History of Timekeeping ประวัติศาสตร์ และ วิวัฒนาการ การนับเวลาของนาฬิกาในแต่ละยุค | Auction House

History of Timekeeping ประวัติศาสตร์การนับเวลา ของนาฬิกาในแต่ละยุค
หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่ามนุษย์ได้เริ่มต้นนับเวลามาตั้งแต่เมื่อประมาณ 20,000 ปีที่แล้ว พวกเขานับวันเวลาเพื่อวางแผนการเก็บเสบียง หาฤดูกาลที่เหมาะสมในการทำเกษตร
และสำหรับเราแล้วนั้น ในยุคนี้การรู้วันและเวลาก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตไปแล้ว มาดูกันว่าอุปกรณ์ในการนับเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
จุดเริ่มต้นของการนับเวลา
ย้อนกลับไปเมื่อ 20,000 ปีที่แล้ว มนุษย์สามารถนับวันได้โดยการสังเกตการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ และในอีกหนึ่งหมื่นปีถัดมาก็มีการค้นพบหลุมรูปทรงดวงจันทร์ในประเทศสกอตแลนด์ คาดว่าหลุมนี้ถูกขุดโดยมนุษย์เพื่อบันทึกวงจรจันทรคติ (Lunar Cycle) คือ การที่ดวงจันทร์เดินทางรอบโลก แล้วกลับมาอยู่ที่เดิมระหว่างโลกและดวงอาทิตย์
Stone Age - อุปกรณ์นับเวลาชิ้นแรกของโลก
หลังจากนั้น กว่า 15,000 ปีถัดมา เป็นยุค Stone Age หรือ ยุคหิน ได้เริ่มมีการนับเวลาเป็นชั่วโมงครั้งแรกในโลกที่ประเทศอียิปต์ โดยใช้อุปกรณ์นับเวลาที่เป็นเสา Obelisk ซึ่งเป็นเสาหินสูงขนาดใหญ่และมีด้านปลายเป็นทรงพีระมิด ซึ่งสามารถดูเวลาได้จากเงาของเสาและแบ่งหน่วยเวลาให้เล็กลงจากวันเป็นชั่วโมงเท่า ๆ กัน นอกจากนี้แล้วความยาวของเงายังสามารถบอกวันที่สั้นหรือยาวที่สุดของปีได้อีกด้วย
Bronze Age - Sundial นาฬิกาแดด
สองพันปีถัดมา มนุษย์ได้เข้าสู่ Bronze Age หรือ ยุคสัมฤทธิ์ เป็นยุคที่มนุษย์มีความรู้ในเรื่องโลหะ และสร้าง Bronze ขึ้นมา โดยการหลอมดีบุก ทองแดง และสังกะสีเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ทำเป็นสิ่งของต่าง ๆ ส่วนในด้านเวลา ชาวอียิปต์ก็ได้มีการอัปเกรดอุปกรณ์บอกเวลา จนออกมาเป็นนาฬิกา “Sundial” อุปกรณ์ที่มาพร้อมแท่งสะท้อนเงาและมาร์กเกอร์บอกชั่วโมงในชิ้นเดียว แต่ข้อเสียของนาฬิกาแดดก็คงเป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่สามารถใช้งานได้ในตอนกลางคืน วันที่มีเมฆเยอะ แถมระยะเวลาการขึ้นตกของดวงอาทิตย์ก็ไม่เท่ากันในแต่ละฤดูอีกด้วย
Iron Age ยุคเหล็ก - นาฬิกาน้ำทำงานพร้อมกับกลไก
พันกว่าปีถัดมาหลังจากการผลิตนาฬิกาน้ำเรือนแรกของโลก ทางฝั่งยุโรปชาวกรีกและชาวโรมผู้เป็นช่างทำนาฬิกาและนักดาราศาสตร์ก็ได้พัฒนาต่อยอดนาฬิกาน้ำของชาวอียิปต์ โดยมีการเพิ่มหน้าปัดบอกเวลาและกลไกเพื่อควบคุมแรงดันน้ำ ส่วนทางฝั่งตะวันออกก็มีนวัตกรรมไม่แพ้ฝั่งตะวันตกเช่นกัน เพราะนักดาราศาสตร์ชาวจีนได้ทำการสร้างหอคอยนาฬิกาน้ำ ซึ่งมีความสูงถึง 10 เมตร โดยหอคอยนาฬิกานี้สามารถส่งเสียงเพื่อบอกเวลาชั่วโมงและเวลาพิเศษในแต่ละวันได้ อย่างไรก็ตามทั้งนาฬิกาของชาวกรีกและชาวจีนต่างประสบปัญหาเดียวกันคืออุณภูมิอากาศที่มีผลต่อน้ำ เพราะเมื่อถึงฤดูหนาวน้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง พวกเขาจึงแก้ปัญหานี้โดยใช้ปรอท (Mercury) ซึ่งมีจุดแข็งตัวต่ำกว่าน้ำเพื่อแก้ไขปัญหานี้
Age of Enlightenment - ยุคเรืองปัญญากับนาฬิกาเพนดูลัม
มนุษย์ได้ก้าวเข้ามาสู่ยุคเรืองปัญญา (Enlightenment) เนื่องจากวิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตมากขึ้น โดยในปี 1582 กาลิเลโอ ผู้คิดค้นกล้องส่องทางไกล กล้องโทรทรรศน์ เข็มทิศ และอื่น ๆ อีกมากมายจนได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่” ซึ่งภายหลังกลายมาเป็นหลักการ “เพนดูลัม (ลูกตุ้มนาฬิกา)” และในปี 1656 Christiaan Huygens นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ได้ต่อยอดแนวคิดนี้โดยการสร้างนาฬิกาที่ใช้เพนดูลัมในการนับเวลา ผลลัพธ์ที่ได้คือความแม่นยำสูงขึ้นเป็นอย่างมากและมีความคลาดเคลื่อนเหลือเพียง +/- 10 วินาทีต่อวันเท่านั้น ข้อเสียคือแรงโน้มถ่วงของโลกส่งผลกระทบต่อการเหวี่ยงของลูกตุ้ม และนาฬิกาจำเป็นต้องวางบนพื้นเรียบเท่านั้นซึ่งไม่ตอบโจทย์ของนักเดินเรือเลย จนกระทั่งในปี 1893 ได้มีการสร้างสรรค์และจดสิทธิบัตรดีไซน์นาฬิกาข้อมือ “Watch Wristlet” เป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นความสำเร็จในยุคนั้นเลยก็ว่าได้
Technological Revolution - ยุคแห่งการปฏิวัติทางเทคโนโลยี
ในปี 1927 - 1969 เป็นช่วงสงครามครั้งที่ 1 และ 2 นาฬิกา Quartz ตัวแรกได้ถูกสร้างในปี 1927 โดย Warren Marrison และ J. W. Horton จาก Bell Telephone Laboratories ใน Canada การทำงานของนาฬิกา Quartz คือวัดจากจำนวนการสั่นไหวของ Quartz Crystal ซึ่งจะสั่น 32,768 ครั้งใน 1 วินาที ซึ่งไมโครชิพจะทำการอ่านค่าและส่งข้อมูลไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนเกียร์ ทำให้นาฬิกา Quartz มีความแม่นยำสูง คลาดเคลื่อนเพียง +/- 10 วินาทีต่อปีเท่านั้น สาเหตุที่ยังคลาดเคลื่อนอยู่เป็นเพราะสภาพอากาศที่ร้อนเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบได้
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ก็ได้เข้าสู่ยุค Digital Revolution และทางฝั่งโลกของนาฬิกาเองก็ได้เริ่มต้นยุคนี้ด้วยการปล่อยนาฬิกาข้อมือแบบ Quartz รุ่นแรกของโลกในปี 1969 คือรุ่น Astron 35SQ ที่ผลิตโดย Seiko ทำเอาวงการนาฬิกาทั่วโลกต้องสั่นคลอนเพราะนาฬิการุ่นนี้มีความแม่นยำสูงกว่านาฬิกากลไกทุกเรือนและที่สำคัญคือมีราคาถูกกว่าทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงทำให้เกิด Quartz Crisis หรือที่เรียกว่าวิกฤตินาฬิกาใส่ถ่าน ที่ทำให้แบรนด์นาฬิกาแทบจะปิดบริษัทกันไปเกือบหมด
การนับเวลาในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าการนับเวลาอยู่คู่กับมนุษย์เรามาอย่างยาวนานกว่าที่หลายคนคาดคิด และการนับเวลาก็ได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตมนุษย์เรา จนก่อให้เกิดนาฬิกาอย่างหลากหลายประเภทอย่างที่เราได้เห็นกันทุกวันนี้
ติดตามคอนเทนต์นาฬิกาที่น่าสนใจได้ที่
IG: / auctionhouse_official
FB: / auctionhouse.th
อย่าลืมกดติดตามเพื่อรับชมวิดีโอที่น่าสนใจก่อนใคร
#AuctionHouse #WatchReview #WatchInsights #ลงทุนนาฬิกา #รีวิวนาฬิกา

Пікірлер: 24

  • @jeabbow
    @jeabbow Жыл бұрын

    รวบรวมและเรียงเรื่องราว ได้กระชับและน่าสนใจมากค่ะ

  • @AuctionHouse_Official

    @AuctionHouse_Official

    Жыл бұрын

    ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามารับชม 🙏 | Admin

  • @lovesweden6602
    @lovesweden6602 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากๆ สำหรับข้อมูลและความรู้ดีดี ฟ้งเข้าใจง่ายและเพลินมาก ชอบๆๆครับ

  • @FocusplusPassion
    @FocusplusPassion Жыл бұрын

    นาฬิกาที่คลาดเคลื่อน1วิ/30ล้านปีคือ สตรอนเทียมครับ

  • @ArrPiyarattanastien
    @ArrPiyarattanastien Жыл бұрын

    ขอบคุณมากๆครับ

  • @AuctionHouse_Official

    @AuctionHouse_Official

    Жыл бұрын

    ขอบคุณเช่นกันนะคะที่เข้ามารับชม 🙏 | Admin

  • @netthailiberal
    @netthailiberal Жыл бұрын

    Thanks

  • @AuctionHouse_Official

    @AuctionHouse_Official

    Жыл бұрын

    My pleasure. | Admin

  • @ftu48jp66
    @ftu48jp66 Жыл бұрын

    ชอบมากครับ สนับสนุนทำต่อนะคับบบ🎉

  • @AuctionHouse_Official

    @AuctionHouse_Official

    Жыл бұрын

    ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามารับชม 🙏 | Admin

  • @MineNonny
    @MineNonny6 ай бұрын

    นาฬิกาคือองค์ความรู้ที่ซับซ้อนของมนุษย์

  • @user-sp1dx3dh9p
    @user-sp1dx3dh9p11 ай бұрын

    ทรงผมคลิสเตียน ฮอยเจน สวยดี

  • @methodlogic6392
    @methodlogic6392 Жыл бұрын

    เปนคอนเท้นเชิงสารคดี ที่ดีนะครับ

  • @AuctionHouse_Official

    @AuctionHouse_Official

    Жыл бұрын

    ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามารับชม | Admin

  • @methodlogic6392

    @methodlogic6392

    Жыл бұрын

    @@AuctionHouse_Official ตอนนี้กะลังไล่ดูคอนท้นเก่าของทางช่องอย่างบ้าคลั่งครับ

  • @AuctionHouse_Official

    @AuctionHouse_Official

    Жыл бұрын

    @@methodlogic6392 ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ | Admin

  • @JXZa
    @JXZa3 сағат бұрын

    นี่หล่ะ ทำไมนาฬิกาออโตเมติคถึงแพง เพราะมันเป็นกลไกล้วนและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ไม่มีเหมือนควอซ

  • @oracleuser-bh1sp
    @oracleuser-bh1sp Жыл бұрын

    พระพุทธองค์ทรงเคยสอนไว้ "ให้ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจ"

  • @goodguyzacky3066

    @goodguyzacky3066

    Жыл бұрын

    เกี่ยวกับวีดีโอนี้อย่างไร

  • @rachhanontupphueng1158

    @rachhanontupphueng1158

    Жыл бұрын

    รู้ได้ไง

  • @air4970
    @air4970 Жыл бұрын

    พี่ครับนาฬิกา Smart Watch Apple Hi end ก็จัดอยู่ในประวัติศาสตร์ นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ ไหม ครับพี่

  • @AuctionHouse_Official

    @AuctionHouse_Official

    Жыл бұрын

    Apple Watch อยู่ในยุคปัจจุบันแล้วค่ะ เรียกว่า Information Age ยุคที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมมาอยู่บนข้อมือ ซึ่ง Apple Watch ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทของนาฬิการะบบไหนเลยค่ะ เนื่องจากมีการ Sync เวลามาจากนาฬิกา Atomic ที่เป็นฐานมาแสดงค่าแทนค่ะ ดังนั้น Apple watch จึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีการบอกเวลาที่ทันสมัยที่สุด ณ ปัจจุบันค่ะ | Admin

  • @Worawat1988
    @Worawat198810 ай бұрын

    น้ำเสียงมีเสน่ห์ มากๆ

  • @AuctionHouse_Official

    @AuctionHouse_Official

    10 ай бұрын

    ขอบคุณมากนะคะ | Admin

Келесі