ประวัติพระธาตุพนม ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอีสาน ตํานานอุรังคธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

00:00 | คาถาบูชาพระธาตุพนม คำไหว้พระธาตุพนม และคำนมัสการพระธาตุ
00:30 | ประวัติพระธาตุพนม
02:02 | ตำนานอุรังคธาตุพระพุทธเจ้าเสด็จมา
04:20 | พระมหากัสสปะอัญเชิญพระอุรังคธาตุมาที่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ชวนเจ้าพระนครต่างๆร่วมกันสร้างพระธาตุพนม
11:54 | พระไชยเชษฐาธิราชเสด็จมานมัสการพระธาตุพนม
14:30 | เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือ พระครูขี้หอม - พระธาตุพนม
17:35 | ลำดับการบูรณะและปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม
22:27 | เหตุการณ์พระธาตุพนมล้มพังทลาย
23:30 | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีเชิญพระบรมสารีริกธาตุ(พระอุรังคธาตุ)
24:45 | เสนอชื่อพระธาตุพนมขึ้นเป็นมรดกโลก
#ประวัติพระธาตุพนม
#พระธาตุพนม ปัจจุบัน ปัจจุบัน ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร #ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่า #บึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม ภาพวาดพระธาตุพนมองค์เดิม รูปแบบศิลปกรรมที่บูรณะโดยเจ้าราชครูหลวงโพนเสม็ดเมื่อ พ.ศ. 2233 บันทึกโดยคณะสำรวจแม่น้ำโขงภายใต้การนำของฟรานซิส การ์นิเยร์ นายทหารเรือชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2411
ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูรณ์ พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ เมื่อครั้งพระมหากัสสปะเถระชาวอินเดีย (ไม่ใช่พระมหากัสสปะครั้งสมัยพุทธกาล) ได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในอาณาจักรสีโคตบองระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-7 ท่านได้นำพระพุทธสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาด้วย และได้ชักชวนเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ให้ร่วมกันก่อสร้างพระเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระพุทธเจ้าไว้บริเวณที่ดังกล่าว โดยสร้างเป็นพระเจดีย์สูงเพียงชั้นเดียวก่อนเท่านั้น
มีพระยาจากเมืองทั้ง 5 ได้พาไพร่พลมาร่วมกันก่อสร้างพระธาตุพนม เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนที่เป็นกระดูกหน้าอก (กระดูกหน้าอกในที่นี้ คือส่วนที่เรียกว่า “อุรังคธาตุ” ผู้แปล) ของพระพุทธเจ้าพระยาทั้ง 5 นั้น คือ
1. พระยานันทะเสน เจ้าผู้ครองเมืองสีโคตบอง (อยู่ห่างจากปากเซบั้งไฟไปประมาณ 15 กิโลเมตร)ก่อด้านเหนือ
2. พระยาสุวรรณภิงคาร เจ้าผู้ครองเมืองหนองหานหลวง (สกลนคร)ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
3. พระยาคำแดง เจ้าผู้ครองเมืองหนองหานน้อย (กุมภวาปี) (ปัจจุบันกุมภวาปีเป็นอำเภอหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานี) ก่อด้านตะวันตก
4. พระยาอินทปัฐ เจ้าผู้ครองเมืองอินทปัฐถะ (กัมพูชา)ก่อด้านตะวันตก
5. พระยาจุลณีพรหมทัต เจ้าผู้ครองเมืองปะกัน (เมืองเชียงขวาง หรือสิบสองจุไท)ก่อด้านตะวันออก
ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ
ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Пікірлер: 15

  • @user-ov2qt6ox6r
    @user-ov2qt6ox6r3 күн бұрын

    สาธุครับ

  • @PRAkANDEE
    @PRAkANDEEАй бұрын

    สาธุ ขอให้ลูกรวยๆๆๆครับ

  • @user-ex3st8of6s
    @user-ex3st8of6s5 ай бұрын

    นอบน้อมกราบอนุโมทนากับท่านผู้สร้างพระธาตุพระนมด้วยคะสาธุ🙏

  • @nine_non
    @nine_non2 ай бұрын

    สาธุ❤😊

  • @user-lm3cl1qm1h
    @user-lm3cl1qm1h5 ай бұрын

    กราบ กราบ กราบ สาธุ สาธุ สาธุ

  • @user-vh6en2dw9v
    @user-vh6en2dw9v4 ай бұрын

    น้อมกราบองค์พระธุาตพนมขอให้มีโชคมีลาภพบเจอแต่สิ่งดีๆด้วยเทอญสาธุๆๆคะ

  • @OrThatPhanomgirl
    @OrThatPhanomgirl5 ай бұрын

    มารับฟังค่ะ

  • @pommm9405
    @pommm94057 ай бұрын

    จังหวัดของผมเองครับผมเป็นลูกพระธุาตพนมครับคนศรีสงคราม

  • @samsunggalaxzy9969
    @samsunggalaxzy99694 ай бұрын

    กราบสาธุค่ะ

  • @user-zk4bf2ku1p
    @user-zk4bf2ku1p3 ай бұрын

    กราบสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุสาธุครับเฮงเฮงเฮงรวยรวยรวยครับ

  • @telitels5230
    @telitels52307 ай бұрын

    ผมอยากมีเหรียญที่ระลึกพระธาตุพนมไว้บูชาหาใด้ที่ไหนครับ

  • @nine_non

    @nine_non

    2 ай бұрын

    วัดพระธาตุพนมครับ❤😊

  • @user-jt6mj3fq7o
    @user-jt6mj3fq7o7 ай бұрын

    จำใส่สมองเอาไว้พระพุทธเจ้าตรัสรู้บนแผ่นดินไทยมิใช่แขกและหรือชมพูทวีปคือสุวรรณภูมิมิใช่แขกคิดเอา

Келесі