สีเสียด 2 ชนิด สีเสียดแก่น สีเสียดไทย สีเสียดเปลือกกินกับหมาก วรากรสมุนไพร โทร/ไอดีไลน์ 0616498997

ต้นสีเสียดแก่น ไม้ในพุทธประวัติ ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
สีเสียด (Acacia catechu Willd.)
ชื่อพันธุ์ไม้ สีเสียดแก่น
ชื่อสามัญ Catechu Tree, Cutch Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu Willd.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), สีเสียด (ภาคเหนือ), สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดแก่นเหนือ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร เรือนยอดโปร่ง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไปเปลือกสีเทาคล้ำหรืออมน้ำตาลค่อนข้างขรุขระ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้น รูปไข่แกมขอบขนานโคนใบเบี้ยวมีขนห่างๆ ออกดอกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ตามง่ามใบ ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือขาวอมเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปบรรทัดแบน ยาว 5-10 ซ.ม.เมล็ดแบนสีน้ำตาลอมเขียว
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขัง
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทางภาคเหนือ ป่าละเมาะบนพื้นที่ราบและแห้งแล้งทั่วไป
ออกดอก เมษายน - พฤษภาคม เป็นผลระหว่างเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม
สีเสียด หรือที่ชาวฮินดูเรียก “แคร” หรือที่ทางการค้าเรียกว่า Catechu tree นี้ ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญานได้ 8 พรรษา ก็ได้เสด็จไปประทับภูสกภวันคือป่าไม้สีเสียด ใกล้สูงสุมารคีรีในภัคคฎฐี
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ไสกบตบแต่งยาก ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น เสา ตง คาน สะพาน ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตร แก่นให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนังและให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แห อวน
สรรพคุณ
ก้อนสีเสียดเป็นยาสมานอย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ ใช้เป็นยารักษาเหงือก ลิ้นและฟัน รักษา แผลในลำคอ
สีเสียดเปลือก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pentace burmanica Kurz.
วงศ์ : TILIACEAE
ชื่ออื่น : สีเสียด สีเสียดอ้ม
ลักษณะ
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขอบใบเว้าเป็นคลื่น ปลายใบแหลม โคนใบมักจะเว้าเล็กน้อย ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามปลายกิ่งและซอกใบ ผลแห้ง มีปีกด้านข้างเป็นครีบแผ่กว้าง 5 ครีบ
เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า และกัมพูชา ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 50-800 เมตร ออกดอกและผลเดือน ธันวาคม - เมษายน
สถานภาพ : พืชหายาก สมัยก่อนมีการเก็บหาเปลือกเป็นการค้า โดยนำเปลือกมาเคี้ยวกับหมาก
สรรพคุณ
เปลือกต้น รสฝาดหวาน ต้มรับประทานแก้บิด ท้องร่วง แก้อติสาร อมเคี้ยวแก้แผลในปากคอ ฆ่าเชื้อโรคในปาก ฝนทาสมานแผล แก้แผลเน่าเปื่อยพุพอง

Пікірлер: 10

  • @user-nq4jc2qz1m
    @user-nq4jc2qz1m3 ай бұрын

    ตันใหญ่สูงมากที่บ้านมี

  • @user-rl4lm9fo7e
    @user-rl4lm9fo7e2 ай бұрын

    อาจจะมีมากแต่รุ่นนี้คนใหม่คงไม่รู้จักจ้า

  • @user-xh7pf1vu8k
    @user-xh7pf1vu8k9 ай бұрын

    อธิบายได้ชัดเจนดีมากครับถ้างั้นของผมที่ซื้อมาจากฝั่งลาวก็น่าจะเป็นสีเสียดเปลือกเพราะรอยลอกเปลือกชัดเจนมาก

  • @user-xh7pf1vu8k
    @user-xh7pf1vu8k9 ай бұрын

    ใบฝักคล้ายต้นฝางเสนหรือเปล่าครับ ผมก็ค้นจากตำราไม้เทศเมืองไทย ผมีเปลือกไม้สีแดงซื้อมาจากฝั่งลาวแต่บันทึกขาดหายไปจำชื่อไม่ได้ไม่รู้ถามใครดี

  • @Thaiherbs

    @Thaiherbs

    9 ай бұрын

    ยังไม่เคยเห็นต้นใหญ่เลยค่ะ

  • @user-dd5nf4sn5y
    @user-dd5nf4sn5y2 жыл бұрын

    สีเสียดเปรือกขยายพันธุแบบวิธีไหนครับ

  • @Thaiherbs

    @Thaiherbs

    2 жыл бұрын

    เพาะเมล็ดทั้งหมดค่ะ

  • @user-xi4dy6ij6b
    @user-xi4dy6ij6b8 ай бұрын

    ขายต้นเท่าไหร่ครับ

  • @Thaiherbs

    @Thaiherbs

    8 ай бұрын

    ตอนนี้เหลือแต่สีเสียดเปลือกค่ะแก่นหมด ต้นละ200ค่ะสนใจแอดไลน์ herbsddd

  • @user-xi4dy6ij6b

    @user-xi4dy6ij6b

    8 ай бұрын

    @@Thaiherbs ครับ รับแต่ สีเสียดแก่น ครับ ขอบคุณครับ

Келесі