เผยความลับ..!! ปรากฎการณ์ "Piezoelectricity" แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้า

Ойын-сауық

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะพูดถึง ปรากฎการณ์ แปลกๆ ปรากฎการณ์หนึ่ง
ซึ่งเราสามารถ ใช้ประโยชน์ของมันนำมาผลิตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้
ซึ่งเรามาดูกันครับว่า ปรากฎการณ์นี้ มันมีลักษณะแปลก ยังไง
ก่อนอื่นให้ ให้เพื่อนๆ ลองจินตนาการตามนะครับว่า
ผมมีวัสดุ อยู่ชิ้นหนึ่ง
ถ้าหากผม ทำการ กด ลงไป หรือ ทำให้วัสดุ ตัวนั้นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในเชิงกล เกิดขึ้น
มันสามารถ ที่จะผลิตพลังงานเป็น กระแสไฟฟ้าออกมาได้ครับ
และในทางกลับกัน
เมื่อผมป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไป มันสามารถ ที่จะทำให้ วัสดุอุปกรณ์ ตัวนั้นๆ เกิดการบิดงอเล็กๆ เกิดการสั่นสะเทือน
กลายเป็นแรงเชิงกล ออกมาได้เช่นกันหมายถึง
การกดวัตถุนั้นลงไปแล้วได้พลังงานเป็นกระแสไฟฟ้าออกมา
สำหรับปรากฎการณ์นี้ จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อวัสดุตัวนั้นๆ เป็นผลึก และ มีสภาพ ขั้วเป็นทางไฟฟ้านิดหน่อย
ยกตัวอย่าง วัสดุที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ก็อย่างเช่น แร่ ควออส
ถ้าหากเรานำ ควออส หั่นเป็นมุมฉาก แล้วบีบมัน ลงไป
มันสามารถสร้างแรงดันไฟฟ้า เล็กๆออกมาได้ครับ
แต่ ต้องหั่นเป็นมุมฉากเท่านั้นนะครับ
แล้วอะไร ทำให้ ควออส ถึงสามารถ สร้างกระแสไฟฟ้าได้
ผมมีคำตอบในเรื่องนี้ ครับ
เราลอง มาเจาะลึกดูที่โครงสร้าง ของอะตอม กันครับ
ในทางเคมี ควออส มักจะประกอบด้วย อะตอมของ ซิลิคอน และ อะตอมของ ออกซิเจน วางอยู่ในอัตราส่วนที่เท่าเทียมกัน
สังเกตุ ว่าค่าเฉลี่ย ของประจุบวก ระหว่างอะตอมของซิลิคอนทั้งสาม จุดศูนย์กลางของประจุ จะอยู่ตรงจุดนี้
ถ้าหากผมบีบมัน
รูปร่างของโครงสร้าง มันจะเปลี่ยนแปลงไป
ส่งผลให้ความสมมาตรของ การกระจายประจุ จะเปลี่ยนแปลงตาม
อะตอมของซิลิคอนทั้ง 2 จะเคลื่อนที่ออกไปด้านข้าง
ส่วน อะตอมของซิลิคอนด้านล่าง ก็จะเลื่อนขึ้นมาข้างบน ดังนั้นตำแหน่งเฉลี่ย ของประจุบวก จึงขยับขึ้นไปเล็กน้อย
ส่งผลให้ด้านหนึ่งกลายเป็น ประจุบวก อ่อนๆ
และในทำนองเดียวกัน ตำแหน่งของค่าเฉลี่ยประจุลบ ก็ เขยิบ ลงมาเช่นกัน
ด้านหนึ่ง ก็เลยกลายเป็น ประจุลบ อ่อนๆ
ซึ่งความแตกต่างนี้ ถ้าหากมันเกิดขึ้น พร้อมกัน ทั่วทั้งวัสดุ
ก็จะส่งผลให้ เราได้แรงดันไฟฟ้าออกมามากขึ้นครับ
เราสามารถประยุกต์ใช้ คุณสมบัติเหล่านี้ ทำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และขายในเชิงพาณิชย์ได้นะครับ
อย่างเช่น แผ่นเปียโซอิเล็กทริกส์ ตัวนี้
เรารู้ว่าเมื่อ กดลงไป มันสามารถ สร้างกระแสไฟฟ้าได้
กดเบาก็ได้ไฟน้อย กดมากก็ได้ไฟเยอะ
ถ้าติดตามข่าว ก็เห็นว่า
น้องๆ น.ศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
ก็เคยนำแผ่นเปียโซอิเล็กทริก หลายๆแผ่น มาเรียงต่อกัน ทั้งอนุกรมและขนาน วางใส่ในรองเท้า
แล้วก็เดินไปเดินมา
เปลี่ยนการสั่นสะเทือนจากการเดิน เป็นพลังงานไฟฟ้า ชาร์จเข้าไปในเพาเวอร์แบงค์ครับ
อีกตัวอย่างหนึ่งนะครับ ช่องของคุณ Koo Game
ก็นำแผ่นเปียโซ มาแปะไว้กับกลอง ทำเป็น trigger กลองไฟฟ้า ซึ่งไดนามิกดังเบาที่ได้
ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักแรง ที่เราตีลงไป
ถ้าหากเรานำแผ่นเปียโซ ต่อกับโมดูล ก็สามารถทำเป็นเซนเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือนออกมาได้
ถ้าหากเรานำแผ่นเปียโซ ใส่วงจรเราก็ทำเป็นลำโพง Buzzer ได้ด้วย ก็คือเพียงแค่ป้อนไฟเข้า ก็จะได้ เป็นเสียงออด คีย์เดียว ออกมา
หรือ ถ้าหากเรานำแผ่นเปียโซ ต่อกับแอมป์ขยาย ก็จะกลายเป็นลำโพง เสียงเก๋ๆ ออกมาแบบนี้ครับ
แผ่นเปียโซ ก็ยัง ทำเป็นไมค์โครโฟนได้อีกด้วย
และ แผ่นเปียโซ ก็สามารถทำเป็น แผ่นฮัลตราโซนิก ที่ใช้แยกอะตอมของน้ำออกมาเป็นไอ ได้
และนี้ก็คือ อุปกรณ์ส่วนหนึ่ง ที่ผมพอจะนึกออก ณ ตอนนี้ นะครับ
สังเกตุว่ามัน ต่างก็ใช้คุณสมบัติ ของปรากฎการ Piezoelectricity แทบทั้งสิ้น
แล้วเพื่อนๆละครับ มีอุปกรณ์ตัวไหน ใช้งานผ่าน คุณสมบัตินี้บ้างหรือเปล่า
ยังไงๆก็ สามารถ เข้ามาคอมเมนต์ พูดคุย แสดงความคิดเห็นกันได้
สำหรับคลิปนี้ผมขออธิบายไว้เท่านี้ก่อน ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Пікірлер: 41

  • @aoodtang5674
    @aoodtang56749 күн бұрын

    เป็นทั้งตัวเปลี่ยนการสั่นสะเทือนเป็นไฟฟ้า และไฟฟ้าเป็นสั่นสะเทือน - ลำโพงในโทรศัพท์มือถือ - เซ็นเซอร์รับแรงกดต่าง ๆ เช่น ตัวตรวจชีพจร ตรวจความดันโลหิต เครื่องชั่งบางรุ่น - ตัวจุดแก๊สในปืนไฟแช๊ค หรือจุดเตาแก๊ส - ไมโครโฟน - ประยุกต์เป็นเครื่องผลิตพลังงานจากพื้นถนน - ตัวรับขยายเสียง - ตัวให้จังหวะในนาฬิกาควอต เพราะมันสั่นที่ความถี่คงที่ อื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับคนประยุกต์จากหลักการของมัน

  • @Sky-Teerawat
    @Sky-Teerawat3 ай бұрын

    มาแล้วๆ อธิบายดีมากครับ

  • @user-sg4lt4yi2s
    @user-sg4lt4yi2s3 ай бұрын

    ขอบคุูณนำสารดีๆ

  • @user-ml1sq7ed2h
    @user-ml1sq7ed2h3 ай бұрын

    นึกว่าเป็นลำโพงอย่างเดียว...ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ ติดตามตลอด ชอบมากครับ

  • @mongkolmoolsri9087
    @mongkolmoolsri90873 ай бұрын

    เพิ่งรู้ ใช้ได้หลายอย่าง ผมใช้กับกลองต่อผ่านชุดแต่งเสียงเป็นกลองไฟฟ้าครับ

  • @robloxth-fu2tc
    @robloxth-fu2tc3 ай бұрын

    ในนาฬิกาก็ทั้วไปมีนะคับ(ยกเว้นนาฬิกาที่ไม่มีเสียงปลุกหรือนาฬิกาเข็มบางอัน)

  • @07ring07
    @07ring073 ай бұрын

    สุดยอด 👍❤

  • @paitoonchanyaem484
    @paitoonchanyaem4843 ай бұрын

    ความรู้ที่เรียนแล้วเพลิน

  • @prateepprechathvanich2138
    @prateepprechathvanich21383 ай бұрын

    ชอบครับ ได้ความรู้เพิ่ม ,,,, ขอเสนอที่จุดไฟเช๊คครับ เอาPiezoมาทำsparkจุดไฟ

  • @sopaduangjan7689
    @sopaduangjan76893 ай бұрын

    เอามาทำ ตัวรับเสียง.ของกีตาร์โปร่ง..ให้กลายเป็นกีต้าร์ไฟฟ้า...น่าจะเป็นไปได้..นะครับ

  • @VisibleMRJ
    @VisibleMRJАй бұрын

    ช้องนี้ทำคอนเทนท์ดีมากเลยครับ

  • @meowkungIsc
    @meowkungIsc3 ай бұрын

    ผมเคยใช้กับโปรเจคเล็กๆ สนุกมากๆ

  • @jormmaykin4832
    @jormmaykin48323 ай бұрын

    ตืดตามครับ รอฟังเรื่อง ปรากฏการเปียแชร์ต่อ

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    3 ай бұрын

    เปียโซ ครับ ใจเย็นๆ

  • @user-dp5hv2yq6p
    @user-dp5hv2yq6p3 ай бұрын

    ชอบพี่ซิ่มมากคับ

  • @user-go1or9ne4n
    @user-go1or9ne4nАй бұрын

    เคยเห็นมาทำสวิทย์กดปิดเปิดไฟ LED ครับ

  • @jarurotetippayachai8220
    @jarurotetippayachai82203 ай бұрын

    พวกเครื่องชั่งเหรียญกษาปณ์ขนาดเท่าอุ้งมือน่าจะมีแผ่นเปียโซ ฯ ติดตั้งไว้บนจานชั่ง

  • @nickysads4110
    @nickysads41103 ай бұрын

    มันอยู่ใต้ไม้ด้านหน้ากีตาร์โปร่งไฟฟ้าหลายๆตัวครับ ใช้แรงสั่นสะเทือนแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าครับ

  • @user-pr9jq7hl6m
    @user-pr9jq7hl6m3 ай бұрын

    หัวฉีดดีเซลคอมมอลเรลบางรุ่น ก็ใช้ตัวนี้

  • @beerhamchaiyaket7858
    @beerhamchaiyaket78583 ай бұрын

    หัวฉีดคอมมอนเรลเป็นแบบนี้ป่ะครับ

  • @MrEeed8888
    @MrEeed88883 ай бұрын

    เป็นโหลดเซลไหมครับ

  • @penrungtee5065
    @penrungtee50653 ай бұрын

    ใต้เบาะรถยนต์มีหรือเปล่าครับ เวลามีคนมานั่งทับ จะมีไฟโชว์ให้คาดเข็มขัดนิรภัย

  • @user-tj6ez5ck9u
    @user-tj6ez5ck9u3 ай бұрын

    ผมใช้แผ่นเปียโซเป็นแตรรถไฟฟ้า

  • @MrXxxsitxxx
    @MrXxxsitxxx3 ай бұрын

    หลังจากนั่งสมาธิกับลำโพง ถึงได้รับรู้พลังงานฟรี ลำโพงเซรามิกเพียโซอิเล็ก เมื่อเกิดสั่นสะเทือนจะเกิดไฟฟ้า เอามาสร้างตู้ลำโพงเมื่อเปิดเพลงลำโพงจะดูดซับเสียงกลายเป็นไฟฟ้า ตีกลับพลังงานฟรีเอามาใช้ เผื่อมีคนมีสติปัญญาเอาไปสร้างขาย จดสิทธิบัตร เป็นชุดตู้ลำโพงประหยัดไฟเพราะมีลำโพงเซรามิกเพียโซอิเล็คดูดซับพลังงานเป็นพันอัน อันเดียวคงไม่ไหว

  • @AK159F

    @AK159F

    3 ай бұрын

    ไม่ฟรีครับ คลื่นเสียงจะถูกดูดซับจากการเปลี่ยนรูป พลังงานที่ได้มาก็ไม่คุ้ม พลังงานสูญเสียก็มากจนไม่ทำให้อยู่ได้นานขึ้นด้วยซ้ำ(ยิงจะลดเวลาลงอีก) ไม่มีพลังงานฟรีในโลกครับ

  • @paewc.s.5770
    @paewc.s.57703 ай бұрын

    แผ่นมันมำมาจากธาตุ อะไรครับ

  • @user-wm3zg8nr9y
    @user-wm3zg8nr9y3 ай бұрын

    ผมเคยเห็นฝรั่งเขาเอาไปใช้เป็นหัวอ่านแผ่นเสียงด้วยครับ

  • @phongsitdsirawan5171
    @phongsitdsirawan51713 ай бұрын

    สนใจคลิปสุดท้ายที่เเยดอตอมของน้ำเป็นไอขอวิธีทำได้ไหมครับ

  • @DamHackprin
    @DamHackprinАй бұрын

    ทำเครื่องดำเนิดไฟฟ้าจากคลืีนทะเลหน่อยครับ

  • @manjung2987
    @manjung29873 ай бұрын

    ฝั่งไว้บนถนนคงได้ไฟฟรี

  • @samaiongart3429
    @samaiongart34293 ай бұрын

    ในเครื่องซักผ้าใช่แผ่นนี้หรือป่าวครับที่ใช้สำหร้บเตือนการซัก

  • @veechum5677
    @veechum56773 ай бұрын

    ผมมีแนวความคิดเพี้ยนๆ จะใช้เปียโซต้านแรงโน้มถ่วงครับ😅

  • @tforever5700

    @tforever5700

    3 ай бұрын

    ในชีวิตจริง มีระบบโช๊คอัพ รถ ที่เรียก active suspension ใช้แม่เหล็กไฟฟ้าในการควบคุม ครับ

  • @funnyvideobasree

    @funnyvideobasree

    3 ай бұрын

    อย่าบ้าเลยครับ ผมว่าเเนวคิดคุณอาจจะประหลาย เเต่ผมเชื่อว่าสักวันอาจจะเป็น น้องนิโคลัส ก็ได้

  • @nicnaja555

    @nicnaja555

    3 ай бұрын

    รับยาช่อง3ครับ

  • @funnyvideobasree

    @funnyvideobasree

    3 ай бұрын

    @@nicnaja555ช่อง3 เต็มเเล้วครับ

  • @wantaneepolpho2992

    @wantaneepolpho2992

    3 ай бұрын

    ผมต้องไปกรุงเทพใช่ไหม​@@nicnaja555

  • @pawich1089
    @pawich10893 ай бұрын

    เม้นเเรกค๊าบ🎉❤

  • @UnjaUntrui
    @UnjaUntrui3 ай бұрын

    ฝังไว้ตรงทางเดินสาธารณะได้ไฟเอาไว้ส่องสว่างตอนกลางคืน

  • @user-ml1sq7ed2h
    @user-ml1sq7ed2h3 ай бұрын

    นึกว่าเป็นลำโพงอย่างเดียว...ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ ติดตามตลอด ชอบมากครับ

Келесі