พญาโศก : ครูเทียบ คงลายทอง เดี่ยวขลุ่ยเพียงออ

พญาโศก : ครูเทียบ คงลายทอง เดี่ยวขลุ่ยเพียงออ
- ประวัติเพลง พญาโศก -
เพลงพญาโศก เป็นเพลงไทยเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในเพลงเรื่องพญาโศก (ประกอบด้วยเพลงพญาฝัน, พญาโศก, ท้ายพญาโศก, พญาตรึก, พญารำพึง และพญาครวญ) ใช้ในการร้องหรือบรรเลงประกอบอารมณ์โศกเศร้า เพลงนี้มีทั้งเพลงอัตราจังหวะสองชั้น และอัตราจังหวะสามชั้น โดยเพลงพญาโศกสองชั้น นิยมบรรเลงเฉพาะเพลงพญาโศกเพียงเพลงเดียว แต่บางครั้งจะบรรเลงเป็นเพลงเรื่องทั้งชุด ส่วนเพลงพญาโศกสามชั้น นิยมบรรเลงแบบ "เดี่ยว" คือบรรเลงคนเดียวด้วยเครื่องดนตรีแต่ละชนิดตามแต่ถนัด เพื่ออวดฝีมือและทักษะการบรรเลงของนักดนตรีโดยเฉพาะ ซึ่งพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก นักดนตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ริเริ่มประดิษฐ์เพลงพญาโศกทางบรรเลงเดี่ยวเป็นคนแรก
สำหรับการใช้เพลงพญาโศกร้องประกอบการแสดงโขนละคร จะใช้เพลงพญาโศกสองชั้น และต้องร้องในบทที่ตัวละครโศกเศร้าอยู่กับที่ เช่น ยืน นั่ง นอน เท่านั้น จะใช้ในบทที่เดินเคลื่อนที่ไปไม่ได้ นอกจากนี้ บทที่ร้องด้วยเพลงพญาโศกจะต้องเลือกฐานะของตัวละคร โดยมากจะต้องใช้กับตัวละครที่เป็นกษัตริย์ เจ้านาย หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสูง.
- ประวัติ ครูเทียบ คง​ลา​ยทอง​ -
ครูเทียบ คงลายทอง เป็นบุตรของนายแปลก และนางสอน เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๙ ปี ปีขาล ตรงกับวันที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๔๕ ที่บ้านเลขที่ ๒๗๑ ตำบลวัดกัลยาณมิตร แขวงบุปผาราม อำเภอธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ในเบื้องต้นครูเทียบไม่เคยเข้าเรียนในโรงเรียนใดเลย แต่อาศัยเรียนกับคนข้างบ้าน จนพออ่านออกเขียนได้ จากนั้นจึงเริ่มเรียนดนตรีกับบิดา โดยเริ่มต้นโดยการเป่าขลุ่ยเป็น อย่างแรกมาตั้งแต่เด็ก จนเมื่อมีอายุได้ ๙ ขวบจึงได้จับมือให้เรียนฆ้องใหญ่กับครูทองดี ชูศักดิ์ ผู้มีศักดิ์เป็นปู่ของจางวางทั่ว พาทยโกศล ต่อมาจึงได้เรียนปี่ในกับครูจู ภิญโญ จนล่วงเข้าถึงวัยรุ่นอายุประมาณ ๑๖ ปี บิดาจึงนำตัวฝากเป็นศิษย์ของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)
ชีวิตการเป็นนักดนตรีของครูเทียบเริ่มต้นจากการเป็นคนปี่ในวงปี่พาทย์ของ เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีเสนาบดีกระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ ๖ จนเมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารจึงเข้ารับราชการทหารสังกัดกรมทหารรักษาวังไปจนพ้น ราชการทหาร จึงเข้าถวายตัวมหาดเล็กในกองพิณพาทย์หลวงในกรมมหรสพในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับราชการในสังกัดนี้ไปจนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือราวปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ได้โอนมาสังกัดแผนกดุริยางค์ไทยกรมศิลปากรและรับราชการในกรมศิลปากรเรื่อยมา จนเกษียณอายุราชการ แต่ก็ยังได้รับการจ้างเป็นครูพิเศษในวิทยาลัยนาฏศิลป์ต่อมา
ครูเทียบ คงลายทอง มีความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีได้รอบวง แต่ที่ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ คือ ปี่ใน และปี่ชวา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านได้รับรางวัลที่สองจากการเป่าปี่ใน ในการประชันวงปี่พาทย์ที่วังบางขุนพรหม เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ สำหรับผลงานในทางราชการนั้นท่านได้เคยไปแสดงฝีมือในการเผยแพร่นาฏศิลป์ดนตรี ไทยในต่างประเทศ ในหลายๆคราว เช่น ที่ประเทศลาว พม่า มาเลเชีย อินโดนีเซีย เยอรมัน และญี่ปุ่น ซึ่งในการแสดงแต่ละครั้งท่านได้สร้างความประทับใจให้แก่ชาวต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง จนมีอยู่หลายคราวที่ชาวต่างประเทศตามมาหัดปี่ที่บ้านด้วยความชื่นชมในฝีมือ
นอกจากนี้ยังได้มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงเอาไว้หลายๆแผ่น ซึ่งมีทั้งเพลงเดี่ยวและเพลงเถา และมีโอกาสได้ร่วมบันทึกเสียงกับ กรมศิลปากรเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติอยู่หลายต่อหลายเพลง
แต่ผลงานที่ครูเทียบภาคภูมิใจ คือ การเป่าปี่แสดงฝีมือเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช ณ พระตำหนักไทยเรือนต้น ภายในพระราชวังจิตรลดารโหฐาน และยังได้ทำปี่ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายหนึ่งเลา ณ พระราชวังไกลกังวลอีกด้วย เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗ และต่อมาได้ถวายแบบฝึกหัดเป็นโน้ตสากลสำหรับการฝึกหัดเป่าปี่และเข้าเฝ้า พระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครั้ง
ชีวิตครอบครัวของครูเทียบท่านสมรสกับ นางสาวสว่าง (สกุลเดิม วิเชียรปัญญา) มีบุตรธิดาทั้งสิ้นจำนวน ๑๒ คน ซึ่งในนี้มีอยู่หลายคน ที่มีชื่อเสียงทางดนตรี คือ นายทวี คงลายทอง นายรัศมี คงลายทอง นายทวีป คงลายทอง และนายปี๊บ คงลายทอง ท่านรับราชการเป็นครูพิเศษในวิทยาลัยนาฏศิลป์ ด้วยความอุตสาหวิริยะ มาเป็นเวลานาน จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ ท่านได้ถึงแก่กรรมลง ด้วยโรคไต สิริอายุได้ ๘๐ ปี.
(ที่มา : เวปไซด์​วิกิพีเดีย
: ห้องดนตรีสมเด็จ​พระ​เทพรัตน์
: เวปไซด์ TK Park Music Libraly)​
ที่มาภาพถ่ายครูเทียบ คง​ลา​ยทอง​ : อาจารย์อัษฎาวุธ ​สา​คริก
เทปคาสเซ็ท​ เพลงไทยเดิม รวมดนตรี
บริษัท เทปบูรพา จำกัด BP.๓๐๙๑
สำเนาเสียงจากเทปคาส​เซ็ท​ : ฉ​ั​ต​รกร​ เกตุ​มี
เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์​เพลงไทย​ใน​การศึกษา​ มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และแสวงหารายได้
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ : / @deklenkhimchannel7019

Пікірлер: 2

  • @user-dw1qe9vt2j
    @user-dw1qe9vt2j4 ай бұрын

    อันนี้ชื่อเพลงโศกตัด ครับ (คือเอาพญาโศก มาตัดแต่งทำนอง คล้าย ๆ สร้อยสนตัด ทะแยตัด ฯลฯ ครับ)

  • @user-eu8iw5fn5k
    @user-eu8iw5fn5k5 ай бұрын

Келесі