เอาแล้ว! เกษตรกรจีนปลูก 'ทุเรียน' ในไห่หนานสำเร็จ คาดประเดิมผลผลิต 2,450 ตัน มิ.ย.นี้

เว็บไซต์ เซย์ดอทคอม (Say.com) รายงานว่า บรรดาเกษตรกรชาวจีน ในมณฑลไห่หนาน ได้คิดค้นวิธีปลูกทุเรียนจนได้ผลผลิตงาม คาดว่าภายในเดือนมิถุนายนนี้ จะมีทุเรียนมากถึง 2,450 ตัน
ด้าน นายกสมาคมทุเรียนไทย เผยไม่กระทบ หลังจีนผลิตทุเรียนได้สำเร็จในไห่หนาน เหตุผลิตได้ไม่กี่เปอร์เซ็นต์จากปริมาณส่งออกของไทยหลักล้านตัน อีกปัจจัยไทยทำชื่อเสียง สร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคจีนไว้เป็นอย่างดี หากกังวลมองว่าโจทย์หลักคือทำอย่างไรให้คงคุณภาพไว้ และต้องเหนือชั้นกว่าที่อื่น เพราะปัจจุบันการแข่งขันสูงมาก
เว็บไซต์เซย์ดอทคอม รายงานโดยอ้างอิงจาก ไชน่า เพรส (China Press) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา โดย ไชน่า เพรส ได้โพสต์คลิปวิดีโอของชาวจีนคนหนึ่ง พาชมผลผลิตทุเรียนในสวนแห่งหนึ่งของมณฑลไห่หนาน
ชายหนุ่มคนดังกล่าว บอกด้วยว่า เกษตรกรคนหนึ่งบอกกับเขาว่า ที่ดินของเขาปลูกทุเรียนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในเขตหลิงซุย และต้นทุเรียนก็ออกผลในทุกฤดูกาล
รายงานระบุว่า สวนทุเรียนในไห่หนานตอนนี้ มีประมาณ 580 ไร่ หรือประมาณ 130 สนามฟุตบอล และในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ต้นทุเรียนเหล่านี้จะออกผลผลิตประมาณ 2,450 ตัน ซึ่งจากข้อมูลของ โพรดิวซ์ รีพอร์ท (Produce report) ซึ่งรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตรของจีน พบว่า ทุเรียน 2,450 ตันนี้ คิดเป็น 0.3 เปอร์เซ็นต์ ของการนำเข้าทุเรียนทั้งหมดของจีนเมื่อปีที่แล้ว
ข้อมูลของ เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์ (South China Morning Post) ระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว จีน ประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลก นำเข้าทุเรียน 8 แสน 2 หมื่น 4 พันตัน มูลค่ากว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1 แสน 3 หมื่น 5 พัน 680 ล้านล้านบาท
ขณะที่ วานนี้ (18 มี.ค.66) ทีมข่าวได้พูดคุยกับ นายวุฒิชัย คุณเจตน์ นายกสมาคมทุเรียนไทย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า จริง ๆ แล้วเมืองไห่หนานของจีน ทดลองปลูกมานานแล้วนับสิบปี แต่เป็นการปลูกเพื่อศึกษามากกว่า ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวสามารถปลูกไม้เขตร้อนได้ แต่ที่เหมาะสมก็มีพื้นที่ไม่มากเท่าไหร่
ส่วนปลูกมานานแต่เพิ่งมาประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น มองว่าเป็นกระแสมากกว่า ทั้งนี้จากการที่ดูคลิปมองว่าทุเรียนดังกล่าวเป็นพันธุ์หมอนทอง ซึ่งการปลูกทุเรียนของจีนนั้นปลูกได้ แต่ผลผลิตอาจไม่เต็มที่มาก เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ไม่เอื้อ ส่วนเรื่องของรสชาติเป็นเรื่องที่ตอบยาก เพราะอยู่ที่ว่าเติบโตมาได้สมบูรณ์แค่ไหน อย่างเช่นทุเรียนหมอนทองของจีนที่เราเห็นในภาพ หากมองในมุมมืออาชีพมองว่ายังไม่ใช่ทุเรียนที่มีคุณภาพ อาจจะไม่เปรียบเทียบกับของจีนก็ได้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในไทยเอง ในรอบปีรสชาติของทุเรียนหมอนทองก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการเจริญเติบโตมากกว่า
เมื่อถามว่าภายหลังประเทศจีนสามารถผลิตทุเรียนได้ ในฐานะนายกฯ มองว่ามีผลกระทบต่อวงการทุเรียนไทยหรือไม่ นายวุฒิชัย กล่าวว่า มองว่าเป็นกระแสที่มีผลกระทบเพียงสั้น ๆ แต่ถ้าในภาพใหญ่มองว่าไม่ได้กระทบอะไร เพราะเป็นพื้นที่เล็ก ไม่ใช่พื้นที่ใหญ่อะไร
ทั้งนี้ ประเทศจีนถือเป็นตลาดทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเราก็เห็นการเจริญเติบโตของตลาดที่จีน ทำให้หลายประเทศมุ่งส่งผลผลิตเข้าไปขาย และหากมองมุมการส่งออกจากไทย กระทบหรือไม่นั้น นายวุฒิชัย ระบุว่า ถ้าในแง่ของปริมาณไม่กระทบ เพราะปริมาณที่ไทยส่งออกไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดอยู่แล้ว มองว่ายังไม่ถึงจุดนั้น เพราะปกติแล้วเราส่งออกทุเรียนปริมาณเป็นล้านตัน แต่ที่เขาผลิตได้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่หากมองเรื่องผลกระทบของราคา ถ้าหากกระทบก็อาจจะกระทบไม่มากและราคาอาจจะไม่ได้กระโดดไปหวือหวาเหมือนในอดีต
นายวุฒิชัย ยังกล่าวว่า จากกรณีนี้มองว่าเป็นบทเรียนใหม่ของวงการทุเรียนไทยมากกว่า ทุเรียนหลังโควิดมีอะไรให้จับตามอง อย่างเช่น ทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง ที่มีการเกร็งราคาประมาณกิโลกรัมละ 300 กว่าบาท แต่พอไปถึงตลาดปลายทางราคาค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของจีนที่ไม่ค่อยดี ขณะเดียวกัน ทุเรียนพันธุ์กระดุมทองจะขายได้ก็ต่อเมื่อไม่มีทุเรียนพันธุ์หมอนทอง แต่ในปัจจุบันหมอนทองไปตลาดจีนแทบจะไม่ขาดเลย ส่งผลให้ราคาของทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง ต้องไปเปรียบเทียบกับพันธุ์หมอนทอง แล้วไม่สามารถเกร็งกำไรเหมือนในอดีตได้ที่ว่าหากไม่มีหมอนทองราคาจะขึ้นไปสูงมาก
เมื่อถามว่าพอมีกระแสข่าวแบบนี้ออกไป หลายคนก็มองว่าไม่มีผลกระทบ เพราะยังไงก็ตามทุเรียนไทยคือที่สุดของทุเรียนแล้ว ในฐานะนายกฯ มองอย่างไรบ้าง นายวุฒิชัย ระบุว่า หากมองจริง ๆ ก็เป็นเช่นนั้น เพราะทุเรียนไทยโดดเด่นและมีชื่อเสียงในตลาดจีนมาค่อนข้างยาวนาน ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนเชื่อถือในเรื่องของคุณภาพของทุเรียนไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช ปี 2518 ระบุว่า พันธุ์ทุเรียนเป็น 1 ใน 11 พืชสงวน ห้ามส่งออก ฝ่าฝืนจำคุก หากฝ่าฝืนกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่มีการกำหนดพืชสงวนขึ้นในพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 เนื่องจากเกรงว่าหากพันธุ์พืชที่ดีเหล่านี้ถูกนำไปปลูกในต่างประเทศแล้วจะกลับมาเป็นคู่แข่งทางการค้าได้จึงห้ามส่งออก พืชสงวนมีทั้งสิ้น 11 ชนิด คือ ทุเรียน ส้มโอ องุ่น ลำไย ลิ้นจี่ มะขาม มะพร้าว กวาวเครือ ทองเครือ สละ และสับปะรด
รับชมทางยูทูบที่ : • เอาแล้ว! เกษตรกรจีนปลู...
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : ch3plus.com/news/internationa...
-------------------------
#เรื่องเล่าเช้านี้
รายการเรื่องเล่าเสาร์ - อาทิตย์ (MorningNews Weekend)
วันที่ 19 มีนาคม 2566
ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารก่อนใครได้ที่นี่
ch3plus : ch3plus.com/news/programs/mor...
facebook : / morningnewstv3
Twitter : / morningnewstv3
KZread : cutt.ly/MorningnewsTV3
Tiktok : / morningnewsch3

Пікірлер: 2 400

  • @kaikem852
    @kaikem852 Жыл бұрын

    ดีขอให้จีน ประสบความสำเร็จ มีทุเรียนทั่วทั้งประเทศ คนไทยจะได้กินทุเรียนราคาถูกลงและสุกแบบธรรมชาติ

  • @user-lq5xr5st3i
    @user-lq5xr5st3i Жыл бұрын

    ขอให้ประสบผลสำเร็จ เป็นคนไทยได้กินทุเรียนเเพงมาตลอด

  • @nattnatti8768
    @nattnatti8768 Жыл бұрын

    ดีใจจัง คนไทยจะได้กินทุเรียนเนื้อดีราคาทีไม่แพงบ้าง 😊😊

  • @sirisakzamak5526
    @sirisakzamak5526 Жыл бұрын

    ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการพัฒนาในประเทศ ไม่ใช่จะจมแต่กับอดีต อดีตเก่งสุดก็ต้องเก่งสุดในอนาคต มันไม่ใช่ แต่ถ้าไทยยังด้อยพัฒนาหลายๆเรื่อง ของใช้ของกินต่างๆที่เคยเป็นเจ้าส่งออกแรกๆ จะต้องรับสภาพ คนไทยเก่งนะครับ แต่มีคนกลุ่มอยู่ไม่กี่กลุ่ม กดให้โง่อยู่แบบเดิม

  • @MrLarrocco
    @MrLarrocco Жыл бұрын

    20ปีก่อนเราเคยไปเที่ยวไห่หนาน3เดือน อากาศเหมือนภาคใต้เมืองไทยเลย

  • @user-vl4cy2iy5z
    @user-vl4cy2iy5z Жыл бұрын

    เป็นบุญของคนไทยจริงๆ พี่จีนใกล้สำเร็จแล้ว สู้ๆครับ

  • @peerapongporjai8849
    @peerapongporjai8849 Жыл бұрын

    กรณีศึกษา เหมือนยางพารา ที่บอกว่าไปปลูกพื้นที่อื่นนอกเหนือจากภาคใต้ ไม่ได้ผล แต่ทุกวันนี้ ปลูกได้ทุกภาค ราคาก็ดิ่งสุดโต่ง อย่าชะล่าใจว่าของเราดีที่รสชาติ ดีที่สมบูรณ์เพราะปุ๋ย หากเขาพัฒนาสายพันธุ์ให้ดีได้ การลดการนำเข้าก็จะเป็นผลดีกับเขาเอง อยู่ที่เราจะยังรักษามาตรฐานทุเรียนไทยเกรดพรีเมี่ยมไว้ได้ไหมเท่านั้นเอง

  • @bommodbommodnakub7431
    @bommodbommodnakub7431 Жыл бұрын

    คงจะมากังวลไม่ได้ว่าใครจะปลูกแข่งกับใคร ปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเกษตรมันก้าวหน้ามาก ถึงแม้ตอนนี้เขาปลูกไม่ได้ อนาคตเขาก็ปลูกได้อยู่ดี

  • @user-tm7pn6wf7o
    @user-tm7pn6wf7o Жыл бұрын

    ก็ต้องปรับปรุงของตัวเองให้ดีขึ้น ถึงเวลาแข่งก็ต้องแข่ง ใครดีใครอยู่ แต่ก็ยังคงมั่นใจในทุเรียนไทยอร่อยสุด

  • @user-gp3no5ni6k
    @user-gp3no5ni6k Жыл бұрын

    พื้นที่ปลูกทุเรียนในจีนมีจำกัด ส่วนมากสภาพอากาศจะหนาวเย็นทุเรียนไม่ชอบพื้นที่ชื่นแฉะและอากาศหนาวเย็น รสชาติยังห่างไกลจากของไทยมาก.🌨❄️☃️🥶🌱🌳🦠🦗🐞🪲🥀

  • @kkpp4468
    @kkpp4468 Жыл бұрын

    ปลูกอะไม่ยาก แต่จะดูแลต้นให้ออกลูกนานๆอะยากกว่า ยิ่งอากาศหนาวราขึ้นง่ายค่ารักษาเยอะแน่ๆ เอาใจช่วยครับ

  • @napanonongatepon323
    @napanonongatepon323 Жыл бұрын

    ดีจร้า...ทุเรียนในไทยจะได้ถูกๆซักที

  • @vivovive9935
    @vivovive9935 Жыл бұрын

    ขอให้ปลูกได้ทั่วโลกเลย..ราคาทุเรียน

  • @thebigbear5275
    @thebigbear5275 Жыл бұрын

    ปลูกได้ก็จริงแต่ทำให้รสชาติดีเท่าของเราหรือเหนือกว่าเราได้มั้ยนี้สิคือปัญหาต่อให้ผลิตออกมาสู่ท้องตลาดได้จริงแต่ทำเนื้อสัมผัส รสชาติ กลิ่น ได้ไม่เท่าทุเรียนของทางเราแล้วก็ยังไงคนซื้อก็เลือกที่จะมาซื้อของเราอยู่ดี หรือว่าจะย้ายสถานที่ปลูกลงมาอยู่ที่ลาวถึงอากาศใกล้เคียงกับไทยก็จริงแต่ว่าทุเรียนขึ้นชื่อว่า ไม่ว่าเอาไปปลูกที่ไหนเนื้อสัมผัส รสชาติ กลิ่นหอม จะไม่เหมือนกันเลยถ้าพูดถึงแหล่งปลูกทุเรียนของบ้านเราที่มีชื่อเสียงก็คือจังหวัดระยองและจันทบุรี ถ้าอยากได้สภาพอากาศแบบเดียวกับบ้านเราก็ต้องลงมาไกลหน่อยมาปลูกที่เขมรอยู่ดี สรุปแล้วต้องให้เขาจะปลูกทุเรียนได้จริงแต่ถ้าทุเรียนของเรายังมีคุณภาพที่สูงอยู่ยังไงผู้บริโภคก็ยังคงเลือกซื้อทุเรียนของเราอยุ่ดีมันขึ้นอยู่กับทางเราเองว่าจะแก้ไขปัญหาตรงนี้ยังไง แต่สำหรับผมแล้วคงไม่กระทบอะไรมากหรอกถ้าคุณภาพทุเรียนเราที่ส่งออกไปนั้นยังดีเยี่ยมอยู่ผู้บริโภคที่ติดใจในเนื้อสัมผัส รสชาติและกลิ่นหอมของทุเรียนบ้านเราไม่หายไปไหนแน่นอน มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าคุณภาพไม่ถึงแล้วละก็คงรู้กันอยู่ว่ามันจะเป็นอย่างไง

  • @VivoY-fc3ql
    @VivoY-fc3ql Жыл бұрын

    สภาพอากาศและดิน อยากเหมือนกันที่จะเหมือนไทย ขนาดเมืองไทย ปลูกคนละจังหวัดยังไม่ได้เลย

  • @user-jx4zi8hn1l
    @user-jx4zi8hn1l Жыл бұрын

    อย่าประมาทขั้นทดลองอยู่​ อนาคตอาจเป็นหนึ่งก็ได้​ ขอบอกเลยเขาเก่งและตั้งใจมาก

  • @user-bq1dw4iw9j
    @user-bq1dw4iw9j Жыл бұрын

    เอาของดีๆลูกสวยๆส่งไปขายให้จีน​ เอาของเกรดต่ำๆขายให้คนไทยกินในราคาแพงมาก​ เป็นไงล่ะทีนี้​ ใจตุ๊บต่อมๆแล้วสินะชาวสวนทุเรียน😊😊😊

  • @user-xs3qx6il4k
    @user-xs3qx6il4k Жыл бұрын

    ทุเรียนก็ทำยาก ตายก็ง่าย โรคก็เยอะรักษาก็ยาก กว่าจะได้ลูก ชาวสวนทำกันอย่างลำบาก ลุ้นฟ้าลุ้นฝน ลมพายุ กว่าจะผ่านแต่ละช่วงเวลา แสนยากลำบาก ปุ๋ยยาก็แพง พ่อค้าแม่ค้าคนกลางก็พยายามกดราคาชาวสวน ที่มันแพง มันแพงเพราะคนกลาง ชาวสวน ใครทำสวนทุเรียนจะรุ้ บางทีก็สงสารชาวสวนบางเถอะค่ะ

  • @ntpcp1446
    @ntpcp1446 Жыл бұрын

    ดีครับ มีการแข่งขัน ผู้บริโภคก็จะได้รับประโยชน์ เดี๋ยวนี้กินแต่ทุเรียนไทยราคาส่งออกกูล่ะเชื่อเลย

  • @oopsoops4732
    @oopsoops4732 Жыл бұрын

    คือเราต้องพัฒนาคุณภาพรักษามาตรฐาน ควบคุมคนที่เอาไปสวมสิทธิขายทุกประเทศเขาก็ต้องหาผักผลไม้มาปลูกเหมือนกันครับไทยเราก็นำมาปลูกหลายชนิดอยู่ผลไม้เมืองนอก คิดง่ายๆอย่างคนมีกำลังซื้อทุเรียนมาจากไทยเขาซื้อแน่นอนส่วนคนที่ลดลงมาหน่อยเขาก็ต้องซื้ออีกประเภทหนึ่ง สำคัญคุณภาพเราต้องได้เพราะทุกวันนี้เขาแข่งกันทุกด้านจะมานั่งกังวลกันทำไมเอาเวลาไปพัฒนาสร้างแบรนด์ให้เป็นที่1เท่านี้คนเขาจะมาซื้อเอง

Келесі