No video

ทำไมโรงน้ำแข็งมีแอมโมเนียรั่ว? จะเป็นลมดมเยี่ยวอูฐ - เล่าเข้มๆ | The Cube Podcast

หยิบกับแกล้มของคุณมาให้พร้อม แล้วมากินคู่ไปกับ #เล่าเข้มๆ
เล่าเข้ม ๆ วันนี้มาในท้องเรื่อง #แอมโมเนีย
Content & Narrator : #เฮียฮก
#Ammonia #เยี่ยวอูฐ #น้ำยาแอร์ #เครื่องทำความเย็น
#thecubepodcast | The Cube Podcast
#sciencedeliverybynsm
ติดตาม the cube podcast ในช่องทางอื่นๆ
linktr.ee/thec...
---------------------------------
ติดต่อรายการ 025779999 ต่อ กองสื่อสารวิทยาศาสตร์
Facebook: NSMThailand
---------------------------------

Пікірлер: 63

  • @usmanmastani
    @usmanmastani3 ай бұрын

    ทำไมผมเพิ่งเจอรายการดีๆแบบนี้ อธิบายได้เข้าใจง่ายมาก ขอบคุณครับ

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับ ติดตามตอนใหม่ๆได้ทุกสัปดาห์ครับ

  • @kangwant9490

    @kangwant9490

    2 ай бұрын

    ใช่เลย อธิบายเข้าใจได้ง่ายดี

  • @user-qp1re5co6v

    @user-qp1re5co6v

    2 ай бұрын

    ​@@NSMThailandผมเข้าใจผิดมาตลอด ในความคิดที่เห็นในแอร์ คือน้ำยาใหลเข้าคอมเพรสเซอร์ แล้วอัดเพิ่มแรงดันจนเกิดความร้อนน้ำยาก็ใหลต่อไปที่คอยร้อน พอน้ำยาเริ่มเย็นลง ก็ไปต่อที่หัวฉีดเพื่อบีบน้ำยาแล้วออกมาในท่อที่ใหญ่กว่าเพื่อลดแรงดันลง จึงเกิดความเย็นในคอยเย็น ขอบคุณที่ช่วยเปลี่ยนความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้น ตกลงเป็นหลักการถ่ายเทความร้อน เหมือนแผ่นเพลเทียนี่เองเข้าใจผิดมานาน

  • @sikarinpaosutor

    @sikarinpaosutor

    2 ай бұрын

    @@user-qp1re5co6v สิ่งที่คุณเข้าใจถูกต้องเเล้วครับ ในคลิปมีข้อมูลที่ผิดอยู่ครับ

  • @ritthome8542
    @ritthome85423 ай бұрын

    ขออธิบายเพิ่มเติม มันสิ่งสำคัญ อยู่ที่ คอมเพรสเซอร์ครับ มันเป็นตัวทำให้น้ำยาเดินทางไปทั้งหมด อันอื่นคือองค์ประกอบ คอมฯ มัน มี 2 หน้าที่ คือ การดูด กับ การอัดแก็ส การทำให้เย็นคือ การดูด น้ำยา ผ่านวาล์วเอ็กแพลนชั่นที่อยู่ก่อนคอยล์เย็น ที่พูดถึงในคลิป ซึ่งมันเป็นเหมือนหัวเข็มฉีดยาครับ (หลักการคล้ายๆเข็มฉีดยาพอเราดึง หลอดผ่านรูเล็กๆอากาศจะขยายตัวและในหลอดจะเย็นลง) พอคอมฯดูด มันจะดูดน้ำยาเหลวเข้ามา ผ่านรูเข็มฉีดยานี้ ทำให้น้ำยามันเกิดการขยายตัว เป็น แก็ส และของเหลว เข้าไปในคอยล์ซึ่งก็จะเย็นลง เราก็เอาพัดลมมาเป่าไปใช้งานในห้อง ทำให้แอร์เย็น หลังจากนั้น มันก็จะระเหยเป็นแก๊สทั้งหมด ผ่านคอมเพรสเซอร์ ไปอัดแก็ส กลับไปในหลอดเข็มฉีดยาอีก ที่อยู่ด้านนึงที่อยู่ด้านนอกห้อง ซึ่งพอเราอัดท่อนี้ก็จะทำให้ร้อนขึ้นมา เราก็ต้องมีพัดลมมาระบายความร้อนออกไป แล้วมันก็จะกลั่นตัวกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง วนกลับไปผ่านเข็มฉีดยา หรือเอ็กแพลนชั่นวาล์วอีกครั้งครับ

  • @user-xo4pv1rk8c
    @user-xo4pv1rk8c2 ай бұрын

    ผมเคยทำงาน ซ่อมสร้างโรงน้ำแข็ง ตอนไปซ่อมระบบท่อแอมโมเนีย เวลาตัดหรือเปลี่ยนท่อ กลิ่นมันกระแทกสมองมาก โดนไปทีหงายหลังเลย และวิธีที่จะเอาชนะกลิ่นแอมโมเนีย คือห้ามสูดดม ให้เอามือบีบจมูก​ หายใจทางปาก แล้ววิ่งหนีเอาครับ เวลาจะถ่ายน้ำยาจะใช้วิธี ต่อท่อถ่ายน้ำยาก้อนหินมัดปลายท่อ จุ่มใส่ถังน้ำ500ลิตร และเปิดวาวล์ถ่ายน้ำยาเบาๆ จนกว่าจะหมด

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    2 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับ น่าสนใจมากครับ แล้วเวลาเติมทำยังไงหรอครับ

  • @user-pb3fs3yi6f
    @user-pb3fs3yi6f2 ай бұрын

    ผมว่าอธิบายผิดในหลักวิทยาศาสตร์นะครับ เกี่ยวกับทำไมคอยเย็นถึงเย็น คอยร้อนถึงร้อน . 1.ที่บอกมันจะเก็บความร้อนรอบ ๆ คอยเย็นแล้วนำไประบายความร้อนด้วยลมด้านนอก ตรงนี้ลองคิดถึงถ้าอุณหภูมิในห้อง 10 องศา แต่คอยร้อนก็ร้อนมากกว่า 40 องศา มันไปเก็บความร้อน 40 องศา มาจากไหน ทั้ง ๆ ที่ในห้อง 10 องศา . 2.ความเย็น ในระบบมันเกิดจากการเปลี่ยนความดันของแก๊สโดยฉับพลัน ยกตัวอย่าง LPG และ CO2 ถ้าเราเปิดวาวแก๊สออกให้สุด แก๊สจะถูกเปลี่ยนแรงดันโดยฉับพลัน แก๊สจะเย็นมาก เอาไปพ้นใส่เหล็ก นี่ เหล็กถูกน้ำแข็งเกาะเลยครับ และที่แก๊สอื่นไม่ถูกนำไปใช้ในระบบทำความเย็นก็เพราะ มันมีความหนาแน่นสูง การจะอัดและเก็บ จะต้องใช้ compressor แรงสูง และท่อส่งจะต้องทนแรงดันได้ด้วย . 3.ส่วนความร้อน อันนี้อธิบายผิดแน่นอน ให้ดูภาพในคลิปนาทีที่ 8:55 ประกอบก็ได้ ความร้อนมันไม่ได้เกิดจากการเก็บมาจากด้านในห้อง แต่มันเกิดขึ้นในขั้นตอนการเพิ่มความดันในระบบของตัว compressor ภาพในคลิป จะเห็นท่อสีแดงที่หมายถึงเส้นทางความร้อนที่เริ่มต้นที่ compressor ไม่ใช่ในห้อง และยกตัวอย่างง่าย ๆ สูบลมกระบอกที่ใช้สูบลมจักรยาน เป็นการเพิ่มแรงดันให้อากาศภายในกระบอกก่อนจะอัดมันเข้าไปในยาง กระบอกสูบลม ร้อนไหมล่ะ ร้อนสิครับ นี่ไงเหตุผล . สรุป เมื่อแก๊สโดนบีบอัดมันจะร้อน และเมื่อโดนปล่อย(เปลี่ยนแรงดันโดยฉับพลัน)มันจะเย็น รบกวนแก้ไขคลิปในช่วงที่อธิบายผิดนะครับ ไม่งั้นผู้ชมจะได้รับความรู้ผิด ๆ ไปครับ.

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    2 ай бұрын

    ขอบคุณทีติดตามรายการ และร่วมพูดคุยกันนะครับ . 1. การเก็บความร้อนที่อธิบาย เกิดจากการเปลี่ยนสถานะ ซึ่งการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นแก๊ส กระบวนการนี้จะมีการดึงความร้อนรอบตัวเข้าไปในตัวน้ำยาแอร์ ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคอล์ยเย็นถึงเย็น และเอาไปทิ้งด้านนอกตอนไหน ก็คือหลังจากคอมเพรสเซอร์ปั๊มให้แก๊สมีแรงดันสูงขึ้น + ความร้อนมากขึ้น (เพื่อเลื่อนจุดเดือด) แล้วเข้าสู่ condenser หรือคอล์ยร้อน อุณหภูมิถูกลดลง (ให้ต่ำกว่าจุดเดือดใหม่) แก๊สแอมโมเนียกลั่นตัวเป็นของเหลวอีกครั้ง กระบวนการนี้จะเกิดการคายความร้อนออกจากตัวน้ำยาแอร์ ความร้อนที่ผมพูดถึงเรื่องดูดเข้าคายออกตอนนี้คือ Latent heat หรือความร้อนแฝงในการเปลี่ยนสถานะครับ ไม่ใช่ตัวอุณหภูมิในห้องหรือภายนอกห้องครับ . 2. ถูกต้องครับ หลังจากถูกลดความดันลงฉับพลัน (จุดเดือดกลับสู่จุดเดิม) สารที่ถูกอัดอยู่ในถังจะขยายตัวและเปลี่ยนสถานะ ดูดความร้อนรอบ ๆ ตัวมันและทำให้อุณหภูมิลดลงแบบที่อธิบายไปในข้อที่ 1. ครับ *หมายเหตุ* มีการใช้แก๊สอื่นในระบบทำความเย็นด้วยครับอย่าง CO2 แต่ต้องออกแบบระบบให้สามารถรองรับแก๊สนั้น ๆ ได้ครับ . 3. ถูกต้องครับความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการปั๊ม / คอมเพรสเซอร์ด้วยส่วนหนึ่ง แต่ตัวที่สำคัญที่ถูกนำไปทิ้งด้านนอกคือ Latent Heat หรือความร้อนแฝงจากการเปลี่ยนสถานะครับ . สรุป ความร้อน/ความเย็น ที่สำคัญในระบบทำความเย็น คือ ความร้อนแฝงในการเปลี่ยนสถานะครับ จากแก๊สเป็นของเหลว จากของเหลวกลายเป็นแก๊ส

  • @user-pb3fs3yi6f

    @user-pb3fs3yi6f

    2 ай бұрын

    @@NSMThailand ทำไมถึงยังดื้อกับการเปลี่ยนสถานะของก๊าสครับ ควรอธิบายเรื่องแรงดัน เมื่อก๊าส...มีการเปลีี่ยนแปลงแรงดัน ณ จุดนึง จะเปลี่ยนสถานะ แบบนี้จะดีกว่า ไม่ใช่ จะยึดอยู่กับเมื่อก๊าสเปลี่ยนสถานะ เพราะไม่ใช่ทุกก๊าสที่เปลี่ยนสถานะแล้วอุณหภูมิจะเปลี่ยน บางก๊าสเปลี่ยนสถานะเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนด้วยซ้ำ . ละก็ความร้อนแฝงจากการเปลี่ยนสถานะ ไม่มีอยู่จริงครับ มันคือการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิ ซึ่งอุณหภูมิที่โดนแลกเปลี่ยนไม่มีทางเกินอุณหภูมิห้องที่คอยเย็นอยู่ . ละก็ ที่คุณอธิบายข้อ 1 นั้น ผิดแน่นอน ถ้าคุณบอกว่า "เมื่อของเหลวเปลี่ยนเป็นก๊าสจะดึงความร้อนรอบตัว" ให้นึกถึงน้ำครับ ถ้าคุณต้มน้ำ น้ำเดือดเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าส แล้วมันดูดความร้อนรอบตัว ???? ความจริงคือ เมื่อก๊าส...ได้รับแรงดัน ณ จุดนึงจะเปลี่ยนสถานะ และเมื่อเปลี่ยนแรงดันฉับพลัน ก็จะเปลี่ยนสถานะ ในกระบวนการนี้เช่นกัน key หลักคือ ความดันเกิดก่อนอุณหภูมิจึงตามมา ไม่ใช่จะยึดอยู่กับ "เมื่อเปลี่ยนสถานะ" ถ้ายึดแบบนั้น แปลว่า อะไรก็ได้ที่ทำให้ก๊าสเปลี่ยนสถานะได้ก็เอามาทำความเย็นได้น่ะสิ แล้ว compressor จะมีไว้เพื่ออะไรครับ ประเด็นคือ คุณอธิบายผิด แต่ อัตตา มันสั่งให้เถียง สินะครับ

  • @ukrittonkronngchan7362

    @ukrittonkronngchan7362

    2 ай бұрын

    ​@@user-pb3fs3yi6fผมละอยากไปศึกษาระบบความเย็นกับคุณจริงๆ น่าจะได้รับความรู้กลับมาเยอะเลยแค่ที่อ่านก็ทำให้ไดความรู้เพิ่มเติมละ

  • @user-pb3fs3yi6f

    @user-pb3fs3yi6f

    2 ай бұрын

    ​@@ukrittonkronngchan7362 ไม่ได้มีความรู้ด้านระบบทำความเย็นครับ ที่ให้ คห. ไป เพราะคลิปเขาอธิบายขัดกับวิทยาศาสตร์ครับ

  • @ukrittonkronngchan7362

    @ukrittonkronngchan7362

    2 ай бұрын

    @@user-pb3fs3yi6f ครับผมแสดงว่าผมคงต้องไปรื้อวิชาวิทยาศาสตร์ละครับไม่งั้นคงไม่รู้ แล้วไปถ่ายทอดความรู้ผิดๆ

  • @Mafia_NoComment
    @Mafia_NoComment2 ай бұрын

    ได้ความรู้ใหม่ๆมาดครับขอบคุณครับ อยากรู้เรื่องฉี่อูฐเพิ่มครับ

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    2 ай бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @oatukejourney3340
    @oatukejourney33402 ай бұрын

    เคยอยู่โรงน้ำแข็งมาตั้งแต่เด็ก เวลาถ่ายน้ำยา แสบตาแสบจมูกมากเลย อันเก่าๆออกมาข้นๆเหมือนไขมันในบ่อดัก แอบสงสัยเหมือนกันว่า มันเกี่ยวอะไรกับความเย็น ตอนนั้นรู้จักแต่ไนโตรเจนเหลว น้ำยาแอร์😅 แอมโมเนียหอม เอาไว้ทำให้ฟื้น หมาะกับคนหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ส่วนให้สดชื่น แก้วิงเวียน แนะนำพวก ยาดม ยาหอม พินเสนจะดีกว่า😄

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    2 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับ ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์กัน น่ากลัวน่าดูเลยนะครับ ถ้าไม่ได้ใส่เครื่องป้องกัน

  • @egch1yearago21
    @egch1yearago213 ай бұрын

    แอดมินจบเกี่ยวกับระบบความเย็นมาหรือครับ อธิบายได้ดีมาก ข้อมูลดีมีการเปรียบเทียบยกตัวอย่างชัดเจน ทำการบ้านมาดี ข้อมูลวิทยาศาสตร์มีให้ด้วยแถมใช้ภาษาง่ายๆ ชอบเลย ขออนุญาตติดตามตลอดไปนะครับ ทำคลิปลักษณะนี้มาอีกนะครับ ความรู้ได้เอาไปใช้ประโยชน์ด้วย ทำไมเพิ่งเด้งมานะ ยูทูป😂😂👍👍

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ขอบคุณที่ชื่นชอบนะครับ คนที่จบระบบทำความเย็นความเย็นมาเก่งกว่าผมเยอะเลยครับ ต้องคำนวนปัจจัยต่างๆในการออกแบบระบบทั้ง dewpoint ความชื้น อัตราการหมุนเวียนของอากาศในห้อง การเปิดปิดประตูห้อง ต้องเก่งกว่านี้มากๆครับ สามารถแนะนำติชมได้เลยนะครับ อยากรู้เรื่องไหน อยากให้เล่าเรื่องอะไร จะนำไปพัฒนารายการตอนถัดๆไปนะครับ

  • @egch1yearago21

    @egch1yearago21

    3 ай бұрын

    @@NSMThailand พี่ก็เก่ง ไม่ธรรมดาแล้วครับ คลิปดีจริง ครับ อยากรู้เรื่องกระสุนแตกอากาศ ปืนต่อต้านอากาศยานรุ่นเก่าครับ หลักการทำงานมันไประเบิดข้างๆเครื่องบินได้อย่างไร แล้วเรื่องเกี่ยวกับเครื่องบินครับ ขอบคุณมากๆครับ😅

  • @user-jh5nl1wc1v
    @user-jh5nl1wc1v3 ай бұрын

    กดไลค์ ตั้งแต่ เห็นหัวข้อคลิปเลยค่ะ . อยากรู้จริงๆ ค่ะ🎉🎉🎉❤❤❤❤❤

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ไม่รู้ว่าหายข้องใจรึป่าวนะครับ หากยังมีข้อสงสัยอะไรถามได้นะครับ

  • @shiratorikunisaki7954
    @shiratorikunisaki79543 ай бұрын

    สังเกตมานานแล้วล่ะว่าคดีระเบิดมันจะเกิดเฉพาะกับโรงงานที่มีlvมsทำงานเยอะนี่ก็บึ้มที่มาบตาพุดอีกถ้ายังไม่กวาดล้างชุมชนพวกต่างด้าวกรรมwูชามันก็จะเกิดวนเวียนอย่างนี้อีกเรื่อยไป

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    คงเพราะอากาศร้อนด้วยครับ ทำให้เครื่องจักรทำงานหนักกว่าปกติ

  • @user-ic5bq8kq3v
    @user-ic5bq8kq3v3 ай бұрын

    วันนี้วุ่นๆ ตั้งแต่เช้า พอได้ฟังคลิปนี้ ผมนอนมองเพดานตั้งใจฟังแบบ ...บอกไม่ถูกเลยครับ

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับ ว่าแต่นอนมองเพดานนี่ ถือว่าดีหรือไม่ดีครับ

  • @goodgoods664
    @goodgoods6643 ай бұрын

    สนุกสนานครับ

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ขอบคุณมากๆครับ

  • @wkorn9887
    @wkorn98872 ай бұрын

    อาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยไหนครับ ผมมาจากคลิปเครื่องกลกับเอทานอล

  • @sikarinpaosutor
    @sikarinpaosutor2 ай бұрын

    ขอเสริมเรื่องวัฐจักรการทำความเย็นนิดนึงนะครับ น่าจะมีข้อมูลผิดพลาด เริ่มจากต้องเข้าใจก่อนว่าความร้อนจะถ่ายเทจากอุณหภูมิสูงไปอุณหภูมิต่ำ เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้สารทำความเย็น (น้ำยาแอร์) มีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศในห้องเพื่อจะนำความร้อนออกมาจากห้อง (ที่คอยล์เย็น) และทำให้ร้อนกว่าอากาศด้านนอกเพื่อเอาความร้อนจากสารทำความเย็นระบายออกสู่อากาศ หลักๆ จุดที่ผิดในคลิปคือเรื่องการเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็น ขั้นตอนหลักๆ จะมีสี่ขั้นตอนครับ: 1. การบีบอัด (Compression) สารทำความเย็นในสถานะก๊าซถูกบีบอัดโดยคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำให้ความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็นเพิ่มขึ้นจนร้อนมากๆ เพื่อให้ร้อนกว่าอากาศภายนอกห้อง (ซึ่งไม่ได้ทำให้สารทำความเย็นที่เป็นก๊าซกลายเป็นของเหลวตามที่พูดในคลิปครับ ตรงนี้ก่อนเข้าและออก Compressor สารทำความเย็นจะเป็นก๊าซทั้งคู่ ต่างกันที่ความดันและอุณหภูมิ) 2. การควบแน่น (Condensation) เกิดขึ้นที่ Condenser Coil สารทำความเย็นที่มีความดันและอุณหภูมิสูง (ออกมาจาก Compressor) จะไหลผ่านคอยล์และเจอกับอากาศนอกห้องที่เย็นกว่ามาก สารทำเย็นที่ร้อนกว่าจึงระบายความร้อนออกไปและเกิดการควบแน่น เปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว 3. การขยายตัว (Expansion) เมื่อออกจาก Condenser สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวจะไหลผ่านวาล์วลดความดัน (Expansion Valve) ทำให้ความดันและอุณหภูมิของสารทำความเย็นลดลงจนสารทำความเย็นจะเย็นกว่าอากาศในห้อง 4. การระเหย (Evaporation) สารทำความเย็นในสถานะของเหลวที่มีความดันและอุณหภูมิต่ำ (ออกมาจาก Expansion Valve) จะไหลผ่านคอยล์ระเหย (Evaporator Coil) ที่อยู่ในห้อง สารทำความเย็นที่เย็นกว่าอากาศในห้องมากๆ จะได้รับการถ่ายเทความร้อนจากอากาศในห้อง จนทำให้สารทำความเย็นเดือดและระเหยกลายเป็นก๊าซ และอุณหภูมิในห้องลดลง จากนั้นสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซก็จะไหลไปเข้า Compressor ต่อ วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ ใครสนใจลองศึกษาทฤษฎี Carnot Vapor Compression Cycle ดูครับ หวังว่าคอมเม้นต์นี้จะช่วยให้คนที่ดูคลิปได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัฐจักรการทำความเย็นครับ

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    2 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับ อธิบายได้ชัดเจนดีมากครับ ตรงเรื่องคอมเพรสเซอร์ ผมลัดขั้นตอนไปหน่อย ขออภัยด้วยครับ (เลยวนกลับมาพูดซ้ำหลังเรื่องต้มน้ำบนยอดเขา)

  • @watcharinsirthai4405
    @watcharinsirthai44052 ай бұрын

    แถวบ้านผมเห็นเขาเอามาใส่น้ำยางพารา เพื่อให้น้ำยางพาราคงสภาพเหลวได้ระยะหนึ่ง

  • @user-mp6im8xi9q
    @user-mp6im8xi9q3 ай бұрын

    ดีค่ะได้ความรู้

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับ อยากรู้เรื่องอะไรอีกแนะนำมาได้เลยนะครับ

  • @MrLemonchang
    @MrLemonchang3 ай бұрын

    เมื่อก่อนโรงเรียนอยู่ติดกับโรงน้ำแข็ง ตอนมันรั่วที่นึงกลิ่มเหม็นฉุนมากเหมือกมีคนชุบแอมโมเนียมาจ่อหน้า ขนาดอยู่ห่งพอสมควร ต้องอพยพกันวุ่นเลย😂

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    อันตรายน่าดูเลย

  • @boonmatarasena9390
    @boonmatarasena93902 ай бұрын

    แอมโมเนียม น่าจะเป็นสารทำความเย็นตัวแรกในเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ในการประดิษฐ์ช่วงแรกๆ

  • @user-uy4ed5bp3f
    @user-uy4ed5bp3f3 ай бұрын

    ข้อมูลผิดครับ แอมโมเนียใช้ในระบบทำความเย็นที่เรียกว่าวัฎจักรดูดละลาย ไม่ได้เกียวข้องใกล้เคียงกับแอร์บ้านที่เป็นวัฎจักรอัดไอเลยครับ คนละทฤษฎีเลย

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ . เข้าใจว่าทั้งสองระบบ ทั้งอัดไอ Vapor Compression และ ดูดซับ Vapor Absorbtion สามารถใข้ Ammonia เป็นสารตัวกลางได้ครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรวางระบบว่าใช้งานระบบแบบไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน เราจึงมักเห็นระบบดูดซึมได้ในพวกโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ความร้อน จึงนำความร้อนเหลือใช้มาใช้ในระบบ Vapor Absorbtion จะประหยัดพลังงานได้มากกว่า ถึงแม้ว่า coefficient of performance ของระบบนี้จะต่ำกว่า . อย่างไรก็ดีต้องขออภัยด้วยที่ในตอนนี้ผมอธิบายไปแค่ระบบเดียว เพราะระบบ Vapor Compression นิยมติดตั้งตามบ้านเรือนมากกว่า เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านนึกภาพตามได้ง่าย และเข้าใจการทำงานของแอร์บ้านได้ด้วย

  • @fdry8622

    @fdry8622

    2 ай бұрын

    น้ำยา มันก็คลละตัวละครับ ท่าน คนที่เข้าใจแบบนั้นก็ให้มันเข้าใจแบบนั้น เพราะพูดไปมันก็เป็นเรื่องตลก ก็ให้มันไปหาข้อมูลศึกษาเองครับ

  • @triplepd.i.y.3435
    @triplepd.i.y.34353 ай бұрын

    ทำไมผมนึกถึงคุณโจ๊ก โซคูล

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ขอบคุณครับ อยากเป็นดารากับเขาบ้าง555

  • @asddd444888

    @asddd444888

    3 ай бұрын

    แวบแรกใช่เลย

  • @Porsan509
    @Porsan5093 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับ นี่ช่างแอร์ในตำนานแน่ๆเลย😅

  • @natapanworks4817

    @natapanworks4817

    3 ай бұрын

    5555555555555555555

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ผมไม่เล็กนะครับ แฮร่

  • @eakapots
    @eakapots3 ай бұрын

    ความรู้สึกตอนเป็นลมแล้วดมแอมโมเนีย รู้สึกว่ามันหอม แต่พอฟื้นแล้วมันเหม็น

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ส่วนตัวผมไม่ชอบเลย ดมหงส์ไทยอร่อยกว่า

  • @natapanworks4817

    @natapanworks4817

    3 ай бұрын

    @@NSMThailand หงส์ทอง แฮร่!!!

  • @AdisakrebornPomngam
    @AdisakrebornPomngam2 ай бұрын

    👍

  • @likesara5115
    @likesara51153 ай бұрын

    NO NO NO แอร์ใช้การเปลี่ยนอุณหภูมิโดยการใช้อากาศเป่าผ่านแผงคอยเย็นแล้วดึงความชื้นในอากาศออกมาซึ่งมันจะมีการถ่ายเทโดยอัตโนมัตสภาวะโดยรอบจะพยายามรักษาระดับชิ้น เมื่อใดที่มีความเย็นหมายถึงความชิ้นต่ำทำให้เกิดการความแน่นที่แผงแล้วกายเป็นหยดน้ำไหลลงถาดและระบายออกทางท่อนั่นเอง

  • @tforever5700

    @tforever5700

    3 ай бұрын

    ผลพลอยได้ของการทำความเย็น คือ dew point ที่ต่ำลงครับ ทำให้อากาศที่มีความชื้นที่อุณหภูมิห้อง(ambient temp) เมื่อวิ่งผ่านคอยล์เย็น(ดูดโดยโบลเวอร์) เกาะที่แผงคอยล์เย็น และควบแน่นหยดลงมาเป็นน้ำ หลักการเดียวกับฝน ที่เมฆ(อากาศที่มีความชื้นสูงมากๆ) ปะทะกับลมเย็น จนตกมาเป็นฝน

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ตามที่คุณ tforever5700 ตอบไว้เลยครับ การลดความชื้นเป็นผลพลอยได้ที่ตามมาครับ จากการที่คอล์ยเย็น ซึ่งความเย็นจากการเปลี่ยนสถานะของน้ำยาแอร์ แล้วความชื้นในอากาศ เกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำที่แผงคอล์ยเย็น แล้วระบายออกเป็นน้ำแอร์หยดทิ้งด้านนอก ทำให้อากาศภายในห้องแห้งลงครับ คล้ายกับเมื่อเราเอาน้ำแข็งใส่แก้วแล้วมีน้ำเกาะที่ข้างแก้ว

  • @taravilla
    @taravilla3 ай бұрын

    ทำไมต้องเติมน้ำยาแอร์

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    มีการรั่วของระบบครับ การเติมน้ำยาจึงเหมือนเป็นการรักษาเฉพาะหน้า บางทีอาจจะรั่วซึมแค่จุดเล็กๆ หรือบริเวณปะเก็น การเติมน้ำยาไปก็เย็นได้ไม่นาน ก็ต้องเติมใหม่บ่อยๆ การแก้ปัญหาที่ดีคือต้องหาจุดที่รั่วซึมให้เจอแล้วแก้ไขที่จุดนั้นครับ

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    2 ай бұрын

    @@panun8272 55555555555555555 คราวหลังลองแกงเขียวหวานดูครับ

  • @tonogung3030
    @tonogung30302 ай бұрын

    คำว่า เย็นขึ้น กับ เย็นลง ต่างกันอย่างไร อันไหนเย็นก่าว

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    2 ай бұрын

    ความร้อน ความเย็น ความเร็ว ถ้ามองเป็นเรื่องสัมพัทธ์ ก็ต้องอยู่ที่เราเทียบมันกับอะไร เช่น 1. เทียบความเย็น(ปัจจุบัน)กับความเย็น(ก่อน) ใช้ว่าเย็นขึ้นจะหมายถึงเย็นมากกว่าเดิม 2. แต่ถ้าเทียบความเย็นกับความร้อน เย็นลงจะหมายถึงเย็นกว่าเดิม อย่างไรก็ดีอยู่ที่ผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจตรงกันหรือไม่ครับ

  • @ritthome8542
    @ritthome85423 ай бұрын

    ขออธิบายเพิ่มเติม มันสิ่งสำคัญ อยู่ที่ คอมเพรสเซอร์ครับ มันเป็นตัวทำให้น้ำยาเดินทางไปทั้งหมด อันอื่นคือองค์ประกอบ คอมฯ มัน มี 2 หน้าที่ คือ การดูด กับ การอัดแก็ส การทำให้เย็นคือ การดูด น้ำยา ผ่านวาล์วเอ็กแพลนชั่นที่อยู่ก่อนคอยล์เย็น ที่พูดถึงในคลิป ซึ่งมันเป็นเหมือนหัวเข็มฉีดยาครับ (หลักการคล้ายๆเข็มฉีดยาพอเราดึง หลอดผ่านรูเล็กๆอากาศจะขยายตัวและในหลอดจะเย็นลง) พอคอมฯดูด มันจะดูดน้ำยาเหลวเข้ามา ผ่านรูเข็มฉีดยานี้ ทำให้น้ำยามันเกิดการขยายตัว เป็น แก็ส และของเหลว เข้าไปในคอยล์ซึ่งก็จะเย็นลง เราก็เอาพัดลมมาเป่าไปใช้งานในห้อง ทำให้แอร์เย็น หลังจากนั้น มันก็จะระเหยเป็นแก๊สทั้งหมด ผ่านคอมเพรสเซอร์ ไปอัดแก็ส กลับไปในหลอดเข็มฉีดยาอีก ที่อยู่ด้านนึงที่อยู่ด้านนอกห้อง ซึ่งพอเราอัดท่อนี้ก็จะทำให้ร้อนขึ้นมา เราก็ต้องมีพัดลมมาระบายความร้อนออกไป แล้วมันก็จะกลั่นตัวกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง วนกลับไปผ่านเข็มฉีดยา หรือเอ็กแพลนชั่นวาล์วอีกครั้งครับ

  • @NSMThailand

    @NSMThailand

    3 ай бұрын

    ขอบคุณมากครับที่ช่วยเสริมข้อมูลนะครับ

Келесі