คลื่นวิทยุ คืออะไร? คลื่นวิทยุ ทํางานอย่างไร?

Ойын-сауық

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ผมจะมาอธิบายว่า
คลื่นวิทยุคืออะไร ?
ก็คือการส่งพลังงานไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง ส่งผ่านจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง แบบไร้ราย
คลื่นวิทยุเป็นคลื่นที่เราใช้ในการสื่อสารพูดคุย รวมไปถึง ความบันเทิงต่าง อุปกรณ์ที่ส่งคลื่น เราเรียกว่า เครื่องส่งวิทยุ และเราก็สามารถดึงพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าบางส่วนที่มันลอยมา จากเสาอากาศเข้ามา ผ่านเครื่องรับสัญญาณวิทยุได้
และก็นำคลื่นสัญญาณเหล่านั้น มาแปลง แล้วก็นำมาขยายเสียงต่อไป
คลื่นวิทยุจึง เป็นคลื่นแรกๆที่มนุษย์ของเราได้สร้างขึ้นมา และก็อยู่ยงคงกระพัน ใช้จนถึงทุกวันนี้
ไหนๆก็พูดคลื่นวิทยุแล้ว เรามาทำความรู้จัก "คลื่น" กันซะก่อนครับ คลื่นคืออะไร ?
ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การกระเพื่อม การกระพือ การแผ่กระจาย เหมือนเราโยนหินลงน้ำ ผิวน้ำก็จะเกิด การสั่นตัวเป็นคลื่น แล้วก็แผ่กระจายออกรอบข้าง
เพราะฉะนั้น ส่วนประกอบของคลื่นก็จะมี
1.ยอดคลื่น
2.ท้องคลื่น
3.แอมป์พิจูด - ตัวนี้สำคัญนะครับ ใช้ในการมอดูเลตสัญญาณในระบบ AM มัน ก็คือช่วงพีคของคลื่นนับจากจุดกึ่งกลาง ทั้งบนและล่าง เลยนะครับ ถ้าเอาจุดพีคสองตัวมารวมกัน เราจะเรียกว่าจุด peak-to-peak
ถ้าในคลื่นเสียงมี แอมป์พิจูดที่สูง เสียงก็จะดังมากขึ้นครับ แต่กลับกัน
ถ้าในคลื่นเสียงมี แอมป์พิจูดที่เตี้ย เสียงก็จะดังน้อยลง
แล้วก็มี
4.ความยาวคลื่น
5.คาบ และก็
6.ความถี่ - ความถี่ ก็คือ ช่วงเวลาในการสั่น1รอบของอนุภาค ภายใน 1 วินาที
ถ้าหากมีคลื่นเป็นแบบนี้ ก็จะเรียกหน่วยคลื่นนี้ว่า 1 รอบต่อวินาที หรือ ฝรั่งเขาเรียกว่า 1hz
ถ้ามี 2 รอบ อยู่ใน 1 วินาที ก็คือ 2hz ถ้า 3 รอบก็คือ 3 hz
ส่วนไฟบ้านของเราใน 1 วินาทีจะมีการเปลี่ยนแปลงความถี่นี้ 50hz เราจึงโดนไฟดูด
และในระบบFM ก็จะใช้ ความถี่ ในการมอดูเลตสัญญาณ เดี่ยวอีกสักครู่ผมจะพูดถึงกันครับ
แล้วคลื่นวิทยุ คืออะไร ?
เมื่อกี้เรารู้จักกับคลื่นไปแล้ว ใช่ไหมครับ ที่นี้ คลื่นมันไม่ได้มีความถี่ เพียงความถี่เดียว
คลื่นจะมีความถี่ช่วงต่างๆ ของมันอยู่ครับ
ทั้ง คลื่นวิทยุ จะอยู่ราวๆ ประมาณ 30khz - 300 GHz
เพราะฉะนั้นคลื่นวิทยุก็คือ ความถี่ความถี่หนึ่ง ที่เราเลือกมาใช้ ในการรับส่งสัญญาณออกไปนั้นเอง
คลื่นวิทยุมีกี่ระบบ
คลื่นวิทยุ ถ้านับจริงๆในการสื่อสาร จะมี อยู่ด้วยกัน 2 ระบบ
นั้นก็คือ ระบบ AM กับ FM
คลื่นวิทยุมีประโยช์นอย่างไร
ลักษณะเด่น ของคลื่นวิทยุ ก็คือ ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง สามารถเดินทางได้ไกลในอากาศ
และ ที่สำคัญก็คือ เป็นคลื่นที่มีความถี่สูงมากพอ มากกว่าการรับรู้ของมนุษย์ ที่เราจะได้ยิน , ไม่เห็นคลื่น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่้น และ ความถี่ก็ไม่ได้สูงเกินขีดจำกัด ที่เป็นอันตราย ต่อมนุษย์เราด้วย เขาก็เลยอาศัยใช้ข้อดีของมันตรงนี้
นำมาเผยแพร่ ออกอากาศ ผ่านสถานีวิทยุต่างๆ นั้นเอง
คลื่น AM จะใช้คลื่นความถี่ ความถี่ปานกลาง ประมาณ 535khz - 1605 Khz
เรา
สามารถส่งคลื่น Am ได้ทั้งแบบแนวเส้นตรงขนานกับผิวโลก และ ส่งขึ้นไปบนท้องฟ้าที่ชั้นบรรยากาศ ไอโอโนสเฟียร์ แล้วมันก็สะท้อนกลับลงมาได้
ข้อดีก็คือ
-ออกแบบวงจรง่าย การมอดูเลตแอมพลิจูดก็สามารถทำได้ง่าย
-ครื่องรับ AM ราคาถูกมาก,เครื่องส่ง AM มีราคาถูก
ข้อเสียคือ
-มีความถี่อื่นๆ รบกวนได้ง่าย
คลื่น FM เราจะใช้ความถี่ที่สูงกว่า Am ปกติก็จะอยู่ราวๆ 88-108 Mhz
จะมอดูเลตสัญญาณแตกต่างกันกับระบบ Am นะครับ
ชื่อเต็มของมันก็คือ
- Frequency Modulation
Frequency ก็คือความถี่
โดยความถี่ของคลื่นพาหะจะเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณคลื่นเสียง โดยที่แอมป์พลิจูดเท่าเดิม
ระบบเอฟเอ็มส่งคลื่นได้เฉพาะคลื่นดินได้อย่างเดียว และ จะไม่มีการสะท้อนที่ชั้นบรรยากาศ
ส่วนข้อดีของระบบ FM ก็คือ
1.เสียงชัดเจนกว่า AM เพราะคลื่นถูกรบกวนได้ยากกว่า
ใน FM เสียงที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับความถี่และไม่ใช่แอมพลิจูด ดังนั้นผลกระทบของเสียงรบกวนจึงลดลง
2.สามารถส่งเป็นแบบสเตอรีโอได้
ข้อเสีย FM ก็คือ
1.สื่อสารได้ไกล้กว่า AM Fm จะส่งสัญญาณได้ไกลสุดไม่เกิน 150km
2.ออกแบบวงจร เครื่องรับและเครื่องส่ง ซับซ้อนกว่า
นอกจากเราจะมีคลื่น AM และ Fm ที่เราเรียกว่า เป็นวิทยุแบบ Analog แล้ว
มันยีงมีวิทยุอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นแบบ Digital ด้วย
วิทยุแบบ DIGITAL ลักษณะสัญญาณจะเป็นแบบเหลี่ยมๆ รูปทรงก็จะมีขนาดความสูงที่ค่อนข้าง แน่นอน ก็คือ ถ้าไม่สูงขึ้นไปเลย ก็ดิ่งลงสุดไปเลย เขาก็จะแทนสถานะเป็น 0 กับ 1
ปกติจะสามารถ ส่งสัญญาณ ซอยถี่ซอยย่อย เข้ารหัสเป็นตัวเลข ได้ ความถี่วิทยุดิจิตอล จึงกว้างกว่า อะนาล๊อคถึง 1500 เท่า
ในเมืองนอก เขาก็จะมีวิทยุที่รับคลื่นดิจิตอลได้โดยตรง ขณะที่ฟังเพลงๆอยู่
ก็จะมี ชื่อสถานีวิทยุที่ออกอากาศ ชื่อดีเจ หรือว่า
รายชื่อเพลงที่กำลังเล่นอยู่ระบุ ออกมาที่หน้าจอด้วย
หรือ ว่านาฬิกาบอกว่ากี่โมง
หรือว่า เพลงถัดไปที่จะเล่น
คลื่นวิทยุแบบ ดิจิตอลเริ่มใช้ ทดลองออกอากาศในประเทศไทย ไม่นานมานี้
วิทยุแบบ ดิจิตอล ข้อดีของมัน นอกจากที่จพให้เสียงที่คมชัด ก็แทบจะไม่มีความถี่อื่นมารบกวนเลย ถ้ามันรับคลื่นไม่ได้มนก็เพียงแค่ เงียบไป แค่นั้น
แต่สถานีส่งที่เป็นระบบเสียงดิจิตอลแบบ DAB+ ในไทยจริงๆ ก็ยังมีอยู่ไม่มาก มีถึง 20เลยด้วยซ้ำ
เนื่องจากการใช้งานในประเทศไทย ยังไม่มากพอผมก็เลยขอยังไม่พูดถึง ในคลิปนี้ละกันนะครับ
สำหรับคลื่นวิทยุคืออะไรผมก็ขอ อธิบายไว้เท่านี้ก่อน
ขอบคุณเพื่อนทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ
#คลื่นวิทยุ #คลื่นวิทยุFM #คลื่นวิทยุAM

Пікірлер: 56

  • @user-bm2te4il9l
    @user-bm2te4il9l7 ай бұрын

    เข้าใจง่ายดีครับ

  • @WorawutStudio
    @WorawutStudio2 жыл бұрын

    โหหหหห ทำได้เข้าใจสุดๆเลยอะ

  • @chakkritchuamwongsa6680
    @chakkritchuamwongsa66802 жыл бұрын

    ช่วยทำคลิปหลักการส่งคลื่นของระบบส่งสัญญาณมือถือ กับระบบส่งแบบนำแสงหน่อย เพราะหลักการนำเสนอเข้าใจง่ายมาก...ขอบคุณล่วงหน้าครับ

  • @user-ds2xg1gl4e
    @user-ds2xg1gl4e2 жыл бұрын

    ดีมากๆๆคับ

  • @PampostReturning
    @PampostReturning2 жыл бұрын

    ขอบคุณมากครับผม!.

  • @Paulue43
    @Paulue432 жыл бұрын

    พูดถึงคลื่นวิทยุ ที่เขาออกอากาศทุกวันๆ จุดสังเกตของผมมีอยู่ 2 อย่าง 1. ระบบ AM (ความถี่ระดับต่ำ) ความถี่มันถูกรบกวนง่ายมาก เหมือนฟังสถานีหนึ่ง ได้ฟังถึง 3 สถานี แทรกกันไป แซงกันมา ฟังแทบไม่รู้เรื่อง และ 2. ระบบ FM ถ้าเกิด 2 สถานีใช้ความถี่เท่ากันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เสียงมันจะมาพร้อมกัน ไม่ต่างอะไรกับเราฟังคนสองคนพูดพร้อมกัน แต่พูดกันคนละเรื่องพร้อมๆกัน

  • @user-ji9xb4mp8m
    @user-ji9xb4mp8m Жыл бұрын

    ดีมากครับผใติดจามอยู่ครับ

  • @user-vn1qr8gg9r
    @user-vn1qr8gg9r2 жыл бұрын

    คลื่นบูธูร้ป็นคลื่อนอะไรคับ

  • @user-pk6xx2ch8w
    @user-pk6xx2ch8w2 жыл бұрын

    Fcครับ

  • @user-rl2pp4rs4h
    @user-rl2pp4rs4h11 ай бұрын

    ถ้าสมอง ที่มีคลื่นความถี่ ตั้งแต่ 4hz - 13 Hz +- มันมีตัวรับคลื่นความถี่ ช่วงนี้ไหม ถ้าเราใช้สมองเราปล่อยคลื่นไปหาตัวรับคลื่นความถี่ช่วงนี้ ได้ไหม อยากรู้อยากทดลอง

  • @Takaliekontee4286
    @Takaliekontee42862 жыл бұрын

    ผมอยากรู้เกี่ยวกับการปล่อยสัญญาณแบบ Ultra-wideband (UWB) เปรียบเทียบ การปล่อยสัญญาณแบบต่างๆ ขอบคุณสำหรับความรู้ที่มา สอนตลอดครับ

  • @user-xn8ce2vc3c
    @user-xn8ce2vc3c2 жыл бұрын

    แล้วคลื่นv2k ละคะ

  • @pakkung7015
    @pakkung70152 жыл бұрын

    2 มั้ง

  • @user-fb4qr2sh5m
    @user-fb4qr2sh5m2 жыл бұрын

    ผมโครตชอบฟังวิทยุเลยเพราวิทยุมีแต่เพลงเพราเพราออกมาอะเหมือนมันรู้ใจเราเลย

  • @thailandkawan9198
    @thailandkawan91982 жыл бұрын

    อยากรู้การใช้คลื่นบังคับเครื่องใช้ต่างๆและผ่าวงจรด้วย

  • @animenarutoandborutoth6556
    @animenarutoandborutoth65562 жыл бұрын

    ก็คือคลื่นวิทยุมันจะขยายเสียงที่เราพูดแล้วส่งออกอากาศ

  • @nabiview8428
    @nabiview84282 жыл бұрын

    ว้าว ช่วงนี้กำลังหาความรู้เรื่องคลื่นเลยครับ

  • @animenarutoandborutoth6556
    @animenarutoandborutoth65562 жыл бұрын

    เราก็ทำได้แต่ไม่มีอุปกรณ์ที่ชื่อว่าออสซิลโลสโคป

  • @winaiphosrithong1319
    @winaiphosrithong13192 жыл бұрын

    ไฟบ้านความถี่ 50 Hz ไม่ใช่เหตุของไฟดูดนะครับไฟดูดเกิดจากมีกระแสไฟไหลผ่านร่างกายครับ เดี๋ยวคนฟังเข้าใจผิด

  • @GTECH-kn7yz
    @GTECH-kn7yz2 жыл бұрын

    ผมขอวิธีการทำวงจรการนำความร้อนหน่อยครับ

  • @worachat8310
    @worachat83102 жыл бұрын

    อธิบายให้ความรู้ได้ดีมากครับอาจารย์

  • @pitakt9219
    @pitakt92192 жыл бұрын

    AM ส่งได้ไกลมากยิ่งตอนเย็นคำ่ๆ หรือตอนดึกๆเปิดเครืองรับที่ศรีสะเกษ สามารถรับสถานี จันทบุรีหรือแถวภาคเหนือได้ แต่จะชัดมั่งไม่ชัดมั่ง เหมือนเปิดรับวิทยุคลื่นสั้น SW

  • @nplug.7401

    @nplug.7401

    2 жыл бұрын

    เหมือนกันเลยครับผมอยู่เชียงใหม่ได้ยินคลื่นของจีนด้วยครับ

  • @user-ud3gj5oy2q

    @user-ud3gj5oy2q

    2 жыл бұрын

    ภาคเหนือมีคลื่นจีนเข้าเต็มเลยครับ

  • @user-uo4lv2xm2g

    @user-uo4lv2xm2g

    2 жыл бұрын

    AM อยู่ป่าเขาก็รับได้

  • @kondmaimeetu5931
    @kondmaimeetu59312 жыл бұрын

    ต้องเรียนคณะไหนสาขาไหนครับ น่าสนใจ

  • @user-ic9bs5wr8w

    @user-ic9bs5wr8w

    2 жыл бұрын

    อิเล็กทรอนิกส์

  • @kondmaimeetu5931

    @kondmaimeetu5931

    2 жыл бұрын

    @@user-ic9bs5wr8w ขอบคุณครับผม

  • @user-ud3gj5oy2q

    @user-ud3gj5oy2q

    2 жыл бұрын

    อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม สาขานี้เลย

  • @user-gh1gr8wz5z
    @user-gh1gr8wz5z Жыл бұрын

    มีวิธีทำแปลงคลีนวิทยุเป็นไฟฟ้าไหมครับ อยากได้

  • @thaiembbed_mc

    @thaiembbed_mc

    Жыл бұрын

    คลื่นวิทยุเป็นการเดินทางของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าครับ ซึ่งโดยปกติแล้วพอเวลามีสนามแม่เหล็กก็มีมีสนามไฟฟ้าด้วยครับ ดังนั้นหา antenna สักตัวนึงมารับแล้วลองเอา oscilloscope มาจับก็เห็นสัญญาณไฟฟ้าในหน่วย volt แล้วครับผม

  • @user-se7ot7po5f
    @user-se7ot7po5f2 жыл бұрын

    เมื่อก่อนมีเยอะที่ไม่ใช่แค่AM. FM. เครื่องรับวิทยุตอนนั้นมีหมุนให้เลือกเยอะ 😂 เคยหมุนหาฟังมีช่วงวิทยุไทยออกอากาศด้วย เจอ2-3สถานี แปลกใจอยู่ตอนนั้นเพราะปกติถ้าไม่ออกอากาศในระบบAM. ก็ออกอากาศในระบบFM. อยู่ได้ยังไงอีก รู้สึกจะมีคนโทรสอบถามกับทางสถานีด้วย และส่วนใหญ่จะเป็นต่างประเทศ หมุนหาแบบอิ่นน่าจะจีนมั๊งที่เยอะ แบบอื่นที่ไม่ใช่ AM. FM.นะ

  • @pitakt9219

    @pitakt9219

    2 жыл бұрын

    น่าจะเป็นวิทยุคลื่นสั้น Short Wave สมัย ยี่สิบสามปี ยังไม่มีวิทยุผ่านเนต ผมชอบเปิด มาก อย่าง ฟังไม่ออกก็ยังเปิดโดนคนข้างๆบ่นให้เขาลำคาน อยากรู้ว่ามันส่งมาจากไหน คอยฟัง เจาประกาศ ว่าถ่ายทอดมาจากไหน อย่าง voa พากษ์ ไทย /ลาว/ สอนภาษาอังกฤษด้วย bbc ตอนนี้หาไม่ค่อยเจอแล้ว สถานีวิทยุแห่งชาติลาว สมัยยังปิดปรพเทศ มีแต่ข่าว กองประชุม และเพลงปลุกใจ nhk ช่วง กลางวัน ยังเจอ อยู่ พากษ์ไทย ใต้หวัน ตอนเช้า ยังฟังได้ ที่ฟัง ประจำ สถานีปักกิ่ง ตอนคำ่ๆ ทุกวันยังฟังอยู่ (เรียนภาษาจีน) วิทยุ จีนผลิตออกม่าใหม่ เขาไม่ทิ้งคลื่นสั้น จากเครื่องรับใหม่ๆ ย่านควาถี่ 2-18Mhz ยิ่งความถี่ตำ่ ยอ่งส่งได้ไกล

  • @user-sc7yj6io6q
    @user-sc7yj6io6q2 жыл бұрын

    ทำคลิปเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กเตา

  • @user-tf6gv6wk8c
    @user-tf6gv6wk8c2 жыл бұрын

    /โอมนะมัสศิวายะ/

  • @user-tf6gv6wk8c

    @user-tf6gv6wk8c

    Жыл бұрын

    👌🏼🔱💾นับพลังงานให้ใชีงานแบบปลอดภัยและมีความสุข.T.😮👌🏼🔱💾

  • @tx_l
    @tx_l10 ай бұрын

    คลื่นแรกของมนุษย์คือคลื่นเสียง และคลื่นแสง

  • @animenarutoandborutoth6556
    @animenarutoandborutoth65562 жыл бұрын

    ใครเห็นคลื่น sine waveแล้วชอบพูดว่าคลื่นบางปะกงเหมือนผมบ้าง

  • @user-pq6kn4zi2f
    @user-pq6kn4zi2f2 жыл бұрын

    คนแรก1

  • @user-pb3fs3yi6f
    @user-pb3fs3yi6f2 жыл бұрын

    ข้อมูลในคลิป มีข้อมูลที่ผิด และผมแก้ให้ ตามด้านล่างครับ . (2:45 - 3:00) - ตรงนี้ผมว่าอธิบายข้อมูลได้ไม่ถูกนัก ความถี่ก็คือความถี่ครับ อย่าไปยึดติดว่าต้องเป็น วิทยุ แสง ถึงจะมีความถี่ ยกตัวอย่าง เราปรบมือ 2 ครั้งใน 1 วิ = ปรบมือด้วยความถี่ 2 Hz 3:33 - ความถี่วิทยุ กับ ความถี่เสียง เป็นพลังงานคนละรูปแบบครับ ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถรับรู้พลังงานในรูปแบบ RF ได้ในทุกความถี่ครับ 4:38 - มีข้อยกเว้นทางกฏหมายอยู่ครับ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ เช่น ISM Band 5:10 - spark coils ต้องบอกว่า ในยุคนั้น ไม่มีปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับความถี่ทั้งสิ้น เพราะเป็นการเข้ารหัสแบบ OOK และที่สำคัญคือในยุคนั้น ยังไม่มีแนวคิดเรื่องความถี่วิทยุ ครับ 8:05 - AM / FM เป็นแค่วิธีการ mod ครับ ที่บอกสะท้อนได้เรียกว่า Sky wave ครับ เป็นคุณลักษณะหนึ่งของชั้นบรรยากาศที่กระทำต่อความถี่วิทยุในช่วงความถี่หนึ่ง ๆ ครับ ไม่จำเป็นต้อง AM เอา FM mod ความถี่ที่ว่า ก็สามารถทำ Sky wave หรือคลื่นสะท้อนได้ครับ 9:35 - จริง ๆ ถูกครึ่งนึงครับ AM ส่งได้ไกลกว่า FM ถูกต้องแล้ว แต่ไม่ได้ส่งไกลกว่าเพราะหลักการ sky wave หรอกนะครับ ยกตัวอย่าง FM ถ้ายิ่งส่งไกล ความยาวคลื่นก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ปลายทางถึงรับสัญญาณได้ก็จะ demod ไม่ได้ แต่ AM ไม่ต้องสนใจเรื่องนั้น ตราบใดที่รับสัญญาณได้ เราก็สามารถตัด noise และ Amp มันให้แรงขึ้นเพื่อดูู amplitude แล้ว demod ออกมาได้ครับ 10:40 - ไม่จริงครับ digital กับ analog เป็นแค่กระบวนการทาง system ที่เราเอาแนวคิดเรื่อง คาบเวลา มาใส่แค่นั้นเองครับ เช่นเราส่งสัญญาณ SOS เป็น analog ด้วยความถี่ 1 Hz (จะเท่ากับ 3 วินาที) แต่พอเอา คาบเวลา เข้ามาจับ(ถอดด้วยความถี่ 1 Hz จะได้ Hz ละ 1คำ) มันก็จะเป็น SOS = 101/010 เห็นไหมครับ มันก็จะเป็น digital ไปเอง เพราะฉนั้น จะบอกว่า ความถี่ digital กว้างกว่า analog มันจึงเป็นคำที่ไม่มีอยู่จริงครับ

  • @user-ud3gj5oy2q

    @user-ud3gj5oy2q

    2 жыл бұрын

    ติดต่อรับรางวัลโนเบลที่ศรีธัญญาเลยครับ

  • @user-pb3fs3yi6f

    @user-pb3fs3yi6f

    2 жыл бұрын

    @@user-ud3gj5oy2q เมนต์แบบนี้ไม่สร้างสรรค์ครับ ในคลิปอธิบายผิดผมเลยแก้ให้ เพราะผมเรียน วศบ.โทรคม เลยเข้าใจเรื่องนี้ดี ถ้าผมอธิบายตรงไหนผิด ควรเอาข้อมูลที่ถูกมาเมนต์แก้เช่นกันครับ

  • @user-xl2rq2iu9v

    @user-xl2rq2iu9v

    Жыл бұрын

    @@user-pb3fs3yi6fคนอื่นเข้าก็รู้บ้านเขาก็มีอินเตอร์เน็ต คนรู้หรือแค่จำมาเล่าอย่าสับสน มันอัดอั้นตันใจอะไรเหรอครับรู้มากแล้วอยากระบายไปเขียนหนังสือขายเลยครับ คุณรู้แล้วเคยทดลองดูมัยว่าสิ่งที่คุณรู้เข้าใจมันตรงกับที่คุณเข้าใจหรือเปล่า

  • @user-pb3fs3yi6f

    @user-pb3fs3yi6f

    Жыл бұрын

    @@user-xl2rq2iu9v RF เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือได้รับการถ่ายทอดผ่านบรรพบุรุษครับ . จะศึกษาสิ่งที่มองไม่เห็น จะต้องตั้งทฤษฎีขึ้นมาเพื่อศึกษาพฤติกรรมของ RF ฉนั้น หากผิดตั้งแต่ทฤษฎี จะไม่อาจศึกษา หรือ ไม่อาจเข้าใจสิ่งที่เขียนไว้ในตำราได้ครับ. ในคลิป ทำคลิปในแนวทฤษฎีของ RF แต่มันผิดไงครับ . ถ้าใครดูคลิปนี้เข้าใจ เวลาไปอ่านตำราเรียนจะไม่เข้าใจครับ .

  • @user-pb3fs3yi6f

    @user-pb3fs3yi6f

    Жыл бұрын

    @@user-xl2rq2iu9v ถ้าผิดในคำพูด ผมจะไม่ทักท้วงครับ อันนี้ผิดในทฤษฎี แถมผิดหลายจุดหลายครั้งด้วย แทนที่จะว่าผม ผมว่าไปว่าคนทำคลิปไม่ดีกว่าหรือครับ. ที่ผมแก้ให้ นั่นคือความรู้ครับ ถ้าไม่รับไว้ ก็ตามสบายครับ คนรับไว้จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง แค่นั้นครับ

  • @user-ez4wf6qd4c
    @user-ez4wf6qd4c2 жыл бұрын

    สิ่งที่เรียกว่าคลื่นฟ้า คืออะไร เรียกถูกหรือป่าวไม่รุ้แหละ

  • @user-yu7gl1zv2m
    @user-yu7gl1zv2m2 жыл бұрын

    ถ้าครูในรร.อธิบายง่ายๆแบบนี้ผมคงตั้งใจเรียนได้เกรด4แน่ๆ

  • @user-ud3gj5oy2q

    @user-ud3gj5oy2q

    2 жыл бұрын

    ครูพวกนั้นไม่เคยจับต้องอะไรไงเขาแค่เปิดหนังสืออ่านแล้วจำมาสอน เองจะไปหวังอะไร

  • @animenarutoandborutoth6556
    @animenarutoandborutoth65562 жыл бұрын

    พี่ช่วยอธิบายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นหนึ่งที่ชื่อว่าCarystalหน่อยครับว่ามันทำงานอย่างไร

  • @AISFORGODHAPPYONLYI-
    @AISFORGODHAPPYONLYI- Жыл бұрын

    💾😀👌📻🛰🔺️🔋🎄💾

  • @user-tf6gv6wk8c
    @user-tf6gv6wk8c Жыл бұрын

    💾📱🔱👌🏼♋💾

Келесі