No video

พ่อแม่ทุกข์ระทม “ลูกติดมือถือหนัก” พัฒนาการสะดุด สุดก้าวร้าว ต้องแก้อย่างไร ?

ในยุคดิจิทัล ผู้ปกครองหลายคนอาจจะไม่มีเวลาเลี้ยงลูก จนต้องปล่อยให้ลูกอยู่กับจอมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป กลายเป็นเป็นปัญหาลูกติดจอ ติดเกม จนทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน ปัญหานี้จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์ของเด็กในอนาคต
ช็อตเด็ด นาทีเดือด !
00:00 พ่อแม่ทุกข์ระทม “ลูกติดมือถือหนัก” พัฒนาการสะดุด สุดก้าวร้าว ต้องแก้อย่างไร ?
02:10 รศ.นพ.ศิริไชย กล่าว นิยาม เด็กติดจอ และสาเหตุที่ทำให้เด็กติดจอ
03:35 ครูหวานเผย สาเหตุเพิ่มเติมเด็กติดจอ
05:05 ผลกระทบของ “เด็กติดจอ”
08:40 คุณบี กมลาสน์ เล่าวินาที ลูกติดจอ
13:30 คุณบี กมลาสน์ เผย วิธีแก้ลูกติดจอ
16:40 “ลูกติดโทรศัพท์” ควรรับมืออย่างไร
วันที่ 27 ม.ค. 67 รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ ว่า ปัญหาเด็กติดจอมีหลากหลายรูปแบบ โดยเด็กมักจะหมกมุ่นอยู่กับเกม โลกโซเชียลมีเดีย ถ้าหากมีคนมาห้ามหรือขัดขวางเด็กจะเกิดอาการไม่พอใจอย่างรุนแรง
สาเหตุที่ทำให้เด็กติดจอเนื่องจากเกมเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชนะ สถิติในปัจจุบันเด็กจะเล่นเกม 3-4 ชั่วโมงต่อวัน และอยู่กับหน้าจอเฉลี่ยถึง 6-7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะทำให้เด็กขาดพัฒนาการทางสังคม ไม่ได้เรียนรู้จากสิ่งรอบข้าง นอกจากนี้เกมที่มีความรุนแรงก็ทำให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรงตามไปด้วย
อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข (ครูหวาน) นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย เตือนผู้ปกครองว่า การให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการจำกัดระยะเวลาในการเล่น เพื่อป้องกันปัญหาเด็กติดจอ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัย 2 ขวบ ยิ่งไม่ควรให้เข้าใกล้จอ หลังจาก 3 ขวบขึ้นไปเวลาเด็กใช้จอจะต้องมีพ่อแม่คอยควบคุมอยู่ข้าง ๆ ถ้าหากไม่คอยควบคุมก็อาจทำให้ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในระยะยาว ซึ่งจะแก้ไขได้ยากในอนาคต
คุณบี กมลาสน์ เอียดศรีชาย คุณแม่ที่ประสบปัญหาลูกๆ ติดจอ เล่าว่า จากประสบการณ์ของตน ขณะที่ลูกชายอายุ 2 ขวบ ตนเลี้ยงลูกโดยให้อยู่กับจอมาตั้งแต่แรก และไม่ค่อยได้ดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากทำงานหนักและมีลูกเล็กอีกคน จึงปล่อยให้ลูกชายอยู่กับญาติผู้ใหญ่ จนสุดท้ายตนสังเกตเห็นว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ปกติ ไม่พูด ไม่สบตา ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ เชื่อว่าลูกมีปัญหาด้านพัฒนาการจึงตัดสินใจไปหาหมอ ได้รับคำแนะนำว่าควรให้ลูกอยู่กับคนมากกว่าจอมือถือหรือสิ่งของ เพราะจะทำให้เด็กไม่รู้ว่าใครคือพ่อแม่ของเขา เนื่องจากเด็กให้ความสนใจกับสิ่งของมาตลอด ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เป็นโรคออทิสติกเทียม ตนต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าลูกจะกลับมาเป็นปกติ และอยากให้เรื่องราวของลูกเป็นอุทาหรณ์ให้ทุกคนที่กำลังจะมีลูก
รศ.นพ.ศิริไชย วินิจฉัยอาการลูกของคุณบีว่า มีอาการใกล้เคียงกับโรคออทิสเทียม ที่มีความบกพร่องทางทักษะทางสังคมและพัฒนาการทางภาษาช้า เกิดจากความสนใจทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ โดยไม่สนใจผู้อื่น วิธีรักษาจะต้องให้ผู้ปกครองใช้เวลากับลูกมากขึ้น เปลี่ยนจากหน้าจอเป็นการฝึกทักษะพื้นฐาน เช่น การวาด การอ่าน การเขียน ซึ่งช่วยเพิ่มพัฒนาการของเด็กได้ดีกว่าดูจออย่างแน่นอน
ด้านครูหวาน แนะนำวิธีการป้องกันเด็กติดจอ หากพ่อแม่มีเวลาน้อย ก็จะต้องใช้เวลากับลูกอย่างมีคุณภาพ ควรเล่นของเล่นกับลูก เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการหลายด้านมากขึ้น และควรอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังบ่อย ๆ ที่สำคัญอย่าลืมแสดงความรักกับลูกทุกครั้งที่มีโอกาส เชื่อว่าการไม่มีเวลาเลี้ยงลูกไม่ควรเป็นข้ออ้าง เพราะลูกเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของชีวิตพ่อแม่
#ถกไม่เถียง #TERODigital #Ch7HDNews
----------
ติดตาม รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35
Facebook: / terodigital
Twitter: / tero_digital
KZread: / terodigital
TikTok: / terodigital
Instagram: / terodigital

Пікірлер: 12

  • @Tero_digital
    @Tero_digital6 ай бұрын

    ช็อตเด็ด นาทีเดือด ! 00:00 พ่อแม่ทุกข์ระทม “ลูกติดมือถือหนัก” พัฒนาการสะดุด สุดก้าวร้าว ต้องแก้อย่างไร ? 02:10 รศ.นพ.ศิริไชย กล่าว นิยาม เด็กติดจอ และสาเหตุที่ทำให้เด็กติดจอ 03:35 ครูหวานเผย สาเหตุเพิ่มเติมเด็กติดจอ 05:05 ผลกระทบของ “เด็กติดจอ” 08:40 คุณบี กมลาสน์ เล่าวินาที ลูกติดจอ 13:30 คุณบี กมลาสน์ เผย วิธีแก้ลูกติดจอ 16:40 “ลูกติดโทรศัพท์” ควรรับมืออย่างไร

  • @supon022
    @supon0226 ай бұрын

    ดีมาก​ครับ​ที่เอาเรื่อง​นี้​มา​พูดครับ​

  • @saowaneesaowanee5467

    @saowaneesaowanee5467

    6 ай бұрын

    ดีมากค่ะที่เอาปัญหานี้มาถกพ่อแม่ทุกข์ระทม

  • @Tero_digital

    @Tero_digital

    6 ай бұрын

    ปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองหนักใจ ในฐานะสื่อมวลชนน้ำดี ต้องนำมาเผยแพร่ครับ

  • @napatsornphip9713
    @napatsornphip97136 ай бұрын

    เราก็ซื้อแทปเล็ตให้ลูกตอนอายุครบ2ขวบ พอน้องเข้า รร.มีปัญหา คือนั่งเหม่อ ครูเรียกไม่หัน ต้องเรียก3-4ครั้งถึงจะหัน กว่าจะกู้กลับมาปกติได้เกือบปีค่ะ

  • @sirawitonsila2100
    @sirawitonsila21006 ай бұрын

    ชอบถกไม่เถียงวันเสาร์ อาทิตย์ ได้ความรู้ครับ

  • @Pann96
    @Pann966 ай бұрын

    ต้องรณรงค์อย่ามีลูก ถ้ายังต้องดิ้นรนทำงาน ไม่มีเวลาคุณภาพเลี้ยงลูก ปัญหาสังคมจะลดลงได้ในระยะยาว

  • @somsak834
    @somsak8342 ай бұрын

    😊

  • @Piyapiyamon1517
    @Piyapiyamon15176 ай бұрын

    ลูกสาวเริ่มเล่นตอน8เดือนเพราะคุณยายทิ้งจอไว้ ตอนนี้กลายเป็นADHD รักษาตั้งแต่5ขวบจนตอนนี้11ขวบยังไม่หายค่ะ

  • @Tero_digital

    @Tero_digital

    6 ай бұрын

    แอดขอเป็นกำลังใจให้น้องหายเป็นปรกติเร็ววันนะครับ

  • @Nengooo0
    @Nengooo06 ай бұрын

    รข..

Келесі