No video

โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 438

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын

    โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา #โรคหัวใจ Atrial Fibrillation หรือ AF พบได้ค่อนข้างบ่อย Atrial Fibrillation คือ หัวใจเรามีห้องบนเรียกว่า Atrium และห้องล่าง เรียกว่า Ventricle อยู่ด้านซ้ายและขวา Atrial Fibrillation ปัญหาจะอยู่ที่ห้องด้านบน ห้องด้านบนมีหน้าที่นำไฟฟ้ามาสู่ห้องด้านล่างแล้วทำให้เกิดการบีบตัวเอาเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และส่วนหนึ่งส่งไปปอดด้วย ตอนที่1

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    ถ้าหัวใจห้องด้านบนบีบตัวปกติ (สามารถดูลักษณะการบีบตัวของหัวใจได้ในนาทีที่ 1:34) ก็จะบีบเลือดส่งมาให้ห้องล่าง ห้องล่างก็จะบีบต่อ และส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ถ้าห้องบนและห้องล่างไม่สัมพันธ์กัน ห้องบนมีการบีบแบบสั่นพริ้ว (สามารถดูลักษณะการบีบตัวของหัวใจได้ในนาทีที่ 1:47) จะเรียกว่า Atrial Fibrillation ปัญหาของ Atrial Fibrillation เลือดที่ส่งมายังห้องล่างของหัวใจได้ไม่เต็มที่ จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้าย และ ล่างขวา ส่งออกไปตามส่วนต่างๆของร่างกายได้น้อยลง ทำให้เกิดปัญหา - อวัยวะขาดเลือดก็จะทำให้เหนื่อยง่าย - ใจสั่น หน้ามืด ความดันตก ช๊อก เสียชีวิตกระทันหัน - หัวใจจะมีติ่งพิเศษ Atrium จะเป็นห้องกลมๆอย่างหนึ่ง และจะมีห้องข้างๆ เรียกว่า Atrial Appendage ห้องนี้จะไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ เวลาที่หัวใจสั่น ทำให้เลือดไม่ค่อยเดิน เมื่อเลือดอยู่ที่เดิมนานๆ ก็อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ ลิ่มเลือดนี้ก็มักจะชอบอยู่ตรง Atrial Appendage วันดีคืนดีหัวใจปั๊มเอาลิ่มเลือดนี้ออกไป ลิ่มเลือดนี้สามารถไป สมอง ก็ทำให้เกิด Stroke คนไข้อาจเป็นอัมพฤกได้ เวลารักษา Atrial Fibrillation ก็ควรจะคำนึงถึงโอกาสที่จะเกิดปัญหานี้ขึ้นมา ตอนที่2

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    สาเหตุที่เกิด Atrial Fibrillation 1. สาเหตุที่แก้ได้และมักเป็นชั่วคราว เช่น - Hyperthyroid จะมีการหลั่งของฮอร์โมนมากผิดปกติ ทำให้โอกาสหัวใจเต้นสั่นพริ้วเพิ่มขึ้น บางครั้งถ้าเรารักษาที่ Thyroid บางครั้งก็หายขาดไม่จำเป็นต้องรักษาต่อ - จะพบบ่อยในคนที่มีการหยุดหายใจในขณะหลับ อาจเกิด Atrial Fibrillation หากแก้ไขแล้วอาจหายได้ - อดนอนมากๆ มีความเครียด รับประทานยาบางชนิด ดื่มกาแฟเข้าไปเยอะ เราต้องไปแก้ที่สาเหตุ ก็อาจหายได้ - หากมีการผ่าตัดของหัวใจก็อาจมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้ ตอนที่3

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    2. สาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ เช่น - จะพบได้มากหากเป็นความดันโลหิตสูงแล้วเราไม่รักษา รอจนเกิด Atrial Fibrillation ไปแล้ว ถึงแม้จะรักษาความดันแล้ว Atrial Fibrillation โอกาสจะกลับมาเป็นปกติได้น้อยมาก - บางคนเป็นโรคปอดเรื้อรัง ความดันในช่องปอดสูงมาก จะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ กลุ่มนี้เป็นแล้วอาจจะไม่หาย แต่อาจดีขึ้นได้ หากเรารักษาโรคปอด หรือได้รับการปลูกถ่ายปอด ก็อาจหายไปได้ - คนที่มีปัญหาเรื่องลิ้นหัวใจห้องด้านซ้าย ระหว่าง Atrium ด้านบนซ้าย และ Ventricle ด้านล่างซ้าย จะมีลิ้นหัวใจเรียกว่า Mitral valve ถ้าเราเป็นโรคหัวใจรูมาติก (คนละโรคกะรูมาตอยด์ที่ปวดข้อ) เป็นการติดเชื้อชนิดหนึ่ง เข้าไปทางคอ หรือ ผิวหนัง วันดีคืนดีเข้าไปในลิ้นหัวใจทำให้เกิดการตีบขึ้นมาได้ จะเรียกว่า Rheumatic Heart Disease พอตีบมากๆ (ถ้าขนาดเล็กกว่า 1.5 cm ถือว่าตีบขั้นรุนแรง โอกาสที่จะเกิด Atrial Fibrillation ก็จะสูงขึ้น เราต้องทำการรักษา คนที่จะเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมก็จะมีการพิจารณาที่แตกต่างกันไป ตอนที่4

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    อาการที่ควรจะต้องไปพบแพทย์ - ใจสั่นบ่อยๆ - คนที่มีโรคความดันโลหิตสูง - Stroke หรือลิ่มเลือดอุดตันตามที่ต่างๆ จะต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นจาก Atrial Fibrillation หรือเปล่า คนส่วนมากบังเอิญตรวจเจอมากกว่า บางคนอาจใจสั่น หน้ามืด แล้วไปตรวจจึงพบ เมื่อแพทย์ตรวจพบแล้ว - แพทย์จะแก้ไขปัจจัยที่แก้ไขได้เสียก่อน เช่น คนที่ดื่มกาแฟเยอะๆ จะต้องงดกาแฟ งดคาเฟอีน คนที่เสพยาเสพติดก็ต้องงด หากไม่งดนอกจากไม่หายก็อาจเสียชีวิตด้วยซ้ำไป - หากแก้ไขแล้วไม่หาย ต่อไปเราจะ 1. Rhythm control (เปลี่ยนจังหวะการเต้นหัวใจไม่ได้เต้นสั่นพริ้วหรือ AF ) and rate control จะทำให้หัวใจภาวะ AF กลับมาเต้นปกติ หรือ Normal sinus rhythm และอีกแบบคือ Rate control จะแค่ควบคุมไม่ให้เต้นเร็วเกินไป ไม่ให้เกิน 100-120 ครั้งต่อนาที เป็นต้น ตอนที่5

  • @pattarapornsovarattanaphon8892

    @pattarapornsovarattanaphon8892

    Жыл бұрын

    กรณีที่เลือกเป็น Rate control จะง่ายกว่าและไม่ค่อยอันตรายมากมาย เพราะ ยาที่ใช้ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเท่าไหร่ จะเลือกใช้กรณีนี้เมื่อตรวจพบโดยบังเอิญ ไม่มีอาการใดๆ และผู้สูงอายุ (ส่วนใหญ่คุณหมอจะตัดที่อายุ 80 ปีขึ้นไป แต่บางเคสก็ต้องรักษาแบบ Rhythm control ) เพราะผู้สูงอายุจะทนผลข้างเคียงของยาเหล่านี้ไม่ค่อยไหว กรณีที่เลือกเป็น Rhythm control จะทำให้หัวใจภาวะ AF กลับมาเต้นปกติ คุณหมอมักจะใช้ในกรณีที่ - คนไข้อายุต่ำกว่า 75 หรือ ต่ำกว่า 65 จะยิ่งดี เพราะคนอายุน้อยส่วนมากมักจะใช้แรง หากการทำงานของหัวใจไม่สัมพันธ์กันบางครั้งจะทำให้ ทำหน้าที่นั้นได้ไม่เต็มที่ - คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจวายอยู่แล้ว เราจะรู้อยู่แล้วว่าหัวใจห้องด้านล่างจะบีบตัวไม่ค่อยดี หรือที่เรียกว่า Congestive heart failure ถ้าบีบไม่ดี แล้วข้างบนเป็น AF หัวใจเต้นพริ้วเลือดก็ส่งไปได้น้อยอยูแล้ว ถ้าด้านล่างบีบไม่ดีอีก ก็จะยิ่งเกิดปัญหา - คนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เช่น คนที่เคยเป็น Stroke ไม่ว่าอดีต หรือ เพิ่งเป็น คนที่มีโรคหลอดเลือดต่างๆ - คนที่เคยทำ Rate control แล้วไม่สำเร็จ ก็ต้องทำแบบ Rhythm control ตอนที่6

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 Жыл бұрын

    หัวใจเต้นผิดจังหวะ AF หัวใจเต้นพลิ้ว หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation หรือ AF คือ การที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ในระหว่างที่เป็น AF หัวใจสองห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอและเป็นคนละจังหวะกับหัวใจทั้งสองห้องล่าง ทำให้การปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ มักมีอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน และร่างกายอ่อนแรง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงต่อ การเกิดลิ่มเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หัวใจล้มเหลว และ โรคหัวใจอื่นๆ ตามมา

  • @maneeann
    @maneeann Жыл бұрын

    🧡 อาการของโรคหัวใจเต้นผิดปกติ AF ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่มาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนที่เหลือผู้ป่วยมาพบแพทย์เนื่องจากอาการดังต่อไปนี้ ◽️ มีอาการสมองขาดเลือดไม่ทราบสาเหตุ ◽️ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เต้นไม่สม่ำเสมอ ◽️ เจ็บหรือแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ◽️ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ◽️ เหนื่อยมากขณะออกกำลังกาย ◽️ เป็นลมหมดสติ

  • @TeerapatSrikriddiyakorn
    @TeerapatSrikriddiyakorn6 ай бұрын

    ขอบคุณครับ อาจารย์หมอ

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o Жыл бұрын

    ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ🙏🙏🙏🙏🙏🙏

  • @sorattyahattapasu7765
    @sorattyahattapasu7765 Жыл бұрын

    กราบขอบพระคุณมากคะ

  • @user-np3uz2zb6q
    @user-np3uz2zb6q Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ

  • @peamitmaiteetour1111
    @peamitmaiteetour1111 Жыл бұрын

    อธิบายดีค่ะ... 💬✅

  • @user-ss5hu2hl4u
    @user-ss5hu2hl4u Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ..

  • @user-qi8iz6bp5t
    @user-qi8iz6bp5t Жыл бұрын

    คุณหมอมีสาระมากๆค่ะ

  • @nichaphatphonyut8435
    @nichaphatphonyut8435 Жыл бұрын

    ชอบฟังคุณหมอมากค่ะ

  • @rungnapakaewmaliwong9114
    @rungnapakaewmaliwong9114 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ❤

  • @user-xu9zi8lq6f
    @user-xu9zi8lq6f Жыл бұрын

    ขอบคุณหมอค่ะที่ให้ความรู้

  • @leo-jx2mh
    @leo-jx2mh Жыл бұрын

    ขอบคุณครับพีหมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️

  • @comserveitserve7165
    @comserveitserve7165 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ คุณหมอฮีโร่

  • @juth5229
    @juth5229 Жыл бұрын

    ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

  • @supatrasernvongsat6328
    @supatrasernvongsat6328 Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์ทุก clip เลยค่ะ

  • @user-lk7mh7lu2u
    @user-lk7mh7lu2u8 ай бұрын

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

  • @user-ve4hv6eq3f
    @user-ve4hv6eq3f Жыл бұрын

    ดีมากเลยค่ะ

  • @user-mr8fp6lo6g
    @user-mr8fp6lo6g Жыл бұрын

    สวัสดีเจ้าขอบคุณเจ้า💞💞💞💞💞

  • @user-yw7gq2ku9u
    @user-yw7gq2ku9u Жыл бұрын

    ฟังค่ะ

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ

  • @taniareya
    @taniareya Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ คุณหมออธิบายเข้าใจง่ายค่ะ 💙

  • @user-fx8sv6yy8q
    @user-fx8sv6yy8q Жыл бұрын

    🧡💙💝💞🙏สุขในทุกสถานการณ์นะคะ

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @user-nl3do1vr2n
    @user-nl3do1vr2n Жыл бұрын

    ขอบพระคุณอาจารย์หมอมากค่ะ ได้ความรู้มากเลยค่ะ🙏🍀

  • @praneewernlim
    @praneewernlim Жыл бұрын

    MANY THANKS DOCTOR GOD BLESS

  • @toifarrell7949
    @toifarrell7949 Жыл бұрын

    Very good information.thank you doctor

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 Жыл бұрын

    โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา#โรคหัวใจ หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation หรือ AF คือ การที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ในระหว่างที่เป็น AF หัวใจสองห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอและเป็นคนละจังหวะกับหัวใจทั้งสองห้องล่าง ทำให้การปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ มักมีอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน และร่างกายอ่อนแรง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงต่อ การเกิดลิ่มเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หัวใจล้มเหลว และ โรคหัวใจอื่นๆ ตามมา อาการของภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF 🧊ใจสั่น 🧊 หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ 🧊 เหนื่อยง่าย 🧊 อ่อนเพลีย 🧊 เหนื่อยขณะออกกำลังกาย 🧊 ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง 🧊 เจ็บหรือแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ 🧊 หายใจลำบาก 🧊 เป็นลมหมดสติ อีกหนึ่งความรู้วันนี้เรื่องหัวใจ มีประโยชน์ จะได้ สังเกตว่าเรา ครอบครัว มีอาการแบบนั้นไหม ไม่เจ็บป่วย ดีที่สุด พยายามดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไว้ก่อน ทานอาหารครบหมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนนอนให้มีคุณภาพ ไม่เครียด ตรวจสุขภาพ เหล้า บุหรี่ ไม่ดีต่อสุขภาพก็ควรเลิก ขอให้คุณหมอปลอดภัย พักบ้างนะคะ ขอบคุณมากค่ะ🙇🏻‍♀️

  • @chittipornchuatram5703
    @chittipornchuatram5703 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณคลิปนี้มากๆนะค่ะ พอดีพี่สาวเป็นอยู่ค่ะ ค่ารักษาแพงมากๆเลยค่ะ 🤗😘❤

  • @chaweewanbierly5044
    @chaweewanbierly5044 Жыл бұрын

    Merry Christmas Ka Doctor

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 Жыл бұрын

    สวัสดึค่ะคุณหมอธนีย์ จริงค่ะคุณหมอเป็นเรื่องที่ยาก เยอะ และยาวค่ะ คุณหมอบรรยายได้ละเอียด เหมือนได้ฟังคุณหมอเฉพาะทางโรคหัวใจอยู่ค่ะ ที่อันตรายคือ เวลาที่หัวใจเต้นผิดปกติ เสี่ยงภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันได้ AF มีทั้งสาเหตุที่แก้ไขได้ และแก้ไขไม่ได้ หนึ่งสาเหตุที่แก้ไขได้ที่คุณหมอเคยอธิบายไว้ในคลิปหยุดหายใจขณะหลับหลายๆคลิปค่ะ คุณหมอบรรยายเรื่อง"หัวใจ" มา 2 วัน คงมีต่อพรุ่งนี้อีกนะคะ ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายใจ และมีความสุขนะคะ 🌻🧡🌻

  • @kiartinitikun
    @kiartinitikun11 ай бұрын

    ชอบฟังคุณหมอมากค่ะ เนื้อหาทุกอย่างตรงกับที่นู่เรียนพยาบาลอยู่ตอนนี้เลยค่ะ 🎉🎉

  • @arombless6144
    @arombless6144 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากค่ะ ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรคุณหมอและครอบครัวนะคะ

  • @asmeyawara3875
    @asmeyawara387510 ай бұрын

    ขอบคุณเนื้อมากครับ กำลังเรียน นศ .เเพทย์ เนื้อหาครบ มากค่ะ

  • @anutinyaemnam8180
    @anutinyaemnam81802 ай бұрын

    ผมเป็นอยู่ครับ

  • @overatedgames4233
    @overatedgames4233 Жыл бұрын

    กราบขอบคุณคุณหมอตลอดเวลา ขอให้คุณหมอเจริญๆ ...ที่ทำให้มีความรู้ มีความรู้ก็สามารถดูแลตนเอง แนะนำคนรอบข้างได้ในส่วนหนึ่ง . มีประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคกับคุณหมอ เป็นคลิปที่มีประโยชน์ทุกคลิปค่ะ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @kalyamonosathanond
    @kalyamonosathanond Жыл бұрын

    ใกล้วันหัวใจโลกแล้ว คุณหมอเลยมาพูดหัวข้อหัวใจบ่อยๆแน่เลย ช่วงนี้เหนื่อยจากการอ่านนส. ไม่ค่อยมีเวลาได้เข้ามาดูเหมือนแต่ก่อน 🥲 เป็นกำลังใจให้เหมือนเดิมนะคะ Keep a healthy heart so we won’t be apart.

  • @sdfPZXC
    @sdfPZXC Жыл бұрын

    ให้คนไข้ดูคลิปนี่แทนอธิบายเองจะดีไหมครับ ดีมาก😂

  • @KunlayaneeToy
    @KunlayaneeToy Жыл бұрын

    ช่วงนี้ อากาศเปลี่ยนแปลง คุณหมอแทน ดูแลรักษา สุขภาพด้วยค่ะ

  • @yingp6104
    @yingp6104 Жыл бұрын

    มองคุณหมอแล้วหัวใจเต้นผิดปกติค่ะ😂😂 เดี๋ยวภรรยาคุณหมอมาเห็นอาจจะซวยได้555

  • @piroadsam446
    @piroadsam446 Жыл бұрын

    คุณหมอเก่งมากๆๆคะรู้ว่าอะไรควรเอามาคุย..ตรงประเด็น.ดีสุดๆๆ

  • @piroadsam446
    @piroadsam446 Жыл бұрын

    เป็นอยู่คะ. หัวใจเต้นช้าคะคุณหมอ

  • @maxprivate
    @maxprivate Жыл бұрын

    กลัวเลยครับ งืออออ

  • @chantanaolsson6833
    @chantanaolsson6833 Жыл бұрын

    คุณหมออธิบายได้ดี และละเอียดที่ทำให้พอเข้าใจได้ดี ขอบคุณคุณหมอมากคะ

  • @peawchindakul9315
    @peawchindakul9315 Жыл бұрын

    ผู้ให้ย่อมมีความสุขขอให้อ.จโชคดี มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวย

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน สำหรับความรู้เรื่องหัวใจเต้นผิดปกติ(AF) มีประโยชน์ค่ะ คุณหมอทำมืออธิบายการสั่นพริ้วของหัวใจทำให้เข้าใจการเคลื่อนไหวได้ดีเลยค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ ✌️✌️ค่าคุณหมอ🌞

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 Жыл бұрын

    สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณคะคุณหมอที่มาให้ความรู้โรคหัวใจเต้นผิดปกติ เสี่ยงอัมพฤกษ์ ได้ความรู้ มีประโยชน์มากคะ👍😊 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹❤️

  • @aorta1977
    @aorta1977 Жыл бұрын

    อาจารย์อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับ AF สาเหตุ ภาวะต่างๆการรักษาได้เข้าใจง่ายเห็นภาพเลยค่ะ 👍🏻ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ 😁

  • @user-wn1wt9kn6e
    @user-wn1wt9kn6e Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ😑💛💛ขอบคุณมากความรู้ที่มาบอก..เคยเป็นใจสั่นค่ะตอนเหนื่อยมากๆ

  • @user-vi3lv5qk9t
    @user-vi3lv5qk9t Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน ป้ามาชมย้อนหลังขอโทษค่ะขอบคุณข้อมูลที่ดีๆๆน่ะค่ะกับทุกๆๆวันทุกๆๆคริปล้วนแต่มีประโยชน์และมีความรู้ที่มากมาย🙏🏼♥️♥️♥️🥰สุขภาพดีมีสุขน่ะค่ะคุณหมอแทนและน้องโรชี่ด้วยน่ะค่ะ🥰

  • @ployyy.2107
    @ployyy.2107 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอขอบคุณข้อมูลความรู้มากๆค่ะมารับความรู้ต่อจากเมื่อวานมีประโยชน์มากค่ะขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ...🥰🥰🥰

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat Жыл бұрын

    ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰 AFทำให้นึกถึงเวลา​เรียนการอ่านEKGเบื้องต้นของพยาบาล​ ไม่เก่งและไม่ได้ใช้​ทำให้ลืมค่ะ​ จำกราฟEKGสับสนกับAtrial Flutter , P​waveจะคล้ายฟันเลื่อย Atrial Fibrillationไม่เห็น​P​wave, QRSไม่สม่ำเสมอก็จะงงๆไปค่ะ​ 😵😅😁

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 Жыл бұрын

    ฟังอาจารย์หมอเมื่อวานไปรอบแรก ก็สงสัยตัวเองขึ้นมาทันทีค่ะ ก็เลย Search หาข้อมูลเจอบทความเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจห้องบนที่รุนแรงที่สุด เรียกว่า (AF : Atrial Fibrillation) ของโรงพยาบาลที่เคยไปตรวจคลื่นหัวใจ ซึ่งคุณหมอบอกว่าจังหวะของหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ คุณหมอก็ชี้ให้ดูคลื่นที่ไม่สม่ำเสมอ #เป็นที่มาของการอยากกลับไปตรวจที่โรงพยาบาลเดิมค่ะ😊 วันนี้อาจารย์หมอนำเรื่อง AF มาให้ความรู้เพิ่มเติม เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากค่ะ จะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนค่ะ💗😁#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai Жыл бұрын

    (ส่วนที่ 1) ❤️‍🩹โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา #โรคหัวใจ ทำไมถึงเกิดขึ้นได้❓ใครที่เป็นจะต้องทำอย่างไร❓ ไม่ดีอย่างไร❓ มีวิธีดูแลรักษาอย่างไร❓ในเวลาที่หมอพิจารณาโรคหัวใจเต้นผิดปกติ เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง❓ Atrial Fibrillation คืออะไร❓ หัวใจของเราจะมีห้องบนกับห้องล่างห้อง ห้องบนจะเรียกว่า Atrium มีทั้งด้านซ้ายและขวา ห้องล่างเรียกว่า Ventricle มีทั้งด้านซ้ายและขวาเช่นกัน ปัญหาจะอยู่ตรงส่วนที่เป็นห้องด้านบน ซึ่งมีหน้าที่นำกระแสไฟฟ้ามาสู่ห้องด้านล่างและทำให้เกิดการบีบตัวเอาเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และมีส่วนหนึ่งส่งไปปอดด้วย ถ้าหัวใจด้านบนบีบตัวปกติ ก็จะบีบเลือดส่งมาให้ห้องล่าง ห้องล่างก็จะบีบต่อและเอาเลือดส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ถ้ามันไม่สัมพันธ์กันเช่น ถ้าห้องบนมีการบีบ”แบบสั่นพลิ้ว”ก็จะเรียกว่า Atrial Fibrillation ทำให้เลือดที่ส่งมาสู่ห้องล่างของหัวใจก็จะได้ไม่เต็มที่ พอได้ไม่เต็มที่ก็จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาส่งเลือดออกไปตามส่วนต่างๆของร่างกายได้น้อยลง ทำให้เกิดปัญหาเช่น 💓1 เหนื่อยง่าย 💓2 ใจสั่น 💓3 หน้ามืด 💓4 ความดันตก เกิดอาการช็อกได้หรือบางคนเสียชีวิตกระทันหัน แต่ปัญหาที่นอกเหนือจากนั้นคือ หัวใจของเราหัวใจจะมีคล้ายๆเป็นติ่งพิเศษอยู่ข้างๆ Atrial เรียกว่า Atrial Appendage เป็นห้องที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ เวลาที่หัวใจสั่นพริ้ว จะทำให้เลือดไม่ค่อยเดิน เมื่อเลือดอยู่ที่เดิมนานๆก็จะกลายเป็นลิ่มเลือดได้ ลิ่มเลือดนี้จะชอบไปอยู่ใน Atrial Appendage หากวันดีคืนดีหลุดออกมาแล้วหัวใจเราปั้มออกไป ลิ่มเลือดก็จะไปที่สมองอุดตันที่สมองก็เกิด Stroke ได้ ทำไมถึงเป็น Atrial Fibrillation❓ แบ่งออกได้เป็น สาเหตุที่แก้ได้ และสาเหตุที่แก้ไม่ได้ สาเหตุที่แก้ได้และมักจะเป็นชั่วคราว เช่น 💗1 ถ้ามีอาการ Hyperthyroid ฮอร์โมนหลั่งมากจนเกินไปทำให้หัวใจมีการเต้นสั่นพลิ้วเพิ่มขึ้น ถ้าเราแก้ที่ ไทรอยด์ บางทีก็หายขาด 💗2 มีการหยุดหายใจในขณะหลับ 💗3 จากการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น อดนอนนานๆ เครียดมากๆ บางคนรับประทานยาบางชนิด ดื่มกาแฟเยอะๆ 💗4 มีการผ่าตัดของหัวใจ สาเหตุที่แก้ไม่ได้ทำให้มีปัญหาระยะยาว 💟1 ความดันโลหิตสูง 💟2 โรคปอดเรื้อรัง ความดันในช่องปอดสูงมากๆ ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้

  • @thisisnathathai

    @thisisnathathai

    Жыл бұрын

    (ส่วนที่ 2) เหตุผลอื่นๆที่เอามาร่วมคิดด้วยก็คือ คนที่มีปัญหาเรื่องลิ้นหัวใจโดยเฉพาะลิ้นหัวใจห้องด้านซ้าย มีด้านบนและด้านล่าง Left atrium และ Left ventricle ระหว่างห้องจะมีลิ้นกั้นอยู่ตรงกลาง ลื้นกั้นด้านซ้ายเรียกว่า Mitral Valve ถ้าเราเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค (Rheumatic heart disease) เป็นการติดเชื้อชนิดหนึ่งที่เข้าทางคอ หรือบางคนก็ติดเชื้อทางผิวหนังแล้ววันดีคืนดีไปที่ลิ้นหัวใจ ทำใก้ลิ้นหัวใจตีบ พอตีบมากๆ ถ้าขนาดเล็กว่า 1.5 ตร.ซม.ถือว่าตีบขั้นรุนแรง โอกาสที่จะเกิด Atrial Fibrillation จะสูงขึ้นต้องรีบรักษา อาการแบบไหนที่ควรไปตรวจ❓ ❣️1 ใจสั่นบ่อยๆ ❣️2 มีโรคต่างๆเช่นโรคความดันโลหิตสูง Stroke โรคลิ่มเลือดอุดตันตามที่ต่างๆ แต่คนส่วนมากมักตรวจเจอโดยบังเอิญเสียมากกว่า เมื่อพบว่าเป็น Atrial Fibrillation หมอมีวิธีในการคิดรักษาอย่างไร❓ อย่างแรกคือ ปัจจัยที่แก้ไขได้ต้องรีบแก้ไขก่อน แต่ถ้าแก้ไขแล้วยังไม่หาย ก็มีวิธีในการดูแลรักษาโดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อหลักๆด้วยกันคือ ❤️1️⃣ เราจะสามารถทำให้ AF เป็นวิธีการเต้นปกติหรือจะแค่ควบคุมไม่ให้เต้นเร็วจนเกินไป ทางการแพทย์เรียก Rhythm control and Rate control Rhythm control เป็นการเปลี่ยนจังหวะการเต้นไม่ให้เป็นการสั่นพลื้วของหัวใจ AF แต่ให้เป็นการเต้นปกติของหัวใจที่เรียกว่า Normal sinus rhythm Rate contro ปล่อยให้เป็น AF แต่จะไม่ให้เร็วจนเกินไปไม่ให้เกิน 100 ครั้ง หรือบางกรณีให้ถึง 120 ครั้งต่อนาที

  • @thisisnathathai

    @thisisnathathai

    Жыл бұрын

    (ส่วนที่ 3) จะให้ยาเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่จะไปอุดตามสมองของเราหรือเปล่า โดยเลือกที่จะให้หรือไม่ให้ และถ้าให้จะให้อะไร❓ จะเลือกเป็นการควบคุมจังหวะหัวใจให้ปกติหรือจะควบคุมความเร็ว คือ Rate and Rhythm control กรณีเลือก Rate contro จะง่ายกว่า และยาก็จะไม่ค่อยมีผลข้างเคียง คนไหนที่จะเลือก Rate contro❓ ♦️1 ถ้าเป็นคนที่ตรวจเจอโดยบังเอิญไม่มีอาการใดใดทั้งสิ้น ♦️2 และคนสูงอายุมากๆ เพราะจะมีปัญหาในแง่ของการทนยากลุ่มที่มีผลข้างเคียงเยอะๆ ไม่ค่อยไหว เรามักจะเลือก Rate contro กรณีเลือก Rhythm control คือพยายามทำให้ AF กลับไปเป็น Normal sinus rhythm ใช้ในกรณีไหนบ้าง❓ 🔺1 คนไข้ที่อายุต่ำกว่า 75 ถ้าเป็นไปได้ก็ 65 จะพยายามทำให้กลับไปเป็นปกติ 🔺2 คนไข้ที่มีโรคหัวใจเช่นหัวใจวาย ถ้าเป็นหัวใจวายอยู่แล้วจะรู้ว่าห้องด้านล่างจะบีบตัวไม่ค่อยดี เรรยกว่า Congestive Heart Failure 🔺3 คนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เช่นคนที่เคยเป็น Sttoke แล้ว 🔺4 คนที่เป็นพวกโรคหลอดเลือดต่างๆ 🔺5 คนที่พยายามทำวิธี Rate contro แล้วไม่สำเร็จ ก็จะเปลี่ยนมาทำ Rhythm control วิธีทำให้เป็น Rhythm control ทำอย่างไร❓ เริ่มจากทำการใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (Cardioversion) กรณีนี้มีสองแบบคือ 🔻1 วางแผนตั้งแต่ต้นว่าจะทำ จะให้ยาต้านเกร็ดเลือดก่อน ทำการ echo ดูว่าไม่มีลิ่มเลือดในนั้นขึ้นอยู่กับว่าเป็นมานานแล้วหรือยัง ทำแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ เมื่อทำจนเป็นปกติแล้วก็ต้องทานยาต่อไปเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ 🔻2 กรณีฉุกเฉินเช่น ถ้ามี AF แล้วมีการเต้นของหัวใจเร็วเกินไป คือส่งกระแสไฟฟ้าทุกอย่างลงที่ห้องล่างซ้าย บางคนอาจจะเห็นหมอเขียน AF with RVR (Atrial fibrillation : AF) with Rapid Ventricular Response (RVR) เช่น ความดันตกที่เรียกว่าช็อกในกรณีนี้เป็นกรณีเร่งด่วนต้องรีบช็อตหัวใจให้กลับมาเป็นปกติให้ได้เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ไว้ได้ ยาที่นิยมใช้ที่สุด Amiodarone เป็นยาที่สามารถทำให้คนไข้กลับมาอยู่ในวิธีการเต้นปกติได้เยอะที่สุด แต่ก็มีผลข้างเคียงระยะยาวหลายๆอย่าง เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ หรือไทรอยด์ทำงานต่ำจนเกินไปมีปัญหาเรื่องของตา เรื่องของตับ เรื่องของปอดได้ ยาตัวอื่นเช่น โซทาลอล (Sotalol) โดฟีทิไลด์ (Dofetilide) แต่ถ้าต้องการแค่ให้หัวใจเต้นช้าลง แต่ยังเป็น AF อยู่ ใช้ยาในกลุ่มที่เรียกว่า Beta-blockers ได้

  • @thisisnathathai

    @thisisnathathai

    Жыл бұрын

    (ส่วนที่ 4) ❤️2️⃣ต้องให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือเปล่า❓ ในทางการแพทย์พิจารณาจาก ❤️‍🔥1 โอกาสในการเกิดลิ่มเลือดของคนไข้ ใช้การคำนวณที่เรียกว่า CHADS-VASc score ถ้าคะแนนตั้งแต่ 2 ขึ้นไป มีโอกาสเป็นลื่มเลือดสูงจะเริ่มยา ยกเว้นกรณีเดียวคือในผู้หญิง ยาที่ให้คือ วาร์ฟาริน (warfarin) ปัญหาของยาตัวนี้คือ มีผลกระทบกับยาตัวอื่นๆ รวมถึงวิตามินเคด้วยถ้าทานร่วมกันยาจะทำงานลดลง ยาในกลุ่ม โนแอ็ก NOAC เช่น Dabigatran Rivaroxaban Apixaban Edoxaban ข้อดีก็คือไม่ต้องเจาะเลือดดูค่า "ไอเอ็นอาร์" (INR: International Normalized Ratio) บ่อยๆ ข้อเสียก็คือ ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉินเช่นท่านเลือดออกและจะใช้ยาแก้พิษของมันเพื่อไม่ให้เลือดออก ยาหายาก แพงและ ก็อาจไม่มีในโรงพยาบาลที่ท่านไปรักษา ซึ่งแตกต่างจากการใช้ยา Warfarin ซึ่งมียาแก้ฤทธิ์ของมันมากมาย เช่นให้วิตามินเค ❤️‍🔥2 โอกาสในการเกิดเลือดออก เช่นหกล้มบ่อย หรือเป็นโรคเลือดออกง่าย หรือคนที่เพิ่งเป็นเส้นเลือดแตกในสมอง หรือป่าตัดใหญ่มาใหม่ๆ หรือเป็นมะเร็งในทางเดินประสาทส่วนกลาง สมองหรือไขสันหลัง ใช้ยาต้านเกล็ดเลือดได้ไหม เช่น เช่น แอสไพริน ยากลุ่ม dual antiplatelet หรือ DAPT เช่นยา clopidogrel + aspirin ❓ คำตอบคือ ไม่ได้ครับ ไม่มีประโยชน์ใดๆทั่งสิ้น แอสไพริน ตัวเดี่ยวๆ ไม่ช่วยเลยเรื่องของลิ่มเลือด ❤️สรุป ❤️ ถ้าเป็น AF จะหาสาเหตุก่อน เช่น เป็นไทรอยด์ กินกาแฟเยอะๆ อดนอนบ่อยๆ มีการหยุดหายใจในขณะหลับ ต้องแก้ปัญหาพวกนี้ก่อน แต่ถ้าเราตรวจเจอโดยบังเอิญและไม่มีสาเหตุอะไรเลย แบ่งการรักษาเป็นสองอย่างคือ ♥️1 จะทำ Rhythm control and Rate control ถ้าเลือกที่จะควบคุมอัตราการเต้นไม่ให้เร็วจนเกินไปจะเรียกว่า Rate control ใช้ในกรณีคนที่ไม่ค่อยมีอาการใดๆทั้งสิ้นหรืออายุมากๆ เช่นอายุมากเกิน 75 ปี ไม่ต้องทำอะไร แค่ทำให้มันช้าลง เช่นการให้ยา Beta-blockers แต่ถ้าจะทำเป็น Rhythm control จะทำในคนไข้ที่อายุน้อยกว่า 65 ปี หรือคนที่มีอาการมากๆคนที่ทำ Rate control ไม่สำเร็จ คนที่มีหัวใจวาย เคยเป็น Stroke มาก่อน ยาที่ใช้ก็มีหลายตัว แต่ละตัวก็มีข้อบ่งชี้แตกต่างกัน มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ยาที่นิยมใช้ที่สุด Amiodarone 💊2 ให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือไม่ จะประเมินตาม CHADS-VASc ถ้ามันสูงๆ ก็มีโอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดสูง แต่ก่อนจะให้ยาพวกนี้ก็ต้องดูว่าคนไข้มีโอกาสเลือดออกมากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสเลือดออกสูงกว่าโอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดก็จะพิจารณาไม่ให้ยา แต่ถ้าพิจารณาแล้วโอกาสเกิดลิ่มเลือดสูงกว่าแบบนี้เราก็จะให้ยา ยาที่ให้คือ วาร์ฟาริน (warfarin) เป็นยาแบบเก่า ซึ่งจะมีข้อดีที่ว่ามีประสบการณ์การใช้ยามานาน และมียาที่ใช้สามารถแก้ฤทธิ์ของมันได้ทันท่วงทีถ้าหากเกิดเลือดออกขึ้นมา ข้อเสียก็คือมีปัญหากับอย่างอื่นๆค่อนข้างที่จะเยอะ และต้องเจาะเลือดตรวจอยู่บ่อยๆ เพื่อดูค่า INR ถ้าเป็นยากลุ่มใหม่ๆ เช่น Dabigatran Rivaroxaban Apixaban Edoxaban จะไม่ค่อยมียาที่จะไปลบล้างปัญหาของมันได้ถ้าเกิดเลือดออกขึ้นมาก็ต้องไปโรงพยาบาล ยาต่างๆไม่ค่อยมี แล้วก็หายากและแพง แต่ข้อดีก็คือไม่ต้องไปตรวจ INR บ่อยๆ

  • @sangthailofthouse2511
    @sangthailofthouse2511 Жыл бұрын

    ส่วนตัวนะคะการฟังคุณหมอ อธิบายโรคต่าง ๆ เป็นการพักผ่อน ทางสายตาอย่างหนึ่งค่ะ....ฟังอย่างเดียวไม่ต้องมองจอค่ะ...ในกรณีฟังไม่เข้าใจในภาษาทางการแพทย์ค่ะ...

  • @wanphensuknirandon3791
    @wanphensuknirandon37918 ай бұрын

    ข บคุณคุณหมอมากๆค่ะ สามีตอนนี้ หัวใจเต้น ไม่สมำเสมอค่ะ มึอาการเหนื่อยง่าย short breath เขาขาดเซลเม๋ดเลือดแดงด้วย และเกิดท้องเสียด้วยก่อนหน้าที่จะเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะค่ะ

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ🙏🙏🙏🙏🙏♥️♥️♥️♥️♥️👍👍👍👍👍🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭

  • @user-ux5xu9lw8p
    @user-ux5xu9lw8p Жыл бұрын

    ขอบคุณ คุณหมอมากๆๆ อีกแล้ว เพราะเคยเล่าให้คุณหมอฟังว่าใจสั่น แต่ทุกวันนี้กินยาเบบี้แอสไพลิน 81 มก. และไปหาหมอทุกอย่างแล้วเพราะเคยเป็นเส้นโลหิตในสมองตีบ และแคลเลสเตอร์รอลสูงก็ต้องกินยาด้วย แต่เมื่อได้ฟังคุณหมออธิบายแล้วทำให้เข้าใจมากขึ้น ขอบคุณมากค่ะ

  • @ALL86898
    @ALL86898 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะอาจารย์แพทย์คุณหมอแทน🙏😍วันนี้เรื่องที่พูดดีมากๆ คุณหมอก็ดูดีมากเลย พูดในเรื่องหัวใจเต้นผิดปกติ (A F) มีการสั่นพริ้วของหัวใจห้องบน แล้วส่งเลือดมาที่ห้องล่างซ้าย ไม่ได้ทำให้หัวใจห้องล่างไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เมื่อทำงานไม่ได้บีบตัวปั้มไม่ได้จะมีเลือดไปขังในห้องเล็ก ข้างๆหัวใจมีติ่ง เหมือนช่องเล็ก ถ้ามีเลือดเข้าอยู่ในนั้นเมื่อเวลาหัวใจบีบตัว และบีบแบบผิดปกติก็อาจจะมีเลือดเข้าไปอยู่ตามเส้นเลือดสมองเป็นสโตรกได้ ถ้าเรากินกาแฟ มาก แล้วทำให้ใจสั่นควรเลย กินกาแฟ ลดยาเสพติด ฟังเพลิน เลยค่ะถ้าเป็นนักเรียนแพทย์คงได้ความรู้มากในเรื่องหัวใจ เรื่องยา ต่างๆ การตรวจเจอ ต้องรักษา ห้วใจให้เต้นเป็นปกติก่อน เรื่องอายุสำคัญ คนที่มีโรคต่างๆอยู่ต้องดู การใช้ยาละลายลิ่มเลือดต้องพิจารณาเรื่องอายุ 65-74 เพศหญิงมีโอกาสมากในการเป็นลิ่มเลือด คนเป็นเบาหวาน คนเคยเป็นสโตรก มีความเสี่ยงมากต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดแต่ ถ้ามีโรคเลือดออกง่ายมากผ่าตัดมาใหม่ ๆ ก็ไม่ควรให้ยาละลายลิ่มเลือด ถ้ากาแฟ มีปัญหาก็หยุด ขอบคุณค่ะฟังเข้าใจดีค่ะขอบคุณคุณหมอค่ะ ตัวเองเคยหัวใจสั่นเวลาตกใจ แต่ปัจจุบันไม่เป็นแล้ว หายไป แต่จะหาโอกาสไปตรวจค่ะ ป้องกันไว้ก่อน ไม่มีโรคความดันสูง ขอบคุณความรู้ในเรื่องนี้ค่ะ🙏👍❤

  • @KarnTovara
    @KarnTovara Жыл бұрын

    ขอบคุณค่าคุณหมอ สำหรับความรู้เรื่อง Atrial Fibrillation ค่ะ 🙇‍♀️ เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ ฟังเพลินค่ะ 💬 - คนสูงอายุที่มีอาการใจสั่น มักมาขอซื้อยา β-Blocker ค่ะ (ส่วนใหญ่จะเรียกว่า "ยาใจดี" "ยาแก้ใจสั่น" "ยาใจดีเม็ดสีชมพู") มาขอซื้อเองโดยไม่ได้ไปพบแพทย์นะคะ มีมาเรื่อยๆ ค่ะ .... อันตรายเนอะคะ ก็จะอธิบายไปและบอกให้ไปพบแพทย์ก่อนค่ะ ให้ตรวจก่อนว่าทำไมใจสั่น 💓 - สำหรับผู้ที่...ผู้สูงอายุที่บ้าน ออกไปซื้อของนอกบ้านด้วยตนเอง ... อาจแอบเปิดดูของที่เค้าซื้อมา โดยเฉพาะ "ยา" ค่ะ ... บางครั้งเค้าไม่สบายแล้ว ไม่ยอมบอกลูกหลานในบ้านค่ะ และหลายครั้งชอบวินิจฉัยโรคด้วยตนเองค่ะ .... ใช้ยาผิด ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ค่า 😃 - คุณหมอพักทานน้ำค่าา 🍵🍏🫐😃

  • @amphan17413
    @amphan17413 Жыл бұрын

    🙏🏻

  • @sutatiputtasart1075
    @sutatiputtasart1075 Жыл бұрын

    เคยรู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะบ้างบางครั้งค่ะ..แล้วตอนนี้ก็ปรับยาลดความดันมาพักนึงแล้วรู้สึกว่าชีพจรบน -ล่างลดลงกว่าปกติ..ก็มีหมุนๆเซๆ..แต่คุณหมอที่นี่ก็ดูแลอยู่ค่ะยังไม่มีปัญหาหัวใจเต้นรัวๆแบบที่คุณหมอว่า.. แต่ก็ต้องคุมความดันให้ดี..ทานยาประจำ hypotyroid อยู่ด้วยค่ะ..ตอนนี้ก็ต้องพักผ่อนเยอะหน่อยค่ะ..อย่างอื่นปกติดีไมีปัญหาค่ะ..🐯🦝😁

  • @Channel-xv2oo
    @Channel-xv2oo Жыл бұрын

    ดีใจภาคบ่ายเข้าเรียนคลาสระบบทางเดินหายใจ เรียนอย่างละเอียด เอาไว้ดูแลตนเอง ครอบครัว ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ แชร์ให้ญาติเพื่อนไป คิดว่ามีประโยชน์มากต่อทุกคนค่ะ

  • @banyatmr.srisom4644
    @banyatmr.srisom46449 ай бұрын

    ผม wafarin มา 2ปีแล้วครับ มี inr 3 มีสุขสบายปกติ อายุนี้ 73 ปี 4 เดือน / ค่าไต 60 gfr น้ำตาล 104 มี A1C 6.0 มีเบาหวานขึ้นตา กิน metformin พร้อมๆ wafarin / คุม ความดัน 125 / 65 puls 75 กินmetroprolol นัดเจาะเลือด ทุก 3 เอือน ไขมันดีแล้ว แต่กังวลที่ฉีดยาบาเข้วตา ตลอด 2 ปีนี้ 8 ครั้ง แล้ว / ค่าไตคงที่ ตลอด 2 ปีอยู่ ขอบพระคุณ ครับ Dr Tang 😂❤

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Жыл бұрын

    🤟✌️👊 👊👊👊 🐶 320,000 ผู้ติดตามแล้วค่ะ 🎉h🎉o🎉o🎉r🎉a🎉 y🎉

  • @mamdt9176
    @mamdt9176 Жыл бұрын

    ชอบฟังมากค่ะ ฟังทุกวันเลย ขอเรื่อง hashimoto ไทรอยต่ำหน่อยนะคะ ตอนนี้ทานยาอยู่ เคยทราบมาว่าไม่มีทางหาย ขอความรู้แบบละเอียดๆเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ถูกต้องครับ เป็นแล้วไม่มีทางหาย ต้องทานฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนไปตลอดครับ

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะวันนี้ฟังไว้ประดับความรู้ค่ะอันนี้แค่ผิวเผินยังมึนๆงงๆ ยอมรับเลยว่าคนที่เป็นแพทย์ต้องเก่งความจำต้องเลิศ สมองอันน้อยนิดของเราได้รับข้อมูลขนาดนี้ก็พอใจมากล่ะค่ะ

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 Жыл бұрын

    Atrial Fibrillation สามารถแบ่งสาเหตุได้ดังนี้ ❤️เป็นผลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหลังผ่าตัดหัวใจ ❤️เป็นผลจากโรคของระบบอื่น เช่น ภาวะสูงวัย โรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเบาหวาน โรคลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด โรคปอดเรื้อรัง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคติดเชื้อไวรัส ภาวะการaติดเชื้อในกระแสเลือด ❤️ไม่ทราบสาเหตุ กลไกการเกิดโรค 1.มีจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในหัวใจ เช่น ความดันในห้องหัวใจที่เพิ่มขึ้น หรือปัจจัยจากภายนอก เช่น ระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ตำแหน่งของจุดกำเนิดไฟฟ้าที่ผิดปกติมักอยู่ที่ pulmonary veins (เส้นเลือดดำจากปอดที่ต่อกับหัวใจห้องบนซ้าย) 2.มีวงจรไฟฟ้าหมุนวนหลายตำแหน่ง จากพยาธิสภาพต่างๆ ที่ทำให้พังผืดเพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าของเซลล์หัวใจ ซึ่งนำไปสู่การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดเป็นวงจรหมุนวนขึ้น 3.ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีกลไกการเกิดทั้งสองแบบร่วมกัน

  • @onewin1279

    @onewin1279

    Жыл бұрын

    อยากทราบว่า ไทยรอยด์เป็นพิษรักษายังไงคับ

  • @kanyamuay3748

    @kanyamuay3748

    Жыл бұрын

    @@onewin1279 โพสต์ใหม่ค่ะ ใต้คอมเม้นท์ดิฉัน คุณหมอจะไม่เห็นค่ะ

  • @banditnj2592
    @banditnj2592 Жыл бұрын

    สวัสดีครับคุณหมอผมเป็นมา5ปีแล้วครับผมรักษาหายแล้วครับด้วยการผ่าตัดเพราะว่ามีเนื้องอกที่หัวใจด้านบนทำการรักษาผ่าตัดที่อเมริกาตอนนี้ปกติดีแล้วครับ

  • @user-jp1gt9wy7q
    @user-jp1gt9wy7q Жыл бұрын

    ผมไปตรวจร่างกายเพื่อเอาใบรับรองแพทย์ เพื่อเข้างาน คุณหมอบอกว่าตรวจพบหัวใจเต้นผิดปกติ แนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติม

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali Жыл бұрын

    😊🌼🍃สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation (แก้ไขได้และมักเป็นชั่วคราว) 🔺️ สาเหตุที่แก้ได้และมักจะเป็นชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีอาการไฮเปอร์ไทรอยด์ ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ฮอร์โมนมันหลั่งมากจนเกินไปทำให้หัวใจเต้นสั่นพลิ้วเพิ่มขึ้น ถ้าเราไปแก้ที่ไทรอยด์บางทีมันก็หายขาดไม่จำเป็นต้องรักษาต่อก็ได้ 🔺️ หรือบางคนเป็นเพราะว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ คนที่หยุดหายใจขณะหลับจะเจอบ่อยที่ว่าเป็น โรคหัวใจเต้นผิดปกติ (Atrial Fibrillation) ขึ้นมาได้ พวกนี้ถ้าไปแก้บางคนก็หายเหมือนกัน 🔺️ บางคนเป็นจากการเจ็บป่วยบางอย่างเช่นอดหลับอดนอนนานๆก็จะเป็นได้ เครียดมากๆก็เป็นได้ 🔺️ หรือว่าบางคน รับประทานยาบางชนิด กินกาแฟเยอะๆสามารถที่จะเป็น AF ได้ เราต้องไปหยุดเรื่องพวกนี้ถึงจะหาย คลิป โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา #โรคหัวใจ ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹

  • @boomsong5729

    @boomsong5729

    Жыл бұрын

    @ เอื้องมะลิ ขอบคุณมากนะคะคุณครู ⚘❤⚘ @ Doctor Tany ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ 🌻🧡🌻

  • @Euang-Mali

    @Euang-Mali

    Жыл бұрын

    @@boomsong5729 😊🧡 ขอบคุณมากค่ะ นอนหลับฝันดีนะคะ

  • @kanyamuay3748

    @kanyamuay3748

    Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะน้องมะลิ🌼🌸🌺🏵️

  • @user-ot9dj3pg5t
    @user-ot9dj3pg5t Жыл бұрын

    สรุปว่าคุณแฟนหัวใจเต้นผิดจังหวะ ตรวจอาการเจอตอนช่วงผ่าตัดเนื้องอกลำไส้ ตอนนี้กินยาละลายลิ่มเลือด 1-2เดือน ถ้าอาการดีขึ้นก็หยุดยา ขอบพระคุณสำหรับความรู้ค่ะ

  • @jintanaop.1715
    @jintanaop.1715 Жыл бұрын

    อาจารย์มีเทคนิคในการทำให้จำและเข้าใจekgได้แบบไม่หลุดไม่หลงไหมคะขอความอนุเคราะห์ ด้วยนะคะ...ขอบพระคุณมากค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ไม่มีอะไรพิเศษครับ จำรูปแบบต่างๆ มองดูบ่อยๆให้จำเหมือนจำหน้าคนครับ แต่ถ้าต้องการถึงขั้นวิเคราะห์ได้เลยอันนี้ต้องอาศัยความเข้าใจมากน่ะครับ

  • @jitpakornboonna9565
    @jitpakornboonna9565 Жыл бұрын

    🙏👨‍⚕️ค่าา มาพบนักเรียนตรงเวลาในช่องให้ความรู้หลากหลาย ทุกๆ วัน วันนี้มีพร้อบเป็นเสื้อแขนยาว อากาศเริ่มเย็นแล้วเหรอคะ คุณหมอรักษาสุขภาพด้วยคะ ฝากจุ๊บกระหม่อมโรซี่1ทีด้วยค่าาา

  • @B.B12
    @B.B12 Жыл бұрын

    อยากให้คุณหมอทำคลิปแชร์ประสบการณ์มุมดาร์กวงการแพทย์หน่อยครับ เพราะเคยไปฟังของช่องอื่นมา บางเรื่องน่าตกใจมากครับ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ไม่น่าตกใจหรอกครับ มันมีแบบนั้นจริงๆ ขึ้นกับใครจะเจอแค่ไหนครับ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Жыл бұрын

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ... วันนี้เรื่อง โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา #โรคหัวใจ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและรายละเอียดเยอะ อาจารย์จะอธิบายเฉพาะเรื่องที่สำคัญๆค่ะ... ก่อนอื่น ขอโพสต์รายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้พอสังเขป ดังนี้ค่ะ ▶โรคหัวใจเต้นผิดปกติ (เต้นพลิ้ว) (Atrial Fibrillation) หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่า AF เป็นภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดปกติที่รุนแรงที่สุด โดยที่หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วแบบนี้ นอกจากจะทำให้เกิดอาการใจสั่นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้ ▶การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วมากขนาดนี้ทำให้หัวใจห้องบนไม่สามารถบีบตัวพร้อมกันได้ทั้งห้องส่งผลให้ห้องบนบีบตัวไม่ดี เกิดมีลิ่มเลือดตกค้างอยู่ในหัวใจ ลิ่มเลือดอาจหลุดออกจากหัวใจไปอุดตันหลอดเลือดต่างๆ ของร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมองทำให้เกิดอัมพาตได้ ▶นอกจากนี้ผู้ป่วย AF ยังมีอัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย... AF เป็นหัวใจเต้นผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะมีสาเหตุต่างๆ มากมายที่สามารถทำให้เกิด AF ได้ ซึ่งพอจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ 🔹กลุ่มแรก เกิดจากเหตุกระตุ้นจากภายนอกหัวใจเช่น อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นหัวใจเช่นสารคาเฟอีนในกาแฟ ชา โสม แอลกอฮอล์เป็นต้น ภาวะเครียดทางกายและใจจากการทำงานหนักพักผ่อนไม่พอก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน นอกจากนี้ความเจ็บป่วยต่างๆ ก็กระตุ้น AF ได้ เช่นกัน เช่น หอบหืด ปอดอักเสบ ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ การรักษา AF ในกลุ่มนี้ต้องกำจัดสาเหตุ หรือตัวกระตุ้นต่างๆ ให้หมดโอกาสที่ AF จะหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษาก็เป็นไปได้มาก 🔹กลุ่มที่สอง เป็นความผิดปกติของหัวใจเอง เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลิ้นหัวใจตีบ หัวใจทำงานล้มเหลวสามารถกระตุ้นให้เกิด AF ได้ทั้งสิ้น การรักษาในกลุ่มนี้ต้องมุ่งแก้ความผิดปกติที่เป็นปฐมเหตุด้วยถ้าแก้ไขไม่ได้โอกาสที่จะทำให้ AF หายเป็นปกติก็จะเป็นไปได้ยาก 🔹กลุ่มที่สาม เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าของหัวใจห้องบนเอง AF ที่เกิดขึ้นก่อนอายุ 65 ปี มักจะเป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่เป็นมาตั้งแต่เล็ก แต่ถ้าเกิดหลังอายุเกิน 65 ปีมักเป็นความเสื่อมของระบบไฟฟ้าของหัวใจเปรียบเหมือนระบบไฟฟ้าในบ้านเราเมื่อใช้งานมานาน ก็อาจมีปัญหาไฟติดติดดับๆ ต้องได้รับการแก้ไข อาจต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ หรือเดินสายไฟใหม่ก็ได้

  • @boomsong5729

    @boomsong5729

    Жыл бұрын

    @ FragranzaTrippa ขอบคุณมากนะคะ ⚘💙⚘

  • @kanyamuay3748

    @kanyamuay3748

    Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูล🏵️🌺🌸🌼💚💜

  • @anuphongkhamma635
    @anuphongkhamma6358 ай бұрын

    อธิบายเรื่องจี้ใน AF หน่อยครับ

  • @DrTany

    @DrTany

    8 ай бұрын

    ควรถามหมอที่รักษาครับ ถ้าเขาแนะนำให้จี้ก็ควรทำครับ

  • @winyou7654
    @winyou7654 Жыл бұрын

    ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะคุณหมอได้ความรู้มากมายเลยค่ะ

  • @pannko8888
    @pannko8888 Жыл бұрын

    โอ๊ยหัวใจเดอะค่ะ😘คุณหมอช่วยด้วยค่ะ💏💏

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali Жыл бұрын

    😊🌼🍃 ⚀ ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นสาเหตุ(ที่แก้ไขได้)ของโรคหัวใจเต้นผิดปกติ (Atrial Fibrillation) มีคลิปของคุณหมอแทนค่ะ 🔺️ คลิป การหยุดหายใจขณะหลับ sleep apnea ท่านมีโอกาสเป็นหรือไม่ kzread.info/dash/bejne/omxr1K1rn7nZoc4.html ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹

  • @AvecBella
    @AvecBella Жыл бұрын

    Wishing you a Wonderful Wednesday ka Doctor Tany! I hope your day started with a big bright Smile…🌤😃 Atrial fibrillation! An arrhythmia that can lead to blood clots in the heart. A-fib increases the risk of stroke, heart failure and other heart-related complications. Be back for my review! ♥️❤️♥️ Happy Wednesdayyy! 🙃 🌱🌺🍀

  • @chakengineer8735
    @chakengineer8735 Жыл бұрын

    อยากให้อาจารย์พูดเรื่อCO enzyme Q10 มีผลช่วยหรือไม่กับโรคหัวใจด้วยครับ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    เคยพูดไปบ้างแล้วครับ ไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่นอกจากความสบายใจครับ ถ้ามีเงินและอยากจะกินก็ได้ครับ แนะนำว่าอย่างน้อยต้อง 100 mg ขึ้นไปครับ ส่วนตัวผมไม่กินครับ

  • @maneeann
    @maneeann Жыл бұрын

    💓 Pacemaker เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยทั่วไปเครื่องกระตุ้นหัวใจจะช่วยแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นช้ากว่าที่ควร เนื่องจากหัวใจที่เต้นช้ากว่าปกติ จะไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง บางรายอาจถึงขั้นหมดสติได้ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ สัญญาณไฟฟ้าจะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้

  • @kanyamuay3748

    @kanyamuay3748

    Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล🌺🌼

  • @maneeann

    @maneeann

    Жыл бұрын

    @@kanyamuay3748 GN kaaa 😴

  • @narlaw1342
    @narlaw1342 Жыл бұрын

  • @sunaww8184
    @sunaww8184 Жыл бұрын

    ขอบคุณสำหรับความรุ้ดีๆนะคะ ลุกสาวก็เป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะค่ะ เขาบอกว่าบางทีหัวใจจะกระตุก แล้วแปปเดียวก็หาย พาไปหาหมอ ตรวจคลื่นหัวใจหมอบอกปกติค่ะ หรืออาจจะเป็นเพราะเครียดเรื่องเรียน แต่ก็ยังเป็นห่วง ยังกังวลอยุ่ดีค่ะ คุณหมอช่วยแนะนำด้วยนะคะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ถ้าเป็นแค่บางช่วงไม่ต้องทำอะไรครับ ส่วนมากเป็นชนิดที่เรียกว่า PVC, PAC พวกนี้ป้องกันด้วยการเลี่ยงคาเฟอีน นอนพักผ่อนให้พอ ออกกำลังกาย อย่าเครียดมากๆต้องไปหาวิธีคลายเครียดครับ แต่ถ้าเป็นบ่อยควรไปตรวจดูไทรอยด์ด้วยครับ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Жыл бұрын

    คลิป _โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา_ ยอดวิว ณ เวลา 8.00 น.💥12,185 ครั้ง💥แล้วค่ะ 💐💐💐💐💐💐💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ💐💐💐💐💐💐💐

  • @rujeejoy8943
    @rujeejoy8943 Жыл бұрын

    พอดีอันนี้ฟังดุแล้วยังใหม่อยู่ป้าเขียนหาหมอตลอดแต่มันนานเป็นปีสองป้าก็เขียน ถามตลอดเวลาเที่ยวนี้ป้าคงได้คำตอบจากหมอนะป้าจะรอคำตอบและคำแนะนำถือว่าช่วยเหลือคนจะได้บุญเยอะๆนะหมอป้า อายุก็ 63 ปีแล้ว ลุกชายป้าอายุ38 ปีป้าอยากไปเยี่ยมหลานสาว สองคนก่อนป้าจะเป็นอะไรไปและลุกสาวอยู่ที่นี่เรียนยังไม่จบป้าอยากเห็นลุกสาวมีงานทำป้าก็สบายใจแล้ว

  • @mamakochtzuhause3154
    @mamakochtzuhause31548 ай бұрын

    ใจเต้นแรง บางครั้งเหมือนนั่งรถลงสะพานค่ะ เหนื่อยง่ายผิดปกติไปตรวจเอ็คโค่หัวใจไม่พบความผิดปกติ ได้ทานยาลดการเต้นของหัวใจ เดือนต่อมามีอาการมาอีก วัดความดันปกติแต่ขึ้นสัญลักษณ์หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบนี้ควรไปตรวจซ้ำใช่มั้ยคะ เอาผลให้หมอประจำตัวดูเขาบอกปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะแต่ไม่ได้สูงไป เขาไม่ส่งต่อให้หมอหัวใจอีกรอบ แต่เรามีอาการมือสั่นขาสั่นร่วม เหนื่อยง่ายด้วยค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    8 ай бұрын

    ควรตรวจซ้ำแล้วก็ถามจากหมอที่ตรวจให้เข้าใจทุกอย่างก่อนออกมาจากห้องครับ นอกจากนี้ต้องรู้จักชื่อโรคที่หมอเขาวินิจฉัยเป็นภาษาทางการแพทย์ รวมทั้งยาที่กินก็ต้องรู้จักทุกอย่างด้วยครับ

  • @kamjohnmanorueng1573
    @kamjohnmanorueng1573 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ตอนนี้หนูเป็นไทรอยด์ไฮเปอร์อยู่ค่ะ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มือสั่น กำลังรักษาอยู่ค่ะ เวลาเจอคนเยอะๆ เสียงดังๆ ใจจะสั่น ก่อนจะเจอโรคนี้ หนูเป็นผื่นขึ้นตามตัว ไปเทสว่าแพ้อะไรก็ไม่แพ้อะไรเลยค่ะ ต่อมาเกิดมือสั่น ใจสั่น หมอเลยส่งตรวจไทรอยด์ พบเป็นแบบไฮเปอร์ค่ะ เหนื่อยมากค่ะ จากคนที่ชอบทำอะไรเร็วๆ ต้องทำช้าลง ไม่ค่อยชินเลยค่ะ หนูชอบฟังคลิปคุณหมอค่ะ ได้รับความรู้มากค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    รักษาได้ครับ

  • @wirakansansu230

    @wirakansansu230

    Жыл бұрын

    เราก็เป็นไทรอยด์ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ตอนนี้รักษาอยู่คะ กินยามาหลายเดือนแล้ว

  • @stayathomedaddysahd4000
    @stayathomedaddysahd4000 Жыл бұрын

    ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ ฟังเพลินเลยค่ะ ถ้าคนไข้มี new onset of Afib แล้วเรทอยู่ที่ 100-115 bpm at rest และอาจจะขึ้นไป 130-135 bpm ตอนที่คนไข้anxious กรณีนี้คือน่ากังวลไหมคะ พยาบาลควรจะรีบบอกหมอไหมคะ ถ้าคนไข้รับยาmetoprolol and Coumadin ด้วย

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ไม่ต้องรีบขนาดนั้นครับ แต่ควรรักษาครับ

  • @crrvtt6442
    @crrvtt6442 Жыл бұрын

    เคยเป็นค่ะ รักษาโดยการจี้ไฟฟ้าเข้าทางขาหนีบ ตอนแรกๆหมอก็ว่าเป็นไทรอยด์ แต่พอมีอาการบ่อยและไปมีอาการที่หาดใหญ่ หมอที่โรงบาลหาดใหญ่ตรวจหัวใจแบบละเอียดมากและก็บอกว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดจังหวะ จี้ไฟมา6ปีกวาและไม่มีอาการมีแต่ใจกระตุกบางครั้งแต่ไม่ถึงกับเต้นเร้ว

  • @user-qh2tp5ko5l

    @user-qh2tp5ko5l

    Жыл бұрын

    จี้ไฟฟ้าเจ็บมากไหมครับ หมอนัดจี้เดิอนหน้าครับ

  • @crrvtt6442

    @crrvtt6442

    Жыл бұрын

    @@user-qh2tp5ko5l ไม่เจ็บค่ะ ของเราหมอจะแทงเข็มนำสายไฟที่ขาหนีบ หลังจี้ไฟห้ามกระดิ้กต้ว6ชั้วโมง นอนโรงาบาล1คืนหมอก็ให้กลับบ้านแล้วนัดมาดูอาการ

  • @user-vr8cy1zc3x
    @user-vr8cy1zc3x Жыл бұрын

    😊🙏

  • @John-Wicky538
    @John-Wicky53811 ай бұрын

    ถ้ามีอาการ AF ในระดับ Heart Rate ไม่คงที่ราวๆ 130-150 ขึ้นๆลงๆ จะประเมินว่าเป็นอาการ Moderate หรือ Severe ครับคุณหมอ แล้วถ้าจะใช้วิธีการจี้ด้วยไฟฟ้าหรือความเย็นจะดีกว่ารับประทานยาหรือไม่ครับ

  • @DrTany

    @DrTany

    11 ай бұрын

    อันนั้นผิดปกติมากครับ ถ้าจี้ได้ก็ควรจี้ครับ

  • @JIIB480
    @JIIB480 Жыл бұрын

    มีอาการหยุดหายใจขณะหลับค่ะ และจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ บางครั้งเหมือนจังหวะหายไป บางครั้งเหมือนจังหวะมาเร็ว ตรวจร่างกายด้วยการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจทุกปี แต่ผลการตรวจปกติดี เป็นไปได้ไหมค่ะที่ตอนตรวจไม่มีอาการก็เลยไม่เจอ แบบนี้ควรทำอย่างไรดีค่ะ

  • @user-gx3th6lq2m

    @user-gx3th6lq2m

    Жыл бұрын

    ไปตรวจตอนมีอาการ

  • @shisukaa9571
    @shisukaa9571 Жыл бұрын

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ความรู้ที่คุณหมอพูดให้ฟังมีประโยชน์มากๆค่ะ คือประสบการณ์ตรงเลยค่ะ เอเป็น pvc ค่ะ แบบเต้นเร็ว ที่มีทั้งแบบเดี่ยว แบบคู่ และแบบ3 จังหวะค่ะ และมีอาการหน้ามืดเเละเหนื่อยสลับกันค่ะ เลยมีการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้า แบบใส่สายเข้าขาพับเพื่อจี้ แต่ไม่หมดค่ะ คุณหมอเลยจ่ายยามาให้ทาน เอทานไม่ได้ค่ะ บางตัวทานแล้วตาพร่า ปากขม ใจสั่น แต่มีอีกตัวนึงที่พอทานได้ Nebivolo แต่ผลข้างเคียง ทำให้ความดันต่ำมาก (ปกติ คืดันต่ำอยู่แล้วค่ะ) เลยไม่ได้ทานต่อค่ะ คุณหมอเจ้าของไข้เลยแนะนำให้จี้ใหม่ แบบใส่สายเข้าข้อพับขาและ ใส่สายเข้าตรงลิ้นปี่ ตัดสินใจไม่ถูกค่ะว่าจะทำอย่างไร เพราะคุณหมอบอกว่าเสี่ยงมากๆ ตอนนี้อาการเป็นมากขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะมากจากเดิมหลังจี้ไฟฟ้าหลังจากติดโควิดค่ะ มีอาการมาประมาณ 2 เดือนค่ะ สอบถามนะค่ะว่า อาการแบบนี้ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ จะมีผลกระทบอะไรบ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ปล่อยมากๆอาการก็จะมากขึ้น และถ้าเราอายุมากขึ้นร่างกายเรามันเสื่อมลง ก็จะทนต่อการเต้นผิดปกติของหัวใจได้น้อยลงครับ

  • @shisukaa9571

    @shisukaa9571

    Жыл бұрын

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ 🙏

  • @bymmuse5236
    @bymmuse5236 Жыл бұрын

    ขออนุญาตถามคุณหมอค่ะ คุณแม่อายุ 65 ปี เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คุณแม่เคยแอดมิทนอน รพ.เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะทำให้หัวใจโตและน้ำท่วมปอด ตอนนี้น้ำท่วมปอดดีขึ้นแล้ว ส่วนโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะตอนนี้ทานยาวาฟารีนมาได้4เดือนแล้ว แต่กำลังลังเลเรื่องการตรวจแบบฉีดสีคุณแม่เขากลัวมากค่ะ เลยอยากถามคุณหมอว่าแม่จำเป็นต้องฉีดในตอนนี้เลยไหมค่ะ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ถ้าหมอที่รักษาแนะนำว่าควรทำ ผมคิดว่าควรครับ

  • @siriphonsprague6402
    @siriphonsprague6402 Жыл бұрын

    👍

  • @pornphirun
    @pornphirun Жыл бұрын

    มีเครื่องวัดความดันยี่ห้อ Rossmax นานๆวัดทีขึ้น Afib อบ่างนี้ควรไปตรวจไหม ความดันปกติ

  • @DrTany

    @DrTany

    Жыл бұрын

    ถ้ากังวลก็ควรไปตรวจครับ

Келесі