ทหารเอกผู้กล้าคู่พระราชาของแผ่นดิน ยอมสละชีพพลีเพื่อรักษาไว้แห่งแผ่นดิน รวมประวัติและภารกิจที่สำคัญ

00:00:00 พันท้ายนรสิงห์
00:18:31 พระยาพิชัยดาบหัก
00:33:53 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้า)
00:47:29 จ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
#พระยาพิชัยดาบหัก เป็นขุนนางในสมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรี ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารเนื่องจากเป็นทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นผู้มีส่วนกอบกู้เอกราชของชาติไทยหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง มีชื่อเสียงอย่างยิ่งจากความกตัญญูกตเวทีและความกล้าหาญ[1] หนึ่งในสี่ทหารเสือของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้แก่ หลวงราชเสน่หา (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท), หลวงพิชัยอาสา (พระยาพิชัยดาบหัก), พระยาเชียงเงิน (พระยาสุโขทัย), หลวงพรหมเสนา (เจ้าพระยานครสวรรค์)[2]
เดิมท่านชื่อ จ้อย เกิดที่บ้านห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถและชื่อเสียงอย่างยิ่งทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ จนได้เข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ
-สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา ประสูติเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน จ.ศ. ๑๑๐๕ (ตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๒๘๖) พระราชบิดารับราชการในราชสำนักกรุงศรีอยุธยามีบรรดาศักดิ์เป็นพระพินิจอักษร (ทองดี) ส่วนพระชนนีมีพระนามว่า ดาวเรือง (บางเอกสารกล่าวว่าชื่อ หยก) ทรงเป็นพระอนุชาของ นายทองด้วง (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี) เมื่อเจริญพระชนมพรรษาได้รับราชการอยู่กรมมหาดเล็กในราชสำนักอยุธยา
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์หลบหนีทหารพม่าไปเข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองจันทบุรีและขับไล่พม่าที่เมืองธนบุรี พระองค์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระมหามนตรีเจ้ากรมตำรวจ ตลอดสมัยกรุงธนบุรีพระองค์เป็นทหารเอกคนสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้รับการเลื่อนยศหลายครั้งในตำแหน่ง พระยาอนุชิตราชา พระยายมราช และพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ตามลำดับ ด้วยพระอัธยาศัยที่กล้าหาญ เข้มแข็งและเด็ดขาด จึงมีพระสมัญญานามว่า “พระยาเสือ”
#พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือในรัชสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตอนปลายอาณาจักรอยุธยา โดยพันท้ายนรสิงห์เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์
ประวัติ
เรื่องของพันท้ายนรสิงห์ ปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม โดยกล่าวว่า พ.ศ. 2247 พระเจ้าเสือเสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลเพียงตา นำศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งบนศาลไว้บูชาพร้อมกัน แล้วเสด็จออกไปทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อกลับกรุงศรีอยุธยา โปรดให้นำศพของพันท้ายนรสิงห์มาพระราชทานเพลิงศพ
ทหารเอกผู้กล้าคู่พระราชาของแผ่นดิน ยอมสละชีพพลีเพื่อรักษาไว้แห่งแผ่นดิน รวมประวัติและภารกิจที่สำคัญ
#เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) (11 มกราคม พ.ศ. 2319 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2392) อัครมหาเสนาบดีสมุหนายก และแม่ทัพใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้นสกุล "สิงหเสนี" "บดินทรเดชา" เป็นราชทินนามพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ทั้งนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ต่อมาทางสมาชิกสกุลสิงหเสนี ได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเชิญไปไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่แผ่นดิน
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่พระราชวงศ์ ขุนนาง บุคคลต่าง ๆ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล "สิงหเสนี" เป็นลำดับที่ 7 ในสมุดทะเบียนนามสกุลพระราชทาน เพื่อเป็นเกียรติยศแก่บรรดาบุตรหลานผู้สืบสกุลจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Пікірлер: 9

  • @user-nf2uz9dn2k
    @user-nf2uz9dn2k2 ай бұрын

    ชอบประวัติศาสตร์ไทยครับ

  • @user-lk5sn4ix2b
    @user-lk5sn4ix2b2 ай бұрын

    มีหนังสมบัติเป็นพระเจ้าเสือสรพงษ์้เป็นพันท้ายนรสิงห์

  • @user-yw7ue2qp9b
    @user-yw7ue2qp9bАй бұрын

    อยากรู้จักชื่อครับ

  • @Nanokafae_Thailand
    @Nanokafae_Thailand3 ай бұрын

    เม้นเเรก😁

  • @Cannon105
    @Cannon105Ай бұрын

    🔴วังหน้าพระยาเสือ (น้อง ร.1) คือที่สุดละ

  • @-so5okk

    @-so5okk

    24 күн бұрын

    มันก็สุดทุกคนแระไม่ว่าจะเป็นพระราชมนู พระยาพิชัย พระยาเสือ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระมหาเทพ หลวงศรียศ(ลานตากฟ้า) หมื่นราชสเน่หา ขุนพิเรนทรเทพ พยาอภัยนุชิต พระยาอนุชิตราชา พระยาสีหราชเดโช มีหลวงพิชัยอาสาที่เขาลือว่า ยอมตายแทนพระเจ้าตาก(อันนี้ไม่ได้อ้างอิงจากพงศาวดาล) ผมคนนครเขาพูดกันว่าต่อๆมาว่าแกาบวชที่วัดขุนพรหมตามตำนาน และอีกหลายคนที่ไม่ได้เอ่ย ทุกคนล้วนแต่ยอมตายเพื่อกษัตริย์ทั้งนั้น

  • @tadsaneesabpakhun4779
    @tadsaneesabpakhun47793 ай бұрын

    ถ้าเรื่องจริงอย่างที่ประวัตเล่ามาเรื่องพระเจ้าเสือ ก็ไม่น่านับถือไม่ต้องสืบ ราชวงค์

Келесі