เพลงโหมโรงมาลัยมาลย์ ๓ ช้ัน - วงมโหรีวงใหญ่ งานศรีศตวรรษวิเศษ ครูประเวช กุมุท

เพลงโหมโรงมาลัยมาลย์ ๓ ช้ัน - วงมโหรีวงใหญ่ งานศรีศตวรรษวิเศษ ครูประเวช กุมุท
องก์ที่ ๓
ประณีตศาสตรา
วงมโหรีวงใหญ่ เพลงโหมโรงมาลัยมาลย์ ๓ ช้ัน
โหมโรงมาลัยมาลย์ เป็นเพลงที่ครูจ่าเอกกมล (เจียน) มาลัยมาลย์ ประพันธ์ขึ้นก่อนปี
พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยได้ขยายขึ้นจากเพลงสร้อยสน ๒ ชั้น และดัดแปลงเพลงจีนขิมใหญ่บางส่วน
มาบรรเลงออกท้าย จากคำบอกเล่าของครูบุญธรรม คงทรัพย์ ซึ่งเป็นนักระนาด
ผู้มีความสามารถ และเป็นศิษย์ของครูเจียน ท่านได้เล่าไว้ว่า “ในตอนแรก ครูเจียนตั้งใจจะทำ
เพลงสร้อยสนให้เป็นเพลงเถา มีรับร้องอย่างเพลงพวงร้อยที่ทำไว้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ทำ
จึงนำมาทำเป็นเพลงโหมโรงก่อน” เมื่อลูกศิษย์จากชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทราบข่าวว่าครูเจียนได้แต่งโหมโรงขึ้นใหม่ และในขณะเดียวกัน ทางชุมนุมดนตรีไทย
ธรรมศาสตร์ยังไม่มีเพลงโหมโรงประจำวงดนตรีไทยของมหาวิทยาลัย จึงได้ขอ
เพลงโหมโรงสร้อยสนนี้มาใช้เป็นเพลงประจำวงดนตรีไทย และคุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมนุมดนตรีไทยในขณะนั้นได้เสนอให้ใช้ชื่อ
โหมโรงสร้อยสนธรรมศาสตร์ จึงได้เพลงนี้มาเป็นเพลงโหมโรงประจำชุมนุมดนตรีไทย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สืบมา
ครูประเวช และครูเจียน มีความสัมพันธอันดีต่อกัน และสนิทสนมกันมาก เนื่องจาก
คุณครูทั้งสองท่านได้สอนดนตรไทยที่ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยในยุคนั้น
ยังมีครูดนตรีที่ช่วยสอนอยู่อีก ๓ ท่าน คือ ครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)
ครูทิพย์ ปิยะมาน และครูกิ่ง พลอยเพชร เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ครูประเวช กุมุท
ได้กล่าวกับศิษย์ธรรมศาสตร์ว่า ควรเรียกเพลงนี้ด้วยชื่อ " โหมโรงมาลัยมาลย์"
แทนโหมโรงสร้อยสนธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นการให้เกียรติแด่ครูเจียนผู้ประพันธ์เพลง
และเพื่อเปิดโอกาสให้นักดนตรีทั่วไปสามารถนำเพลงนี้ไปบรรเลงได้อย่างแพร่หลาย
โดยไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงของสถาบัน ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วย ดังนั้นเมื่อรองศาสตราจารย์
บุญเสริม ภู่สาลี ลูกศิษย์ของครูทั้งสองท่านไปเยี่ยมครูเจียนขณะที่ป่วย จึงขออนุญาต
ครูเจียนเรียกชื่อเพลงโหมโรงนี้ว่า “โหมโรงมาลัยมาลย์” อันเป็นเกียรติยศ และระลึกถึง
ผู้ประพันธ์เพลงตลอดไป ครูมีความซาบซึ้งใจเป็นอันมาก หลังจากนั้นเพียงไม่นาน
ครูเจียนก็ถึงแก่กรรมลงในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๗
เพลงโหมโรงเพลงนี้เป็นเพลงหนึ่งที่มีสำนวนลีลาน่าฟัง ผู้ประพันธ์ได้นำ
ประโยคทองของเพลงต่าง ๆ มาเรียงร้อยโดยประสานกันอย่างกลมกลืน ทั้งยังมีลีลา
สง่างาม อ่อนหวาน หยอกล้อให้คึกคักสนุกสนาน ครูประเวชเป็นผู้ประดิษฐ์ทางซอด้วง ซออู้ไว้
อย่างงดงาม โดยบันทึกโน้ตตัวเลขไว้ และได้นำมาใช้บรรเลงเสมอมา โดยในครั้งนี้ วงศิษย์เก่า
ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะบรรเลงเพลงโหมโรงมาลัยมาลย์ด้วยวงมโหรี
วงใหญ่ และใช้ทางซอที่ครูประเวชได้ประดิษฐ์ขึ้น
“วงมโหรีวงใหญ่” ครูประเวช กุมุท ท่านมีแนวคิดในการทวงดนตรีไทยเป็นวงดนตรี
ขนาดใหญ่ มีนักดนตรีมากกว่าปกติ ซึ่งน่าจะได้รับแนวคิดมาจากท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ
(ศร ศิลปบรรเลง) และวงออร์เคสตร้าของชาวตะวันตก ประกอบกับมหาวิทยาลัย
ได้จัดซื้อเครื่องสายเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อมีเครื่องดนตรีและนักดนตรีพร้อม ครูประเวช
จึงทำวงมโหรีวงใหญ่ขึ้นทันที ถือว่าเป็นผลงานสำคัญสุดท้ายที่ท่านทำให้มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ก่อนจะเดินทางไปสอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วงมโหรีวงใหญ่นี้จัดแสดงครั้งแรกในงานดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ ๑๑ เมื่อวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ ท่านได้ระดมศิษย์เก่า
ดนตรีไทยตั้งแต่งรุ่นก่อตั้งวงจนถึงนักดนตรีไทยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในปี พ.ศ.๒๕๒๑
มาร่วมขับร้องและบรรเลงเพลงระบำเริงอรุณ รับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และต้อนรับผู้มาร่วมงาน ซึ่งเพลงนี้
ครูมนตรี ตราโมทเป็นผู้ประพันธ์ และอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย การขับร้องและบรรเลงในคราวนั้น
มีนักร้องและนักดนตรีรวม ๑๐๐ คน มีครูช่วยควบคุมดูแลอีกสามท่าน คือ ครูกิ่ง พลอยเพ็ชร
ครูปกรณ์ รอดช้างเผื่อน และครูพงษ์ศักดิ์ เกตุจรูญ
ซอสามสาย วิชัย เหล่าประเสริฐ
ซอสามสายหลิบ ศุภพัฒน์ ศิริโสภณ
ซอด้วง ทวีศักดิ์ โตรักษา ชาญ ธาระวาส
สุดารัติ เลขะยานนท์ อดุลย์ โชตินิสากรณ์
ปิยวิทย์ จิตต์โอภาส
จะเข้ วิชัย อัจฉริยะเสถียร รัชนี ชัยชาติ
ธวัช ดำสอาด มารุธ วิจิตรโชติ
ขลุ่ยหลิบ อิทธิวัฒน์ นิมิตหลิวพานิชย์
ขลุ่ยเพียงออ สุชาติ ศรียารัณย
ขลุ่ยอู้ บรรลือ พงษ์ศิริ
ซออู้ กฤษดา ปัทมเรขา ธัชชยุติ ภักดี
ศิระ ศรีสกุลยาภรณ์ มาลินี หวังวงศ์เจริญ
สุปวีณ์ ธนศรีสุนีย์
ระนาดเอก พงศกร นุชน้อย
ระนาดเอกเหล็ก สุนันทา มิตรงาม
ระนาดทุ้ม บรรพต ดีหอมศีล
ระนาดทุ้มเหล็ก ทรงวิทย์ นิภาสุวรรณ
ฆ้องวงใหญ่ ธีระบุตร ศุขสวัสดิ์
ฆ้องวงเล็ก คงกช ชัยประสิทธิกุล
กลองแขก พงษ์ศักดิ์ เกตุจรูญ ธีรพงศ์ เหลืองสัมฤทธิ์
ฉิ่ง อัจฉรา สุวรรณภูชัย
ฉาบเล็ก ธนิศา นกแก้ว
กรับพวง นิตยา นิราศรพ ชาคริต สีห์โรหิจจ์
โหม่ง ศุภวรรณ สัจจพงศ์
ควบคุมวง ณัฐพล เสริมพงศ์
ข้อมูลคำอธิบายเพลง
ศิวัชญ์ สลิลรัตน์ กานต์ สุวรรณกิติ
บรรลือ พงษ์ศิริ วิรัช สงเคราะห์
---------------------------------------
คลิกอ่านชีวประวัติ ครูประเวช กุมุท และรายละเอียดสูจิบัตรฉบับเต็มได้ที่ลิงก์นี้
drive.google.com/file/d/1O6nE...

Пікірлер

    Келесі