วิกฤตการณ์ ร.ศ.112กรณีพิพาทไทยกับฝรั่งเศส รัชกาลที่5 สละดินแดนเพื่อรักษาเอกราชชีวิตประชาชนของพระองค์

วิกฤตการณ์ ร.ศ.112กรณีพิพาทไทยกับฝรั่งเศส รัชกาลที่5 สละดินแดนเพื่อรักษาเอกราชชีวิตประชาชนของพระองค์
เหตุการณ์ที่เปิดโอกาสให้ฝรั่งเศสใช้เป็นข้ออ้างในการเข้าแทรกแซงและรุกรานหัวเมืองลาว จนเป็นชนวนนำไปสู่การเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 คือ การรุกรานหัวเมืองพวน แคว้นสิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหกของพวกจีนฮ่อ
พ.ศ.2418 ถึง พ.ศ.2428ฝ่ายไทยได้ยกกองทัพไปปราบฮ่อและจัดการปกครองหัวเมืองลาว
พ.ศ.2430 ฝรั่งเศสปราบปรามพวกฮ่อในแคว้นตังเกี๋ยได้ถือโอกาสส่งกำลังทหารเข้ามาในหัวเมืองลาว
พ.ศ.2431 ฝรั่งเศสเรียกร้องสิทธิของญวนเหนือลาว แต่ฝ่ายไทยปฏิเสธ
เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ
หลังจากฝรั่งเศสพ่ายแพ้สงครามให้กับประเทศปรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2414 กลายเป็นแรงผลักดันให้ฝรั่งเศสพยายามที่จะแสวงหาความมั่งคั่งจากดินแดนตะวันออกไกล เพื่อลดทอนกระแสการเสื่อมความนิยมของประชาชนภายในประเทศ
ฝรั่งเศสจึงมุ่งสู่การขยายอิทธิพลเข้าสู่จีนตอนใต้ เพื่อแข่งขันกับอังกฤษ โดยอาศัยฐานของสหภาพอินโดจีน ที่ฝรั่งเศสสามารถพิชิตดินแดนของเวียดนามได้ทั้งหมด และผนวกเขมรส่วนนอกที่แย่งชิงจากสยามมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2410
ในระหว่างปี พ.ศ. 2418 - 2428 “จีนฮ่อ” หรือกองกำลังของอดีตกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว เข้ามาส่องสุมปล้นสะดมเมืองต่างๆ บริเวณชายแดนลาว ซึ่งเป็นประเทศราชของสยาม และชายแดนเวียดนาม ทำให้รัฐบาลสยามต้องคอยส่งกองทัพไปปราบเสมอๆ ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสยึดครองดินแดนเวียดนามตอนเหนือได้มากขึ้น ก็ได้ส่งกองทัพเข้ามาบริเวณพรมแดนสยาม โดยอ้างว่าเป็นการช่วยเวียดนามปราบฮ่อ และถือโอกาสส่งคณะสำรวจเข้ามาสำรวจและทำแผนที่ โดยมีนายโอกุสต์ ปาวี ผู้ช่วยกงสุล เข้ามาควบคุมการสำรวจเป็นพิเศษ
การสำรวจของปาวีและคณะ ได้สร้างความตื่นตัวให้รัฐบาลสยามเห็นความสำคัญในสิทธิเหนือดินแดนและเส้นเขตแดน หลังจากที่สยามได้สูญเสียดินแดนเขมรส่วนนอกให้กับฝรั่งเศสไปเมื่อปี พ.ศ. 2410 ดังนั้น ในหลวง ร.5 จึงได้จ้างผู้เชี่ยวชาญการทำแผนที่มาทำการสำรวจ และส่งนายเจมส์ แมกคาร์ที ไปทำแผนที่เขตแดนบริเวณลาวตอนเหนือ พร้อมกันนี้ก็ได้ส่งพระยานนทบุรีเกษตราราม ขึ้นไปเป็นข้าหลวงที่หลวงพระบาง เพื่อช่วยเจ้าหลวงแห่งหลวงพระบางในการจัดระเบียบและรักษาด่านชายแดน
เมื่อกองทัพฮ่อคืบเคลื่อนเข้ามารุกรานแคว้นสิบสองจุไท ในปี พ.ศ. 2430 ฝรั่งเศสได้ส่งทหารเข้าไปปราบฮ่อที่เมืองไล และเข้ายึดเมืองแถง ในดินแดนของสยาม รวมทั้งหาข้ออ้างยึดครองแคว้นสิบสองจุไท เนื่องจากฝ่ายสยามเห็นว่า หากปะทะกับฝรั่งเศสอาจทำให้สถานการณ์บานปลายกลายเป็นสงครามใหญ่ จึงอาศัยการเจรจาและยอมยกสิบสองจุไทให้เพื่อระงับข้อพิพาท
แต่ทว่าฝรั่งเศสต้องการที่จะยึดครองดินแดนฝั่งแม่น้ำโขงทั้งหมด เพื่อเปิดทางไปสู่มณฑลยูนนานของจีน ดังนั้นฝรั่งเศสจึงได้มีการเคลื่อนไหวบริเวณแนวชายแดนเสมอมา จนเกิดความตรึงเครียดเป็นระยะๆ เช่น ในปี พ.ศ. 2434 เกิดกรณีบางเบียนแห่งทุ่งเชียงคำ และสถาการณ์ก็ทวีความรุนแรงขึ้นจนกระทั่งนายโอกุสต์ ปาวี ได้เร่งเปิดกดดันการเจรจาปัญหาการปักปันเขตแดน และข้อพิพาทต่างๆ
ต่อมาฝรั่งเศสได้ส่งทหารเข้ามายึดเมืองต่างๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงเข้าโจมตีเมืองคำม่วนและทุ่งเชียงของ ปรากฏว่าในการปะทะกัน นายโกสกูแรง นายทหารของฝรั่งเศสได้เสียชีวิตในการสู้รบ ฝรั่งเศสจึงใช้เป็นข้อกล่าวหาว่าโกสกูแรงถูกฆาตกรรม และเรียกร้องให้รัฐบาลสยามรับผิดชอบ
ขณะนั้น ในหลวง ร.5 ทรงเห็นด้วยกับขุนนางฝ่ายที่ต้องการสู้รบ จึงได้ทรงให้มีการเร่งสั่งซื้อปืนและกระสุนจากสิงคโปร์และอังกฤษมาไว้เป็นจำนวนมาก แต่ขณะเดียวกันก็ทรงมองไปถึงวิธีการเจรจาทางการทูตเพื่อแก้ไขความขัดแย้งด้วย จึงทรงมีพระบรมราโชบายให้กองทัพที่รักษาชายแดน ระมัดระวังการสู้รบให้อยู่ในขอบเขตของการป้องกันตัว เพื่อที่สยามจะได้มีโอกาสเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อยุติความขัดแย้งได้ในช่วงนั้นเอง ได้เกิดเหตุการณ์บริเวณชายแดน ที่แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยของในหลวง ร.5 กล่าวคือ พระยาสุริยเดช ผู้รักษาด่านทุ่งเชียงคำ ได้ออกคำสั่งถึงหลวงณรงค์ ในลักษณะให้ยินยอมแก่ฝรั่งเศส ความว่า …
“ถ้าฝรั่งเศสจะคุมทหารยกเข้ามาในเมืองทุ่งเชียงคำเท่าใด จะมาทำอำนาจประการใด ก็อย่าให้หลวงณรงค์คิดหวาดหวั่น ให้ตั้งมั่นอยู่ในท่าที ฝรั่งจะมาติดแทรกแซงประการใดก็ทำเนา ถึงโดยที่สุดฝรั่งเศสจะมาตั้งกระบวนรบพุ่งอย่างไร ก็อย่าให้หลวงณรงค์บังคับทหารและไพร่สู้รบเป็นอันขาด ถึงเขาจะฆ่าฟันรันแทงยิงทหาร ฤๅยิงหลวงณรงค์ตาย ฤๅจับหลวงณรงค์ไป ก็ต้องเอาชีวิตรฉลองพระเดชพระคุณ”
เมื่อในหลวง ร.5 ทรงทราบคำสั่งนี้ ก็ไม่พอพระราชหฤทัย และได้มีพระราชหัตถเลขาไปยังเจ้าพระยารัตนบดินทร์ เสนาบดีมหาดสยามว่า …
“ซึ่งพระยาสุริยเดชบังคับไปยังหลวงณรงค์ว่า … นั้นไม่ชอบ เป็นการเหลือเกินที่มนุษย์จะทำตามได้ และเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยิ่ง เพราะผู้ซึ่งไปรักษาพระราชอาณาเขต จะต้องนิ่งเป็นท่อนไม้อยู่เช่นนั้น จะเป็นประโยชนอันใด คำสั่งเช่นนี้เหมือนเอาคนไปปักเป็นหลักแทนเสาหิน ให้แก้คำสั่งเสียใหม่ว่า ถ้าฝรั่งเศสล่วงเกินเข้ามาให้ห้ามปราม ถ้าฝรั่งเศสเอาศาตราวุธมายิงฟัน ให้ต่อสู้จนเต็มกำลัง”
ในที่สุดสถานการณ์ได้เริ่มบานปลาย เมื่อฝรั่งเศสส่งเรือปืนแองกงสตองและเรือโกเมต ข้ามสันดอนเข้ามายังกรุงเทพฯ ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 โดยมีเรือชองบาตีสต์เซ เป็นเรือนำร่องเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของสยาม และในขณะเดียวกันนั้น ทหารที่ประจำ ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทรที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ได้เกิดการปะทะกัน แต่ในที่สุดเรือปืนแองกงสตองและเรือโกเมต ก็สามารถฝ่ากระสุนเข้ามาทอดสมอจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้
นายโอกุสต์ ปาวี ได้ยื่นคำขาดต่อกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ให้ยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศสภายใน 48 ชั่วโมง มิเช่นนั้นราชทูตฝรั่งเศสจะออกจากสยาม และปิดปากอ่าวรวมถึงน่านน้ำของสยาม
#วิกฤตการณ์ #พิพาทไทยกับฝรั่งเศส #สละดินแดน

Пікірлер: 24

  • @user-zr1if3cd4g
    @user-zr1if3cd4g Жыл бұрын

    ยอมเจรจา ดีกว่าครับ

  • @thiradachakpet5569
    @thiradachakpet55694 ай бұрын

    แค้น/ควรงดจัดงานรำลึกสัมพันธไมตรีฯจัดที่ไรแค้นทุกครั้ง

  • @user-ti8ce3uq7z
    @user-ti8ce3uq7z9 ай бұрын

    สำนึกในบุญคุณ ครับ

  • @thaikim9903
    @thaikim9903 Жыл бұрын

    ✍️ ยอมรับความจริง

  • @noynadisley3921
    @noynadisley3921 Жыл бұрын

    นั้นคือเป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์เพื่อที่จะพาประชาชนของท่านและประเทศรอดพ้นเหงื้อมือคนพวกนี้

  • @cpetv4386
    @cpetv4386 Жыл бұрын

    ปชช.ไปเยือนฝรั่งเศษอย่างเป็นทางการ

  • @user-fi4ro5xj7q
    @user-fi4ro5xj7q Жыл бұрын

    ❤❤❤❤❤

  • @user-hv5qc3tz5l
    @user-hv5qc3tz5l Жыл бұрын

    สู้เขาไม่ได้มั่งครับอาวุธไม่ทันสมัย

  • @signaturex5085
    @signaturex5085 Жыл бұрын

    มิตรอย่างรัสเซียก็ช่วยไม่ได้

  • @user-sh8ve6xl7q

    @user-sh8ve6xl7q

    11 ай бұрын

    สมัย รามคำแหงถึง ร.4 ไทยเมืองขึ้นจีน พ.ศ.2397 อังกฤษไปตีจีนแตก สงครามฝิ่นทำให้สยามหลุดจากเมืองขึ้นจีน แล้วสยามโดนอังกฤษยึดเป็นเมืองขึ้นต่อจากจีน พ.ศ.2398 อังกฤษใช้ เบาริ่ง มายึดปกครอง

  • @morkmuang
    @morkmuang Жыл бұрын

    วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 กรณีพิพาทไทยกับฝรั่งเศสเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ อยากทราบที่มาของขอ้มูลด้วยครับ อ้างอิงจากเอกสารจากไหนครับ

  • @nitayanoonew

    @nitayanoonew

    Жыл бұрын

    จากหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะครับ

  • @Reungleaojakbanthuk

    @Reungleaojakbanthuk

    Жыл бұрын

    th.wikipedia.org/

  • @user-sh8ve6xl7q

    @user-sh8ve6xl7q

    11 ай бұрын

    ร.ศ112 สมัย ร.5 ไทยเป็นเมืองขึ้นทั้งอังกฤษ และฝรั่งเศส สยามไปยิงคนของฝรั่งเศสตาย และไปยิงเรือเขาด้วย โดนฝรั่งเศสปรับเป็นเงิน 3 ล้านฝรั่ง เป็นเงินค่าปรับ ไม่ใช่เงินไถ่ถอนประเทศ รู้ไว้

  • @user-iy4en7kg2b
    @user-iy4en7kg2b Жыл бұрын

    บทเรียนนะ :- จีนไม่ยอมแพ้ ไม่ปล่อยเกาะฮ่องกงให้ต่างชาติ...แม้จะนานเป็น 100 ปีก็ได้กลับคืนมาให้ลูกหลาน....คิดกันดี ๆ นะพวกเสนาฯ ผู้บริหารที่ไม่ขยัน แต่เสียได้ก็ยอมเสีย แล้วฝังหัวคนรุ่นหลังว่าเสียแค่อวัยวะ....บรื๋ออออ😢

  • @siripongchantachati1821
    @siripongchantachati1821 Жыл бұрын

    ยังไม่รบก็ยอมแล้ว ยอมเสียดินแดนดีกว่าเสียอำนาจ

  • @Donly_a7x

    @Donly_a7x

    Жыл бұрын

    เออ ความคิดมึงฮาดี 😂😂

  • @user-es9hz1gm9u

    @user-es9hz1gm9u

    Жыл бұрын

    สู้ไม่ได้เขายึดเอาหมดมีทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศส2ประเทศเขารุมเราแน่..

  • @forex-yb5vs

    @forex-yb5vs

    Ай бұрын

    เออจริงวะเวียดนามยังกู้ชาติได้ นี่ยอมเสียดินแดนให้เขาไปเปล่าๆ

  • @pommm9405
    @pommm9405 Жыл бұрын

    มีแต่พวกฝรั่งนั้นละที่อยากจะมาได้แผ่นดินไทยสมแต่น้ำหน้าพวกมันสมัยสงครามโลกครั้งที่สองพวกมันถูกเยรอมันนีถล่มจนยับไปเลยสมน้ำหน้า

  • @user-sh8ve6xl7q

    @user-sh8ve6xl7q

    11 ай бұрын

    สมัย รามคำแหงถึง ร.4 ไทยเมืองขึ้นจีน พ.ศ.2397 อังกฤษไปตีจีนแตก สงครามฝิ่นทำให้สยามหลุดจากเมืองขึ้นจีน แล้วสยามโดนอังกฤษยึดเป็นเมืองขึ้นต่อจากจีน พ.ศ.2398 อังกฤษใช้ เบาริ่ง มายึดปกครอง

Келесі