา18:00น.อ่านเร็วๆ

  • @Hippie.420
    @Hippie.42011 ай бұрын

    ชัดเจน

  • @tee7789
    @tee778911 ай бұрын

    รู้หมือไร่ เมื่อปี 2014 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คนคือ ศาสตราจารย์ อิซามุ อากาซากิศาสตราจารย์ ฮิโรชิ อามาโนะ และศาสตราจารย์ ชูจิ นากามูระ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานการประดิษฐ์คิดค้นไดโอดเปล่งแสงสีน้ำเงิน หรือ แอลอีดี (LED) สีน้ำเงิน ซึ่งเมื่อนำมารวมกับแอลอี ดีสีแดงและแอลอีดีสีเขียวที่มีอยู่แล้วส่งผลให้เกิดหลอดประหยัดไฟแสงสีขาวความเข้มสูง และผลงานนี้ยังได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์สูงสุด ต่อมนุษยชาติ

  • @user-gf8iu6dx3n
    @user-gf8iu6dx3nАй бұрын

    วันนี้หลังบ้านแม่หนิงไฟหลอดไฟปิดเวลา16:00น.วันนี้หลังบ้านแม่หนิงหลอดไฟเปิดเวลา16:45น.

  • @user-gf8iu6dx3n
    @user-gf8iu6dx3nАй бұрын

    พรุ่งนี้บ้านวาเล่ย์ใต้ไฟหลอดปิดเวลา11:00น.พรุ่งนี้บ้านวาเล่ย์ใต้ไฟหลอดเปิดเวลา18:00น.

  • @ARM963
    @ARM96311 ай бұрын

    เคยเจอ ตัวต้านทานเปล่งแสงด้วย

  • @peaceterzero
    @peaceterzero Жыл бұрын

    ข้อเสียของหลอด LED คือไม่ทนความร้อนนี่แหละฮะ ยิ่งช่วงนี้ร้อนๆ หลอดLED ไปก่อนเพื่อนเลยครับ 555 ก็แก้เบื้องต้นได้ด้วยการเจาะรูรอบ Bulb และ สำหรับหลอด LED สีขาวจริงๆอายุสั้นสุด ถ้าลองเปิด 24 ชั่วโมงประมาณ 9 เดือนนิแสงหรี่มาก ไฟพัดลมCPU คอมผมนิไปก่อนเพื่อนเลยครับ แต่ถ้าตัวอื่นที่ไม่ใช่สีขาว ก็ดรอปลงเล็กน้อย นับตั้งแต่ซื้อใหม่ ถ้าตามข้อมูลจริงๆ สีขาวสั้นสุด เพราะมันคือ 3 สีผสมกันและใช้พลังงานเยอะสุด รองลงมาก็สีน้ำเงิน รองลงมาอีกก็สีเขียว ทนสุดก็สีแดง ทนจริงๆ เราจริงเห็นไฟแสดงสถานะของอุปกรณ์มักใช้สีแดงและสีเขียวมากที่สุด

  • @user-sd8lh1cr3y

    @user-sd8lh1cr3y

    11 ай бұрын

    ใช่ครับ ช่วงฮิตหลอดไฟ LED กันใหม่ๆ ผู้ขายไม่ค่อยพูดถึงเรื่องพวกนี้ คนซื้อก็ไม่ค่อยเข้าใจ ปัจจัยสำคัญของความคุ้มค่าในการลงทุนคืออายุการใช้งาน อวดอ้างกันยาวนาน ทั้งที่ตัวหลอดน่ะใช่ แต่ถ้าตัวระบายความร้อนไม่ดี ไม่ถึงปีก็ได้เปลี่ยนแล้ว เพราะความสว่างตกไปอย่างมาก

  • @ZeNzEnzzzz
    @ZeNzEnzzzzАй бұрын

    🙏🙏

  • @thaweea5035
    @thaweea5035 Жыл бұрын

    การใส่ความต้านทานให้ led ต้องระวังค่าการทนวัตต์ของตัวต้านทานด้วย ไม่งั้นจะร้อนจัดและเป็นอัตรายได้

  • @07ring07
    @07ring07 Жыл бұрын

    👍❤

  • @yongspr
    @yongspr Жыл бұрын

    อยากให้มีคลิปแนะตัวของแอดมินก็ดีนะครับ

  • @1iamone
    @1iamone9 ай бұрын

    สีของหลอดไฟ สามารถเปลี่ยนไปตามแรงดันที่ป้อนหรือเปล่าครับ

  • @KingrpgNet
    @KingrpgNet11 ай бұрын

    พวกไฟฉายที่ฉายแสงได้เป็นหมื่นๆลูเมนละ

  • @user-gf8iu6dx3n
    @user-gf8iu6dx3nАй бұрын

    พรุ่งนี้พบพระไฟหลอดไฟปิดเวลา08:00น.พรุ่งนี้พบพระ(ไฟหลอดไฟเปิดเวลา11:00น.อ่านเร็วๆ

  • @user-ic3dd2hl1g
    @user-ic3dd2hl1g4 ай бұрын

    😊😊❤

  • @user-gf8iu6dx3n
    @user-gf8iu6dx3nАй бұрын

    อ่านเร็วๆ

  • @user-gf8iu6dx3n
    @user-gf8iu6dx3nАй бұрын

    วันนี้บ้านน้องต้นอ้อไฟฟ้าไฟปิดเวลา15:55น.วันนีับ้านต้นอ้อไฟเปิดเวลา16:57น.วันนี้บ้านน้องบุ๊คไฟฟ้าปิดเวลา15:55น.วันนี้บ้านน้องบุ๊คไฟเปิดเวลา16:57น.

  • @peeprathum4624
    @peeprathum4624 Жыл бұрын

    หลอดไฟled ที่ทำขายติดบนเพดาน (ทรงซาลาเปา)ทำไมเสียเร็วจังเมื่อเทียบกับฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้จนลืมก็ไม่เสีย

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ราคาถูก+วงจรและหลอดledไม่ได้มาตรฐานครับ

  • @GanEditions2027XX
    @GanEditions2027XX11 ай бұрын

    800 likes

  • @fjjg1123
    @fjjg112310 ай бұрын

    ทำไหมเขาถืงไม่ผะลิดLEDสีดำละ😆😆

  • @aritiwongtawe3610
    @aritiwongtawe3610 Жыл бұрын

    แล้วหลอดอินฟราเรดละ

  • @aritiwongtawe3610

    @aritiwongtawe3610

    Жыл бұрын

    เลเซอร์แรงสูงสีฟ้าที่เอาไปจี่หัวไม้ขีดไฟจนติดไฟได้มันใช่หลอดแอลอีดีรึป่าว

  • @nothing_Nothing100.

    @nothing_Nothing100.

    Жыл бұрын

    มันก็คือหลอด LED แรงสูง

  • @teddydk8917

    @teddydk8917

    10 ай бұрын

    นาที 4:28 ดูตรงแถบความยาวคลื่น เกิน 700 ขึ้นไปตามนุษย์มองไม่เห็นเข้าสู่ย่านอินฟาเรด เวลาเราสั่งหลอด IR มาใช้เขาจะระบุความยาวคลื่นแสงมาให้ส่วนใหญ่ 850 940 nm. มันก็คือ LED ที่ปล่อยความยาวคลื่นแสงเกินตามนุษย์มองเห็น....เพิ่มเติมสำหรับใครใช้ ipcam เวลากลางคืนภาพสว่างไม่ไกล สั่ง IR มาติดเพิ่มแยกได้ครับสว่างเกือบ 50m ใช้ไฟ 12v วงจรมี LDR ในตัว👌

  • @Gingercat09
    @Gingercat0911 ай бұрын

    ขอบคุณที่เปนคลังความรุ้ให้ผมนะครับ แต่เสียงกวนตีน มากครับ😊

  • @panthanopninnon3646
    @panthanopninnon364611 ай бұрын

    พี่ๆ ผมสนใจตรงที่ ถ้าเราเอาแสงป้อนให้มัน มันก็จะปล่อย แรงดันไฟฟ้าออกมา งั้นถ้าเอามาต่อ อนุกรมกันหลายๆตัว จะเลียนแบบแบบโซล่าเซล ได้ไหมครับ

  • @teddydk8917

    @teddydk8917

    11 ай бұрын

    ทำได้ครับ เคยเห็นช่องต่างประเทศทดลองอยู่ zener diode ก็ทำได้ แต่มันได้กระแสต่ำมาก ทำเพื่อการทดลองเท่านั้นใช้งานจริงไม่ได้ เหมือนจะเป็นช่อง ZAFER YILDIZ

  • @panthanopninnon3646

    @panthanopninnon3646

    11 ай бұрын

    @@teddydk8917 งั้นใช้แผงโซล่าเซลแบบเดิมง่ายกว่า 😂😂

  • @teddydk8917

    @teddydk8917

    11 ай бұрын

    @@panthanopninnon3646 💯✔️✔️

  • @10000broadcast
    @10000broadcast5 ай бұрын

    ขอบคุณช่องนี้มากครับได้ความรู้ครับ

  • @inventorexperiment6808
    @inventorexperiment68086 ай бұрын

    ถ้าต่อจากไฟ220สลับขั่วไฟก็ติดคับต่อผ่าน réistor 56 kilo omh

  • @baobaow.1981
    @baobaow.198111 ай бұрын

    คริปนี้เป็นประโยชน Samsung Galaxy S9+ (SM-G965F)XSG G965FXXSHFUJ2 ในปี 2023/07/24 ไปเล่นรอมโม android 13 ครึ่งวัน ไฟล์นี้ evolution_star2lte-ota-tq3a.230705.001.b4-07170705-unsigned ถือว่าทำได้พอใช้แต่หาวิธีลง PixelExperience_star2lte-13.0-20230715-0256-OFFICIAL ไม่ได้ เสียดายกลับมารอมเดิม ขอบคุณวีดีโอดีๆถึงแม้การเข้าโหมดแฟรชไม่เหมือนกันกับในคริป เยี่ยม

Келесі