transistor(EP.3) ทำวงจร FlipFlop จาก...ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ต้นแบบ CPU computer....!!!

Ойын-сауық

นาทีที่2.00 หัวข้อด้านบนขวาผิดนะครับ
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมาทำวงจร วงจรหนึ่ง ใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ทำหน้าที่ สลับกันทำงาน สลับกันเปิดสลับกันปิด
หรือที่ เขาเรียกกันว่าเป็นวงจรแบบ พลิปฟล๊อป
วงจรนี้ ถ้าจะให้พูดเข้าใจง่ายๆ ก็คือเราจะให้ ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว ทำงานที่ สถานะ ตรงกันข้าม
ถ้าตัวหนึ่งเปิด อีกตัวหนึ่งจะปิด ถ้าอีกตัวหนึ่งปิดอีกตัวหนึ่งจะเปิด
แล้วถามว่า วงจรนี้มีประโยช์นอย่างไร ?
วงจรนี้ ถือว่ามันเป็นวงจร พื้นฐาน ในการจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์
เป็นหน่วยเล็กที่สุด หรือเรียกว่า ข้อมูลแบบบิท ปกติ บิตเดี่ยว ก็จะประกอบไปด้วย 2 สถานะ นั้นก็คือ 0 กับ 1 ใช่ไหมครับ
เราก็จะจำลองเหตุการณ์ ตอนมันไม่มีไฟ ว่าเป็นสถานะ 0
และตอนที่มันมีไฟก็คือสถานะที่ 1
และ ถ้าเราเอา ทรานซิสเตอร์ มาจัด ต่อเรียงกันเยอะๆเป็นแสนเป็นล้านตัว แล้วใส่เงื่อนไขต่างๆเข้าไป เราก็ได้หน่วยประมวลผล ที่ทรงพลังเกิดขึ้น
ก่อนอื่น เพื่อนๆ มาดูอุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ กันก่อนครับ
วงจรนี้ก็จะมี
1.แหล่งจ่าย แหล่งจ่าย ผมจะใช้เป็น แบตเตอร์รี่ขนาด 3.7 V 1 ตัวครับ
2.ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN ผมจะใช้ เป็นเบอร์ BC547 2 ตัว นะครับ แล้วก็เสียบลงไป โดยหันพื้นที่ หน้าตัดเข้าหาตัวเอง ขา ที่ 1 เป็นขา C ขาที่ 2 จะเป็นขา B ขาที่ 3 จะเป็นขา E
และก็
3. หลอด LED สีแดง 2 ตัว โดย ขั้วลบ ต่อเข้าขา C ของทรานซิสเตอร์
4. ตัวต้านทานขนาด 220โอห์ม 2 ตัว ต่อคร่อมระหว่างขั้ว บวกของแหล่งจ่าย และ ขั้วบวกของหลอด LED
5. สายไฟ 1 เส้น ต่อจั้มที่ขา E เชื่อมต่อถึงกัน
6.ตัวต้านทานค่า 6.8Kโอห์ม 2 ตัว
R ตัวแรกเรา จะจั้มขา C ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 2 มาไบอัสขา B ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1
และ R ตัวที่ 2 เราก็จะจั้มจากขา C ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1 มาไบขา B ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 2
8. ต่อขั้วลบของแบตเข้าขา E ของทรานซิสเตอร์
พอต่อเสร็จหลอดไฟLED ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ก็จะติด ทันที อันนี้เป็นปกติ อันนี้เป็นปกตินะครับไม่ต่องซีเรียสไดๆ
9. เราจะใข้ สวิตซ์ 2 ตัว ต่อคร่อมระหว่างขา B ของทรานซิสเตอร์ และ ขั้วลบของแบต
แต่ผมจะใช้สายไฟ 2 เส้น แทนสวิตซ์ โดยต่อจั้ม จากขา B ต่อยาวออกมา ทั้งสองตัว และก็ ใช้สายไฟอีกเส้นหนึ่ง จั้มขั้วลบของแบต เพื่อรอมาครบวงจร ที่ขา B ตรงนี้ครับ
ทีนี้ ผมจะทดสอบ โดยใช้สายลบเส้นนี้ แตะ ไปที่ ขา B ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1 ดูนะครับ สังเกตุว่าหลอด LED ดวงที่1 จะดับลง และ หลอด LED ดวงที่ 2 จะสว่างแทน และผมก็จะทดสอบ ใช้สายลบ แตะ ขา B ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 2
สังเกตุว่า ทรานซิสเตอร์ มันก็จะสลับการทำงานไปอีกฝั่งหนึ่ง ผมจะทดสอบโดย แตะสลับกันไปมาๆ ก็ได้ผลลัพท์ เกิดขึ้น เหมือนเดิม
แล้วมันทำงานแบบนั้นได้อย่างไร ?
เรากลับ มาดูวงจรกันอีกทีครับ
เมื่อเรา เสียบ แหล่งจ่ายให้กับวงจร ปุ๊บ
ทรานซิสเตอร์ใดตัวหนึ่งมันก็จะทำงานปั๊บ แต่เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่า ทรานซิสเตอร์ตัวไหน มันจะเริ่มนำกระแสก่อน
มันจะเป็นการช่วงชิง จังหวะในช่วงแรก ที่จริงก็คือ ใครนำกระแสได้ไวกว่าหลอดฝั่งนั้นจะสว่าง จะเป็นผู้ชนะ
ผมสมมุติว่า ทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1 ช่วงชิงจังหวะ การนำกระแสได้ก่อน พอทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1 นำกระแสได้... หลอดไฟดวงที่ 1 ก็จะสว่าง
พอมันชนะแล้ว มันก็จะนำกระแสไปเรื่อยๆ จาก บนลงล่าง แบบนี้ และในระหว่างนั้น ก็มีกระแสอีกส่วนหนึ่งไหลผ่าน จาก R 1 ไหลลงมาไบอัสที่ขา B ตรงนี้ด้วย
ส่งผลให้หลอดไฟ LED ดวงที่ 1 สว่างค้าง...
แล้ว ถามว่า ทำไม ทรานซิสเตอร์ ทั้ง 2 ตัวมัน ไม่นำกระแสพร้อมๆกัน
ผมจะอธิบายอย่างงี้ครับ เมื่อ ทรานซิสเตอร์ ตัวที่ 1 นำกระแสอยู่
กระแสส่วนใหญ่ จะไหลผ่านเส้นทางนี้ เกือบทั้งหมด เพราะว่า เส้นทางนี้ มันมีค่าความต้านทาน ที่ต่ำเอามากๆ
แล้วส่งผลกระทบยังไง ?
พอกระแสมันไหลเส้นทางนี้ซะหมด กระแสมันก็ไม่พอไปไบอัส ขา B ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 2 ซิครับ แต่ถึงแม้ว่ากระแสมันจะไหลผ่านเข้ามาได้บ้าง กระแสมันก็ไม่ได้มากมาย หลอดไฟดวงที่ 2 ก็อาจจะสว่าง แต่มันจะสว่างไม่เท่ากับ หลอดดวงแรก อย่างแน่นอนคครับ
แล้วจะทำยังไงให้ ทรานซิสเตอร์ตัวที่ 2 ทำงาน
มันจะมีหลายวิธี 1 ในนั้นก็คือ เราจะอาศัยสวิตซ์
สวิตซ์ที่ใช้ ก็อาจจะเป็นสวิตซ์ กดติดปล่อยดับ โดยเราจะกดสวิตซ์ตัวที่ 1 ไป 1 ครั้ง พอกดสวิตซ์ปุ๊บ มันก็เหมือนเรา ช๊อต ขา B ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1 ลงไปหาขั้ว ลบของแหล่งจ่าย
เพราะเส้นทางนี้ แทบที่จะไม่มีความต้านทานเลย กระแสมันชอบมากๆ มันไหลผ่านไปได้ง่าย
พอกระแสไฟส่วนใหญ่ มันวิ่งไปที่ขั้วลบ ก็เกิดเหตุการ์ณซ้ำรอยเกิดขึ้น นั้นก็คือ กระแสมันก็จะไม่พอไบอัสขา B ของ
ทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1 ส่งผลให้ ทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1 หยุดการนำกระแส
หลอดไฟ LEDดวงที่ 1 ก็จะดับ
พอทรานซิสเตอร์ตัวที่ 1 มันสะดุด
ทำให้กระแสตรงนี้มันไม่มีที่ไป มันก็เลยมองหาเส้นทางอื่น
มันจำได้ว่า มันสามารถไหลไป หาตัวต้านทาน R2 ตรงนี้ได้
พอมันไหลได้ มันก็จะไหลเข้าขา B ของทรานซิสเตอร์ตัวที่ 2 ทำให้เกิด เป็นการไบอัส ทรานซิสเตอร์ตัวที่ 2 โดยอัตโนมัติ
มันก็จะทำงานค้างไว้ สถานะนี้ ไม่ไปไหนตราบใดที่ ยังมีไฟเลี้ยงอยู่
เราจะทำยังไงให้ มัน หลอดไฟ LED มันสว่าง สลับกันไปมา ?
ใช่แล้วละครับ เราก็ต้อง มีสวิตซ์ตัว ที่2 ตรงนี้อีกตัวหนึ่ง พอเรากด มันก็จะสลับการทำงานไปอีกฝั่งหนึ่ง
หลักการทำงานจะเหมือนกันเลยครับ
พอเรากดปุ่มอีกฝั่งหนึ่ง หลอดไฟอีกฝั่งหนึ่ง ก็จะสว่าง
มันก็จะสว่างสลับกัน ไปมาๆ แบบนี้ เท่าที่เราขยันใช้ มือกด
แต่จะมีอีกวงจรหนึ่ง เป็นวงจนฟลิบฟลอฟ แบบ แบบอัตโนมัติ สามารถกำหนดความเร็วในการทำงานได้ด้วย
ซึ่งการจัดวงจร ก็จะแตกต่าง จากเดิมเล็กน้อย และก็เพิ่มคาปาซิเตอร์เข้าไปอีก 2 ตัว เดี่ยวยังไง ผมน่าจะพูดถึงอีกทีเป็นคลิปถัดๆไปครับ
สำรหับคลิปนี้ ผมขออธิบายการทำงานไว้เท่านี้ก่อน ขอบคุณเพื่อนทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Пікірлер: 33

  • @RatchanonTH
    @RatchanonTH2 жыл бұрын

    สอนเรื่อง วงจรบาลานซ์แบตเตอรี่หน่อยครับ

  • @kajonpongpoopamonkaipob6153

    @kajonpongpoopamonkaipob6153

    2 жыл бұрын

    +10 ครับ

  • @youtubevanced7065

    @youtubevanced7065

    2 жыл бұрын

    +1

  • @thailandkawan9198
    @thailandkawan9198 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากๆอธิบายเยี่ยม

  • @greensky420
    @greensky420 Жыл бұрын

    สอนเข้าใจง่ายมากครับ

  • @tumtum4703
    @tumtum47032 жыл бұрын

    ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ

  • @masterhifi1
    @masterhifi1 Жыл бұрын

    สมัยก่อนใช้เวลาเป็นปีกว่าจะเข้าใจ บัดนี้ ใช้เวลา ไม่เกิน 1 นาที เข้าใจจักรวาลเลย ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ

  • @user-pc5xj8ce2v
    @user-pc5xj8ce2v8 ай бұрын

    ติดตามครับ

  • @quarkkrub
    @quarkkrub Жыл бұрын

    เก่งมากครับ

  • @TomHack555
    @TomHack5552 жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @user-to1ls8ev7b
    @user-to1ls8ev7b2 жыл бұрын

    👍👍👍

  • @wiriyakwangkeaw4402
    @wiriyakwangkeaw44022 жыл бұрын

    ใส่C ไปอีก2ตัวแทนสวิทช์ก็กลายเป็นวงจร ไฟกระพริบ 55555😀😀😀

  • @kachainplaiyngam373

    @kachainplaiyngam373

    2 жыл бұрын

    นึกถึงสมัยเรียน

  • @user-jn5hp4ke6p
    @user-jn5hp4ke6p2 жыл бұрын

    ❤❤❤😀

  • @user-fu4oh4hv4p
    @user-fu4oh4hv4p2 жыл бұрын

    ยังไม่เห็นพี่สอนทำเน็ตเวิร์คขับเฉพาะซับเลยครับ

  • @Hi-lf6oi
    @Hi-lf6oi2 жыл бұрын

    ทำวงจรกะพริบหน่อยครับ

  • @callanioak4837
    @callanioak48374 ай бұрын

    เจ้าของช่องเรียนจบสาขาอะไรมาอ่ะครับอยากรู้

  • @user-xf1nj1wh1h
    @user-xf1nj1wh1h Жыл бұрын

    ใช้คาปาซิเตอร์ครับ

  • @seki2524
    @seki25244 ай бұрын

    ถ้ามี 4สวิตช์ 4หลอด จะต่อยังไงครับ

  • @cn_edit8670
    @cn_edit86702 жыл бұрын

    ขอวิธีคำนวนว่าถ้าเราเอาloadม่ต่อกันแบบอนุกรมและขนานเราจะต้องใช้แรงดันกับกระแสเท่าไหร่ได้ไหมครับ

  • @068.5
    @068.52 жыл бұрын

    อยากได้วงจรจับเวลาครับผม

  • @irumakun4810
    @irumakun48102 жыл бұрын

    จาร แอมป์จิ๋ว ไม่เกิน 500 แนะนำแน่อยครัล

  • @wutthikhunphipha5172
    @wutthikhunphipha5172 Жыл бұрын

    เข้าใจแล้วครับเป็นเรื่องของค่าความต้านทานนี่เอง

  • @user-pj2og4pz7x
    @user-pj2og4pz7x Жыл бұрын

    มีสูตรคำนวณไหมพี่ซิมๆ

  • @user-mc6wv5bz3q
    @user-mc6wv5bz3q7 ай бұрын

    อยากให้ทำคลิปที่เพิ่ม C ไป 2 ตัวมากๆค่ะ เรียนวงจรไฟกระพริบมาไม่เข้าใจเลยอะ สงสัยมากๆว่า C มันทำให้ไฟกระพริบเองได้ยังไง T_T

  • @kimyongchainon8976
    @kimyongchainon8976 Жыл бұрын

    กดพร้อมกันดับทั้งคู่รึเปล่าคับ

  • @AkeMCGamingTH
    @AkeMCGamingTH2 жыл бұрын

    เอาไปทำวงจร ปุ่มสัมผัส กดติด กดดับ ได้เลยนะนี่

  • @kajonpongpoopamonkaipob6153
    @kajonpongpoopamonkaipob61532 жыл бұрын

    วงจรไฟกระพริบ 556

  • @l3dgaming523
    @l3dgaming5232 жыл бұрын

    นี่คือวงจรที่ ตอนเรียน ผมไม่เข้าใจเลย

  • @user-xf1nj1wh1h
    @user-xf1nj1wh1h Жыл бұрын

    มีคำนวณบ่

  • @xmax1234tt9
    @xmax1234tt9 Жыл бұрын

    แผงแบนๆที่ไว้ลองทรานชิเตอร์เขาเรียกอะไรครับพี่ผมกำลังหัดอิเล็กทรอนิกส์ครับดูคลิบพี่นี่และเลยชอบเลย

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    โฟโต้บอร์ด ครับ

  • @xmax1234tt9

    @xmax1234tt9

    Жыл бұрын

    @@ZimZimDIY ขอบคุณครับพี่

Келесі