No video

ทุ่มแสนล้าน! รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน จะช่วยให้คนไทยรวยขึ้นจริงไหม?

บทความอสังหา : www.properth.com/
รับความรู้ผ่าน LINE : line.me/ti/p/%4...
FanPage : / kim.properth
สำหรับติดต่อ : kim.property.work[at]gmail.com
★☆★ สนใจสัมมนา ★☆★
LINE : line.me/ti/p/%4...
ดูรายละเอียด : goo.gl/576mBd
คอร์สทั้งหมด : goo.gl/gQyd4i
สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน ผมคิมครับ ช่องนี้ทำแยกขึ้นมาเพื่อที่จะ พูดถึงอสังหา ลงทุนอสังหาในเชิงลึก ซึ่งจะมีวิทยากรหลายท่านมาแบ่งปันเทคนิค หรือ ไอเดีย การลงทุนในอสังหานะครับ ใครชอบการลงทุนในอสังหา อย่าลืมติดตามนะครับ
#ลงทุนอสังหา

Пікірлер: 809

  • @noom_rangsit
    @noom_rangsit2 жыл бұрын

    คุณคิมครับ!!! ข้อมูลที่นำเสนอในคลิปนี้ยังไม่ครบถ้วนนะครับ รัฐบาลไทยไม่ได้ทำแค่นี้... แต่นายกของไทยยังมีโครงการอื่นๆตาม"แผนยุทธศาสตร์ชาติ20ปี" เช่น "โครงการเขตพัฒนาพิเศษ" ซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละภูมิภาค ที่กำลังทำอยู่คือที่ ภาคตะวันออก(EEC) ที่มีทั้งรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน สร้างสนามบินเพิ่มที่อู่ตะเภา-ระยอง และขยายท่าเรือน้ำลึกขนถ่ายสิค้าทั่วโลกที่มาบตาพุตเฟส 3 อีกด้วย แล้วยังมีเขตพัฒนาพิเศษที่อื่นๆ ภาคเหนือ(NEC) (เชียงใหม่,เชียงราย,ลำปาง,ลำพูน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(NeEC) (โคราช,ขอนแก่น,อุดรธานี,หนองคาย) ภาคตะวันตก(WEC) (กาญจนบุรี,สุพรรณบุรี,ราชบุรี) ภาคใต้(SEC) (ชุมพร,ระนอง,สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช) แล้วยังสร้าง"ท่าบก"เพิ่มเติม เช่น ที่เชียงราย,หนองคาย,นครราชสีมา และที่อื่นจะตามมา ซึ่งอยู่ตามชายแดนทั้งหมด เมื่อมีรถไฟเชื่อมไปถึง เพื่อรวบรวมและกระจายสินค้าออกต่างประเทศ แล้วยังสร้าง"ท่าเรือน้ำลึก"ที่ระนองและชุมพร(โครงการแลนด์บริดจ์) เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้าจากทั่วโลกจากสองฝั่งทะเล ให้ขนส่งสินค้าต่างๆ,ก๊าซและน้ำมันผ่านไทยไปจีนและอาเซียน แล้วที่สำคัญโครงการรถไฟของไทยทั้งหมด ทั้งรถไฟฟ้าและโครงการขยายรางคู่รถไฟเพิ่มเติมระยะทางรวม 900 กม.ทั่วไทย ก็ไม่ได้กู้เงินจีนสักบาทเดียว แต่รัฐบาลไทยออกแบบแล้วเปิดประมูลงานการก่อสร้าง รัฐร่วมลงทุนบางส่วน คือในส่วนของที่ดินโครงการและงานโยธา(ปูน-เหล็กและวิศวกรของไทย100%) แล้วแบ่งปันผลกำไรกันแบบรายปีให้กับกลุ่มทุนเอกชนไทย(PPP)ที่มาบริหารงานระบบและงานบริหารสถานี รัฐบาลไทยจึงบริหารเงินลงทุนได้เอง กำหนดค่าโดยสารและค่าขนส่งสินค้าได้เอง และรัฐบาลมีโครงการสร้างตู้รถไฟใช้เองอีกด้วย(โครงการรถไฟไทยทำ) และที่สำคัญไทยติดอันดับประเทศที่น่าท่องเที่ยว และได้ลำดับที่หนึ่งของโลกหลายปี มีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาจากจีนอันดับหนึ่งและจากทั่วโลกรวมกันแล้วมากกว่า 30 ล้านคนทุกปี และจะมากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ จากประเทศต่างๆในอาหรับ, แอฟริกา, อเมริกาใต้ ที่รัฐบาลไทยไปเปิดความสัมพันธ์ใหม่ๆ เช่น ซาอุดิอาระเบีย, ยูเออี เป็นต้น ดังนั้นโครงการรถไฟฟ้าที่จะสร้างในแต่ภูมิภาคของไทยจึงไม่ขาดทุนเหมือนที่จีนหรือลาวอย่างแน่นอน แต่"รถไฟไทย"จะช่วยเร่งการพัฒนาเชิงพื้นที่ ช่วยกระจายการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ไปทั่วไทย ช่วยกระจายภาคอุสาหกรรม ช่วยเพิ่มการจ้างงาน ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางท่องเที่ยว และช่วยกระจายการขนส่งสินค้าต่างๆและสินค้าทางการเกษตรทั้งภายในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศ ได้ทั่วถึง,สะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม ไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าจากทั่วโลกไปในภูมิภาคอาเซียนได้สมบูรณ์แบบ ช่วยเพิ่มรายได้ให้ประเทศไทยอย่างก้าวกระโดด เหมือนที่จีนทำสำเร็จด้วยรถไฟ แล้วทำให้เศรษฐกิจและรายได้จีนเพิ่มขึ้นมาเป็นอันดับสองของโลกภายในเวลาแค่ 20 ปี

  • @weerachaipomthong2683

    @weerachaipomthong2683

    2 жыл бұрын

    เห็นด้วยครับ

  • @user-nz7jt6fx9l

    @user-nz7jt6fx9l

    2 жыл бұрын

    ทําเขตพิเศษแต่นายทุนไปเวียดนาม อินโดหมดแลัวเดียวคงเป็นเขตป่าช้าแน่ค่อยดูแค่ในเมืองยังไปเกือบหมดแลัว อย่าคาดหวังเลย

  • @user-dq8hv2bd6w

    @user-dq8hv2bd6w

    2 жыл бұрын

    ถ้าอยากได้เงินใหลเข้าประเทศจริงๆต้องทำให้สถานที่จังหวัดไม่ค่อยมีนักลงทุนนักท่องเที่ยวเป็นเขตปลอดภาษี ไม่งั้นเลื่อมล้ำนักกว่าเดิมอีก เพราะเวลาใช้หนี้ประชาชนใช้ทั้งประเทศแต่เวลาเจริญไก้กำไลมันแค่คนบ่างกลุ่มบางพื้นที่เท่านั้น

  • @fundeekongsuk7815

    @fundeekongsuk7815

    2 жыл бұрын

    ใช่เลย ข้อมูลคุณแน่น ที่สำคัญไม่ได้ทำแค่รถไฟ พัฒนาครบวงจร. ล้อ ราง เรือ เครื่องบิน เชื่อมกันแบบไร้รอยต่อ ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน ระบบน้ำ เขตเศรษฐกิจพิเศษทุกภาค เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน

  • @udomphandfungtragool5551

    @udomphandfungtragool5551

    2 жыл бұрын

    นครราชสีมา ไม่ใช่ภาคใต้ครับ

  • @adajimahehaji7593
    @adajimahehaji75932 жыл бұрын

    ถูกต้องครับขาดทุน แต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมันก็ต้องทำ 1. ขาดทุนแหง ๆ (แต่ต้องทำ) 2.มีการจ้างงาน 3.ตรงไหนมีการคมนาคมตรงนั้นจะเจริญ เมืองจะขยายตัว จะเกิดเมืองใหม่ 4.ค่าใช้จ่ายถูกกว่าขนส่งแบบอื่น

  • @thasspongthapsang6769
    @thasspongthapsang67692 жыл бұрын

    ไม่ต้องคิดอะไรมากครับ.. ตั้งแต่ประเทศไทยเรามี "กรมการขนส่งทางบก, กรมทางหลวง" แล้วตัดถนนกันพรึ่บพรับทั่วประเทศมาตลอด 70-80 ปีที่ผ่านมาเนี่ย เคยมีใครลุกขึ้นมาถามไหมครับว่า ถนนหลวง ซุปเปอร์ไฮเวย์ ฯลฯ ที่ทุ่มงบประมาณทั้งสร้างใหม่ทั้งบำรุงรักษาของเดิมปีละ 6-7 หมื่นล้านบาททุกๆปีนี้ กรมทางหลวง-กรมการขนส่งทางบกทำกำไรจากถนนหลวงได้ปีละเท่าไหร่...??? คำตอบคือขาดทุนมาตลอดครับ ไม่เคยได้กำไร แต่ความจริงกำไรมันก็คือการได้ขยายความเจริญ การที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั่นเอง ไม่ต่างกันกับ "กรมการขนส่งทางราง" ถ้าจะมีใครมาโวยวายว่ารถไฟขาดทุน ก็ต้องถามกลับไปว่า "แล้วกรมทางหลวงทำกำไรต่อปีได้เท่าไหร่เหรอครับ...???" ซึ่งก็คือทั้งระบบถนน-ระบบราง ต่างก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่รัฐต้องจัดให้บริการแก่ประชาชนอย่างดี เข่นเดียวกันกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, การรักษาพยาบาล... ฯลฯ ที่ไม่สามารถเอามาคิดกำไร-ขาดทุนทางตรงเป็นตัวเลขได้ ที่สำคัญที่สุดหลังจากโครงสร้างพื้นฐานระบบรางได้รับการปรับปรุงอย่างทั่วถึง จะส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศลดลงได้ถึง 70-80% เปรียบเทียบรถหัวลากหนึ่งคันขนตู้คอนเทนเนอร์หนึ่งตู้ไปในระยะทางหนึ่ง แต่หัวรถจักรหนึ่งหัวใช้พลังงานเท่ากับรถหัวลากสองคันแต่ขนตู้คอนเทนเนอร์ไปทางรางได้ 50-70 ตู้ในระยะทางที่เท่ากัน ซึ่งหลังจากระบบรางทั่วประเทศแล้วเสร็จ จะส่งผลให้รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 50-60% หายไปจากถนนหลวง ลดความคับคั่งของของทางหลวง เหลือแต่รถบัส(ซึ่งก็จะหายไปมากกว่า 50%)และรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งจะส่งผลให้การสัญจรบนทางหลวงมีความปลอดภัยมากขึ้น ยังไม่พูดถึงการบริโภคพลังานปิโตรเลียมของประเทศที่จะลดลงอย่างมหาศาล

  • @gigabitelakmak6734

    @gigabitelakmak6734

    2 жыл бұрын

    ไม่ใช่ว่าในน้ำมันที่เราซื้อๆกันอยู่รวมภาษีในการสร้างแล้วก็ซ่อมบำรุงถนนอยู่เหรอครับ????

  • @thasspongthapsang6769

    @thasspongthapsang6769

    2 жыл бұрын

    @@gigabitelakmak6734 ภาษีสรรพสามิตรของน้ำมัน มันวิ่งไปกระทรวงการคลังนะครับ ไม่ได้วิ่งไปกรมทางหลวง แล้วสำนักงบประมาณก็จัดสรรเงินมาให้สร้างทาง-ซ่อมบำรุงทางให้กรมทางหลวงอีกที

  • @user-yy8le9mk7u

    @user-yy8le9mk7u

    2 жыл бұрын

    จริงครับ มัวเเต่คิดเรื่องขาดทุนไม่คุ้มการลงทุน ประเทศก็ไม่พัฒนาไปไหนสักที สิ่งที่จะได้ประโยชน์คือประชาชนจะได้มีตัวเลือกการเดินทางเเละมันจะพัฒนาไปตามหัวเมืองต่างๆที่เร็วไฟความเร็วสูงผ่าน เกิดการจ้างงานขึ้นประชาชนมีรายได้ เมืองพัฒนา นักลงทุนมันไม่ค่อยมองจุดนี้หรอกครับ มีเเต่หวังผลประโยชน์ของตัวเอง

  • @user-qy3nz8kt1x

    @user-qy3nz8kt1x

    2 жыл бұрын

    @@thasspongthapsang6769 เข้าท้องถิ่นด้วยไม่ใช่หรอครับ

  • @Monkeyharikato

    @Monkeyharikato

    2 жыл бұрын

    นึกถึงจังหวัดไม่มีรถไฟ แล้วรอคอยมาหลายวิบปี เชียงราย รอมาจะร้อยปีแล้ว

  • @rattanavalibhikkhunirattan5520
    @rattanavalibhikkhunirattan55202 жыл бұрын

    รายการนี้ตอบได้ถูกใจ พูดได้เนื้อหาดีมากๆ ยอดเยี่ยม...

  • @user-mi5jt6tp9n

    @user-mi5jt6tp9n

    2 жыл бұрын

    ฝอยไปเรื่อยเปื่อยเนี่ยนะ เสียเวลาดู

  • @panupongratanavichien7108

    @panupongratanavichien7108

    2 жыл бұрын

    @@user-mi5jt6tp9n น้ำเยอะมาก

  • @user-yy8le9mk7u
    @user-yy8le9mk7u2 жыл бұрын

    มัวเเต่คิดเรื่องกำไรขาดทุน ประเทศก็ไม่พัฒนาไปไหนสักที จริงอยู่ว่าเเรกๆมันขาดทุนเเต่สิ่งที่ได้ประโยชน์คือประชาชนจะได้มีตัวเลือกในการเดินทาง เเละรถไฟฟ้าความเร็วสูงผ่านที่ไหนมันก็จะเกิดการจ้างงานขึ้น เศรษฐกิจก็ดีขึ้น เมืองพัฒนาตามไปด้วย กระจายความเจริญไปตามจังหวัดต่างๆ เเต่ก็อย่างว่าเเหละนักลงทุนมันก็จะมองเเค่ผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ได้มองถึงการพัฒนาของประเทศเป็นหลัก

  • @user-ek7xn7qd4u

    @user-ek7xn7qd4u

    2 жыл бұрын

    แบบศรีลังกาไง ล้มละลาย 55555

  • @archanai5849

    @archanai5849

    2 жыл бұрын

    @@user-ek7xn7qd4u ยุคนี้มีมีทางไทยเคยเจอมาแล้วยุคชวลิตเป็นนายกทักษิณเป็นรมต

  • @surasree3497

    @surasree3497

    2 жыл бұрын

    จริงอย่างว่า ทำไมต้องมานั่งคิด ขาดทุนหรือกำไร เพราะอะไร เงินที่ใช้ก็เป็นภาษีประชาชน รัฐไม่ได้หาเงินมาใช้หนี้ แต่เป็นประชาชนที่ต้องเสียภาษีเพื่อใช้หนี้ ที่รัฐบาลกู้มา รัฐบาลไม่ได้มีกิจการอะไรทุกๆอย่างล้วนมาจากภาษีของประชาชน ที่ขาดทุนแน่ๆ น่าจะมาจากการคอรัปชั่นในรัฐบาลซะมากกว่า ไม่เห็นเก็บเอามาคิดกัน

  • @user-yy8le9mk7u

    @user-yy8le9mk7u

    2 жыл бұрын

    @@user-ek7xn7qd4u กรณีของศรีลังกามันไม่เหมือนของไทย ของไทยกู้ภายในประเทศเป็นหลักเเต่ของศรีลังกากู้ต่างประเทศ

  • @macdonel.m4702

    @macdonel.m4702

    2 жыл бұрын

    ใช่ครับ เคยมีโครงการ​สายไฟ​ลงดินพวกผู้บริการ​สายเคเบิ้ล​ออกมาโวยยับ

  • @user-pu7wx1gc9u
    @user-pu7wx1gc9u2 жыл бұрын

    อย่างน้อยเราก็..ยังบริหารรถไฟฯได้ ลงทุนเอง.. การลงทุนทุกอย่าง..มีความเสี่ยง..เหมือนกับ หุ้น..ครับ ..แต่การท่องเที่ยวดีแน่... ความเจริญตามมาแน่.. แล้วถ้าเรา..ไม่กล้าลงทุน.. ความเจริญก้าวหน้าจะเกิดไหม..ครับ... ยังมีช่องทางหารายได้..ตามสถานีต่างๆ.. ถ้ากลัวเสียเปรียบจีน..คงไม่ต้องมี กระทรวงพานิชย์..นะครับ.. เลิกครบจีนดีไหม..ครับ พลิกวิกฤติให้เป็น โอกาส ซิครับ..ผมพูดช้านิด เพราะชอบย้อนไปดู ที่ผ่านมา ครับ..ตอนนี้เป็นไง..กล้าคิด กล้าตัดสินใจ...ถ้าเรามีผู้นำที่มีหัวการค้าด้วย.. พอไปได้...เฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนประเทศเดียว มาไทยก็มากมายแล้ว...ไหนค้าขาย..ความเจริญที่ตามมาอีก.. ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ร้อยเปอร์เซ็นต์..ครับ คิดได้..ดีเลิศแค่ไหน..ไม่ลงมือทำ ก็เท่านั้น.....อย่ากลัวเกินเหตุ.. ถ้าเรามีบุคคลากรที่ดี...ด้วยช่วยได้ครับ..มองต่าง..มุม แต่แง้..ความคิด ขอบคุณ ครับ

  • @yuthsampran5387
    @yuthsampran53872 жыл бұрын

    ไทยได้เปรียบตรง มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้ด้วย นอกจากคนในประเทศ และถ้าการก่อสร้างทำให้เกิดการจ้างงาน และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจจากการลงทุนสร้าง ก็ได้ทุนคืนมาส่วนหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ยังดึงการลงทุนเข้ามาลงทุนในไทยอีกเพราะระบบขนส่งทันสมัยรวดเร็ว เพิ่มนักท่องเที่ยวได้อีกเพราะไม่เสียเวลา ทำให้เที่ยวได้หลายที่ในเวลาเท่ากัน

  • @user-ui5ut4hr8w

    @user-ui5ut4hr8w

    2 жыл бұрын

    ต่างชาติมาเที่ยวประเทศไทยเพราะชอบเที่ยววัดในพุทธศาสนาและศิลปะวัฒนธรรมประเพณีทางพุทธศาสนา ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะเป็นหมื่นเกาะ ฟิลิปปินส์มีเกาะเกือบหมื่นเกาะ ประเทศอื่นมีทะเลภูเขาที่สวยงามมากกว่าประเทศไทยแต่ประเทศเหล่านั้นไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ เช่นอินโดนีเซียนับถือศาสนาอิสลาม ชาวตะวันตกฝรั่งไม่กล้าไปเที่ยวประเทศอิสลามเพราะรู้สึกไม่ปลอดภัย ประเทศไทยต่างชาติมองว่าเป็นเมืองพุทธทำให้คนมาเที่ยวประเทศไทย แต่ปัจจุบันมีขบวนการโค่นล้มทำลายพระพุทธศาสนา มีนักข่าวโจมตีทำลายศาสนาพุทธ มีคนจากหน่วยงานราชการกดขี่ข่มเหงรังแกพระสงฆ์เพื่อทำลายศาสนาพุทธ รัฐบาลและหน่วยงานราชการได้เงินภาษีจากการท่องเที่ยวที่ต่างชาติมาเที่ยววัดในพุทธศาสนาแต่รัฐบาลกับหน่วยงานราชการไม่ส่งเสริมไม่สนับสนุนศาสนาพุทธ ชาวพุทธต้องรู้ความจริง

  • @VJ-TONG

    @VJ-TONG

    2 жыл бұрын

    แค่คิดก็ไม่เจริญแล้ว จะกู้ไปทำไมในเมื่อสร้างเองได้ วัสดุก่อ สร้างก็มี ทำไมไทยไม่เอา ไทยเอา แต่จีนไม่ให้ เพราะจีนต้องการ สร้างเองจ้างงานคนจีนใช้วัสดุจีนทุกอย่สงจีน คำว่าจ้างงานทิ้งไปได้เลย คำว่ากำไร ก็ทิ้งไปได้เลย ควาทเจริญ มีแน่ แต่ต้องไม่ใช่ของจีนทั้งหมด อาจมีรถไฟจีนได้ แต่ทุกอย่างไม่ต้องเป็นของจีน ดูข้อมูลและข้อตกลงบ้างอย่าดูแคาโปรเจค

  • @supphasekalive7677

    @supphasekalive7677

    2 жыл бұрын

    แย่งลูกค้ากับเครื่องบิน แย่งกันขาดทุน

  • @user-jm9gy5tk3u

    @user-jm9gy5tk3u

    2 жыл бұрын

    ครับอย่างน้อยก็เป็นการพัฒนาปรับปรุงระบบรถไฟซึ่งไม่ได้พัฒนามานานแล้ว

  • @fundeekongsuk7815

    @fundeekongsuk7815

    2 жыл бұрын

    @@supphasekalive7677 เป็นทางเลือก

  • @pong2482
    @pong24822 жыл бұрын

    คิดเสียว่ามันเป็นการบริการจากรัฐ และการนำความเจริญมาสู่ที่รถไฟวิ่งผ่าน มันก็เหมือนการให้บริการรถเมล์ของ กทม.ที่ขาดทุนมาตลอดมีหนี้สะสมเป็นแสนล้านถ้าคิดถึงขาดทุนกำไรมันก็ต้องเลิกให้บริการรถเมล์ไปเพราะมันขาดทุน ที่จีนรถไฟฟ้าใต้ดินเขาคิดแค่ 2 หยวน ( 10 บาท)ไม่ว่าคุณจะต่อกี่สายก็ตามตราบใดที่คุณยังไม่ออกจากระบบเขาก็คิดแค่ 2 หยวน มันต้องขาดทุนแน่ แต่มันเป็นการบริการจากรัฐ มันก็เหมือนท่านที่คอมเม้นก่อนหน้า ว่าทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ยาวเป็น แสนกิโล สร้างแล้วทางหลวงได้กำไรไหมสร้างขยายทุกปีรวมทั้งการซ่อมบำรุง มันไม่ขาดทุนย่อยยับเหรอ

  • @Elonmask714

    @Elonmask714

    2 жыл бұрын

    แกรู้แล้ว แกทำคลิปเรียกยอดวิว 5555....

  • @anurakrattanaphoo3242

    @anurakrattanaphoo3242

    2 жыл бұрын

    ถูกของคุณถ้าเป็นการบริการประชาชนให้สดวกสบายก็ถือว่าคุ้มเอาประชาชนเป็นหลักวิเคราะห์แบบเอียงๆหรือเปล่า?คิดว่าไทยไม่ได้โง่ขนาดนั้นและไม่ได้กู้จีนด้วยแม้แต่บาทเดียว

  • @fundeekongsuk7815

    @fundeekongsuk7815

    2 жыл бұрын

    ฟังคลิปให้จบอย่างตั้งใจ

  • @peeraphongpartummas9333
    @peeraphongpartummas93332 жыл бұрын

    ในความคิดเห็นของผม จีนหวังผลประโยชน์ระยะยาว การเดินทางของสินค้า ภายใต้ต้นทุนการขนส่ง

  • @before3594
    @before35942 жыл бұрын

    เส้นทางในจีน กับ เส้นออกนอกประเทศ มันต่างกัน เส้นทางรถไฟในจีน เป็นหลายพันหลายหมื่นเส้นทางเพื่อประชาชนใช้ แต่เส้นทางรถไฟออกนอกประเทศ มีแต่เส้นทางรถไฟสายเดียวไปยุโรปเพื่อค้าขาย อีกเส้นทางสายเดียวถึงสิงคโปร์ เพื่อค้าขาย สายเดียวออกนอกประเทศแบบนี้ไม่ขาดทุนหรอก ที่มักขาดทุนคือสร้างทางรถไฟหลายสายทั่วในประเทศตัวเอง แต่ก็อนาคตถ้าคนย้ายไปอยู่เขตนั้นเยอะอาจไม่ขาดทุน

  • @thasspongthapsang6769

    @thasspongthapsang6769

    2 жыл бұрын

    รถไฟความเร็วสูงของจีนถูกสร้างขึ้นด้วยพื้นฐานของลัทธิคอมมิวนิสต์ล้วนๆ ด้วยหลักการที่ว่า "ต้องให้บริการแก่ประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึง" ทำให้จีนเป็นประเทศเดียวในโลกที่รถไฟความเร็วสูงมี "ตั๋วยืน" จำหน่ายในราคาถูกแสนถูก โดยที่นั่งชั้นปรกติราคาอาจเป็น 200-300 บาท แต่คนจนจะซื้อตั๋วยืนได้ในราคา 15-20 บาท และที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะไปตั๋วชั้นไหนแต่ทุกคนก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางเท่าเทียมและพร้อมเพรียงกันตามหลักการคอมมิวนิสท์

  • @nates2006
    @nates20062 жыл бұрын

    จีนอยากสร้างรถไฟความเร็วสูงมาอาเซียน เขาคิดไว้แล้วว่าสร้างมาทางอาเซียนจะเอาเป็นช่องทางเอาของมาขาย ลองคิดกลับกัน ถ้าเรามีโครงการ สร้างรถไฟความเร็วสูงไปอินเดีย สินค้าเราที่คนอินเดียชื่นชอบเป็นทุนอยู่แล้ว จะส่งไปขายที่อินเดียปีนึงๆเท่าไร แล้วคนอินเดียก็ค่อยๆมีกำลังซื้อมากขึ้น ประชากรมากขึ้น น่าเอาของไปขาย มากกว่าเอาสินค้าไปขายที่จีนอีก

  • @fundeekongsuk7815

    @fundeekongsuk7815

    2 жыл бұрын

    จะสร้างไปอินเดีย ก็ต้องสร้างผ่านพม่าไง ตอนนี้พม่ามีปัญหาภายในประเทศ นี้คืออุปสรรค

  • @nates2006

    @nates2006

    2 жыл бұрын

    @@fundeekongsuk7815 ถ้าจะเอาจริงๆ พม่าเอาด้วยอยู่แล้ว แต่เงินเราไม่พอ 5555555

  • @user-yp3cj2lm9z

    @user-yp3cj2lm9z

    2 жыл бұрын

    @So Raan การสร้างรถไฟไปลาวเขามองข้ามช็อตไปถึงจีนต่างหาก ลาวแค่ผลพลอยได้ หากภาครัฐส่งเสริมการค้าการส่งอิกให้ดีๆ จีนมีเงินมีคนครับ อินเดียสู้ไม่ได้หรอกการเมืองการปกครองเศรษฐกิจต่างกันมากครับ ทั้งโลกตอนนี้มุ่งสู่จีนทั้งอำนาจและเศรษฐกิจ

  • @momu0071
    @momu00712 жыл бұрын

    ฟังแล้วเหนื่อยแทน​ ถ้ารัฐคิดว่าจะสร้างเพื่อหวังผลกำไร​มหาศาลจากปปช.คือเจ้งตั้งแต่คิดแล้วคับแต่ถ้าคิดที่จะสร้างเพื่อความเจริญด้านคมนาคมพื้นฐานของปปช.ให้เป็นสวัสดิการจากภาครัฐเพิ่​อความเจริญระยะยาวของประเทศอันนี้ค่อยสบายใจขึ้น​ เข้าใจคับว่าการลงทุนมันต้องเอาตัวเลขมาวัดผลกำไร​แต่อย่าพึ่งด่วนตัดสินได้ไหมคับ​ในอนาคต100ปี1000ปีข้างหน้าความเจริญมันต้องก้าวไปไม่หยุด กำไรมันต้องมีแน่นอนคับ​ อย่าคิดแค่วันนี้พรุงนี้

  • @thaweewitkhlongcherngpuen1830

    @thaweewitkhlongcherngpuen1830

    2 жыл бұрын

    ดูหลายครั้งแล้ว เข้าใจคำว่า "อย่าคิดแค่ วันนี้พรุ่งนี้" ที่คุณเมนท์มาเลย.

  • @tigerstep24

    @tigerstep24

    2 жыл бұрын

    โครงสร้างพื้นฐานมันต้องสอดคล้องกับระดับเศรษฐกิจ มีหนี้ได้แต่ถ้าเกินตัวหรือฟองสบู่ (ทำทั้ง ๆไม่ถึงเวลาเพื่อปั่นอสังหา) ชาติต่าง ๆ ก็ติดกับดักหนี้นั้นเอง

  • @fundeekongsuk7815

    @fundeekongsuk7815

    2 жыл бұрын

    รัฐบาลชุดนี้เขาก็คิดแบบนี้แหละ ตอนนี้ลงมือสร้างคืบหน้าไปมากแล้ว

  • @otikamporn

    @otikamporn

    2 жыл бұрын

    ทำรถไฟธรรมดาให้ดี คุ้มกว่าครับ

  • @pcart0092

    @pcart0092

    2 жыл бұрын

    ก็เหมือนศรีลังกา ลาว นั่นแหละลงทุนสร้างท่าเรือ สร้างรถไฟ สร้างเขื่อน ก็หวังอนาคต แต่กว่าจะถึงตอนนั้น ถ้าไม่มีเงินหมุน ไม่มีรายได้มาทดแทน มันก็จะเสี่ยงล้มละลาย

  • @equality.
    @equality.2 жыл бұрын

    รถไฟทางคู่คุ้มค่าต่อการลงทุนที่สุด ขนได้ทั้งคนและทั้งของ และมีหลายสถานีเข้าถึงคนได้จำนวนมาก ส่วนรถไฟความเร็วสูงมีสถานนีน้อยคนเข้าถึงได้น้อย และ ราคาสูง

  • @PS.-
    @PS.-2 жыл бұрын

    ใช่ครับ การทำในช่วงแรกมันขาดทุนชัวร์ๆ แต่ว่าในระยะยาวมันส่งเสริมหลายๆอย่าง เรื่องพวกนี้เลยไม่จำเป็นที่จะต้องได้กำไรเสมอไป แต่ว่าก็จะหารายได้จากทางอื่นให้เป็นด้วย และมีเงินหนา ถ้าไทยทำเรื่องนี้ได้ ทำเลย แต่ก็ควรหารายได้เข้าประเทศมากกว่านี้ ไม่ใช่รายได้หลักจากภาษีประชาชน

  • @quantum.5145

    @quantum.5145

    2 жыл бұрын

    ขนาดเจ้าของโปรเจ็กต์ยังขาดทุน..ส่วนลาวคือตัวอย่างที่ดีเพราะโดนไปแล้ว

  • @Elonmask714

    @Elonmask714

    2 жыл бұрын

    @@quantum.5145 ของลาวเป็นรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลถือหุ้นไม่ถึง20%....

  • @sleepydog196

    @sleepydog196

    2 жыл бұрын

    รายได้ขอรัฐก็มาจากภาษีเป็นปกติไม่ใช่เหรอครับ ถ้าจากเรื่องสาธารณูปโภคต่าง ๆ รัฐก็ไม่ค่อยได้กำไรอยู่แล้ว เพราะโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการระยะยาว กินทีละน้อย ๆ ไม่ได้เอากำไรมาก

  • @dontreekhrutdilakanan8548

    @dontreekhrutdilakanan8548

    2 жыл бұрын

    จะให้รัฐไปทำแข่งเอกชนเหรอ จะเอารายได้มีทางไหนมั่ง สัมปทาน เก็บค่าธรรมเนียม... อย่างวีซ่าตอนนี้มีแต่ฟรีวีซ่า ภาษีvat10%ก็ประกาศใช้เป็น7%ทุกปี เงินเฟ้อมากควรจะขึ้นตัวนี้แหละ​ไปขึ้นทำไมดอกเบี้ย

  • @fundeekongsuk7815

    @fundeekongsuk7815

    2 жыл бұрын

    รัฐบาลเขาก็คิดแบบนั้นแหละ ตอนนี้กำลังสร้างรถไฟความเร็วสูง2สาย สายอีสาน กับ สายตะวันออก ประมาณปี2569. เปิดใช้บริการ ระหว่างรอใช้รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ก็เสร็จเปิดใช้ก่อน. เพราะสร้างได้เร็วกว่า ลงทุนน้อยกว่า ขนได้ทั้งคน และ สินค้า ส่วนรถไฟความเร็วสูง เน้นขนส่งคน

  • @user-pm3dg4te4g
    @user-pm3dg4te4g2 жыл бұрын

    เมกะโปรเจกต์ของอเมริกาในยุคบุกเบิกอย่างหนึ่งคือ ทางรถไฟจากภาคคะวันออกไปสู่ภาคตะวันตก แคลิฟอร์เนียจึงรุ่งเรื่องมากๆ จากโปรเจคนี้

  • @yutkijsamnong3202

    @yutkijsamnong3202

    2 жыл бұрын

    ปัจจุบันก็ยังขนสินค้าอยู่

  • @fundeekongsuk7815
    @fundeekongsuk78152 жыл бұрын

    ญี่ปุ่นเขาก็ขาดทุนเรื่องค่าโดยสาร แต่สิ่งที่รัฐบาลได้คือ เมืองพัฒนา กระจายความเจริญ นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์มาลงทุนตามแนวรถไฟ สร้างงานตามแนวรถไฟ รัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้น

  • @j.r.836
    @j.r.8362 жыл бұрын

    ผลประโยชน์​ทางอ้อมมันมหาศาล​มากครับ​ เช่นจะการพัฒนา​รอบๆสถานีอีกมากมาย​ การก่อสร้างจะตามมา​อีกไม่รู้เท่าไหร่​ นั่นจะทำให้ภาคการผลิตวัสดุก่อสร้าง​ขยายตัว เกิดกิจกรรม​ทางเศรษฐกิจ​เป็นวงกว้าง​ ไหนจะภาคท่องเที่ยวอีกล่ะ​ โรงแรม​ ร้านอาหาร​ ที่อยู่​อาศัย​ ที่แน่ๆคือ​ การกระจายความเจริญ​ออกสู่ภูมิภาค​ ตรงนี้คำนวณ​เป็นเม็ดเงินไม่ได้แน่​ เพราะมันเหลือคณานับ โครงการแบบนี้จะมาคิดแค่ค่าตั๋วโดยสารไม่ได้หรอกครับ อ้อ.. เห็นๆเลยคือมูลค่าของที่ดินจะเพิ่มขึ้นเห็นๆครับ

  • @user-pm9dq6dl5h
    @user-pm9dq6dl5h2 жыл бұрын

    สินค้าจีนจะทะลักเข้าในไทยมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน...ซึ่งปกติก็ไทยก็เสียดุลย์การค้าจีนมากอยู่แล้ว แลกกับทัวร์ 0 เหรียญ แบบแอบๆ ...สรุปคือได้นักท่องเที่ยวเล็กน้อยๆ ถ้าเทียบสัดส่วนกับมูลค่าสินค้าที่ทะลักเข้ามา จากขาดดุลย์แสนล้าน จะกลายเป็นล้านล้านบาท/ปี แล้วคอยดูละกัน ใครคิดเศรษฐกิจดีขึ้น ลองไปถาม เกษตรกร/SME/สินค้าจีนทุ่มตลาดตายกันหมด เพราะคนไทยปรับตัวไม่ทัน ภาครัฐไม่เข้มแข็ง.....จบเห่

  • @somkiatiamsri2654

    @somkiatiamsri2654

    2 жыл бұрын

    จริงครับ 👍 เห็นด้วยอย่างแรง

  • @steven3056

    @steven3056

    2 жыл бұрын

    จริงครับ ปิดประเทศไปเลย คนในห้ามออกคนนอกห้ามเข้า เด่วนี้ฝรั่งมาล่อสาวไทย ติดฝิกดาบลิงแล้ว ไม่รู้จะติดเยอะเท่าไรอิก

  • @wantaneenetbut5511

    @wantaneenetbut5511

    2 жыл бұрын

    พึ่งกลับจากเที่ยวลาว ตอนนี้จีนกำลังทำตลาดจีนในลาว กำลังก่อสร้าง เขตใกล้ข้ามมาไทย ที่นองคาย เป้าหมายลูกค้าน่าจะเป็นคนไทย

  • @Saweedee2566
    @Saweedee25662 жыл бұрын

    ถ้าเชื่อมรถไฟความเร็วสูงไปถึงหนองคาย ติดใกล้ๆกับรถไฟความเร็วสูง(ลาว)จีน ส่วนตัวผมมองว่า สินค้าจากจีนจะทะลักเข้ามา ทำตลาดค้าผักและผลไม้สดแถวทางภาคอีสานพังนะ เพราะพวกเขาจะขายได้ราคาถูกกว่า พ่อค้าแม่ค้าท้องถิ่น ถึงว่าสิ คนจีนหนุ่มสาวบางส่วนถึงเรียนภาษาไทย คิดว่าคงเพราะ ต้องการเข้ามาค้าขายสินค้าราคาถูกด้วยตนเอง โดยไม่ผ่านนายหน้าในไทย พ่อค้าแม่ค้าในไทย เตรียมรับมือ ส่วนผู้บริโภค อาจจะได้ซื้อของถูกลง แต่คุณภาพดีหรือเปล่า อันนี้คงต้องรอดูอีกทีหนึ่ง

  • @alexlo7708

    @alexlo7708

    2 жыл бұрын

    คนลาว มีงานทำเยอะขึ้นน่ะครับ หลังรถไฟมา

  • @user-it9ht9oy6e
    @user-it9ht9oy6e2 жыл бұрын

    จีนคุ้มสุด ดอกเบี้ย ค่าเดินรถ ส่งของออกมาขาย เราส่งสินค้าเกษตรไปยังติดนั่นนี่

  • @Coolbar-d3d
    @Coolbar-d3d2 жыл бұрын

    อย่ามองทุกอย่างเป็นแต่ธุรกิจเสียทั้งหมด อยากให้มองว่ามันคือ สาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐานที่ควรพึงมี ระบบรถราง รถไฟไทย ถือว่าพัฒนาช้ามาก รัฐควรต้องเร่งสร้างให้เสร็จโดยเร็ว

  • @bcibm7917
    @bcibm79172 жыл бұрын

    泰国建高铁肯定是值得的,你们是旅游大国,高铁方便了游客出行,减少了出行时间,可以有更多的时间欣赏美景; 高铁运行亏损是必然的,它服务了老百姓,但其带动了周边产业的发展,政府以这方面的税收补贴高铁亏损;

  • @thasspongthapsang6769

    @thasspongthapsang6769

    2 жыл бұрын

    ผมชอบตั๋วยืนของรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนมากครับ ช่วยประหยัดค่าเดินทางได้มาก เพราะรถไฟความเร็วสูงระดับ 300-350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไปยืนชมวิวสองข้างทางแป๊บเดียวก็ถึงที่หมายแล้ว อยากให้รถไฟความเร็วสูงของไทยมีตั๋วยืนแบบนี้บ้างครับ

  • @cnservice4322

    @cnservice4322

    2 жыл бұрын

    แต่คนไทยจำนวนมากไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะทำ

  • @thasspongthapsang6769

    @thasspongthapsang6769

    2 жыл бұрын

    @@cnservice4322 ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้า BTS ก็ทำตั๋วยืนสองโบกี้ทุกขบวนครับ 🤭🤭

  • @user-eg7bd7hh5g
    @user-eg7bd7hh5g2 жыл бұрын

    ถ้าอยากได้ความเร็วสูงจริงๆ ต้องหาเส้นทางที่โค้งน้อย และที่สำคัญคือต้องระวังพวกหัวขโมยชอบถอดหมุดรางรถไฟ ส่วนตัวชอบโครงการที่ซาอุจะสร้างเมืองใหม่ วางรถไฟไว้ใต้ดิน รางรถไฟก็เป็นเส้นตรง เพื่อให้รถไฟวิ่งได้เต็มสปีด

  • @gether4454
    @gether44542 жыл бұрын

    จีน​เส้นทาง​รถไฟ​ ออกนอกประ สร้าง​เส้นเดียว​ ไปยุโรป​ เพื่อ​ค้าขาย​ไม่ขาดทุน​หรอก​ มาอาเซียน​ ก็สร้าง​เส้น​เดียว​ ประเทศ​ละ1เส้นทาง​เพื่อ​ค้าขาย​ไม่ขาด​ทุน(ที่​มักขาดทุน​คือเส้นทาง​รถไฟ​ใน​ประเทศ​ จีน​สร้าง​หลายเส้นหลายสาย​เป็น​พันเส้นหมื่น​เส้น​ทั่วในประเทศ​ เพื่อ​ประชาชน​ใช้​ บางเส้นทาง​สู่​ชนบท​ คนอาศัย​น้อย​อาจ​ขาดทุน​ แต่​อนาคต​ คนเข้าไป​อยู่​เยอะ​ จะไม่ขาดทุน​ ตอนนี้​กำลังไปตั้งโรงงาน​แถวชนบท​ เพื่อ​คนไปอยู่​เยอะ​ รถไฟ​จะไม่ขาดทุน

  • @phat661
    @phat6612 жыл бұрын

    ตอนนี้เราลงทุนทางคู่สายใหม่แล้ว เดนชัยเชียงรายเชียงของ 326 กม กับขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นคร พนม 355 กม เป็นตัวอย่าง หนังฉายการลงทุนรระบบ รางที่ใหญ่ที่สุดรองจาก รถไฟความเร็วสูงของไทย เลย 55555 ผมว่า การเคลื่อนที่สินค้า กับ ผดส สําคัญ มากๆ และอาจดีกว่ารถไฟลาวจีนที่เป็นทางเดี่ยวเท่านั้นเอง

  • @alexlo7708

    @alexlo7708

    2 жыл бұрын

    ทางเดี่ยว แต่ไฮสปีด ทำให้มันใช้เวลาบนรางน้อย ใช้รางได้คุ้มไง

  • @shevchentle

    @shevchentle

    2 жыл бұрын

    @@alexlo7708 1.ไฮสปีดเทรน ไม่มีใครทำรางเดี่ยว 2.ลาวไม่ใช่ไฮสปีดเทรน

  • @nuch7510

    @nuch7510

    2 жыл бұрын

    @@alexlo7708 โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยเป็นแบบรางคู่

  • @dashic2431
    @dashic24312 жыл бұрын

    คงต้องเพิ่มภาษีนำเข้า พืชผักผลไม้ (ถ้าไม่ติดสัญญาอะไร) และก็เน้นสนับสนุนการแปรรูป พืชผักผลไม้ ของไทยเอง

  • @megacerylelugubris3403

    @megacerylelugubris3403

    2 жыл бұрын

    สัญญาทวิภาคีที่ทำกันไว้

  • @chonlakornsirawattana9970
    @chonlakornsirawattana99702 жыл бұрын

    การทำระบบคมนาคมมันต้องดูมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจ เป็นการหนุนกิจกรรมอื่นๆ การท่องเทียว การพัฒนาที่ดินบริเวณใกล้เคียง ฯลฯ ถ้าจะทำแล้วได้กำไรเป็นไปได้ยาก อย่างรถไฟสายเหนือ ญี่ปุ่นจะใช้ระบบซินคันเซนที่ใช้ในญี่ปุ่นแต่ในญี่ปุ่นเมืองแต่ละเมืองจะใหญ่มากหรือนักท่องเที่ยวเยอะ จะคุ้มในแย่เศรษฐกิจและค่าโดยสารจากนักท่องเที่ยว... แต่ไทยจะเป็นในแง่การพัฒนาพื้นที่รอบๆ เป็นคนละแบบกับญี่ปุ่น เลยศึกษากันหลายปียังไม่ได้สร้างสักที เพราะเป็นการที่ให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุน....เป็นต้น

  • @jirasbunnag7709
    @jirasbunnag77092 жыл бұрын

    คือถ้าคิดจะหากำไรจากการเดินรถ ก็เป็นการคิดแบบ “การรถไฟแห่งประเทศไทย” หรือ รฟท ของญี่ปุ่น บริษัทรถไฟ เค้าจะพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานี สร้าง โรงแรม ห้างสรรพสินค้า เพื่อหารายได้ รถไฟคือ พาหนะนำคน และ ความเจริญเข้าสู่พื้นที่ อันนี้คือ จุดมุ่งหมายของ รถไฟความเร็วสูง กำไรจากการเดินรถมันไม่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าประเทศไหน

  • @tongvongchampa8909
    @tongvongchampa89092 жыл бұрын

    หากจะคิดแค่ 3-40 ปี ไม่มีกำไรแน่นอน แต่ต้องมองระยะยาว มันคือการคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เพราะว่ามันคือโครงส้างด้านคมนาคมขนส่ง ช่วยให้การเดีนทางสดวกสบายรวดเร็ว ช่วยให้ต้นทุนการขนส่งถูกลงและรวดเร็ว ช่วยดืงดูดการลงทุนของต่างชาติ และอีกหลายๆจะตามมา ให้ดูประเทศญี่ปุ่นและจีนเป็นตัวอย่างรถไฟฟ้าช่วยให้เศรษฐกิจเจริญเตีบโต

  • @pcart0092

    @pcart0092

    2 жыл бұрын

    ทั้งจีน ทั้งญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยียังขาดทุนเลย แต่ที่เขาอยู่ได้เพราะใช้วิธีให้รัฐอุดหนุน ดังนั้น จีนกับญี่ปุ่นจึงมุ่งเน้นขายเทคโนโลยี กับรับจ้างผลิตแทน รวมถึงคอยขายอะไหล่ให้ประเทศต่างๆ

  • @akocopra4866
    @akocopra48662 жыл бұрын

    รถไฟความเร็วสูง มันไม่ได้มาแข่งกับเครื่องบิน ถ้า 700-800 กมขึ้นไป เดินทางโดยเครื่องบิน แต่ระดับ 600 กม ลงมาใช้รถไฟความเร็วสูง แทนรถยนต์ส่วนตัวรถโดยสาร เข่น นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำปาง /สายอีสาน นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เป็นต้น ไม่ใช่เจริญแค่เมืองเดียวที่เครื่องบินลง ถึงสถานีมีน้อยหรือไม่จอดทุกจังหวัด แต่ทุกสถานีก็มีทางคู่ รับช่วงผู้โดยสารเดินทางต่อ เปรียบเทียบ 600-800 กม เครื่องบิน 200-600 กม รถไฟความเร็วสูง 0-200 กม รถยนต์ เป็นระยะทางที่เหมาะสม /สำหรับทางคู่สามารถ ขนส่งสินค้าเข้าใกล้จุดแล้วต่อด้วยรถบรรทุกEV ไม่จำเป็นต้องใช้แบตารี่ใหญ่ เพราะวิ่งในระยะทางสั้นๆ การนำเข้าน้ำมันเพื่อการขนส่งก็น้อยลง

  • @user-mu1dz4sp9z
    @user-mu1dz4sp9z2 жыл бұрын

    ขนส่งสาธารณะถ้าคิดถึงกำไรขาดทุนที่เป็นเม็ดเงินคงไม่ต้องทำเพราะอย่างไรก็ไม่มีกำไร ถ้าจะมีหรือจุดคุ้มทุนคงใช้เวลา 30-40 ปีครับ

  • @supmango1627
    @supmango16272 жыл бұрын

    ผมเคยออกความเห็นเรื่องการฟังจับใจความยาก คลิปนี้ดีขึ้นครับ มีข้อเสนอแนะ อีกอย่างครับ ถ้าทำซับ น่าจะเพิ่มการสื่อสารความเข้าใจได้มากขึ้น (ผมก็ไม่แน่ใจนะว่าใช้คำถูกรึเปล่า บางเจ้าเค้าไม่ได้ลอกจากคำพูดเป๊ะๆ แต่มันดูดี และเข้าใจมากขึ้น เช่นพวกรายการของเวิร์คพอยท์ (เดอะวอล))

  • @user-oq7dq9gj4o
    @user-oq7dq9gj4o2 жыл бұрын

    ญี่ปุ่นใช้เวลา 50 ปีเต็มกว่ารถไฟชินกันเซ็นถึงจะถึงจุดคุ้มทุน หมายความว่าบริษัท Japan Railway (JR) ต้องแบกรับภาระขาดทุนถึง 50 ปี โดยรัฐบาลญี่ปุ่นsupportให้ (รายได้หลักมาจากค่าโดยสาร 70% ส่วนอีก 30% มาจากรายได้อื่นเช่นค่าพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ค่าเช่าที่ ค่าโฆษณา) โครงการรถไฟความเร็วสูงขาดทุนแน่ปัญหาคือขาดทุนมากแค่ไหน รัฐบาลจะอุ้มไหวไหมและอุ้มได้นานเท่าไหร่

  • @TheChantimapat1
    @TheChantimapat12 жыл бұрын

    มันดึงดูดนักลงทุน​ส่วนหนึ่ง ถ้าเราไม่มี​ แต่คนอื่นมี​เขาก็ไปลงทุนที่อื่น​

  • @user-my8qe5xj9u
    @user-my8qe5xj9u2 жыл бұрын

    เอ แล้วโครงสร้างพื้นฐานกิจการรถไฟที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกนี้มีประเทศใดเขาสร้างขึ้นมามุ่งหวังกำไรบ้าง ถ้าไม่ใช่เพื่อให้คนในประเทศได้ใช้บริการติดต่อถึงกันได้ทำธุระกิจ,ส่งสินค้าทำมาหากิน และเปนการกระจายความเจริญให้ขยายตัวออกไปไม่กระจุกตัวเฉพาะในเขตเมืองที่มีการขนส่งดีอยู่แล้ว และยังช่วยให้เกิดการพัฒนาพท.ดินสองทั้งฝั่งตามไปด้วย กิจการรถไฟอย่างนี้จึงต้องมีให้ทั่วถึงเพราะได้เปรียบในเรื่องการขนส่งขนคนขนสินค้าได้มากกว่ารถยนต์ในพท.เท่าๆกัน และการลงทุนมหาศาลจากรัฐแบบนี้ยังเปนตัวช่วยฉุดให้เศรษฐกิจของประเทศด้วยรวมดีขึ้นด้วยการจ้างงานครั้งมโหฬาร เปนการอัดฉีดเงินไปกระตุ้นโดยตรงและโครงสร้างพื้นฐานเช่นนี้ก็คงอยู่ใช้งานไปได้นับร้อยปีขึ้นไป ยิ่งเชื่อต่อกับต่างชาติเปนโครงข่ายนานาชาติก็จะยิ่งทำให้ขนสินค้าในประเทศเปนไปได้อย่างรวดเร็วและราคาถูกลงอีกด้วย แม้แต่บีทีเอสที่ลงทุนเองทั้งหมดเพราะรัฐบาลไม่สนใจเกือบถึงขั้นล้มละลาย เพิ่งจะลืมตาอ้าปากและทำให้รัฐบาลตระหนักได้ว่าสมควรมีจริงๆและจำเปนทั้งในวันนี้และเพื่อลูกหลานในวันหน้าอีกด้วย

  • @user-iz2is1qp5s
    @user-iz2is1qp5s2 жыл бұрын

    ไม่ได้ทำเพื่อเอากำไร ทำเพื่อประชาชนครับ การรถไฟแห่งประเทศไทยก็ขาดทุนมาทุกปี ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยก็เหมือนกัน ขนส่งมวลชนกรุงเทพฯก็เหมือนกัน

  • @taiisan5669
    @taiisan56695 ай бұрын

    รถไฟฟ้าความเร็วสูงมีประโยชน์แน่นอน เพราะสามารถกระจายทั้งคนและทั้งสินค้าไปทุกภูมิภาค ทำให้เกิดการการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่หลายประการ 1. สังคมไทยเข้าสู่ สังคมสูงวัยเราต้องพึ่งแรงงานจากลาวบางส่วนในนาคต 2. GDP ภาคอีสานอยู่ในอันดับ2ของประเทศรองจากภาตะวันออก ถ้าไม่นับรวมกรุงเทพ และประชากรเยอะ 3. พื้นที่เยอะแถมเป็นพื้นที่ราบ สามารถลุงทุนและทำโครงการใหญ่ๆได้ เหตุผลเหล่านี้ส่งผลต่ออุปทานในการลงทุนอสังหาเพิ่มมากขึ้น และจะมีการจ้างงานมากขึ้น รวมไปถึงการท่องเที่ยวทางโซนอีสานจะเพิ่มมากขึ้น

  • @preecha2959
    @preecha29592 жыл бұрын

    เวลาเป็นหนี้จีน โวยวาย เป็นหนี้ ยุโรป ตบมือรัวๆ

  • @rickfreunde5957

    @rickfreunde5957

    2 жыл бұрын

    คุณดูเงื่อนไขการกู้ด้วยหรือเปล่า หรืออะไรเป็นเงินก็เอาหมด

  • @worachetkamthip6427
    @worachetkamthip642720 күн бұрын

    เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศ เราต้องก้าวให้ทันโลกครับ อย่ามัวคิดเรื่องกำไรขาดทุน มองดูในอนาคตครับ ประชาชนได้ประโยชน์ แรกๆอาจจะยังไม่ได้ พอถึงเวลาตรงนั้น อาจจะเป็นผลกำไรกลับคืนมา

  • @user-em4lo2fc8j
    @user-em4lo2fc8j2 жыл бұрын

    คุณ Kim sharp มากค่ะ ขอบคุณที่รัก เมืองไทย ไม่ เห็นแก่ตัว เก่งรอบด้านเลยค่ะ

  • @Dead-Unknown-Anunnaki
    @Dead-Unknown-Anunnaki2 жыл бұрын

    จากการคำนวณด้วย Ai โดยใช้ข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลและปัญหาต่างๆรอบด้าน คำตอบที่ Ai ประมวลผล คือ -. คุ้มค่าอย่างมหาศาล ถ้าสร้างเสร็จเต็มระบบ 100% (เส้นทางทุกเส้น ทุกประเทศ เชื่อมโยงทุกสาย ตามที่ออกแบบไว้) -. ตราบใดที่ยังสร้างไม่เสร็จเต็มระบบที่ได้ออกแบบไว้ ย่อมขาดทุนอยู่ตลอดเวลา การขาดทุนจะน้อยลงอยู่ที่การสร้างกี่ %. ยิ่งสร้างเสร็จมากเท่าไหร่ยิ่งขาดทุนน้อยเท่านั้น และ ถ้าสร้างเสร็จตั้งแต่ 70% การขาดทุนเป็นศูนย์ทันที (30%ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หมายถึงประเทศที่ยังสร้างไม่เสร็จ และ ยังไม่เชื่อมต่อกัน) สรุป. ถ้าระบบเส้นทางสายไหม สร้างเสร็จสมบูรณ์ เชื่อมโยงกันครบวงจร ทุกประเทศที่ช่วยกันสร้าง คุ้มค่าและได้ประโยชน์กันทุกประเทศที่ร่วมกันทำ ประโยชน์ที่สุดยอดที่สุดคือ “มีรายได้ที่มั่นคงถาวร”

  • @kanopngarmji166
    @kanopngarmji1662 жыл бұрын

    หากกู้มาแล้ว มีการบริหารเงินได้ ก็"ไม่ติดกับดักหนี้" แต่หากกู้มาแล้วเจอสถานการณ์ เช่น มีการปั่นค่าเงิน นั่นแหละคือติดกับดักหนี้ เพื่อเอากำไรในค่าของเงิน ซึ่งไม่เกียวกับการลงทุนในธุรกิจนั้น การบริหารค่าเงิน มีความสำคัญมาก ในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ประเทศที่่อ่อนในเรืองนี้ อย่างไทยในปี 2540 ถูกโจมตีค่าเงิน ทำให้ไทยต้องติดกับดักหนี้ ไม่ต่างจากที่ ศรีลังกา หรือ ลาวเจอ อย่าลืมว่า กับดักหนี้เกิดมาจาก การผูกค่าเงินกับทุนสำรองเงินดอลลาร์ ทำให้เห็นว่า #เงินดอลลาร์นั้นแหละที่สร้างกับดักหนี้😔

  • @anastasiayusupov7931
    @anastasiayusupov79312 жыл бұрын

    เห็นได้ยินว่า รถไฟฟ้าความเร็วสูง เกือบทั้งหมดขาดทุนแม้แต่ญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้าความเร็วสูงแห่งแรกของโลก เว้น อิตาลี ที่ทางซีพี เชิญมาน่าจะเป็นที่ปรึกษาค่ะ แต่จะต้องใช้การพัฒนาที่ดินควบคู่ไปด้วยถึงจะมีกำไรค่ะ และแน่นอนค่ะ ของฟรี ไม่มีในโลก แต่ไทยยังโชคดีนะคะ ที่รัชกาลที่ 5 ทรงจัดหาที่ดินให้การรถไฟไว้แล้ว เอาจริง ทางรถไฟไปทั่วนี่มาก่อนถนนอีกค่ะ เพียงแต่ ถนนที่มาทีหลังมาแรงและเร็วกว่า การสร้างถนนเอาจริง ทำให้ราคาที่ดินข้างทางคือ พุ่งขึ้นทันทีทั้งเส้น แต่ทางรถไฟ จะดีแต่แค่ตรงสถานีเท่านั้น สายทาง ไม่มีผลอะไรใด ๆ ฝ่ายการเมืองเลยไม่ค่อยชอบค่ะ (ซึ่งมองในแง่ดี ถนนไปถึงไหน หัวไร่ปลายนาก็สามารถขนสินค้าขึ้นถนนได้เลย)

  • @supperjack8
    @supperjack82 жыл бұрын

    ทำรถไฟมันขาดทุนอยู่แล้วแต่ที่จะได้กำไรคือการพัฒนาสองข้างทางรถไฟเป็นอสังหา

  • @aasstama6729
    @aasstama67292 жыл бұрын

    จีนสร้างรถไฟความเร็วสูง เขาทำแล้วขาดทุนเพราะสร้างทางรถไฟให้ครอบคลุมทั่วประเทศ แล้วก็คงจะกะให้มีระยะทางรวมยาวที่สุดในโลกแบบอีกนานกว่าจะมีคนทำลายได้ ก็เล่นสร้างทางรถไปความเร็วสูงยาวหลายหมื่นกม.ในระยะแรกอาจจะขาดทุน แต่เนื่องจากมีประชากรเยอะที่สุดในโลก ระยะยาวคุ้มค่าแน่นอน ส่วนไทยเพิ่งเริ่มจึงสร้างเน้นจังหวัดสำคัญๆก่อน ระยะยาวก็ต้องขยายเส้นทางมากขื้น และเชื่อว่าจะคุ้มค่าแน่นอนครับ

  • @user-zl6uv9su7n
    @user-zl6uv9su7n2 жыл бұрын

    ถ้ามองแค่ได้กำไร หรือขาดทุน มันคงจะเป็น อุปสรรค ต่อการพัฒนา ถ้ามองยาวๆใช้ได้ ชั่วโคตรถึงลูกถึงหลาน มันดีแน่ อยู่ที่ว่าการบริหาร จัดการมันต้องเป็นมืออาชีพ

  • @suwannavongnim53.112
    @suwannavongnim53.1122 жыл бұрын

    นี่คุณน้องการลงทุนต้องใช้เวลาคะ ไม่ใช่เปิดทำการแล้วจะได้กำไรเลยคะ และต้องมีการวางระบบป้องกันการโกงกินของข้าราชการให้ดีด้วยไม่งั้นจะขาดทุน เรื่องการวางระบบบัญชีด้านการเงินสำคัญมาก เพราะถ้าวางระบบดีโอกาสโกงกินยาก แต่ถ้าวางระบบหลวมจะเปิดโอกาสให้ข้าราชการทุจริตได้ เพราะฉะนั้นมีหลายปัจจัย จีนคงต้องค่อยๆศึกษา ไทยทำโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อการส่งออกคะ ควบคุมบัญชีการเงินดีๆ ไม่ขาดทุนหรอก จริงๆแล้วรัฐบาลน่าจะมีการจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีมาวางระบบนะคะ เวลาเปิดทำการรถไฟความเร็วสูง เพื่อป้องกันการทุจริต555

  • @wisith5061
    @wisith50612 жыл бұрын

    ถ้ามั่วแต่คำนึงถึงกับดักหนี้สิน อย่างงุ่นง่าน ก็จะไม่ต้องคิดทำหรือสร้างสรรค์อะไรกันแล้ว แต่โดยแท้จริงแล้ว ประเทศไทยสามารถลงทุนสร้างเองได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินกู้จากต่างชาติ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วยกันมองด้านบวกเถิด - ชาวไทยได้เรียนรู้เทคโนโลยี่ใหม่ๆรอบด้าน ถ้าไม่สร้างธุระกิจใหม่ๆแล้วจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้อย่างไร - การสร้างงานให้ประชากรไทยมีงานทำ คือหัวใจของการพัฒนาประเทศ - ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงและพัฒนาสู่นโยบาย 4.0 พึ่งตนเองได้และต่อยอดผลิตเพื่อการส่งออก - ช่วยส่งเสริมสนับสนุน การท่องเที่ยวประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าเป็นหน้าตาของประเทศศิวิไลย์ - สนับสนุนการเป็น Hub ด้าน Logistics ของภูมิภาคอาเชี่ยน - ประมวลแล้วโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสามารถสร้างกำไรให้กับประเทศคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งที่เห็นเป็นตัวเงินและไม่เห็นเป็นตัวเงิน

  • @naikomviriya8517
    @naikomviriya85172 жыл бұрын

    ความเห็นผมนะ สายสามสนามบินอาจจะคุ้มแต่สายอึ่นนั้นอย่าคิดเลย แค่รถไฟทางคู่ก็น่าจะพอ ญี่ปุ่นทำได้เพราะรายได้ต่อหัวสูง อย่างนั่งชินกันเซ็นมาทำงานที่โตเกียวนะทำได้ ส่วนไทยรถไฟฟ้าธรรมดาค่าโดยสารยังแพงมากเกือบทุกสาย

  • @idontregretwhatidid5448
    @idontregretwhatidid54482 жыл бұрын

    น่าสน ติดดูแล้วมันน่าคุ้มนะ ไทยเราทำรถไฟแค่สุดเขตเราทุกภาคเชื่อมต่อกันหมดในประเทศ ไทยเรามีสถานที่ตั้งดี เพราะมีเขตแดนติดต่อเพื่อนบ้านหลายประเทศ ใครมาจากลาว เขมร พม่า เวียตนาม จีน จะไปมาเลย์ก็ผ่านไทย ..มาเลย์ อินโด ฟิลิปปินส์..ฯลฯ จะไปลาว เขมร ไปจีนก็ต้องผ่านไทยไปมากันอีกนั่นแหละ ..ไทยเราส่งแค่ชายแดน ที่เหลือก็ต่อรถไฟจากปท.เพื่อนบ้านไปกันเองก็แล้วกัน ..นี่กำลังคิดว่าถ้ามีรถไฟจริงก็น่าจะได้ขนคนมากกว่าขนสินค้าเสียอีกค่ะ

  • @Cattalog
    @CattalogАй бұрын

    ประเทศที่เติบโตได้ ต้องเจออุปสรรคครับ ไทยมีการท่องเที่ยวที่ดีเอามากๆ รถไฟความเร็วสูง อาจจะไม่ขาดทุน และอาจจะกำไรมาก

  • @missterlecome8368
    @missterlecome83682 жыл бұрын

    ถ้าพูดถึงเอาแค่สร้างเสร็จแล้วปล่อยให้เศรษฐกิจเติบโตแบบไร้ทิศทางเองก็น่าจะใช้เวลาราว30ปีถึงคุ้ม ขึ้นกับปริมาณคนใช้ด้วยถ้าน้อยกว่าคาดมากๆเวลาความคุ้มก็ยืดออกไปอีกเช่นถึง50ปี ปัญหาใหญ่คือโลจิสติคส์ไทยเสียเปรียบต้นทุนสูงต้นๆของโลก ถ้าสร้างเสร็จแล้วต้อวมีเพิ่มความรับผิดชอบในการผลักดันการใช้งานเยอะๆด้วยมันน่าจะเห็นอนาคตดีกว่าไม่ใช่แค่สร้างเสร็จแล้วก็ทิ้ง...

  • @IS-yg1ck
    @IS-yg1ck2 жыл бұрын

    พูดกันตรงๆ โครงการนี้แม้จะเป็นประโยชน์ต่อไทยและภูมิภาค ทั้งในการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วชาติที่ได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือจีนนั่นแหละ เพราะช่วยให้จีนใช้ประเทศไทยเป็นทางออกไปสู่มหาสมุทรอินเดียและผ่านไปทางอ่าวไทยได้รวดเร็วขึ้น และช่วยลดต้นทุนให้กับจีนอย่างมหาศาล

  • @before3594
    @before35942 жыл бұрын

    ราคา ตั๋วรถไฟที่จีน ถูกที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟ หลายสาย หลายพันหลายหมื่นเส้นทางทั่วประเทศ เยอะแยะไปหมด เขาสร้างทางรถไฟ เพื่อประชาชนเดินทางสะดวก ไปถึงทุกแจทุกมุม ทุกเขตชนบท ไปมาง่าย สร้างทางรถไฟดีๆไว้ก่อน(กำไรยังไม่อยากคิดตอนนี้)เพื่อให้คนในเมืองทยอใช้รถไฟไปอาศัยอยู่ชนบทที่มีโรงงาน ในเมืองแออัด และเพื่ออนาคตของประชาชนใช้ทางรถไฟไปมาหาสู่ให้สะดวกสบายไว้ก่อน

  • @37best
    @37best2 жыл бұрын

    เรื่อง รฟส มันเป็นการบริหารกึ๋นครับว่าใครเก็บเกี่ยวได้มากที่สุด การสร้าง รฟส นั้นต้องมีการบริหารทั้งด้านพื้นที่ข้างราง ในสถานีจนกระทั้งบนอากาศ ให้ดูญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างครับ แต่ถ้าอัดเม็ดเงินอย่างเดียวเหมือนที่ลาวทำมีแต่เจ๊งอย่างเดียวไม่ใช่ขาดทุน ลาวไม่มีโครงสร้างพื้นฐานหลายอย่างรองรับ เป็นได้แค่ทางผ่าน

  • @chaiyasasitronaree2448
    @chaiyasasitronaree2448 Жыл бұрын

    คนจนเมืองไทย 70% ค่าโดยสารความเร็วสูง แพงสำหรับคนไทยทั่วไป ผมเคยนั่งรถไฟความเร็วสูง ที่จีน วิ่ง เกือบ 300 กิโล แค่เร็ว แต่ไม่เห็นวิว ข้างทาง ผมชอบรถไฟวิ่ง ความเร็วปางกลาง นั่งชมวิว

  • @animeplayers1280
    @animeplayers12802 жыл бұрын

    ถามหน่อย สิ้นค้าจีนเข้าไทยได้ สิ้นค้าไทยเข้าจีนไม่ได้ แม่ค้า เกรษกร ตายเลยขายของไม่ได้ แล้วจะแก้ปัญหายังไง

  • @Me-qz2lw
    @Me-qz2lw2 жыл бұрын

    ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมค่ะ นายกไทยขาดการประชาสัมพันธ์ ควรบอกให้ประชาชนทราบด้วยค่ะ

  • @user-sz4pw6bd8y
    @user-sz4pw6bd8y2 жыл бұрын

    คุนหมายถึงศรีลังกาล้มสลายเพราะกฟุ้เงินจีนหรือครับ เราซื้อรถยนต์คันละล้านไว้ใช้ กำไรไหมคับ

  • @rodmad6073
    @rodmad60732 жыл бұрын

    ไม่มีใครเก่ง ไม่มีใครอ่อนหรอก ไทยก็เก่งอย่างหนึ่ง จีนก็เก่งอย่างหนึ่ง จะมีใครเก่งได้ทุกอย่างกัน อย่าไปกลัวการเปลี่ยนแปลง ยอมรับ และปรับตัวซะ

  • @thaweewitkhlongcherngpuen1830

    @thaweewitkhlongcherngpuen1830

    2 жыл бұрын

    +1

  • @run1511

    @run1511

    Жыл бұрын

    อย่าประมาท ดูสีหนุวิลลล์เป็นตัวอย่าง จีนมาแบบฝูงเอเลี่ยนน แล้วจากไปแบบซากปรักหักพังพินาศ

  • @vanhelsing3405
    @vanhelsing34052 жыл бұрын

    อะไรกัน คนแน่นทุกขบวน....ช่วงสร้างใหม่ๆ ก็ขาดทุนเป็นธรรมดา กำไรจะมาหลังจาก 5 ปี ไปแล้วนะ......

  • @chatree-6690
    @chatree-66902 жыл бұрын

    รู้สึกว่า เจ้าของช่องต้องหาข้อมูลและความรู้ เพื่อมาทำคอนเทนที่ให้ข้อมูลรายละเอียด ข้อเท็จจริงอีกเยอะมาก หวังว่าการทำคอนเทนจะให้จ้อมูลเท็จจริงที่ดีที่สุดสำหรับผู้เสพสื่อ อย่างเราๆ

  • @KKKK-rn9hq

    @KKKK-rn9hq

    2 жыл бұрын

    รบกวนคุณช่วยเสริมหน่อยครับ ข้อมูลตรงไหนที่เขาต้องหาเพิ่ม คนผ่านมาอ่านจะได้รู้ด้วยครับ

  • @Me-qz2lw

    @Me-qz2lw

    2 жыл бұрын

    คุณรู้มาก แล้วคุณมีช่องมั้ยคะ มีผู้ติดตามกี่คนคะ ขอลิ้งก์ด้วยค่ะ จะได้ไปตาม

  • @beautydisk3342
    @beautydisk33422 жыл бұрын

    คุณคิมไม่รู้หรือครับ ว่าโครงการที่ต้องการสร้างความเจริญให้กับประเทศอย่างก้าวกระโดด รัฐบาลทุกประเทศต้องรับการขาดทุนเพื่อเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและความรวดเร็วในการพัฒนาประเทศ ทุกประเทศทั่วโลกก็เป็นแบบนี้ การเป็นหนี้แต่ก่อให้เกิดโอกาสและความก้าวหน้าเป็นสิ่งที่สมควรทำ แต่ถ้ากการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออนาคตของประเทศก็ควรหลีเลี่ยง ผมทำนายไว้เลยว่าอีกไม่นานทั้งเวียดนาม กัมพูชา และลาวจะเจริญเท่าเทียมกับไทยเพราะรถไฟฟ้านี่แหละ ถ้าลาวคิดแบบเดิมคือกลัวเป็นหนี้แล้วไม่คิดจะสร้างความเจริญให้ประเทศเลย คงอีกนยานที่จะตามไทยได้ทัน คำว่า"กับดักหนี้" ต้องใช้กับประเทศที่กู้มาแล้วประเทศไม่ได้พัฒนาเลย แต่ถ้ากู้มาแล้วสร้างโอกาสและความสามารถทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต้องเรียกว่า หนี้ที่ก่อให้เกิดความเจริญครับ

  • @user-zs6sm3of4q

    @user-zs6sm3of4q

    2 жыл бұрын

    เขารู้ครับแต่แนวความคิดเขาจะเอียงไปทางอำนาจเก่า

  • @user-gg4uj9cf7l

    @user-gg4uj9cf7l

    2 жыл бұрын

    คุณรู้มั้ยว่า ลาวและหลายประเทศที่กู้จีนมาลงทุน กำลังปวดหัวกับหนี้อย่างหนักหน่วง ไม่รู้ว่าจะรอดจากหนี้อย่างไร แต่ที่พูดไม่ได้หมายไม่เห็นด้วยกับการสร้าง แต่เราสร้างที่กำลังเราไหว ที่กำลังทำอยู่ก็ดีแล้วครับ

  • @user-zs6sm3of4q

    @user-zs6sm3of4q

    2 жыл бұрын

    @@user-gg4uj9cf7l มันไม่เกี่ยวว่าจะกู้ใคร ไม่ว่าจีน หรือ IMF มันขึ้นอยู่ที่ว่ามีปัญญาใช้หนี้เขาหรือไม่ ก็เหมือนเราไปกู้ไฟแนซ์ซื้อรถ เมื่อไม่มีปัญญาส่ง เพราะไม่ประมาณตัวเอง แล้วไปโทษไฟแนนซ์ที่ให้กู้หรือ ทำไมไม่โทษตัวเอง

  • @user-gg4uj9cf7l

    @user-gg4uj9cf7l

    2 жыл бұрын

    @@user-zs6sm3of4q ใช่เลย คิดทางเดียวกัน เราควรประมาณตน นี่แหละสำคัญเลยครับ

  • @user-zs6sm3of4q

    @user-zs6sm3of4q

    2 жыл бұрын

    @@user-gg4uj9cf7l ครับ

  • @user-wk3jy1rk9d
    @user-wk3jy1rk9d2 жыл бұрын

    ขาดทุคือกำไร คุณพูดเอวในคลิปว่า :รถไฟขาด ทุน แต่ อย่างสร้างโอกาสให้อย่างอื่นมีโอกาสเจริญ และ ทำกำไรได้ เช่น อสังหา ฯลฯ

  • @rnuir
    @rnuir2 жыл бұрын

    แล้วแต่ประเทศด้วย ประเทศที่อีกหน่อยเป็นhubการท่องเที่ยวอย่างประเทศไทยจะดึงดูดจำนวนคนให้เพิ่มมากขึ้นเอง ถ้าเทียบกันแล้ว ลักษณะภูมิประเทศแบบไทยไม่เล็กไม่ใหญ่ไปและโครงข่ายที่เรียกได้ว่าขนาดใหญ่คลอบคลุมมีแต่ที่เดียวในโลก ใหญ่ไปแบบจีนสหรัฐก็ไม่ค่อยเชื่อมกับใครได้และครอบคลุมน้อย เล็กไปแบบสิงค์โปรถึงครอบคลุมแต่ก็ไม่หลากหลาย โครงข่ายเรามีทั้งพม่าลาวมาเลเซียเวียดนามสิงค์โปรจีนและสามารถเชื่อมไปยังมองโกลเลียรัสเซียยุโรปเกิดเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ที่มีไทยอยู่ท่ามกลางความสดใหม่ของแหล่งท่องเที่ยวที่ยังมีอนาคตได้อีกไกล เราเองก็ควรทำจุดเด่นทางแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นให้มากกว่านี้เช่น สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม เราถึงจะได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานของเราอย่างเต็มที่ ถ้าจะวัดรายได้ของระบบรถไฟความเร็วสูงมันอาจจะดูไม่คุ้มแต่ถ้ารายได้ทางอ้อมที่จะได้นั้นคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

  • @jeepwinly2851
    @jeepwinly28512 жыл бұрын

    มีรถไฟฟ้า หรือ รถไฟความเร็วสูง การนำเข้าน้ำมันลดลง การส่งออกสินค้าเกษตรทางรางไปทางยุโรปผ่านจีนทำได้เร็วขึ้นกว่าทางเรือ และประหยัดขึ้น ฯ

  • @user-ww6hx9fg1u
    @user-ww6hx9fg1u2 жыл бұрын

    ระยะยาวคุ้มอยู่แล้วครับ ถ้าไม่ทำตอนนี้สิมันจะแพงในอนาคต ประเทศไทยมีการขนผลผลิตทางการเกษตรและที่สำคัญคือการขนคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

  • @user-wd5tl7uj5l
    @user-wd5tl7uj5l2 жыл бұрын

    ระยะยาวคุ้มแน่นอน ต้องมองการณ์ไกลครับผม จีนขาดทุนเพราะสร้างเยอะไปใช้ทุนมหาศาลงทุนต่างประเทศด้วย

  • @user-gw8gq3jn5f
    @user-gw8gq3jn5f2 жыл бұрын

    หรือที่ผ่านมา คือ​ กับดักรถยนต์​ส่วนตัว

  • @user-bd9lj1rk3t
    @user-bd9lj1rk3t2 жыл бұрын

    อย่าหลงคารมจีนเลย จีนมันรู้ระบบการเมืองเรา จ่ายจบ ผ่านสบายๆ อย่าลืมว่าแค่ไม่มีเส้นทางรถไฟ เราก็ขาดดุลการค้ากับมันมาก แค่ของไปด่านจีน ก็โดนกักตรวจโน้นตรวจนี้ พอของมันมาไทยผ่านสบาย ๆ ฝากไว้ให้คิด คบกับจีนต้องฉลาด และต้องคำนึงถึง ภาพรวมภายในประเทศด้วยที่ ปชช. ได้รับผลประโยชน์จากตรงนี้ ไม่ใช้กระจุกอยู่ไม่กี่กลุ่มน่ะจ๊ะ

  • @somkiatiamsri2654
    @somkiatiamsri26542 жыл бұрын

    ขอถามหน่อยครับว่า ราคาตั๋วรถไฟความเร็วสูง (สมมุติว่าไทยมี) กรุงเทพ-เชียงใหม่ ราคาเท่าไหร่ครับ / ราคาตั๋วเครื่องบิน กรุงเทพ-เชียงใหม่ เท่าไหร่ครับ / รถไฟความเร็วสูง ใช้เวลาเดินทางกี่ชั่วโมงครับ - เครื่องบิน ใช้เวลาเดินทางกี่ชั่วโมงครับ? ซึ่งความคิดส่วนตัวผม ผมเลือกใช้บริการเครื่องบินครับ หรือจะเดินทางไปเที่ยว ลาว เดินทางไปเที่ยว จีน ยังไงผมก็เลือกใช้บริการของเครื่องบินอยู่ดีครับ. ในความคิดของผม รถไฟความเร็วสูงที่กำลังสร้างกันอยู่นี่ จีนได้ประโยชน์มากที่สุด โดย สินค้าจีนจะหลั่งไหลมาเป็นจำนวนมหาศาล (สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ) ส่วนตัวแล้ว อยากให้จีนลงทุนสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเองจะดีกว่า โดยไทยจะเก็บค่าเช่าในการใช้พื้นที่จะดีกว่า

  • @topmann59
    @topmann592 жыл бұрын

    คุณรุ้มั้ยว่าความเร้วสุงสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประสิทธิภาพทั้งมวลของชาติดีขึ้นมาก ไปจีนทริปธุรกิจ 300+300+300+300กม.ภายในไม่ถึงวัน 300 กม.ประมาณไม่ถึงชม.ถามหน่อยถ้าเมืองไทยคุณได้กี่งาน ขับรถออกงานเจอด่านตร.2-3ด่านแทบจะหมดวัน เคยเจอจริง เซลคนเดียวเช้าประชุมระยอง บ่ายประชุมบางสะพาน ถ้าขับรถต้อง 2_3วัน นี่คือประสพการณ์จริงทั้งในจีนและไทย

  • @nnnn-nn3io
    @nnnn-nn3io2 жыл бұрын

    สำหรับความคิดส่วนตัวผม เราวางตัวกับจีนแบบนี้ดีแล้วครับ

  • @yoonppp2837
    @yoonppp28372 жыл бұрын

    ระยะเวลา เชียงใหม่-กรุงเทพ เครื่องบิน 1 ชม. รถไฟความเร็วสูง 3 ชม. ราคาตั๋ว น่าจะพอๆกัน ผมว่าคนไทยส่วนใหญ่น่าจะใช้เครื่องบินมากกว่า

  • @wantaneenetbut5511

    @wantaneenetbut5511

    2 жыл бұрын

    รถไฟ ไฟฟ้า จุคนได้มากกว่า หลายเท่า

  • @Thanin.p
    @Thanin.p2 жыл бұрын

    ผมสนับสนุนรถไฟความเร็วสูงนะ แต่มีแง่คิดนึงครับ เราเคยได้ดุลการค้าจากจีนด้วยหรือครับ 😂 จะกลายเป็นลงทุนเพื่อให้ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นน่ะสิ ไปทำรถไฟความเร็วสูงที่สนับสนุนแหล่งที่มารายได้เราดีกว่าไหม

  • @user-ru6op4sq3j

    @user-ru6op4sq3j

    2 жыл бұрын

    เราค้า-ขายกับจีนมาเป็นร้อยๆปี..ไทยไม่เคยได้เปรียบดุลย์การค้าจีนเลยสักปี..แถมยอดขาดดุลย์ มีแต่จะพุ่งสุงขึ้นทุกปี ยิ่งถ้าทำรถไฟความเร็วสุงเชื่อมกับจีน ประเทศที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด ก็คือจีน ไม่ใช่ไทย เพราะนับวัน คนไทยใช้สินค้าจีนเพิ่มมากขึ้น ตรงกันข้าม จีนสั่งสินค้าจากเราน้อยลงๆ ทุกปี..

  • @user-mt1qx3fb3w

    @user-mt1qx3fb3w

    2 жыл бұрын

    จีนได้ประโยชน์เห้นๆตั้งแต่การสร้างคนงานจีนอะไรของจีนหมดมีแค่ที่ดินที่เป้นของไทยสองข้างฝั่งรถไฟก้ของจีน

  • @tatah5945

    @tatah5945

    2 жыл бұрын

    สำคัญที่สุดคือกับดักหนี้จีน แถมทุกวันนี้นักผูกขาดการค้าขายในไทยก็นั่งอยู่แถวหน้าของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย..

  • @Thanin.p

    @Thanin.p

    2 жыл бұрын

    โอ๊ะเพิ่งฟังคลิปจนจบ คุณคิมได้สรุปไปแล้วว่ามีเคสของลาวขาดดุลยับ

  • @fundeekongsuk7815

    @fundeekongsuk7815

    2 жыл бұрын

    @@user-ru6op4sq3j ทุเรียน ส่งไปขายจีน 8แสนล้านบาท. แซงหน้าส่งออกข้าวแล้ว มะพร้าวน้ำหอม มังคุด ขนุน ส่งไปขายไม่พอขาย มันอยู่ที่พ่อค้า แม่ค้าคนไทยจะเก่งเท่าพ่อค้า แม่ค้าจีนไหม จีนตลาดใหญ่มาก ประชากร 1,400ล้านคน หาโอกาสให้เจอ หาสินค้าที่ประเทศเขาไม่มีไปขายให้เขา ก่อนมีโควิด-19.ต่างชาติมาเที่ยวไทยปีละ 40ล้านคน 10ล้านคนคือคนจีน นำเงินเข้าไทยหลายล้านล้านบาท

  • @supatbaothong6769
    @supatbaothong6769 Жыл бұрын

    หากคำนวนแล้วขาดทุน จะปล่อยให้เป็นอนุเสาวรีย์หรือครับ ผมเห็นควรตัองทำต่อให้คนเราใช้ หากไม่ทำ เราก็ยังใชรถยนต์มากเช่นเดิม

  • @utaibupae3409
    @utaibupae34092 жыл бұрын

    ทำมัยต้องตั้งความหวังเอาไว้สูง ทำมัยถึงไม่คิดว่าสร้างเอาไว้ให้ลูกหลานในอนาคต

  • @user-zs6sm3of4q

    @user-zs6sm3of4q

    2 жыл бұрын

    พวกกากๆมันจะคิดไม่เป็นหรอกครับ จุดคุ้มทุน โอกาสกาพัฒนา มันะเอาวันนี้ พรุ้งนี้กำไรเลย พวกนี้พัฒนายาก

  • @jcjc6715
    @jcjc67152 жыл бұрын

    สมัยนี้ เขาไม่ใช้กำลังทหารยึดกันแล้วครับ เขาใช้วิธีปล่อยเงินกู้ระดับแสนล้าน หรือหลอกให้ร่วมลงทุนร่วมกัน แล้วทำให้ธุรกิจเจ๊งแล้วขอซื้อหุ้นทั้งหมด จนในที่สุด ท่าเรือใน ศรีลังกาถูยึด 2แห่ง (สัญญา 99ปี)...ประเทศในแอฟริกาถูกยึดท่าเรือ 2แห่งไป สองประเทศ โดยจีน...ตอนนี้ลาวก็กำลังถูกบ่วงหนี้เริ่มรัดคอแล้ว และไม่มีทางดิ้นหลุด สุดท้ายรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะถูกจีนยึด....แต่จีนจะไม่ให้ลาวจนตรอก จีนจะให้ลาวไม่ล้มละลาย จีนจะค่อย ผ่อนปรนหนี้สินให้ลาวอยู่ได้ แต่ไม่ล้มละลาย เพราะจีนยังต้องอาศัยลาวเป็นทางผ่านไปหลอกต้มตุ๋น เวียดนากับเขมรต่อ...ส่วนไทย จีนเลิกคิดได้ ...เพราะ..ไทยรวย มีทองคำสำรองระหว่างประเทศ เป็นอันดับ 21 ของโลก จาก 198 ประเทศทั่วโลก...และไทยรู้ทันจีนมานานแล้ว เพราะเศรษฐีไทยเชื้อสายจีน เขียนเตือนไว้เมื่อ40ปีที่แล้ว ว่าให้ระวังจีนยุคใหม่ จะใช้เงินกู้หลอกยึดประเทศ การยึดประเทศ ไม่จำเป๋นต้องครองครอง..แต่ประเทศที่เป็นลูกหนี้ ก็ไม่ต่างจาก ประเทศราช เพียงแต่เครื่องบรรณาการสมัยใหม่ ก็คือ ดอกเบี้ย นั่นเอง

  • @panithansaefung4511
    @panithansaefung45112 жыл бұрын

    ถ้ามีรถไฟความเร็วสูงแล้วค่าใช้จ่ายถูกกว่าเครื่องบินเรท500-800ต่อคน ผมว่าคุ้มนะ เหนือ-กลาง/กลาง-ใต้/กลาง-อิสาน รับรองเวลาคนกลับบ้าน ใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแน่นอน

  • @user-tj8yd7id5b
    @user-tj8yd7id5b2 жыл бұрын

    เห็นเขามีอะไรก็อยากมี โดยไม่มองฐานะหรือความคุ้มค่า

  • @methaasi4097
    @methaasi40972 жыл бұрын

    มันขาดทุนอยู่แล้วจากการประเมิน ดูสาย 3 สนามบินก็ได้ CP คำนวณแล้ว ขาดทุน รัฐก็รู้ เลยต้องแถมที่ดินมักกะสันไปให้ ดังนั้นสาย กรุงเทพ-หนองคาย ขาดทุนแน่นอน แต่คนไทยเห็นรถไฟความเร็วสูงเหมือนของเล่น พอต้องใช้งานจริง จะมีสักกี่คนที่ใช้ เจอคู่แข่ง ทางคู่ ทางด่วน โลว์คอสต์ ต้องวิ่งดูว่าจะขาดทุนปีละเท่าไหร่

  • @tigerstep24

    @tigerstep24

    2 жыл бұрын

    เอกชนสร้างเมืองที่ฉะเชิงเทรารองรับด้วยเขาจึงมองว่าภาพรวมไปไหว รถไฟความเร็วสูงมันต้องพึ่งเมืองใหญ่ที่สัมพันธ์กับระยะทางที่ลงทุนสร้าง

  • @user-dv4nk7kp6m
    @user-dv4nk7kp6m2 жыл бұрын

    ไทยเอ่ยราคาขึ้นรถเท่าไหร่บอกหน่อยค่ารถไฟ ถ้าอยากให้คนใช่เยอะๆก็ราคาถูก แต่ถ้าช่วงขายรถไฟฟ้าก็รถไฟราคาแพงก่อน555

  • @user-wl5tn5fl7f
    @user-wl5tn5fl7f2 жыл бұрын

    ลาวกลัวขาดทุน ไม่พอใช้หนี้จีน จึงใช้วิธีให้จีนเป็นเจ้าของ70% รถไฟลาว ไฟฟ้าลาว แต่ให้จีนเป็นผู้จัดการ อันตรายมากครับ

  • @streetfighter1467

    @streetfighter1467

    2 жыл бұрын

    เอาจริงนะ จีน 70% ลาว 30% ใน 30% ลาวก็กู้จีนอีกที

  • @user-wl5tn5fl7f

    @user-wl5tn5fl7f

    2 жыл бұрын

    @@streetfighter1467 ครับ วิกฤตเศรษฐกิจในลาวทุกวันนี้ก็เจ้า 30% ที่กู้มานี้แหละครับ ^_^ii

  • @nuch7510

    @nuch7510

    2 жыл бұрын

    กำลังจะถูกจีน takeover ประเทศแล้วล่ะ อีกหน่อยทุกคนจะต้องเรียนภาษาจีน น่ากลัวมากขอบอก

  • @fundeekongsuk7815

    @fundeekongsuk7815

    2 жыл бұрын

    อินโดนีเซีย. ก็กู้จีนเหมือนกัน ส่วนไทย ไม่ได้กู้จีน. ออกเงินเอง ไม่ติดกับดักหนี้จีน แถมได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี

  • @jamji1889
    @jamji18892 жыл бұрын

    การเดินทางที่ดีเพื่อประชาชน จะหวังแต่กำไร ก็ไม่ได้ ขาดทุนก็ต้องหารายได้อื่นมาชดเชยครับ

  • @kingcantona1923
    @kingcantona19232 жыл бұрын

    ขึ้นชื่อว่า รถไฟความเร็งสูง ไทยเราควรใช้บริการของ ญี่ปุ่น ไม่ก็ เยอรมัน เพราะคุณภาพสูงและประสิทธิภาพดีกว่าของจีนแน่นอนครับ !! ฝากถึงผู้บริหารด้วย คิดให้ดีๆก่อนจะเซ็นอะไร!

  • @karnsereeparnu5186

    @karnsereeparnu5186

    2 жыл бұрын

    รถไฟจีนดีๆมีมากมายครับ แล้วแต่จะเลือกรุ่นไหน ของที่อื่นดี แต่แพงกว่ามากครับ เรามีทุนไปใช้หรือะเปล่า แล้วเราเลือกระบบใครแล้งต้องเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ ในอนาคตได้ด้วยครับ

  • @cupid_force
    @cupid_force2 жыл бұрын

    ไฮสปีดน่าจะไม่ขาดทุนนะ ถ้าไทยเราดัน ให้สนามบินนานาชายทั้งประเทศ รับนักท่องเที่ยวได้สัก 60 ล้านคนต่อปี นักท่องเที่ยวก็คงใช้กันมัน เหมือนเราไปยุโรปเราก็ย้ายประเทศผ่านรถไฟความเร็วสูง

  • @adiud5225
    @adiud5225 Жыл бұрын

    จีนได้ผลประโยชน์แบบรัวกับประเทศที่สร้างทางรถไฟเชื่อมกัน 1. สินค้าจีนที่ถูกกว่าจะถูกกระจายไปทั่วโลก ตีตลาดสินค้าทุกอย่างในประเทศนั้น จนกระจุยกระจาย 2. จีนได้ผลประโยชน์จากการปล่อยเงินกู้ให้ประเทศที่จะสร้างทางรถไฟ จากดอกเบี้ย บางประเทศไม่สามารถจ่ายดอกได้ก็จ่ายเป็นอย่างอื่นเช่น ให้สิทธิพิเศษต่างๆนาๆแก่คนจีนในประเทศตนเอง ถึงแม้ไทยจะไม่กู้เงินจากจีนก็ตาม ก็ยังได้ไม่คุ้มเสียกับทางเส้นนี้ ถึงแม้จีนจะเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย แต่ไทยก็นำเข้าจากจีนเช่นกัน และจีนคือประเทศที่เราขาดดุลการค้ามากเป็นอันดับหนึ่ง

  • @railwaystory121
    @railwaystory1212 жыл бұрын

    มันคือการคมนาคมขนส่งจากรัฐ อย่าสนใจกำไร ขาดทุน

  • @sunisamututa8089
    @sunisamututa808910 ай бұрын

    อยากทราบก่อนจะได้สร้าง ใครสนับสนุน ใครค้านหรือใครเป็นกลาง ถึงได้สร้างมาค่ะ

  • @archanai5849
    @archanai58492 жыл бұрын

    ขาดทุนคือกำไร ประชาชนได้กำไรการเดินทางสะดวกสะบายค้าขายเจริญรุ่งเรือง ประเทศพัฒนาในองค์รวมก้าวหน้า แม้แต่การรถไฟไทยทุกวันนี้ก็ขาดทุน

  • @RealTimeLove
    @RealTimeLove Жыл бұрын

    โอกาสคุ้มทุนน่าจะประมาณ 100 ปีครับ ได้หน้าแต่ขาด ทุน ศึกษาการลงทุนและกำไร รถไฟพังไป 3 ขบวนทุนยังไม่ได้

  • @jffjgmk33
    @jffjgmk332 жыл бұрын

    ถูกทางแล้วเมื่อเส้นทางเยอะทั้งในและเชื่อมใประเทศเขามาเราไปสะดวกอาเชี่ยนจะเป็นอันหนึ่งเดียวกัน รายรับใช้เทคนิคหรือทางอื่น ปัญหาจะตามมาใว้แก้ทีหลังถ้ามี

  • @WAN-zm9bg
    @WAN-zm9bg2 жыл бұрын

    มันน่าจะดีกว่ารถบัสบ้านเราทุกวันนี้ บ้านเราไม่กว้างเกินไป มีประชาชนเดืนทางอยู่ ไม่ว่าง เป็นเมืองอยู่ จะดีขึ้นไปเหนือก็เร็วขึ้นดีกว่าเครื่องบินอันตราย

  • @user-tn5uw6xg6o
    @user-tn5uw6xg6o2 жыл бұрын

    น้ำมันแพง ภาษีรุถแพง ลดสร้างถนน ทำรุถไฟ 160 กม/ชม ค่าโดยสารและขนส่งถูกก็จะไปได้

  • @muttanayodarcha8209
    @muttanayodarcha82092 жыл бұрын

    ขาดทุนยังไงก็ต้องกลืนเลือดทำไปก่อนค่ะ ยิ่งเริ่มช้า วัสดุ เงินเฟ้อ ก็มีแต่จะทำให้โครงการมันแพงจนทำยากขึ้นเรื่อยๆ และเราว่าไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นความมั่นคง ลองคิดสภาพโลกเกิดเหตุไม่คาดฝัน จนเครื่องบินไม่เวิร์ค เช่น สงคราม หรือถึงจุดที่น้ำมันแพงจนไม่คุ้มบิน หรือใดๆ ณ วันนั้น ระบบรางจะเป็นตัวเชื่อม เป็นพื้นฐานให้ประเทศ

  • @kasem728
    @kasem7282 жыл бұрын

    ผลกำไล ไม่ได้อยู่ที่ตัวรถไฟโดยตรง รถไฟความเร็วสูง ไม่เหมือนของที่ซื้อมาขายไป แล้วทำกำไล แต่อยู่ที่ผลระยะยาวนับ10ปีขึ้นไป ผลดีที่ได้จะมาในรูปแบบมิติอื่นๆมากมาย ยังไงเรื่องขาดทุน ไม่มีแน่นอน

  • @totspolrattanatammawatee3252
    @totspolrattanatammawatee32522 жыл бұрын

    รู้แต่ว่าถ้า ทำตั้งแต รบ ยิ่งลักษณ์ ป่านี้มันคุ้มแน่นอน แต่มาเจอ ประยึด ยึดทุกอย่าง

  • @tigerstep24

    @tigerstep24

    2 жыл бұрын

    ขนาดมาวิเคราะห์ตอนนี้ยังคิดแล้วคิดอีก ญี่ปุ่นยังถอยสายเหนือ สายอีสานก็ทำได้แต่ต้องปั้นโคราชแล้วทำถึงตรงนั้นไปก่อน เพราะไทยมีเมืองใหญ่แค่กรุงเทพ ซึ่งมันต้องมีปลายทางที่คนต้องไปสมดุลกับระยะทางที่จะเพิ่มค่าก่อสร้าง ตามหลักแล้วเมืองใหญ่ต้องมาก่อนรถไฟความเร็วสูง

  • @homeroom9225
    @homeroom92252 жыл бұрын

    รถไฟทางคู่ดีสุดแล้ว ขยายให้ทั่วทั้งประเทศ และใช้งบน้อยกว่ามาก หากมีเงินก็ใช้ระบบหัวจักรไฟฟ้าเหนือราง โดยงบสร้างรถไฟความเร็วสูงสามารถสร้างทางคู่ได้เกือบครอบคลุมทั้งประเทศ แล้วจะสร้างทำไมความเร็วสูงให้เป็นภาระหนี้

  • @streetfighter1467

    @streetfighter1467

    2 жыл бұрын

    ของไทยเราก็สร้าง ทั้งรถไฟทาง​คู่​ และ รถไฟฟ้า​ความเร็ว​สูง​ เอาทั้งสองอย่างไปเลย

  • @bk.7127

    @bk.7127

    2 жыл бұрын

    @@streetfighter1467 ใช่ครับไม่สร้างตอนนี้อีกหน่อยก็สร้างอยู่ดีีกหน่อยใช้งบเยอะกว่านี้อีก

  • @veeravechpluemthanorm2284

    @veeravechpluemthanorm2284

    2 жыл бұрын

    แรกทีเดียวคือข้อแตกต่างทางระบบราง สองคือต้องไปเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างทาง ขอให้มองที่องค์รวม รถไฟความเร็วสูงมีไว้ใช้ในการขนส่ง ค่าใช่จ่ายเท่าทุนก็ถือว่า ยอดเยี่ยมแล้ว ระบบรางคู่ที่สร้างนี้ก็เพื่อขนส่งและโดยสาร เพราะประหยัดที่สุด แต่กำไรนั้นน้อยมากหากใช้ไม่คุ้มทุน นั่นคือต้องทำเวลาที่แน่นอน ปลอดภัย สะอาด และประหยัด จะเชื่อไหมว่าราคาตั๋วชั้น 1-2 สามารถนำไปซื้อตั๋วเครื่องบินทั้ง ราคาธุรกิจ หรือราคาประหยัดได้เลย

  • @homeroom9225

    @homeroom9225

    2 жыл бұрын

    @@streetfighter1467 เงิน????

  • @homeroom9225

    @homeroom9225

    2 жыл бұрын

    @@veeravechpluemthanorm2284 ถ้ารถไฟความเร็วสูงเอาไว้ใช้ขนส่ง(สินค้า) ทำไมไม่สร้างทาง1.435ม. วิ่งที่ความเร็วสูงสุดที่ 160km/h แทนเพื่อประหยัดงบ หรือใช้ระบบเดิม1m. ถ้ากลัวว่าทางคู่เดิมทำเวลาไม่ทัน ในช่วงที่มีการใช้ทางสูงก็ทำเป็นรางที่ 3และ4 เพิ่มเติมขึ้นมา เพราะทางคู่ก็สามารถทำเวลาในการขนส่งสินค้าที่ 120km./hได้ ระบบขนาดรางต่างกันไม่ใช่ปัญหา เพียงแค่ทำท่ารถไฟบกที่หนองคาย เชื่อม1.435 เมตรเข้าไทย หรืออ่อนข้อให้ลาวทำท่าบกที่ลาว ก็หมดปัญหาการส่งถ่ายสินค้า (ถ้าเขาอยากขายของ)ปัญหาแค่นี้ เขาไม่มองว่าเป็นปัญหาหรอกคุณ

  • @hjkuio-px9ns
    @hjkuio-px9ns3 ай бұрын

    ป้องกันการขาดทุน ในรางเดิมต้องไช้หลายระบบ ผู้โดยสารน้อย ก็วิ่งเค่ตู้เดียวไช้พลังงานน้อย ผู้โดยสารมากก็เพิ้มตู้ตามสัดส่วน แม้กระทั้งลากสินค้า ก็ลดตามสัดส่วน

  • @tum7yoo
    @tum7yoo2 жыл бұрын

    ในที่สุดก็พูดความจริงบ้างซักทีว่า จีนมันจะให้เราลงทุนแล้ว หาผลประโยชน์กับเรา มากกว่าที่ เราจะได้ประโยชน์จากจีนนนนนนน ซึ่งไม่มีวัน จีนผลิตได้ทุกอย่างแล้ว สิ่งที่จะจีนได้คือของคุณภาพเท่านั้น ซึ่งเราไม่มีเยอะเท่าไร แล้ววันหนึ่งจีนพัฒนาสิ่งนั้นได้ เราก็จะโดนจีนขายจนต้องขายแผ่นดินใช้หนี้ จนไทยโดนยึดประเทศเท่านั้นแหละ

Келесі