ทำไมเราต้องดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 626

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын

    ทำไมเราต้องดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร ร่างกายเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อายุมากขึ้นก็จะทดแทนด้วยไขมันและปริมาณน้ำก็จะลดลง โดยเฉพาะในเพศหญิงจะมีสัดส่วนไขมันต่อน้ำจะสูงมากกว่าผู้ชาย ร่างกายเราจะสูญเสียน้ำทุกวัน จาก 1. จากทางเดินหายใจ การหายใจ การพูด ต่อวันประมาณ 600 cc 2. ทางผิวหนัง อาจจะเป็นเหงื่อ หรือ การระเหยไปเลยโดยไม่เห็นเหงื่อก็เป็นได้ บางครั้งเหงื่อจะเป็นการขับความร้อนที่สูงเกินไปออกไปข้างนอก ยิ่งถ้าเรายิ่งร้อนเหงื่อก็จะยิ่งออกมากขึ้น แต่จะเห็นเหงื่อเป็นเม็ดหรือไม่ขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ถ้าชื้นมาก อาจจะเห็นเป็นเม็ดๆเหมือนประเทศไทย แต่ในประเทศที่แห้งมากๆถึงเราไม่ร้อน ไม่มีเหงื่อก็จะมีการสูญเสียน้ำออกไป โดยเฉลี่ย วันละ 500 cc คนที่อยู่บนเครื่องบิน หรือ ที่สูงๆที่มีความกดอากาศต่ำ แรงดันน้ำก็จะดันน้ำออกจากร่างกายได้มากขึ้น จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ ดังนั้นคนที่ขึ้นเครื่องบินจะต้องดื่มน้ำมากกว่าปกติ มิเช่นนั้นเลือดจะขาดน้ำ และ อาจเกิดลิ่มเลือดที่ขาหรือบริเวณต่างๆของร่างกายได้ ตอนที่1

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    3. ปัสสาวะ บางคนมากน้อยไม่เท่ากัน ร่างกายเราจะมีกระบวนการสลายสารอาหารต่างๆและสมดุลเกลือแร่ และจะมีคุณสมบัติของเหลวในร่างกายที่มีความเข้มเข้นและต้องการดึงน้ำเข้ามาสู่ตัวเอง เรียกว่า osmolarity ซึ่ง จะมีค่าคงที่ค่าหนึ่งถ้าสูงไป จะดึงน้ำมาไว้ปริมาณเยอะ แต่ถ้าตรงกันข้ามถ้าต่ำจนเกินไป ก็จะปล่อยน้ำออกมาเยอะๆ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีเช่นกัน เลือดของเราจะมี osmolarity 290 mOsm/L จะมีบางโรคที่ทำให้ค่านี้สูงหรือต่ำกว่านี้ แต่สิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับปัสสาวะ คือ ปัสสาวะจะควบคุม ความเข้มข้นของ osmolarity โดยไตของเรา แล้วไตเราก็จะตอบสนองต่อฮอร์โมนต่างๆ เช่น ADH ย่อมาจาก Antidiuretic Hormone ( Anti= ต่อต้าน diuretic= ปัสสาวะ)หรือ เรียกว่า Vasopressin เป็นฮอร์โมนช่วยทำให้เลือดหดตัว, BNP, ANP สุดท้ายจะทำให้ไตเรามีความสามารถในการสร้างปัสสาวะเข้มเข้นแตกต่างกัน ไตเรามีความสามารถจำกัดทำให้ปัสสาวะเข้มข้นมากที่สุดได้ 1,200 mOsm/L ( คือถ้าเราขาดน้ำมากๆแล้ว ปัสสาวะเราจะเข้มข้นที่สุดได้ที่ 1,200 mOsm/L) ตอนที่2

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    ปกติร่างกายเราจะมีการสร้าง osmolarity ในที่ต่างๆ เช่น จากโซเดียม โปตัสเซียมที่เรากินเข้าไป หรือ การสลายโปรตีนต่างๆแล้วทำให้เกิดยูเรียขึ้นมาในร่างกาย ทั้งหมดเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิด osmolarity ขึ้นมา แต่ร่างกายจะต้องขับทิ้งออกไปประมาณ 600 mOsm ต่อวัน ร่างกายเราไม่สามารถขับ osmolarity เปล่าๆได้ต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ เหมือนกับเวลาเราอาบน้ำ เราไม่สามารถปัดสิ่งสกปรกออกจากร่างกายได้ เราจะต้องใช้น้ำเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกออกไปด้วย ปริมาณน้ำน้อยที่สุดเป็นเท่าไหร่ ซึ่งไตของเราทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ ไตเราขับได้สูงสุด 1,200 mOsm/L แต่ถ้าเรามี 600 mOsm ให้ขับ เราก็ต้องใช้น้ำครึ่งลิตรเป็นต้น ดังนั้นรวมๆกันแล้ว ที่เราต้องสูญเสียน้ำทางผิวหนังวันละ 500 cc ทางเดินอากาศ 400 cc ทางอุจจาระอีก 200 cc รวมกันเป็น 1,100 cc รวมกับอีก 500 cc รวมกันเป็น 1,600 cc เป็นปริมาณขั้นต่ำต่อวันที่ร่างกายเราสูญเสียไปต่อวัน ดังนั้นเราจะต้องดื่มน้ำเข้าไปให้มากกว่าที่ต้องสูญเสียไป ตอนที่3

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    ต่อให้เราพยายามอย่างไรเราไม่สามารถดื่มน้ำเพียงวันละ 1,600 cc แล้วจะเพียงพอ นั่นหมายถึงไตเราจะต้องทำงานหนักตลอดเวลา เพื่อทำให้ปัสสาวะเราเข้มข้น ผ่านไปนานๆจะทำให้มีปัญหาได้ เช่น นิ่วในไต ในกรวยไต นิ่วในท่อไต เป็นต้น หรือ ปัญหาต่างๆในแง่การขาดน้ำ ร่างกายก็พยายามจะเก็บน้ำไว้ก็ไม่มีให้เก็บ กินเข้าไปทำไหร่ก็ออกไปหมดเลย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการดื่มน้ำปริมาณ 2 ลิตรต่อวัน ถ้าเราหลงป่า แล้วเราดื่มน้ำปัสสาวะตัวเองได้หรือไม่ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น หากร่างกายเราต้องการสงวนน้ำ ก็จะทำให้ปัสสาวะเข้มข้นมากๆ แต่จะสงวนอย่างไรก็ต้องขับสารเป็นพิษออกมาจากร่างกายด้วย ปัสสาวะของเราก็จะเข้มข้นสูงสุดถึง 1,200 mOsm/L หากเราดื่มเข้าไป เลือดเราจากที่มีความเข้มอยู่ที่ 290 mOsm/L ก็จะกลายเป็น 300 หรือ 3ร้อยกว่า ร่างกายก็จะเกิดปัญหา พอร่างกายมีความเข้มข้นในเลือดสูงมากขึ้น แสดงว่ามี osmol ที่จะต้องขับมากขึ้น เราก็จะยิ่งหิวน้ำเพื่อเอามาขับของเสียที่เราดื่มปัสสาวะเข้าไป ตอนที่4

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    เช่นเดียวกันกับหากเราไปหลงในทะเล เราก็ไม่ควรดื่มน้ำทะเล ด้วยเหตุผลคล้ายๆกัน เพราะทะเลทั่วๆไปความเข้มข้นของเกลือ หรือ โซเดียมจะอยู่ที่ 3.5% แต่น้ำเกลือที่ใช้ในโรงพยาบาลเข้มข้นเพียง 0.9% (ซึ่งจริงๆเข้มข้นกว่าในเลือดของเรานิดนึงด้วย) หรือ เข้มข้นกว่าน้ำเกลือที่ให้ทางเส้นเลือดถึง 4 เท่าและอาจจะเข้มข้นกว่าร่างกายเรา ถ้าเราท้องเสีย หรือ อยู่ในภาวะเหนื่อยหอบ มีไข้ ร่างกายจำเป็นจะต้องระบายความร้อนทางผิวหนังเพิ่มขึ้น เราก็ต้องให้น้ำเพิ่มขึ้นด้วย แล้วเราดื่มน้ำได้ มากที่สุดเท่าไหร่ เมื่อร่างกายเราขับน้ำออกมา จะต้องมี osmol ออกมาด้วยเสมอ ด้วยความเจือจางที่สุดจะต้องมี osmol ปนออกมาอย่างน้อย 50 mOsm/L นั่นหมายถึง ถ้าเจือจางที่สุดที่สามารถปัสสาวะออกมาได้คือ 12 ลิตร ในแต่ละวัน แต่อาจจะมากกว่านั้นเพราะร่างกายเราสามารถขับออกทางผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร อาจจะถึง 13-14 ลิตร แล้วแต่ร่างกายบางคนอาจรับได้ถึง 17-20 ลิตรก็เป็นได้ แต่ไม่จำเป็นต้องกินมากขนาดนั้น ปัญหาคือ ถ้าเรากินแบบนี้นานๆจะทำให้ร่างกายเรามีความเจือจางมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วจะทำให้ร่างกายเกิดปัญหาได้ ตอนที่5

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    ปัญหาหลักๆที่เกิดน้ำเกิน-น้ำขาด ก็คือ โซเดียม ซึ่งโซเดียมมีหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ถ้าสูงหรือต่ำไปก็ไม่ดี อาจทำให้มีปัญหาทางสื่อประสาทได้ เช่น เห็นภาพหลอน งง เบลอ ชามือ ชาเท้า ชัก หมดสติ ช๊อคได้ นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมเราถึงควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว อาจปนมากับอาหาร น้ำอย่างอื่นก็มีน้ำเป็นส่วนประกอบ หากวันหนึ่งที่เราสามารถได้น้ำ 2 ลิตร ก็ค่อนข้างจะปลอดภัย ตอนที่6

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Жыл бұрын

    น้ำที่ออกจากร่างกายต่อวัน หายใจ 400มล อุจจาระ 200 มล ผิวหนัง 500 มล ปัสสาวะ อีกอย่างน้อย 500 มล รวมแล้ว 1,600 มล 🔎เราควรดื่มน้ำมากกว่า 1.6 ลิตร ต่อวัน คือมากกว่า น้ำขวดใหญ่ 1 ขวด ค่ะ แต่นี่คือขั้นต่ำ ดังนั้น 📌คุณหมอแนะนำว่าควรดื่มน้ำ 2 ลิตรต่อวันค่ะ

  • @Kamonpa33
    @Kamonpa337 ай бұрын

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ เพิ่งรู้ค่ะว่าเราสูญเสียน้ำไปจากการหายใจ การพูด ร้องเพลง ทางอุจจาระ และทางผิวหนังคือเหงื่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับความชื้นในร่างกาย อีกทางคือทางปัสสาวะ ซึ่งควบคุมได้ทางไตของเรา การที่ร่างกายขาดน้ำมีความสำคัญในการขับน้ำออกจากร่างกาย ซึ่งต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบ จึงต้องดื่มน้ำเกิน 1,600 มิลลิลิตรต่อวัน เพื่อป้องกันปัสสาวะเข้มข้น เกิดนิ่วในไตได้ ควรมีน้ำเหลือใช้เพื่อให้ไตทำงานได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการดื่มน้ำเกินหรือขาดมีปัญหากับโซเดียมมีผลกับการชาตามมือ เท้า การมีโรคต่าง ๆ ในร่างกาย และที่สำคัญเพิ่งรู้ว่าการพูด การร้องเพลง การหายใจ ก็มีส่วนทำให้ร่างกายต้องสูญเสียน้ำค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากค่ะที่ทำให้เข้าใจว่าทำไมเราต้องดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร ขอให้คุณหมอและน้องโรซี่มีความสุขมาก ๆ นะคะ ขอบคุณมากค่ะ

  • @kotchakornharindech2906
    @kotchakornharindech2906 Жыл бұрын

    คุณหมออธิบายละเอียด ชัดเจนมากคะ ทำให้ต้องกลับมาเช็คตัวเองด้วย ขอบคุณคุณหมอมากคะ ทำคลิปดีๆ มีสาระประโยชน์จริงๆคะ

  • @nuhriam
    @nuhriam Жыл бұрын

    ขอบคุณ มากค่ะ คุณ Dr.Tany. อธิบายได้น่าฟังมากที่สุด เคยสงสัยเรื่องนี้มานาน ดีใจที่ Dr.Tany ได้เข้ามาอธิบายให้ทราบค่ะ.

  • @jeetjatsupun1624
    @jeetjatsupun1624 Жыл бұрын

    ขอบพระคุณอ.หมอให้ความรู้ดีๆเช่นเคยคะ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันคะ

  • @richardsonsfarm5621
    @richardsonsfarm5621 Жыл бұрын

    สวัสดีคะ .ขอบคุณมากตะสำหรับความรู้ดีๆ ป้า ดื่มนำมากและทำให้ปัสสวะบ่อบมาก มีปัญหาไหมคะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ เป็นคนชอบดื่มน้ำเปล่าค่ะ ขอบคุณข้อมูลนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 Жыл бұрын

    ได้คำตอบชัดเจนแล้วค่ะ ควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร ซึ่งรวมทั้งน้ำเปล่า และน้ำที่อยู่ในอาหารด้วย #เมื่อไรที่เรารู้สึกกระหายน้ำมาก ๆ ก็น่าจะแสดงว่าร่างกายเราขาดน้ำอย่างรุนแรงนะคะ ร่างกายจึงส่งสัญญาณให้เราดื่มน้ำเข้าไปนะคะ #ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ🥰

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Жыл бұрын

    การดื่มน้ำน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียต่อร่างกาย ดังต่อไปนี้ 🔹ไตทำงานหนักขึ้น และปัสสาวะมีสีเข้ม เพราะน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 🔹มีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้ง่าย 🔹มีสารก่อนิ่วตกตะกอน อาจป็นเหตุของโรคนิ่วได้ 🔹ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ 🔹ปวดข้อ กระดูกอ่อนในหลายๆ ส่วนของร่างกาย 🔹เป็นริดสีดวงทวาร 🔹สมองเสื่อม 🔹ปากแห้ง ตาแห้ง ผิวแห้ง 🔹เหนื่อยล้าง่าย เซื่องซึม

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากค่ะ🙏🏻 #หมอแทน #ทำไหมต้องดื่มน้ำวันละ2ลิตร ส่วนตัวจะดื่ม เกิน 2 ลิตร ถ้ารวมน้ำที่อยู่ในอาหารด้วยก็น่าจะมากกว่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันด้วยค่ะ วันนี้ได้ทราบเหตุผลที่ต้องดื่มวันละ2ลิตร ที่เข้าใจมาคือคิดเองสูญเสีย น้ำทางเหงื่อ ปัสสาวะ ไม่คิดว่าการหายใจ การพูดก็เสียเหงื่อด้วยเยอะเหมือนกัน รู้แต่ว่าถ้าวันไหนเหงื่อออกเยอะ เช่น ออกกำลังกาย ตอนเล่นแบดมินตัน เหงื่อจะออกเยอะมาก มาก มีเพื่อนที่เล่นด้วยกันเหงื่อเยอะมากเปียกทั้งชุดเหงื่อหยดไหลเป็นทางเลยเลอะคอร์ดจนต้องเช็ดก่อนเล่นไม่ได้ต้องเปลี่ยนชุดใหม่แล้วก็จะกินน้ำกันเยอะ มากๆ เลยค่ะ เหมือนออกเยอะต้องเอาเข้าเยอะ 💧ร่างกายเราสูญเสียน้ำต่อวัน💧 💧ทางเดินหายใจ การหายใจ การพูด ต่อวันประมาณ 400มล 💧ทางผิวหนังอาจเป็น เหงื่อ หรือระเหยไปเลยไม่เห็นเป็นเหงื่อก็ได้ เฉลี่ยวันละ 500 มล ถ้าอยู่บนเครื่องบิน หรือที่สูง ความกดอากาศต่ำแรงดันน้ำจะดันน้ำออกจากร่างกายมากจะทำให้สูญเสียน้ำมากกว่าปกติ จึงต้องดื่มน้ำมากกว่าปกติ 💧ทางอุจจาระ เฉลี่ยประมาณ 200 มล 💧ทางปัสสาวะ อย่างน้อย 500 มล สรุปรวมน้ำเราสูญเสียต่อวันประมาณ 400+500+200+500= 1,600มล เราจึงควรที่จะดื่มน้ำมากกว่า 1,600 มล เหตุผลทำไหมเราต้องดื่มวันละ 2 ลิตร

  • @user-ik2tl6fp1i
    @user-ik2tl6fp1i Жыл бұрын

    ชื่นชมคุณหมอมากๆค่ะ เป็นข้อมูลที่ต้องการคำตอบค่ะ

  • @sutatiputtasart1075
    @sutatiputtasart1075 Жыл бұрын

    น้ำเปล่า..ชา..กาแฟ..น้ำผลไม้..โซดา.. ทานเป็นประจำทุกวันค่ะคุณหมอ..ผสมๆกัน..แต่ให้เค้าลดหวานลง..ตอนนี้ชอบทานพวก sparkling apple juice..อร่อยดีค่ะ..!!บางช่วงบ้าสับปะรด..ส้ม yuzu..แล้วแต่ว่าช่วงไหนอยากทานอะไร..มันหอมๆดีค่ะ..ตอนนี้มีออกมาใหม่สุดของ starbucks..honey ruby grape fruit coldbrew..อร่อยค่ะคุณหมอ..เค้าใช้ส่วนผสมเข้ากันดีนะคะน่าจะใส่กาแฟด้วยนิดนึงหอมดีค่ะ..!! ก็ไม่รู้วันนึงทานน้ำได้ถึง 2 ลิตรหรือเปล่า..น้ำเปล่าจะทานเยอะเป็นบางวันค่ะถ้าวันไหนทานเค็มมากๆ...🐯🦝😁

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน เหตุผลเป็นเช่นนี้นี่เอง ขอบคุณค่ะคุณหมอ ที่นำมาอธิบาย เช่นนั้นแล้ว ถ้าตื่นนอนแล้วดื่มแก้วที่1-2 แก้วที่3(8.00) 4(10.00) 5(12.00) 6(14.00) 7-8(16.00) 9(18.00) แก้วที่10(20.00) ~2ลิตรน่าจะได้😁นะคะ

  • @sangthailofthouse2511
    @sangthailofthouse2511 Жыл бұрын

    ขอบคุณความรู้ที่คุณหมอ นำมาบอกกล่าวมากค่ะ.. ยิ่งฟังคุณหมอพูด ..ยิ่งรู้สึกผิดในการดูแลสุขภาพมาก ...ต้องรีบเปลี่ยนวิธีการดูแลสุขภาพ เพิ่มละค่ะ..น้ำปล่าวดื่มน้อยมากกก..ดื่มตอนกินวิตามิน..และก่อนนอน ...กับตื่นนอนเท่านั้นค่ะ..น่าจะไม่เกิน 800 มล.น้อยมาก..เพราะชอบดื่มแต่ น้ำผึ้งโซดามะนาว..

  • @supinyak.7174
    @supinyak.7174 Жыл бұрын

    สวัสดีคะคุณหมอ แล้วน้ำหนักตัว น้อย การดื่มน้ำเท่ากับทต่คุณหมอแนะนำเลยไหมคะ ตัวเล็ก ผอม น้ำหนัก 40-42คะ

  • @sompismano1710
    @sompismano1710 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ เข้าใจและได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สุขภาพของเรามากๆค่ะ

  • @ALL86898
    @ALL86898 Жыл бұрын

    Goodmorning ค่ะคุณหมอแทน พูดเรื่องการดื่มน้ำ ก็ชอบเลยตอนที่บอกร้องเพลง😁😁ก็สูญเสียน้ำได้55จริงที่สุดค่ะ เพราะสังเกตตัวเอง พอร้องนานๆหลายเพลง เสียงเริ่มแหบ และคอแห้งมาก สังเกตน้องที่เค้าเปิดห้องปาร์ตี้สำหรับในแอ๊ป เค้าจะมีน้ำอยู่ข้างกายตลอด ร้องไปเค้าดื่มน้ำไปด้วยเป็นระยะๆสังเกตเค้าเสียงดีไม่ตกร้องติดต่อกันหลายเพลงเลยทำตามช่วยให้เสียงดีขึ้นจริงๆ และพี่อีกคนดื่มน้ำเยอะมากคนนี้ไม่ยอมดื่มน้ำเย็นเลยดื่มน้ำปกติบอกเสียงจะดี มีคำถามค่ะคุณหมอ 1)ตัวเองสังเกตว่าดื่มน้ำอัดลมบ้าง น้ำผลไม้ต่างที่ขาย อยู่บ้างที่ดื่มมากๆแล้วปัสสวะสีเข้ม คิดว่าต้องมีสารอะไรผสมแน่เลย อันนี้ขอความคิดเห็นค่ะ2)ก็ชอบดื่มน้ำมากๆ เชื่อว่าช่วยเรื่องผิวพรรณ แต่ผิวก็ยังแห้งนะคะ3)ทำไมพอดื่มน้ำมากในหน้าหนาวหรืออากาศเย็นเมื่ออยู่ในห้องแอร์บางทีเข้าห้องน้ำเป็นสี่ห้าครั้งในเวลาไม่ห่างกัน เลยตอนทำงานอยู่ ตอนนี้ปกติค่ะสงสัยจังค่ะ ขอบคุณนะคะคุณหมอ🙏⚘

  • @BuddhaLogos
    @BuddhaLogos Жыл бұрын

    คลิปนี้ซึ้งเลยค่ะ เพราะเคยมีภาวะขาดน้ำ ดูเป็นเรื่องธรรมดาแต่สำคัญมากจริงๆ ขอบคุณคุณหมอค่ะ

  • @sashatml5532
    @sashatml5532 Жыл бұрын

    ดีมาก ๆ เลยค่ะ ชัดเจนเข้าใจได้ง่าย เอาไปใช้สอนเด็ก ๆ ต่อได้เลยค่ะ ขอบคุณนะคะ

  • @himawari8390
    @himawari8390 Жыл бұрын

    คุณหมอ คือสงสัยอะไรคุณหมอทำคลลิปตลอดเลย ขอบคุณนะครับ มีประโยชน์มากๆ

  • @kalyamonosathanond
    @kalyamonosathanond Жыл бұрын

    สำหรับท่านใดที่ดื่มน้ำน้อย และอยากฝึกนิสัยที่ดีให้แก่ตนเองในการดื่มน้ำ ขวดน้ำยักษ์ที่มีปริมาตรและประโยคให้กำลังใจในการดื่มน้ำเขียนไว้ข้างขวดช่วยได้นะคะ 🤓 เมื่อก่อนดื่มน้ำน้อย แต่ตอนนี้ใช้วิธีจิบบ่อยๆระหว่างวันจากขวดน้ำของตัวเอง มันจะมีปริมาตรเขียนไว้ ทำให้สามารถนำไปตอบคุณหมอได้ว่าในหนึ่งวัน เราดื่มน้ำเปล่าประมาณเท่าไหร่ จากคนที่ไม่ค่อยดื่มน้ำเปล่า ดื่มกาแฟเป็นหลัก ตอนนี้ดื่มน้ำเปล่าประมาณ 3-4 ลิตรต่อวันโดยไม่รู้สึกฝืนค่ะ (ที่ดื่มน้ำเปล่าเยอะก็เพราะว่าดื่มกาแฟเยอะเช่นกัน555)

  • @jakkrapan4734
    @jakkrapan4734 Жыл бұрын

    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับอาจารย์ เป็นความรู้ในชีวิตประจำวันมากๆ จะนำไปให้ความรู้คนรอบข้างต่อๆไปครับ

  • @nathanidchongpipean9509
    @nathanidchongpipean9509 Жыл бұрын

    มีประโยชน์มากค่ะ... ขอบคุณคะ

  • @i_am_siri_aun59
    @i_am_siri_aun59 Жыл бұрын

    เพิ่งได้ติดตามคุณหมอค่ะ ได้ความรู้​ เข้าใจได้ง่าย บางคลิปได้แง่คิดชีวิตเลยค่ะ รู้สึกคุณหมอใช้เวลาในหนึ่งวัน อย่างคุ้มค่าและมีคุณภาพมาก​ ๆ นับถือ​ค่ะ

  • @kanokpornmartinez9609
    @kanokpornmartinez9609 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะ ขอให้สดชื่นทั้งวัน การงานราบรื่น สบายใจ ตลอดเวลานะคะ ขอบคุณค้าา

  • @user-cu9vt9ds4m
    @user-cu9vt9ds4m Жыл бұрын

    ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

  • @SweethomeH
    @SweethomeH Жыл бұрын

    ได้ความรู้ต่างๆมากมายเลยค่ะ สงสัยว่าเป็นร้อนในบ่อยมากๆ ทำให้รู้สึกกระหายน้ำตลอดเวลาเลยค่ะ จิบน้ำตลอดเลย อยากทราบว่าเพราะอะไรถึงเป็นร้อนในบ่อยคะคุณหมอ และมีวิธีรักษา ให้ไม่เป็นบ่อยไหมคะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    พวกนั้นต้องเริ่มที่การพักผ่อนให้พอและดื่มน้ำให้พอ นอกจากนั้นควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกๆเดือนครับ บ้วนปากทำความสะอาดบ่อยๆด้วยน้ำยาบ้วนปากก็ช่วยได้ครับ

  • @user-tp1wq9sz4p
    @user-tp1wq9sz4p Жыл бұрын

    ขอบคุณ คุณหมอค่ะ ตอนนี้ดื่มวันละสองลิตรกว่าค่ะ เดินวันละหมื่นกว่าก้าวค่ะ (เพราะเมื่อสองเดือนติดโควิดค่ะ)

  • @faurasha796
    @faurasha796 Жыл бұрын

    คุณหมออธิบายละเอียดมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะ เคยได้ฟังคลิปท่านหนึ่งเขาใช้วิธีธรรมชาติบำบัดในการรักษาก็มีคำแนะนำการดื่มน้ำเช่นกันค่ะ มีคำแนะนำที่ดีๆเยอะเลย แต่มีที่ไม่เห็นด้วยคือเขาบอกว่าการดื่มน้ำปัสสาวะของตัวเองเพื่อรักษาโรค เอามาสระผม มันได้ด้วยเหรอค่ะ🤔🤔 ตอนนี้เลิกติดตามล่ะจริตไม่ตรงกันค่ะ😄😄

  • @user-cj4mf3fp1j
    @user-cj4mf3fp1j Жыл бұрын

    ขอบคุณที่ไห้ความรู้ครับอาจารย์

  • @user-xv9kf2vn3y
    @user-xv9kf2vn3y Жыл бұрын

    ตอนนี้กำลังทำอยู่ค่ะหันมาดื่มน้ำจริงจัง ใส่ขวด 2ลิตรไว้แต่เช้าแล้วจิบไปเรื่อยๆ รู้สึกดี สดชื่น เวลาออกกำลังกาย แขนจะฉ่ำๆ และไม่มีกลิ่นปากยิ่งมาฟังจากคุณหมอ ยิ่งมีความรู้มากขึ้น ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ

  • @prapongkorthammarit4097
    @prapongkorthammarit4097 Жыл бұрын

    สุดยอดมากคับคุณหมอ กับความรู้ดีๆ ที่คุณหมอนำมาเล่าให้ฟัง ขอบคุณคุณหมอมากครับ

  • @ppbabywong9355
    @ppbabywong9355 Жыл бұрын

    ขอบคุณ คุณหมอมากๆ ค่ะ ฟังคุณหมอตลอดทุกคลิป ได้ความรู้ดีๆ โดยไม่มีแอบแฝง โฆษณาหรือขายของเลย ชื่นชมคุณหมอมากๆ ค่ะ

  • @pornpenong-arj147
    @pornpenong-arj147 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆ

  • @user-vi3lv5qk9t
    @user-vi3lv5qk9t Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน ป้าขอโทษค่ะฟังเพลินๆๆเลยขอบคุณข้อมูลในคริปนี้น่ะค่ะการดื่มน้ำมากเกินก็ไม่ดี การดื่มน้ำน้อยก็ไม่ดีอีกเพราะฉนั้นควรที่จะต้องดื่มให้พอดีกับร่างกายของเราจริงๆๆค่ะ บางวันเราก็ทานผลไม้บ้าง บางวันก็ทานน้ำชุปบ้างหรือทุกสิ่งอย่างตามที่คุณหมอได้กล่าวไว้ในหัวข้อ ขอขอบคุณน่ะค่ะคุณหมอแทน สุขภาพดีมีความสุขน่ะค่ะและน้องโรชี่ด้วยค่ะ🙏🏼♥️♥️♥️🥰ค่ะ

  • @user-nl3do1vr2n
    @user-nl3do1vr2n Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบพระคุณมากค่ะ💐

  • @katkanangsawasdee5024
    @katkanangsawasdee5024 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ ถ้ามีโอกาสอยากให้คุณหมอพูดเกี่ยวกับเรื่องโรครูมาตอยก็หรือ SLE ค่ะ

  • @milkimints7744
    @milkimints7744 Жыл бұрын

    อธิบายดีมากจริงๆค่ะ ทำคลิปดีๆแบบนี้ต่อไปนะคะคุณหมอ❤

  • @user-yw2ks4zv3b
    @user-yw2ks4zv3b Жыл бұрын

    รบกวนสอบถามคุณหมอค่ะ แรงดันน้ำในโพรงสมองสูง (วัดค่าจากการเจาะน้ำในไขกระดูกสันหลังไปตรวจค่ะ) เกิดจากสาเหตุอะไรคะ และมีวิธีรักษาอย่างไรคะ ขอขอบพระคุณมากนะค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    มีหลายสาเหตุครับ เช่น มีการอุดตันทางเดินน้ำในสมอง มีการสร้างที่มากผิดปกติ หรือมีการดูดซึมน้ำได้น้อยลงในโพรงสมอง การรักษาขึ้นกับสาเหตุครับ ถ้าแก้ไม่ได้ก็อาจต้องใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองเข้าไปที่ช่องท้องหรือช่องหัวใจแทนครับ ตรงนี้ต้องสอบถามหมอที่รักษาครับ

  • @piengjaiguntape6724
    @piengjaiguntape6724 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้มากมาย จะได้ดูแลตัวเองให้ดีขึ้น

  • @kjjtp5024
    @kjjtp5024 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากค่ะ เป็นเรื่องที่กำลังสงสัยพอดีเลย

  • @kantiya2689
    @kantiya2689 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะคุณหมอมีความรู้มากๆ

  • @user-ed5qh3fz1w
    @user-ed5qh3fz1w Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้

  • @nidangangarm3939
    @nidangangarm3939 Жыл бұрын

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ เป็นเรื่องที่รู้ แต่ไม่เข้าใจที่มา และสาเหตุเลยค่ะ จนวันนี้ได้เข้าใจเสียที 👍👍👍👍

  • @Jum.A1
    @Jum.A1 Жыл бұрын

    การดื่มน้ำ เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา เป็นความรู้ที่ดีมากสำหรับทุกคนเลยค่ะ ได้ยินคุณหมอ นักโภชนาการและจากที่คุณครูสอนตั้งแต่ชั้นประถมว่าเราควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ต่อมาก็เป็น 1.5-2 ลิตรต่อวันก็เชื่อจามนั้นมาตลอด ไม่เคยสงสัยเลยว่าทำไม แต่วันนี้คุณหมอกรุณาอธิบายเหตุผลเป็นความรู้ที่ดีมากที่ทุกคนควรรู้เลยค่ะ ปกติเป็นคนชอบดื่มน้ำและดื่มเยอะอยู่แล้วจึงไม่เข้าใจคนที่ไม่ชอบดื่มน้ำหรือดื่มน้ำไม่พอ แต่ถ้ายุ่งจนไม่มีเวลาดื่มน้ำนี่เข้าใจค่ะ เคยเป็นแต่ไม่บ่อยเพราะร่างกายจะเตือนตัวเองเสมอว่าเธอหิวน้ำ! ควรดื่มน้ำได้แล้ว คุณหมอคะ การดื่มน้ำเย็น (น้ำใส่น้ำแข็ง) มีผลเสียกับร่างกายจริงไหมคะ เป็นคนชอบดื่มน้ำใส่น้ำแข็งมากค่ะ แต่จะโดนดุบ่อย ๆ ว่ากินน้ำเย็นมันไม่ดี ต้องดื่มน้ำอุ่นค่อนไปทางร้อนถึงจะดี แต่เราไม่ชอบอ่ะค่ะ ดื่มน้ำอุ่นรู้สึกคอแห้ง ไม่ชื่นใจเหมือนน้ำเย็น เคยอ่านเจอว่าการดื่มน้ำเย็นช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานเก่งขึ้น เพราะร่างกายจะปรับอุณหภูมิน้ำให้เท่ากับอุณหภูมิของร่างกาย ถือเป็นการเผาลาญพลังงานอย่างหนึ่งจริงไหมคะ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 Жыл бұрын

    ขอบคุณอาจารย์หมอมาก ค่ะคลิปวันนี้ทำไมเราต้อง ดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร เรื่องน้ำๆ วันนี้เป็นประโยชน์มากเลย ค่ะ การหายใจก็ทำให้สูญ เสียน้ำด้วย ปกติดื่มน้ำน้อย ค่ะ เคยได้ยินเสมอว่าควร ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ8 แก้ว ค่ะ ถ้าเฉลี่ยแก้วละ200 cc. จำนวน 8 แก้วก็ประมาณ 1,600 cc. เป็นเป้าหมายที่ ควรทำแล้วค่ะแค่เรื่องน้ำๆ มองข้ามไม่ได้แล้วค่ะ มาฟัง อาจารย์หมออธิบายได้ ความรู้ความเข้าใจมากกว่า ในเน็ตทั่วไป ขอบคุณ อจ. หมอมากมายเลยค่ะ 🌷 🙏

  • @tussaneesexton3412
    @tussaneesexton3412 Жыл бұрын

    ขอบใจมากที่ให้ความรู้ดีๆค่ะ

  • @zhangli5171
    @zhangli5171 Жыл бұрын

    ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ ได้ความรู้มากเลยค่ะ จะได้รู้สึกสำคัญว่า ทำไมต้องทานน้ำให้ได้เท่านั้นเท่านี้ เพราะแบบนี้นี่เอง ไล่ฟังคุณหมอทุกคลิปนะคะ ☺️💞

  • @user-ts2jo7cn1k
    @user-ts2jo7cn1k Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ​ ขอให้คุณหมอยิ่งสอนยิ่งเก่งเป็นทวีคูณ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 Жыл бұрын

    เป็นกำลังใจให้อาจารย์หมอ แทน ตลอดกาลค่ะ☺️ ได้ความรู้ด้วยค่ะจากคำถามที่คนถามเข้ามาแล้วอาจารย์หมอเข้ามาตอบ🙏ขอให้ อาจารย์หมอมีความสุข มากๆค่าาา พักผ่อนด้วย นะคะ🐶🌹☺️☺️☺️

  • @user-om3zo2mp9d
    @user-om3zo2mp9d Жыл бұрын

    ขอบคุณความรู้ดีๆครับ

  • @supaneechotthavornrat7468
    @supaneechotthavornrat7468 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ🙏 ได้ความรู้ชัดเจนมากเลยค่ะ นู๋อยากรู้เพิ่มเติมค่ะ ว่าทำไมเราต้องเดินให้ได้ 10,000 ก้าว/วัน และต้องเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม ค่ะ😊

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ไม่ต้องทำเช่นนั้นหรอกครับ แค่เราออกกำลังกายทุกวัน และพักผ่อนให้เพียงพอก็เป็นใช้ได้ครับ

  • @narinda4836
    @narinda4836 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ

  • @nattawatkantitham3791
    @nattawatkantitham3791 Жыл бұрын

    Thank you krub Dr.Tany, God Bless You!

  • @honeybunnycalifornia
    @honeybunnycalifornia Жыл бұрын

    อยากให้เล่าเกี่ยวกับโรค SIDH ค่ะ จะรอฟัง

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai Жыл бұрын

    (ส่วนที่ 1) 🌟หัวข้อวันนี้น่าสนใจมากเลยค่ะ 🙏ขอขอบคุณอาจารย์หมออย่างยิ่งค่ะ ที่ได้มาให้ความรู้ และทำให้เข้าใจอย่างกระจ่างเลยค่ะว่า ทำไมถึงต้องดื่มน้ำเยอะๆ และควรจะดื่มน้ำแค่ไหนในแต่ละวัน ทำไมเราต้องดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร❓ ร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนมาก แต่เมื่ออายุมากขึ้น จะถูกทดแทนด้วยไขมันเป็นส่วนใหญ่ ปริมาณน้ำในร่างกายก็จะลดลง โดยเฉพาะผู้หญิง สัดส่วนของไขมัน ต่อ น้ำในร่างกายจะสูงกว่าของผู้ชาย *️⃣แล้วควรดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหนต่อวัน❓ ร่ายการมีการสูญเสียน้ำทุกวัน เมื่อมีการสูญเสียออกไปแล้วไม่เอาน้ำกลับเข้ามาทดแทน ร่ายกายก็จะขาดน้ำไปเรื่อยๆ ก็จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกายหลายอย่าง *️⃣สูญเสียน้ำจากทางใดได้บ้าง ➡️1 ทางการหายใจ การพูด จะมีการสูญเสียน้ำไปในทางเดินหายใจ วันละประมาณเฉลี่ย 400 มิลลิลิตร ➡️2 ทางอุจจาระ หรือทางลำไส้ใหญ่ น้ำโดยเฉลี่ยในนั้นประมาณ 200 มิลลิลิตร ➡️3 ทางผิวหนัง ออกมาในรูปของเหงื่อ หรือเป็นการระเหยไปเลย โดยเฉลี่ยเสียน้ำทางผิวหนังประมาณวันละ 500 มิลลิลิตร ➡️4 ปัสสาวะ ร่ายกายจะมีกระบวนการสลายสารอาหารต่างๆและมีสมดุลเกลือแร่อยู่ ซึ่งร่างกายต้องรักษาสมดุลเกลือแร่ทั้งหมดไว้ให้ได้ คำหนึ่งที่ต้องรู้จักคือ Osmolarity เป็นคุณสมบัตรของเหลวในร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเข้มข้นและพยายามที่จะดึงเอาน้ำมาสู่ตัวเอง Osmolarity ในร่างกายของเราจะต้องมีค่าคงที่ค่าหนึ่ง ถ้าสูงเกินไปก็แปลว่ามันดึงน้ำเข้ามาไว้ตรงบริเวณนั้นเยอะๆ ซึ่งไม่ดี แต่ถ้ามันต่ำจนเกินไปมันก็จะปล่อยน้ำทิ้งไปที่อื่นหมด ซึ่งก็ไม่ดีเช่นกัน

  • @thisisnathathai

    @thisisnathathai

    Жыл бұрын

    (ส่วนที่ 2) 🩸เลือดของเราจะมี Osmolarity อยู่ที่ประมาณ 290 mOsm/L (milliosmole/liter) จะมีโรคบางโรคที่ทำให้ค่านี้สูง/ต่ำ ที่ไม่เหมือนกัน ปัสสาวะ ของคนเรา จะควบคุม ความเข้มข้นของ Osmolarity ได้โดยไตของเรา และไตก็จะตอบสนองต่อฮอร์โมนชนิดต่างๆ ในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน ADH (Antidiuretic Hormone) และมีอีกชื่อหนึ่งคือ Arginine Vasopressin (AVP หรือ Vasopressin) ฮอร์โมนตัวนี้ไปช่วยในการทำให้เส้นเลือดของเรามีการหดตัว มีตัวอื่นๆอีกเช่น BNP (Brain Natriuretic Peptide) หรือ ANP ทั้งหมดทั้งมวลคือทำให้ไตมีความสามารถในการสร้างปัสสาวะที่มีความเข้มข้นได้แตกต่างกัน แต่ไตก็มีความสามารถที่จำกัดคือ ทำให้ปัสสาวะเข้มข้นสูงสุดได้ที่ 1200 mOsm/L คือถ้าเราขาดน้ำมากๆ ปัสสาวะจะออกมาเข้มข้นสูงสุดที่ 1200 mOsm/L *️⃣ตัวเลขนี้มีความสำคัญอย่าง❓ ปกติแล้วร่างกายจะมีการสร้าง Osmolarity ออกมาจากที่ต่างๆ เช่น โซเดียมที่กินเข้าไป โพแทสเซียมที่กินเข้าไป หรือพวกการสลายพวกโปรตีนต่างๆ จะทำให้เกิดยูเรีย ขึ้นมาในร่างกายเรา ทั้งหมดนี้เป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิด Osmolarity ขึ้นมา แต่ร่างกายจะต้องขับทิ้งออกไป แต่ละวันจะขับทิ้งประมาณ 600 mOsm ต่อวัน ร่ายกายจะไม่สามารถขับทิ้งเฉพาะ Osmolarity เปล่าๆได้ ต้องนี้น้ำเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ไตสามารถขับปัสสาวะได้เข้มข้นที่สุด 1200 mOsm/L ถ้าเรามี 600 mOsm ให้ขับทิ้งออกไป ก็ต้องใช้ 500 มิลลิลิตร เพราะฉะนั้น เราสูญเสียน้ำทางผิวหนัง 500 มิลลิลิตร ทางเดินหายใจ 400 มิลลิลิตร และทางอุจจาระอีก 200 มิลลิลิตรรวมกัน 1100 มิลลิลิตร ถ้าบวกกับที่ขับทิ้งอีก 500 มิลลิลิตร ก็จะได้เป็น 1600 มิลลิลิตร ไม่ว่าจะมีการขาดน้ำอย่างเต็มที่อย่างไรเราก็จะมีการสูญเสียน้ำปริมาณเท่ากับ 1600 มิลลิลิตร ออกไปทุกวัน ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือเราจะต้องดื่มน้ำให้มากกว่า 1600 มิลลิลิตรต่อวัน แต่นี่เป็นการยกตัวอย่างแบบสุดโต่ง หมายความว่าถ้าเราไม่ได้ดื่มน้ำอะไรเข้าไปเลย ปัสสาวะเราเข้มข้นมากที่สุดได้เท่าไหร่ ถ้าเราไม่ปัสสาวะเลยไม่ได้ เพราะว่าถ้าเราไม่ปัสสาวะออกมาเลย สิ่งต่างๆซึ่ง เป็นของเสียเช่น ยูเรีย พวกกลุ่มที่เป็นโซเดียมโพแทสเซียม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เรารับประทานเข้าไปมันจะไปคั่งอยู่ในร่างกายของเรา ก็จะทำให้ร่างกายของเราทำหน้าที่ผิดปกติไป ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่ร่างกายจะต้องขับมันออกมาและขับมันออกมาเปล่าๆไม่ได้ต้องมีน้ำตามออกมาด้วยเป็นปัสสาวะ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการ เสียน้ำไปทางปัสสาวะ ดังนั้นโดยรวมแล้วก็คือ 1600 มิลลิลิตร ที่ต้องใช้ในแต่ละวัน แต่เราไม่สามารถดื่มน้ำได้แค่ 1600 มิลลิลิตรต่อวันแล้วทุกอย่างจะดี นั่นเป็นเพราะว่าไตของเราต้องทำงานหนักตลอดเวลา ทำให้ปัสสาวะเข้มข้นตลอดเวลา ผ่านไปนานๆ ก็จะมีปัญหาได้ เวลาปัสสาวะเข้มข้นมากๆนานๆ ก็จะทำให้เกิดนิ่ว เป็นนิ่วในไต นิ่วในกรวยไต นิ่วในท่อไต หรือว่ามีปัญหาต่างๆในแง่ของการขาดน้ำ ร่ายกายก็พยายามเก็บน้ำไว้แต่ไม่มีให้เก็บ เข้ามาเท่าไหร่ก็ออกไปหมดเลย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลให้ดื่มน้ำเกิน 1600 มิลลิลิตร ก็เลยเป็น ที่มาของการดื่มน้ำ 2 ลิตร/วัน เกินมา 400 มิลลิลิตรเพื่อให้มีเหลือมีใช้บ้าง ก็จะสามารถช่วยให้ไตทำงานได้ดีขึ้น

  • @thisisnathathai

    @thisisnathathai

    Жыл бұрын

    (ส่วนที่ 3) *️⃣ถ้าเราไปหลงป่า แล้วเราไม่มีน้ำดื่มจริงๆ เราดื่มน้ำปัสสาวะตัวเองได้หรือเปล่า❓ เมื่อร่างกายขาดน้ำปัสสาวะของเราก็จะเข้มข้นมากๆ เพื่อที่จะพยายามสงวนน้ำไว้ในร่างกายของเรา แต่ยังไงก็ต้องปัสสาวะออกมา เพราะมันต้องขับสารที่ เป็นพิษต่อร่างกายออกมาด้วย พอมันขับออกมาแล้ว ปัสสาวะของเราก็จะมีความเข้มข้นที่สูงมาก 1200 mOsm/L และเมื่อเลือดเราความเข้มข้นอยู่ที่ประมาณ 290 mOsm/L ถ้าดื่มน้ำปัสสาวะที่มีความเข้มข้น 1200 mOsm/L ถ้าเอาเข้าไปในเลือด ก็จะเกิดความเข้มข้นที่สูงขึ้น mOsm ในร่างกายของเราก็จะสูงขึ้น แทนที่จะเป็น 290 อาจจะเป็น 300 ถึง 300 กว่า พอร่างกายมีความเข้มข้นในเลือดสูง มากๆ ก็แปลว่ามีสารพิษ osmole ที่จะต้องขับออกไปให้มากขึ้น แทนที่ปกติจะมี 600 mOsm อาจจะเป็น 800 หรือ 1000 คือถ้าท่านดื่มปัสสาวะของตัวเองเข้าไป จนมี 1200 mOsm ที่ต้องขับ ก็แสดงว่าท่านต้องปัสสาวะออกมา 1 ลิตร ถ้าไม่ทันยิ่งเสียน้ำเข้าไปใหญ่ ดังนั้นท่านก็จะยิ่งหิวน้ำมากขึ้น ร่างกายเราจะบ่งบอกว่า ต้องการน้ำเพิ่มขึ้นเพราะว่า เราต้องไปขับของเสียที่เรากินเข้าไปเองเพิ่มขึ้น *️⃣ก็เช่นเดียวกับที่ไปหลงในทะเล แล้วจะดื่มน้ำทะเลได้ไหม❓ คำตอบคือ ไม่ได้ ยิ่งดื่มก็จะยิ่งหิวน้ำเพราะว่า ปริมาณเกลือแร่ในน้ำทะเลสูงมาก ถ้าเป็นทะเลโดยทั่วๆไป ความเข้มข้นของโซเดียมหรือ ว่าเกลือทั่วๆไป จะอยู่ที่ประมาณ 3.5% น้ำเกลือที่เราปกติให้กันในโรงพยาบาลที่เป็นน้ำเกลือเปล่าๆจะอยู่ที่ 0.9% และ 0.9% นี้ก็สูงกว่าในเลือดของเราด้วย แปลว่าจะทานดื่มน้ำทะเลเข้าไป ช่วงที่ท่านขาดน้ำ ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายของท่าน มีความหิวน้ำเพิ่มขึ้น ต้องการน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะเอาไปขับเกลือแร่ที่ได้รับเกินไปออกมา ทางปัสสาวะอีกรอบหนึ่ง ภาวะอื่นที่จะต้องดื่มน้ำเข้าไปมากขึ้นเช่น ▶️1 ถ้าท่านมีท้องเสีย ▶️2 มีการหายใจเหนื่อยหอบ ▶️3 มีไข้ ร่างกายต้องการระบายความร้อนผ่านทางเหงื่อ ผ่านทางผิวหนังเพิ่มขึ้น

  • @thisisnathathai

    @thisisnathathai

    Жыл бұрын

    (ส่วนที่ 4) *️⃣ดื่มน้ำได้มากที่สุดแค่ไหน❓คิดมาจากอะไร❓ คำตอบคือ คิดมาจากความเข้มข้นของปัสสาวะ เวลาที่เราได้รับน้ำเกินเข้าไปในร่างกาย ร่างกายก็จะขับน้ำที่เป็นส่วนเกินออกมาข้างนอก ยังไงก็ต้องมี osmole ปนมาอยู่ดี โดยร่างกายเราทำปัสสาวะให้เจือจางมากที่สุด ได้อยู่ที่ 50 mOsm/L ในแต่ละวันจะมีประมาณ 600 mOsm ที่ต้องขับทิ้ง และถ้าท่านขับออกมาได้เจือจางที่สุดคือ 50 mOsm/L จะขับ 600 mOsm/L ออกหมดได้ก็จะใช้น้ำประมาณ 12 ลิตร จริงๆแล้วอาจจะอยู่ที่ 13-14 ลิตร แต่ว่าความสามารถของร่างกายของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน อาจจะทำได้มากกว่านั้นอาจจะ 17 ถึง 20 ลิตร แต่ไม่มีความจำเป็นจะต้องไปดื่มมากขนาดนั้น เพราะปัญหาก็คือถ้าเราดื่มมากขนาดนี้นั่นนาน ก็จะทำให้ร่างกายเรามีความเจือจางมากขึ้นเรื่อยๆแล้วก็จะเกิดปัญหาต่อร่างกายได้ ปัญหาหลักๆเมื่อเรามีภาวะน้ำเกินกับน้ำขาด เกลือแร่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปัญหามากที่สุดก็คือ โซเดียม มีหน้าที่ในการสื่อสารสื่อประสาทของเรา ถ้าสูงเกินไปก็ไม่ดี ต่ำเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน ทางเดินสื่อประสาทของเราจะมีปัญหาต่ำหรือสูงไปก็จะมีอาการทางระบบประสาท เช่นเห็นภาพหลอน มือชา เท้าชา จนถึงขั้นหมดสติชักได้ และเสียชีวิตได้เวลาที่โซเดียมมีความผิดปกติมากๆ ✳️นี่คือที่มาของการที่เราควรจะดื่มน้ำประมาณวันละ 2 ลิตร โดยน้ำ 2 ลิตรนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นน้ำเปล่าอย่างเดียว เช่นในอาหารก็มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 🛑จะมีโรคบางโรคซึ่งไม่สามารถจะได้น้ำมากขนาดนี้คือ 🔺ถ้าคนไหนมีไตวาย การได้น้ำมากเกินไปก็จะมีปัญหา เพราะไม่สามารถขับน้ำออกไปได้ ก็จำเป็นต้องลดปริมาณน้ำลง และจะต้องลด osmole คือสิ่งที่ร่างกายต้องขับทิ้ง เช่นแต่ท่านทานเค็มเข้าไปเยอะๆ ร่างกายจะต้องไปเอาปัสสาวะไปขับทิ้งออกมา แต่เนื่องจากไตของท่านเสียไปแล้ว ขับออกมาไม่ได้ ก็จะปัญหาเรื่องเกลือแร่ที่คั่งอยู่ในร่างกาย 🔺 ถ้ามีหัวใจวาย หัวใจบีบเลือดออกไปเลี้ยงไตไม่ได้ ไตก็จะวายตามมา ร่างกายขับน้ำออกไปไม่ได้ร่างกายก็จะมีน้ำเกิน ในกรณีนี้ก็ต้องงดน้ำลง 🔺 คนที่มีปัญหาไฮโปไทรอยด์ ไทรอยด์ทำงานต่ำผิดปกติ ร่างกายก็จะเก็บน้ำไว้ในร่างกายก็จะมีปัญหาอีก 🔺 ยาบางอย่าง ก็จะทำให้เก็บน้ำไว้ในร่างกายเพิ่มขึ้น 🔺 บางโรคก็ต้องงดเฉพาะน้ำเปล่าๆ แต่ทานน้ำที่มีเกลือแร่ปน คือโรค SIADH

  • @maneeann

    @maneeann

    Жыл бұрын

    👍👍❤️♥️ สุดยอดซุ่มอ่ะ หยอกๆ 😆

  • @arisachon9656
    @arisachon9656 Жыл бұрын

    อาจารย์คะ อายุ น้ำหนัก activity มีผลต่อปริมาณน้ำที่ต้องทานมั้ยคะ แล้วการทานเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่าตลอดเวลา โทษเหมือนเราทานปัสสวะหรือเปล่าคะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    1) มีครับ แต่อย่างน้อยต้องทำได้เท่าในคลิปที่ผมบอกไป 2) ไม่ครับ โทษขึ้นกับว่ามันคืออะไร แต่ไม่มีทางเหมือนกันครับ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์ บางครั้งคนเราก็ลืมนึกถึง ความสำคัญของน้ำที่มีต่อร่างกาย จนอาจเกิดภาวะการขาดน้ำ คุณหมออธิบายถึงสาเหตุดารขาดน้ำ และปริมาณที่ร่างกายต้องการน้ำในแต่ละวัน อย่างละเอียดและเข้าใจง่าย การดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นมาก SIADH เป็นภาวะโซเดียมในร่างกายต่ำ จากน้ำที่เกินเข้ามาในกระแสเลือด เข้าใจยากจริงค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัย และมีความสุขนะคะ

  • @FragranzaTrippa

    @FragranzaTrippa

    Жыл бұрын

    คุณมนต์ดื่มวันละ 2 ลิตรไหมคะ หรือมากกว่านั้นคะ

  • @boomsong5729

    @boomsong5729

    Жыл бұрын

    @@FragranzaTrippa ดื่มน้ำเยอะค่ะวันละ 2-3 ลิตรค่ะ ขอบคุณมากนะคะ คุณทริปป้า ⚘💙⚘

  • @FragranzaTrippa

    @FragranzaTrippa

    Жыл бұрын

    @@boomsong5729 ดื่มพอๆกันเลยค่ะ

  • @toipreeyaporn2485
    @toipreeyaporn2485 Жыл бұрын

    ขอบคุณความรู้จากอจ.หมอค่ะ

  • @dilokpenn2126
    @dilokpenn2126 Жыл бұрын

    ขอบคุณ​มาก​ค่ะ​คุณ​หมอ

  • @soontareesoontaree6725
    @soontareesoontaree6725 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะ ถ้าเราออกกำลังแล้ว หิวน้ำที่มีรสหวานซ่า อย่างน้ำอัดลมบางชนิด แล้วดื่มคู่ไปกับน้ำเปล่าจะมีผลอย่างไรบ้างกับ ระบบการดูดซึม ของลำไส้ หรือไต ของเราบ้างคะ ❣️

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ไม่มีผลอะไรครับ

  • @user-me3yq4rf5y
    @user-me3yq4rf5y Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอขอบคุณข้อมูลดีๆ

  • @user-me3yq4rf5y

    @user-me3yq4rf5y

    Жыл бұрын

    คุณหมอสบายดีน่ะค่ะ ผ่านวิกฤษผลข้างเคียงใาได้ฉิวเฉียดค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    สบายดีครับผม

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Жыл бұрын

    คุณหมอคะ สงสัยว่า 1) เวลาเราอาบน้ำ นานๆ แล้ว นิ้วเหี่ยวๆ หาข้อมูลเค้าบอกว่าเป็นเพราะน้ำค่อยๆซึมกลับเข้าไปในร่างกายได้ใช่ไหมคะ ( ออสโมซิส ) แบบนี้เรานับน้ำส่วนนี้ อยู่ใน 2 ลิตรไหมคะ 2) เวลาอาบน้ำเสร็จใหม่ๆเล็บจะนิ่มมากเลยค่ะ เราชอบตัดเล็บหลังจากอาบน้ำเสร็จค่ะ ทำไมเล็บถึงนิ่มได้หรือคะ คุณหมอ ขอบคุณมากค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    1) ก็อาจจะแบบนั้นครับ ไม่นับครับ และต่อให้นับจะนับได้เหรอครับ 2) น้ำเข้าไปในเล็บครับ

  • @siriwattanakerdklang2068
    @siriwattanakerdklang2068 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะอาจารย์ เคยอ่านว่าให้ทานน้ำตามนน. ตัว คร่าวๆคือ นน.*30 ml แบบนี้นน. 45 ดื่มประมาณ 1.5 ลิตรใช้ได้มั้ยคะ หรือควร 2 ลิตรไปเลยคะ _/|\_

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    จะเอาให้ละเอียด 45 กก ก็ต้องดื่มอย่างน้อย (10x100) + (10x50) + (25x20) = 2000 cc ครับ

  • @papayacutie3662
    @papayacutie3662 Жыл бұрын

    ดูจบแล้วรีบไปหยิบน้ำมาดื่มเลยค่ะ 😅 ขอบคุณมากๆค่ะ อธิบายเข้าใจง่ายฝุดๆ

  • @benjatawat8739
    @benjatawat8739 Жыл бұрын

    ขอบคุณนะคะ อาจารย์หมอ คะ

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 Жыл бұрын

    ขอบคุณนะคะ ส่วนตัวก้จะดื่มน้ำให้ได้ประมาณ 2 ลิตรทั้งๆที่ถ้าคำนวณตาม นน แล้ว จะดื่มได้แค่ 1,200 นิดๆ ยิ่งได้ฟังเช่นนี้แล้วยิ่งมั่นใจว่าสามารถดื่มเกินได้🙏

  • @pichineekaewpanuekrangsi5760
    @pichineekaewpanuekrangsi5760 Жыл бұрын

    ลองตามสูตรนี้ ก็ได้ค่ะ ไม่ยาก และไม่ได้มากเลยจริงๆ ค่ะ 1. หลังตื่นนอน และก่อนนอน (รวม 2 แก้ว * 250 cc) 2. ระหว่าง (ก่อน) มื้ออาหาร 3 มื้อ (3) 3. ระหว่าง (หลัง) มื้ออาหาร 3 มื้อ (3) แค่นี้ ก็ได้อย่างต่ำ 8 แก้ว * 250 cc. รวม 2 ลิตร/วันแล้วค่ะ ไม่นับที่จะคอแห้ง หากใช้เสียงมาก, หรือให้ช่วยความรื่นคอ ขณะรับประทานอาหาร, และกระหาย หากสูญเสียเหงื่อ หรืออากาศร้อน และที่ได้จากอาหาร ผัก และผลไม้เพิ่มเติม เมื่อก่อน ดื่มน้ำน้อยมาก พอไปบริจาคเลือด ซึ่งต้องดื่มน้ำก่อนบริจาค 3-4 แก้ว* 200 cc. และควรดื่มต่อวัน ให้ได้วันละ 2 ลิตร เพื่อการสร้างชดเชยและบำรุงรักษาระบบเพื่อการสร้างเม็ดเลือดที่ดี เลยทำให้ต้อง "ฝึก" การดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรไปโดยปริยาย และทำให้ สามารถบริจาคเลือด ได้ทุก 3 เดือนอย่างสม่ำเสมอค่ะ ตั้งขวดน้ำ 1.5 ลิตร 2 ขวด ใกล้ตัว ดื่มเรื่อยๆ ทีละน้อย อย่ายกดื่มรวดเดียวทั้งแก้ว หรือทีละมากๆ .. ไตจะขับทางปัสสาวะเสียหมด จะทำให้ไตทำงานหนักเกินไปได้ค่ะ

  • @preeyapaudon53
    @preeyapaudon53 Жыл бұрын

    ขอบพระคุณคุณหมอคะ ติดตามคะ

  • @praneesiltham3836
    @praneesiltham3836 Жыл бұрын

    สุดยอด ครูผู้ให้จริงๆคะ ขอบคุณค่ะ

  • @user-bk2wq4hj5y
    @user-bk2wq4hj5y Жыл бұрын

    คุณอธิบายเข้าใจง่ายค่ะ

  • @user-fl1mf2px4l
    @user-fl1mf2px4l29 күн бұрын

    ขอบคุณมากๆค่ะอ.หมอ👏👏👏 เข้ามาฟังคลิปย้อนหลังค่ะ อ.หมอ เก่งที่สุดค่ะ🙋🙋🙋

  • @nutnnn4722
    @nutnnn4722 Жыл бұрын

    ผมกินวันละ 3 ลิตรขั้นต่ำ แรกๆก็ฝืน หลังๆจะไม่พอด้วยซ้ำ รู้สึกชีวิตสดชื่นขึ้นครับ

  • @KarnTovara
    @KarnTovara Жыл бұрын

    ขอบคุณค่าาคุณหมอ สำหรับคำแนะนำการดื่มน้ำที่เหมาะสมค่ะ 🤩 - เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ คุณหมออธิบายละเอียด ฟังเพลินค่า 🙂 - คุณหมอพักดื่มน้ำค่าา 🍵🍒😃 - ทิ้งท้ายด้วยสุภาษิตเกี่ยวกับน้ำนะค้าา... "น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาสบาย....ย" 😆😆 "สุขกาย สบายใจ ทุกท่านค่าาา..." 🌻🥰

  • @kalyamonosathanond
    @kalyamonosathanond Жыл бұрын

    ฟังคลิปนี้จบแล้วนึกถึงหนังสือเรื่อง Water: For Health, for Healing, for Life: You're Not Sick, You're Thirsty! ที่เคยอ่านช่วงม.ปลาย ตอนนั้นอ่านฆ่าเวลาพาคุณย่าไปพบหมอ แล้วก็ลืมเนื้อหาไปหมดแล้ว ช่วงนั้นจำได้ว่า เคยไปอ่านเกี่ยวกับผู้แต่งนส.เรื่องนี้ แล้วมีความเห็นประมาณว่าหมอท่านนี้มีความคิดไม่เหมือนใครที่เชื่อว่าแค่น้ำสามารถรักษาได้ทุกโรค อารมณ์เหมือนต่อต้านการใช้ยา เลยอ่านไม่จบ เดี๋ยววันนี้จะลองกลับไปอ่านดูอีกทีค่ะ ว่ามันเขียนว่ายังไงบ้าง แต่อันดับแรกต้องเช็ดทำความสะอาดก่อน หนังสือเก่ามากกก เดี๋ยวภูมิแพ้ขึ้น 🤧

  • @user-xc1qe2nd8t
    @user-xc1qe2nd8t Жыл бұрын

    ขอบคุณคุณหมอ​มากค่ะ

  • @zzzzdage5825
    @zzzzdage5825 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากครับคุณหมอ💗

  • @pinkmatt8338
    @pinkmatt8338 Жыл бұрын

    ขอบคุณคะ ดีใจที่ คุณหมอมาให้ความรู้ ขอบคุณพระคุณอย่างสูงค่ะ พึ่งรู้ระบบร่างกายบนเครื่องบินคะ

  • @user-nn9ty7nh3s
    @user-nn9ty7nh3s Жыл бұрын

    ตัวอย่าง ตื่น6.30ดื่ม2แก้ว ทานข้าว7โมง เว้นไป2ชั่วโมง 9โมง1แก้วแล้วก็10และ11โมง หลังเที่ยงบ่าย2-3-4-5 ช่วงค่ำอย่าอัดมาก ได้ลุกฉี่กลางคืน ข้อดีของการกินน้ำทั้งวันคือ เลิกอยากของหวาน ของจุกจิก

  • @teresa19632506
    @teresa19632506 Жыл бұрын

    อยากทราบว่าคนที่ชอบดื่มโซดาเปล่าๆ วันละ 1-2 ขวด มีผลเสียอะไรไหมคะ ส่วนน้ำเปล่าก็ยังคงดื่มปกติค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ไม่ได้มีปัญหาอะไรครับ อาจท้องอืดหรือกรดไหลย้อนง่ายหน่อย แต่ถ้าไม่มีปัญหาอะไรพวกนี้ส่วนมากก็ดื่มได้ครับ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Жыл бұрын

    คุณหมอคะถ้าคนที่ชอบดื่มแต่น้ำเย็นๆ จะมีข้อเสียไหมคะ ❄️💧❄️เคยดื่มแล้วรู้สึกได้ว่าความเย็นมันไหลลงไปตามร่างกายเลยค่ะ แล้วท้องก็เย็นไปด้วยเลยค่ะ คนดื่มน้ำเย็น น้ำร้อน น้ำอุ่น น้ำอุณหภูมิห้อง แบบไหนดีสุดหรือคะ ขอบคุณค่ะ ☃️💧💦

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ไม่มีปัญหาครับ

  • @tidtods2753
    @tidtods275311 ай бұрын

    ขอบคุนครับอาจารย์

  • @varamaisilamaneechote7002
    @varamaisilamaneechote7002 Жыл бұрын

    🙏🙏🙏ค่ะ คุณหมอ 🥰🥰🥰

  • @Firstfastza
    @Firstfastza Жыл бұрын

    สุดยอดครับ ทำให้รู้แจ้งเห็นจริงครับ

  • @Kooreumi
    @Kooreumi Жыл бұрын

    คำถามนี้เคยถามไว้คลิปก่อนๆ ขอบคุณคุณหมอมากเลยค่ะ เป็นปัญหาที่คาใจมานาน 😅

  • @user-qy9ck8ip7c
    @user-qy9ck8ip7c Жыл бұрын

    ขอบคุณมากค่ะดีมากค่ะเรื่องดื่มน้ำ

  • @luxanawadeeboonyasirinun6378
    @luxanawadeeboonyasirinun6378 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ น้ำสำคัญต่อร่างกายจริงๆ 💧ช่วงนี้ดื่มเยอะเหมือนกัน🤔 แต่ขี้เกียจวิ่งเข้าห้องน้ำน่ะค่ะ ยิ่งหน้าฝนด้วย… และความจุในกระเพาะปัสสาวะแต่ละคนไม่เท่ากันด้วยมั้งคะ (ปกติเหงื่อก็ไม่ค่อยออก ถ้าไม่ได้เล่นกีฬา ขนาดเล่นกีฬาเหงื่อยังออกน้อยเลย😅) ทราบค่ะ…หลงป่ายังไงก็ไม่ดื่ม😨ค่ะ …เคยดูสารคดีมีวิธีหาน้ำจากหลายแหล่งอยู่เหมือนกัน…🤩

  • @Channel-xv2oo
    @Channel-xv2oo Жыл бұрын

    ขอบคุณคุณหมอแทนมากนะคะ ได้ความรู้มากมายมีคุณค่าเสมอ สำหรับตัวเองไม่ค่อยจำว่าดื่มน้ำเท่าไร ต้องจำบ้างแล้วแต่ไม่ดื่มน้ำเย็น น่าจะไม่ขาด สังเกตุจากสีของปัสสาวะ ปกติดีมาก เข้าห้องน้ำบ่อย กลัวว่าจะเกิน ต้องหันมาจำในแต่ละวัน ขอบคุณคุณหมออีกครั้งค่ะ มีคนพูดว่าสูงอายุไม่ควรดื่มน้ำก่อนนอนจริงไหมคะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ดื่มก่อนนอนมันทำให้ปวดปัสสาวะตอนนอนได้ครับ

  • @Channel-xv2oo

    @Channel-xv2oo

    Жыл бұрын

    ขอบคุณคุณหมอมากๆนะคะ

  • @user-cj7jf5ly3b

    @user-cj7jf5ly3b

    Жыл бұрын

    ขอบคุณคะคุณหมอ😊

  • @tassaneechuenprasertsuk1370
    @tassaneechuenprasertsuk1370 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ ฟังแล้วเข้าใจมากกว่าที่ผ่านมา คุณหมออธิบายมีเปรียบเทียบให้เห็นจริงด้วยค่ะ ต้องใส่ใจดูแลตัวเองเรื่องดื่มน้ำอย่างจริงจังพยายามดื่มให้ได้ค่ะและต้องรีบบอกต่อญาติๆ,เพื่อนๆค่ะ ขอบคุณมากค่ะ 🙏👍

  • @lamoloma301
    @lamoloma301 Жыл бұрын

    คุณหมอคะ กรณีผู้ป่วยติดเตียง ใส่สายให้อาหารทางสายยาง ต้องการน้ำ กับสารอาหารอย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ก่อนอื่นต้องถามหมอที่ดูแลตอนก่อนที่จะออกจาก รพ ครับ แต่ละคนมีความต้องการไม่เท่ากัน

  • @lamoloma301

    @lamoloma301

    Жыл бұрын

    @@DrTany ขอบคุณค่ะ

  • @user-om3zo2mp9d
    @user-om3zo2mp9d Жыл бұрын

    ผมเคยเป็นไตวายเฉียบพลัน ผลมาจาก G6PD อยากให้คุณหมอให้ความรู้เรื่องไตวายเฉียบพลัน และG6PD ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

  • @user-il4cr2ki5p
    @user-il4cr2ki5p Жыл бұрын

    เหมือนได้คุยกะหมอเลย..ขอบคุณในสาระที่ทุกคนควรทราบ-ดูแลตัวเองเบี้องต้น

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Жыл бұрын

    อาจารย์คะ ยาบางอย่างที่อาจารย์บอกว่า อาจจะทำให้ร่างกายเก็บน้ำเอาไว้ นั่นคือ การคั่งน้ำ หรือเปล่าคะ ไปหาข้อมูลมาว่าเป็นยาดังต่อไปนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่ค่ะ 🔹ยาคุมกำเนิดบางยี่ห้อที่มีปริมาณเอสโตรเจนสูง 🔹ยากลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen และ Naproxen 🔹ยารักษาอาการปวดเส้นประสาท Pregabalin และ Gabapentin 🔹ยาต้านแคลเซียม Amlodipine 🔹ยารักษาโรคเบาหวาน Pioglitazone และ Rosiglitazone

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ประมาณนั้นครับ

  • @FragranzaTrippa

    @FragranzaTrippa

    Жыл бұрын

    @@DrTany ขอบคุณมากค่ะอาจารย์...

  • @Phanita999
    @Phanita9996 ай бұрын

    อาจารย์ขา น้ำแร่ ดีกว่า น้ำเปล่าไหมคะ หรือ ไม่จำเป็น แค่ ดื่ม บางวัน ก็พอค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    6 ай бұрын

    ไม่ได้ดีกว่าครับ

  • @douiyh4869
    @douiyh4869 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ

  • @rungnapaaoummun574
    @rungnapaaoummun574 Жыл бұрын

    หมอคะ ตอนเราเข้ารพ.เรายังกินได้เองแต่ทางรพ.เจาะแขนคาเข็มให้น้ำเกลือเพื่ออะไรคะ เราปฏิเสธได้มั้ยคะ ทำไมต้องเจ็บตัว แค่นอนรอดูอาการ(ปวดท้อง)

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    เพราะหากมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องช่วยชีวิตด่วนจะได้มีที่ให้ยาเข้าเส้นเลือดโดยตรงครับ รพ ทุกแห่งจะทำแบบนี้ถูกแล้วครับ จะปฏิเสธก็ได้ แต่มันเคยมีเคสที่ฉุกเฉินแล้วช่วยไม่ทันเหมือนกัน รพ ต่างๆจึงทำแบบนั้นครับ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Жыл бұрын

    คุณหมอคะ รบกวนขอถามนอกเรื่องค่ะ มีอยู่ช่วงหนึ่งเราทำงานหนักมากอาหารก็ทานไม่เป็นเวลา น้ำก็ไม่ค่อยได้ทานนั่งอยู่หน้าคอมทั้งวันแทบไม่ขยับเขยื้อนไปไหน แล้วจู่จู่ก็เกิดอาการปวดท้องมากๆด้านซ้ายปวดแบบไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อนค่ะ ตอนปัสสาวะคือต้องค่อยๆออกมาทีละนิดไม่มีแรงเบ่ง เพราะปวดมากค่ะ คิดว่าสองสามวันน่าจะหาย ไม่ได้ไปหาหมอและไม่ได้ทานยาค่ะ โชคดีที่มันก็ค่อยๆดีขึ้น และหายปวดแล้วค่ะ เหตุการณ์ผ่านมา 6 เดือนแล้วค่ะ เราไม่ได้ปวดท้องแบบนั้นแล้วค่ะ ไม่กล้าให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นอีกค่ะ 1) ถ้าเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือลำไส้อักเสบ อาการคือจะปวดท้องไหมคะ 2) ถ้าไม่ได้รักษา แต่หายปวดท้องแล้ว ถือว่าหายอักเสบ ได้ไหมคะ คุณหมอ ขอบคุณมากค่ะ 🙏😊

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    1) ปวดครับ 2) น่าจะครับ

  • @kwantaboonian9065
    @kwantaboonian9065 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเรื่องการดื่มน้ำเลยค่ะ

Келесі