พูดเรื่อง Titan Submersible ในมุมมอง Structural Engineer (เด็กสร้างบ้าน)

Ғылым және технология

ติดตามเราที่ facebook : / curiositychannelth
Blockdit : www.blockdit.com/curiositycha...
Tiktok : / curiositychannelth
instagram ชีวิตส่วนตัว : / ekarajpkk
ติดต่องาน : curiositychannel.th@gmail.com
สั่งซื้อแว่น Ophtus ได้ที่ / ophtus
ใช้โค้ด SONGSAI เพื่อรับส่วนลด 100 บาท
ช่องคนช่างสงสัยได้จัดแคมเปญร่วมกับ futureskill.co/ Platform การเรียนรู้ทักษะในยุคอนาคต เช่น การเขียนโปรแกรม , เขียนเว็บไซต์ , การตัดต่อวีดีโอ , Content Creative , Data analytic ฯลฯ
1. แพ็คเกจบุฟเฟ่ต์ 1 ปี - ส่วนลด 50% จาก 9948 เหลือ 4974 บาท
โค้ดส่วนลด : AFFXCC
หรือคลิกที่ลิ้ง fskill.co/Aoag
2. แพ็คเกจรายคอร์ส - ส่วนลด 100 บาท คอร์สเรียนเดี่ยว คอร์สใดก็ได้ ลดเพิ่มจากราคาลดแล้วจากราคาขายบนหน้าเว็บไซต์
โค้ดส่วนลด : AFFXCC100
หรือคลิกที่ลิ้ง fskill.co/Aoal
3. แพ็คเกจ Superclass - ส่วนลด 100 บาท ลดเพิ่มจากราคาลดแล้วจากราคาขายบนหน้าเว็บไซต์
โค้ดส่วนลด : AFFXCC100
หรือคลิกที่ลิ้ง fskill.co/Aoam
คลาส Wining your brand with grit เอาชนะอุปสรรคในการสร้างแบรนด์แบบ "กัดไม่ปล่อย" โดย คุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
page.futureskill.co/winning-y...
โค้ดส่วนลด : AFFXCC100
Friendly Gym ฟิตเนส บางพลี
/ friendlygymsmt9
----------------------------------------
ในวันที่ 16 มิถุนายน 2023 นักท่องเที่ยวและนักสำรวจ 4 คน ได้เดินทางออกจากท่าเรือที่ประเทศแคนนาดา ด้วยเรือทลายน้ำแข็งที่ชื่อว่า Polar Prince เพื่อไปดำน้ำสำรวจซากเรือไททานิก ที่อยู่ห่างจากแผ่นดินแคนาดาไปทางมหาสมุทรแอตแลนติก ประมาณ 600 กิโลเมตร และจมอยู่ใต้มหาสมุทรประมาณ 3800 เมตร
พวกเขาได้เดินทางมาถึงจุดดำน้ำในวันที่ 18 มิถุนายน 2023 และจะดำน้ำลงไปด้วยเรือดำน้ำ Titan ของบริษัท Oceangate สำรวจใต้ท้องทะเลชื่อดัง พวกเขาเริ่มต้นดำน้ำลงไปตอนเวลาประมาณ 9 นาฬิกา 30 นาที ตามเวลาท้องถิ่น
โดยผู้โดยสารเรือดำน้ำครั้งนี้มีทั้งหมด 5 คน ได้แก่ Stockton Rush CEO และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท OceanGate และเขาเป็นคนขับเรือดำน้ำในครั้งนี้ , Shahzacla Dawood นักธุรกิจชาวปากีสถาน และลูกชายวัย 19 ปี ของเขาที่ชื่อว่า Suleman Dawood , นักธุรกิจและนักสำรวจชาวอังกฤษ Hamish Harding และ , นักสำรวจทำเลลึก Paul-Henri Nargeolet
แล้วภารกิจเที่ยวชมไทยทานิก ในวันที่ 18 มิถุนายน 2023 นี้ ก็ไม่ใช่การดำน้ำครั้งแรกของเรือดำน้ำไททัน มันเคยลงไปสำรวจไททานิกแล้ว 6 ครั้ง ในปี 2021 , 7 ครั้งในปี 2022 และ 1 ครั้งก่อนหน้านี้ เมื่อต้นปี 2023 อันนี้รวมทั้งการดำทดสอบ และการดำสำรวจทั้งหมดนะครับ แต่ข้อมูลนี้ หลายๆแหล่งข่าวก็ยังบอกตัวเลขไม่เหมือนกันอยู่ แต่ที่เรารู้แน่ ๆ คือ มันเคยลงไปใต้ท้องทะเลลึกมาแล้วหลายครั้ง
ดังนั้น การเดินทางในวันที่ 18 มิถุนายน 2023 ก็เป็นการเดินทางปรกติที่ทำซ้ำๆ มาหลายครั้ง ไม่มีอะไรต่างจากครั้งที่ผ่านมา ไม่มีอะไรพิเศษ
ตั้งแต่เริ่มดำในเวลา 9 นาฬิกา 30 นาที ท้องถิ่น ทุกอย่างก็ดำเนินไปตามปรกติ ไม่มีอะไรผิดแปลก จนกระทั้ง 11.15 เรือแม่ก็ขาดการติดต่อกับเรือดำน้ำ Titan ซึ่ง ตอนแรกคนบนเรือแม่ก็ไม่คิดว่าผิดปรกติอะไร เพราะสัญญาณมันขาดๆ หายๆ เป็นประจำอยู่แล้ว
แต่พอถึงช่วงเย็น เวลาประมาณ 16 นาฬิกา 30 นาที เป็นเวลากำหนดเวลาที่ เรือดำน้ำไททัน ควรกลับขึ้นมาบนผิวน้ำ แต่พวกเขากลับไม่ขึ้นมา หลังจากรอกว่า 40 นาที คนบนเรือแม่ก็รู้ทันทีว่านี่มันไม่ปรกติแล้ว จึงติดต่อเจ้าหน้าที่จากชายฝั่งมาช่วยกันค้นหา
และในวันที่ 22 มิถุนายน หรือ 4 วันหลังจากเรือดำน้ำ Titan ได้หายไป ทีมค้นหา ก็ได้พบเศษชิ้นส่วนของเรือดำน้ำที่ก้นทะเล ห่างจากซากเรือไททานิก ประมาณ 500 เมตร ณ เวลานั้น ทุกคนได้รับรู้ว่า ผู้สูญหายทั้ง 5 คน ได้เสียชีวิตแล้วอย่างแน่นอน และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกู้ร่างพวกเขาได้
นักวิทยาศาสตร์คาดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เรือดำน้ำ Titan รับแรงดันน้ำอันมหาศาลที่ใต้ท้องทะเลไม่ไหว จึงเกิดเกิดการ Implosion ยุบตัวลงมา บดขยี้โครงสร้างของเรือดำน้ำเป็นชิ้นๆ
--------------------------------------------------
Reference

Пікірлер: 240

  • @freshdrummer9869
    @freshdrummer9869 Жыл бұрын

    เครื่องแสดงผลแบบเรียลทามของเรือ ถึงเวลาเริ่มเกิดความเสียหาย สัญญานอาจจะดังได้ แต่คุณก็ไม่สามารถออกจากจุดนั้นได้ในทันทีและก้ต้องจบแบบเดิม เพราะจะมาเบรคแบบรถก้ไม่ได้ มันมีแรงหน่วงก่อน เพราะฉะนั้น มันก้อาจจะลงลึกได้อีกนิดนึง ซึ่งรับแรงต่อเนื่อง จากที่มีเสียงเตือน และก้ตุ้ม

  • @never-next
    @never-next Жыл бұрын

    ชอบตอนสุดท้ายที่พูดถึงเวลาการรับรู้เเละประมวณผลของสมอง มันน่าทึ่งมากเลย เท่ากับว่าเห็นอยู่ตรงหน้าว่าเกิดอะไรแต่ไม่ทันได้ประมวณเหตุการณ์ และตายโดยที่ยังไม่ได้สัมผัสถึงความเจ็บปวด

  • @ninjamajam2
    @ninjamajam2 Жыл бұрын

    เพิ่มเติมเรื่องวัสดุอีกอันที่ผมคิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องที่สุด คือเรื่องความล้าของวัสดุครับ จากที่ลงไปมาหลายครั้งแล้วไม่เสียหาย แสดงว่าตามดีไซน์ความแข็งแรงน่าจะได้ เพียงแต่น่าจะขาดการวิเคราะห์ด้านความล้าในระหว่างการออกแบบ บางทีช่วงแรงที่รับ อาจจะสูงมากจนแทบตกกราฟความล้าเลยครับ

  • @kruing02

    @kruing02

    Жыл бұрын

    ใช่ครับ น่าจะมีการกำหนดชั่วโมงรับแรงดัน(เหมือนเครื่องบิน) หรือเขามีแต่เราไม่รู้

  • @chain-888

    @chain-888

    Жыл бұрын

    ​@@kruing02เรื่องพวกนี้ต่อให้ระวังก็เกิดได้ เราไม่รู้ว่า เซฟตี้แฟคเตอร์ เท่าไหร่

  • @greenant7585

    @greenant7585

    Жыл бұрын

    ใช่ๆคิดแบบเดียวกัน บางคนตั้งคำถามทำไมเจมส์ลงไปได้ละลึกกว่าเอ้าก็เขาใช้ของใหม่ทุกรอบเหมือนพอตใช้ละทิ้งอ่ะรวยเกิน555555

  • @superbigboss6149

    @superbigboss6149

    Жыл бұрын

    @@chain-888ทำแบบจำลองเพื่อหาข้อมูลที่ใกล้เคียงได้อยู่ครับ

  • @superbigboss6149

    @superbigboss6149

    Жыл бұрын

    ถ้าเห็นวิธีการสานบอดี้แล้วจะตกใช้ครับใช้วิธสานแบบทิศทางเดียวซึ่งต่างกับบอดี้F1ที่เป็นการสานแบบ3มิติ

  • @JodMeridash
    @JodMeridash Жыл бұрын

    มีบางช่องเคยพูดถึงการทดสอบก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ บอกว่าในการทดสอบลงพบเสียงการลั่นของวัสดุ แต่ก็ยังฝืนลงทดสอบต่อ เพราะคิดว่าอุปกรณ์ยังใหม่อยู่ เนื้อวัสดุเลยยังไม่เข้ารูป อีกเรื่องก็คือการยุบตัวของวัสดุต่างชนิดที่ไม่เท่ากัน (ไทเทเนียม กับ คาร์บอนไฟเบอร์) ผ่านการจับยืด2 วัสดุด้วย Epoxy resin การเปลี่ยนแรงดันซ้ำ ๆ ประมาทล้วน ๆ เลยครับ ฝืนในฝืน จุดจบร้ายแรงมาก

  • @spermkk
    @spermkk Жыл бұрын

    สำหรับผมคาดว่าจุดที่มีความเสี่ยงมีอยู่ 2 จุดครับ -จุดเชื่อมต่อต่างๆ โดยฉพาะระหว่างวัสดุสองวัสดุ - แนวถักเส้นใยของคาร์บอนไฟเบอร์ว่าอยู่ในทิศทางที่ตัววัสดุทำงานเต็มประสิทธิภาพหรือเปล่า เป็นการคาดคะเนครับผม ผิดพลาดประการใดช่วยแนะนำด้วยนะครับ

  • @Issara87
    @Issara87 Жыл бұрын

    ดีแล้วครับ ครบถ้วนกว่าหลายๆที่ บางทีดูจากข่าวโดยผู้ประกาศไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์ สื่อสารมาผิดๆก็เยอะ เช่นกระจกหน้ายานบอกรับแรงดันได้ 1300 ทั้งที่ต้องว่าทดสอบผ่านแล้วที่ 1300 ฟังตอนแรกก็งง ว่าทำไมถึงเอาไปใช้จริงที่ความลึก3800ม.ได้

  • @noom_rangsit
    @noom_rangsit Жыл бұрын

    เป็นแฟนคลับช่องนี้มานานแล้ว ชอบที่สุดคือลีลาจังหวะการพูด ไม่เร็วไม่ช้าไป ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที และสาระที่นำมาพูด แม้จะเข้าใจยาก แต่ฟังแล้วก็เข้าใจได้แม้ไม่เคยเรียนวิทยาศาสตร์มาก็ตามครับ เป็นกำลังใจให้ตลอดไปครับ และขอให้มีสปอนเซอร์เพิ่มขึ้นอีกนะครับ ❤❤❤

  • @user-gt2ug2ru1n
    @user-gt2ug2ru1n Жыл бұрын

    ปัญหาคือ Section ที่ลงไปสำรวจเพราะไม่มีที่ไหนทำการทดสอบมาอย่างละเอียดมาก่อนเหตุที่ทำไมเรือของ เจมส์ คาเมร่อน ถึงต้องเป็นวงกลมเพราะเป็นรูปทรงที่สามารถรับแรงได้มากกว่ารูปทรงอื่นๆด้วยเหตุที่รูปทรงนี้สามารถรับแรงได้เท่ากันรอบด้านไม่เหมือนรูปทรงอื่นอย่างเช่นทรงกระบอกของยานดำน้ำ Titan นั้นก็รับแรงไม่เท่ากันอีตรงส่วนที่เป็นด้านยาวจะต้องรับแรงมากกว่าส่วนที่เป็นด้านกว้างแถมส่วนด้านนี้ยังเป็นวัสดุที่มีความเปราะไม่มีความยืดหยุ่นมากสักเท่าไหร่แถมยังเป็นวัสดุที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกันอีกส่วนที่เหลือที่เห็นนำขึ้นมาจากทะเลยยังคงสภาพดีอยู่คือส่วน Titanium's ที่แทบไม่เป็นอะไรเลยแต่กลับกันส่วนที่มีความเสียหายมากส่วนไหญ่เป็นวัสดุที่ไม่ใช่ titanium ผมคิดแบบนี้ใครจะว่ายังไงแนะนำได้

  • @pongtarattantiapigul2813
    @pongtarattantiapigul2813 Жыл бұрын

    ประเด็นตามคลิปนี้คือ วัสดุที่ใช้สำคัญมาก ถ้าไททั่นใช้วัสดุโลหะเป็นไปได้ที่จะพบความผิดปกติก่อนพัง

  • @sukhum99
    @sukhum9911 ай бұрын

    คลิปยาว แต่สนุกมากครับ อยากได้คลิป อวกาศ วิวัฒนาการ แบบเนื้อหาเยอะๆ แบบนี้ครับ ดูยาวๆไป ไม่เบื่อ

  • @Jaaaarod
    @Jaaaarod Жыл бұрын

    ชอบช่องนี้ที่ เอาสาระดีๆมาอธิบายฟังตลอดครับ ติดตามตลอด.ปล ถ้าไม่ติดขัดประการใด อยากฟังหลักการ ทำงานของสะพาน ข้ามทางที่ และ failure mode ของมันด้วยครับ

  • @khonfairu
    @khonfairu Жыл бұрын

    ขอบคุณข้อมูลดีๆมีสาระคร้าบบ คลิปนี้มาแบบจุใจกันไปเลย 🎉🎉

  • @curiosity-channel

    @curiosity-channel

    Жыл бұрын

    นานๆ มีเรื่องวิดวะให้เล่าที ขอจัดเต็มๆ ครับ

  • @user-bk4gl3sg2e
    @user-bk4gl3sg2e11 ай бұрын

    เฉียบแหลมมากครับ. ผมดูช่องอื่นยังอธิบายไม่กระจ่างเหมิอนคุณเลยเข้าใจง่าย

  • @Gracetug
    @Gracetug Жыл бұрын

    รอคลิปนี้อยู่ค่า สมกับการรอคอยจิงๆ ครบเครื่องสุดๆ ดูสนุกมากๆค่ะ คลิปยาวแต่เพลินมากๆ ขอสมัครเป็น แฟนตัวยงอีกคนค่ะ

  • @ChopzEye
    @ChopzEye Жыл бұрын

    ที่ อ. ตอนป.โทพูดก็ถูกนะครับ ถ้าบอกว่าพื้นอาคารชั้นสามนี้รับน้ำหนักได้ 3,922.66 นิวตันต่อตารางเมตร คนไทยจะนึกไม่ออก แต่พอบอก 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเค้าจะนึกออก ว่าใน 1 ตารางเมตรไม่ควรวางฟอร์นิเจอร์ หรือมีคนยืนน้ำหนักรวมมากกว่า 400 กิโลกรัม

  • @SherbetChopper
    @SherbetChopper Жыл бұрын

    เหมือนคลิปจะยาว แต่เพลินๆแป๊บเดียวจบ ที่คุณเอกบอกว่านอกเรื่องไปไกล ผมว่ามันทำให้เห็นภาพและเข้าใจครับ

  • @Angkatavanich
    @Angkatavanich Жыл бұрын

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้ค่ะ

  • @onginov
    @onginov Жыл бұрын

    เป็นคลิปที่โคตรเจ๋งเลยนครับ ฟังเพลินเลย ความรู้อัดแน่นแต่ย่อยง่ายมากครับ ขอบคุณมากๆเลยครับ

  • @ahirujee
    @ahirujee11 ай бұрын

    สนุกมาก ได้ประโยชน์มาก ขอบคุณค่ะ

  • @user-cz1rv4gf6v
    @user-cz1rv4gf6v Жыл бұрын

    ขอบคุณสำหลับความรู้คับ ลงบ่อยๆนะคับ

  • @tanakittancharoen4467
    @tanakittancharoen4467 Жыл бұрын

    รักช่องนี้ที่สุดเลยครับ สุดยอดดด 👍❤️

  • @nuengi001
    @nuengi001 Жыл бұрын

    ชอบช่องนี้มากกเลยครับ ผมมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นเพราะช่องนี้เลยครับ ขอบคุณมากครับ

  • @user-zh9np1zj3y
    @user-zh9np1zj3y Жыл бұрын

    เป็นคลิป 1 ชม. ที่ดูไม่เบื่อเลย เก่งมากค่ะ

  • @suke9859
    @suke9859 Жыл бұрын

    รอมานานมากๆ สุดท้ายได้ดูคลิปสมใจ ขอบคุณมากๆครับที่ทำคลิปดีๆอบบนี้ออกมา สุดยอดมากครับ

  • @muttleymagnificent7937
    @muttleymagnificent7937 Жыл бұрын

    เรื่องโครงสร้าง วัสดุ safety factor design ทั้งหลาย ทางวิศวกรรม น่าจะถูกพิจารณามาอย่างดีแล้ว ยืนยันได้จากการใช้งานมาหลายรอบแล้ว ผมเชื่อว่าปัญหาคือเรื่องการซ่อมบำรุง ไม่ว่าจะเป็น preventive หรือ routine maintenance ซึ่งต้องอาศัยความระเอียดรอบคอบสม่ำเสมออย่างมาก

  • @Issara87

    @Issara87

    Жыл бұрын

    ก็ถ้าตัวยานยุบไปแบบนั้น ไม่ใช่โครงสร้างแล้วคืออะไรครับ วัสดุที่รับแรงดันสูงๆต่ำๆ ยึดและหดตัวบ่อยๆ ยิ่งคอบอนไฟเบอร์ไม่มีความเหนียว รอยร้าวนิดเดียวคือหายนะได้เลยครับ

  • @muttleymagnificent7937

    @muttleymagnificent7937

    Жыл бұрын

    @@Issara87 เข้าใจคำว่า maintenance มั้ยครับ? ต่อให้ทุกอย่างดีหมด(ออกแบบ วัสดุ ...) แต่ทุกครั้งหลังผ่านการใช้งาน ก่อนใข้งาน และอยู่ระหว่างรอใข้งาน ก็ต้องมีการตรวจสอบบำรุงรักษา หาจุดบกพร่องก่อนการใช้งาน รวมถึงป้องกัน(ไว้ก่อนที่จะมีความบกพร่อง) เรือลำนี้ผ่านการใช้งานมาก็ไม่น้อยย่อมจะต้องมีความเสื่อมสภาพอยู่บ้างเป็นเรื่องปกติถ้าบำรุงรักษาไม่ดีความบกพร่องเล็กๆน้อยๆก็นำปัญหาใหญ่มาให้ได้อย่างแน่นอน

  • @Issara87

    @Issara87

    Жыл бұрын

    @@muttleymagnificent7937 เข้าใจครับ แต่ส่วนใหญ่มันก็ตรวจสอบบำรุงรักษาคราวๆ เปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น แต่การจะตรวจสอบเชิงลึกถึงรอยแตกรอยร้าว หรือความล้าของวัสดุ ที่ไม่เคยมีใครใช้แบบนี้ จะมีมาตรฐานหรือเครื่องมือไหนมาตรวจสอบได้ครับ จนกว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น และใครจะใช้คาบอนไฟเบอร์อีก ถึงจะตระหนักในปัญหานี้ ในการทำสิ่งแรกก่อนใคร ก็มักจะเจอปัญหาก่อนใครเช่นกันละครับ

  • @phisitpooratanachinda7894

    @phisitpooratanachinda7894

    Жыл бұрын

    ​​​​@@Issara87 Rob MacCallum ที่เคยเป็นวิศวกรดูแลเรื่องความปลอดภัยของ Titan เคยออกมาพูดก่อนหน้าอุบัติเหตุว่า มีปัญหาเรื่องการบำรุงรักษาตัวเรือ ถ้าผมจะเชื่อใครสักคนผมเลือก Rob

  • @Issara87

    @Issara87

    Жыл бұрын

    @@phisitpooratanachinda7894 ก็ถูกแล้วครับ การตรวจสภาพโครงสร้างตัวเรือคาบอนไฟเบอร๋ ก็คือการตรวจบำรุงรักษาด้วยไม่ใช่เหรอ แต่อย่างที่ผมว่าไป ไม่เคยมีการใช้วัสดุนี้ทำยานต์ดำน้ำมาก่อน คุณจะรู้ได้ไงว่าวิธีการถูกต้อง เหมาะสมมั้ย ที่บอกว่าเพราะโครงสร้างตัวเรือ ก็เพราะเราไม่เข้าใจวัสดุนี้ในการทำเรือดำน้ำมากพอ ผมพูดผิดหรือเปล่า เมื่อไม่รู้ดีพอ จะจัดการบำรุงรักษาที่เหมาะสมได้มั้ยละ

  • @ariya5809
    @ariya580910 ай бұрын

    ดูแล้วรู้สึกฉลาดขึ้นมาเลยค่ะ อธิบายเข้าใจง่ายดีค่ะ

  • @chanhdong23
    @chanhdong23 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้มากเลยครับ

  • @BirmDindaeng
    @BirmDindaeng Жыл бұрын

    เป็นไปได้ไหมครับที่สาเหตุการระเบิดเกิดจากวัสดุมีความเหนียวไม่เท่ากัน วัสดุกลางลำตัวเป็นคาร์บอนไฟเบอร์มีความเหนียวต่ำ วัสดุส่วนหัวและท้ายเป็นไทเทเนียม เมื่อได้รับ cyclic load จึงเกิดการแยกตัวที่รอยต่อกาว

  • @wyri4NT14

    @wyri4NT14

    Жыл бұрын

    มีส่วนครับ ตัวส่วนกระจกของยานบอบบางที่สุดครับ

  • @speedbikeclub
    @speedbikeclub Жыл бұрын

    สุดยอดเลยครับ ฟังเพลินมาก

  • @Standbychannelone
    @Standbychannelone Жыл бұрын

    รอนานเลย ติดตามครับ

  • @foldforlife2530
    @foldforlife253011 ай бұрын

    เท่าที่ดูข่าวในแต่ละช่องมีนักวิชาการพูดถึงเหตุการณ์ยังไม่ลึกเท่าดูช่องนี้เรย..ขอบคุณมากได้ความรู้มากเรย

  • @montainchaiwanna9248
    @montainchaiwanna9248 Жыл бұрын

    เป็นคลิปที่ยาวมากครับ และผมก็ดูจนจบ😊

  • @spacemanthailand
    @spacemanthailand Жыл бұрын

    ขอบคุณคลิปความรู้เชิงวิศวกรรมแน่น ๆ ที่ใช้เวลาเตรียมข้อมูลและเวลาตัดต่อนานครับ 🙏

  • @freshdrummer9869

    @freshdrummer9869

    Жыл бұрын

    หากจิตวิญญาน มนุษย์มีจริงๆ บางทีเขายังพยายามแก้ ปันหาเรือลำนั้นอยุ่เพราะยังไม่ทันรับรุ้ว่าตนตายแล้ว ก้ได้ เนอะ

  • @user-fs2ij3ev4c

    @user-fs2ij3ev4c

    11 ай бұрын

    ทุกอย่างต้องใช้เวลาความอดทน แล้วทุกอย่างก็ประสบความสำเร็จได้จริง

  • @pongtarattantiapigul2813
    @pongtarattantiapigul2813 Жыл бұрын

    เรื่องหน่วยในงานช่างบ้านเรามันมีหลายแบบครับ แค่ขนาดท่อยังเรายังใช้ หุน ใช้นิ้วเลยครับ อย่างที่บอกให้มันใช้ได้ปลอดภัยเป็นพอ

  • @SuperNaiyan
    @SuperNaiyan Жыл бұрын

    implosion การระเบิดเข้าหาศูนย์กลาง หรือระเบิดแบบยุบเข้า explosion การระเบิดออกจากศูนย์กลาง หรือระเบิดแบบแตกออก

  • @sathitwa
    @sathitwa Жыл бұрын

    มายาวเลยรอบบนี้ ชั่วโมงนึง หายคิดถึงเลยครับ

  • @pleaseta
    @pleaseta Жыл бұрын

    ผมชอบมากครับ ผมไปไล่ดูแทบทุกคลิป ❤❤

  • @samaxjunk
    @samaxjunk Жыл бұрын

    ติดตามดูทุกคลิปชอบครับ

  • @club1199
    @club1199 Жыл бұрын

    วิเคราะห์ละเอียดดีครับเป็นไปได้หมดเจ้าของลืมคิดเรื่องความเครียดของวัสดุไปหรือปล่าว ชอบคลิปนี้ครับ😊😊😊

  • @duoangel190
    @duoangel190 Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ, สำหรับคลิป ฟังเพลินดีครับ ขออนุญาตเปลี่ยนใจ ไม่ วิจารณ์ เรื่อง CEO นะครับ, อย่างน้อย เป็นการแสดงความให้เกียรติ ต่อดวงวิญญาณ ของเขา ครับ

  • @phoenix5883
    @phoenix5883 Жыл бұрын

    เราจะตายก่อนที่ภาพและความรู้สึกจะส่งถึงสมองครับ ผมฟังจากช่องของหมอ

  • @karaoke8131
    @karaoke8131 Жыл бұрын

    ชอบมากครับ ถ้าเป็นไปได้ช่วยทำเรื่อง เเนวคิดเกี่ยวกับ planet x / planet nine หน่อย ครับ

  • @-3-613
    @-3-613 Жыл бұрын

    ชอบมากครับ ดูยาวๆ

  • @user-zh9np1zj3y
    @user-zh9np1zj3y Жыл бұрын

    อหหหห คลิปเป็นชม.เลย เดี๋ยวจะหาเวลาว่างมาดูนะคะ

  • @bankvisutkan
    @bankvisutkan Жыл бұрын

    แอดฯ เก่งจังคับ ตื่นเต้นกับการวิเคราะห์เหตุโดยใช้หลักความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์และฟิสิกส์ แต่ที่ทึ่งกว่าคืออยากให้วัยเรียนเปิดมาดูว่า นี่แหละคือผลของการตั้งใจเรียนเมื่อยังมีโอกาสให้เรียน

  • @annanny2400
    @annanny2400 Жыл бұрын

    สุดยอดค่ะ👍

  • @user-di7dc9ei4u
    @user-di7dc9ei4u Жыл бұрын

    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

  • @curiosity-channel

    @curiosity-channel

    Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @santayasha
    @santayasha Жыл бұрын

    คลิปสนุกดี

  • @kruing02
    @kruing02 Жыл бұрын

    อยากได้อีกคลิปครับ "สะพานลอยสั่น" ที่เป็นข่าว เอาแน่นๆ

  • @RocK1983_
    @RocK1983_ Жыл бұрын

    เหตุเกิดครั้งนี้มีคุณาประคุณยิ่ง คนสร้างอาจผิดในเรื่องนี้ แต่เรื่องตระหนักให้เรียนรู้แรงกดเพื่อการผลิตโครงสร้างนั้นเขาพิสูทธิ์ให้เห็นแล้ว

  • @heinzawsoe7181
    @heinzawsoe7181 Жыл бұрын

    ชอบพี่มากเลยคับ

  • @fthvf7862
    @fthvf786210 ай бұрын

    สุดยอดการประมวลผลการสื่อความหมาย

  • @sasdamzaa55
    @sasdamzaa55 Жыл бұрын

    ถ้าพี่จัด podcast ต้องสนุกมากแน่ๆ

  • @tonistudio6123
    @tonistudio6123 Жыл бұрын

    เวลาเกินครับแต่ดูจบสนุกมาก😊

  • @ohyech1365
    @ohyech1365 Жыл бұрын

    ตั้งแต่ดูยูทูป ดูช่องนี้แล้วฉลาดขึ้นมากๆ

  • @daddygod2904
    @daddygod2904 Жыл бұрын

    หายไปนานเลยพี่

  • @ilumiabelly3563
    @ilumiabelly3563 Жыл бұрын

    ตามมาฟังค่ะ 😊😘👍

  • @nithikornjantornthin1846
    @nithikornjantornthin1846 Жыл бұрын

    ขอบคุณที่สร้างคอนเทนเนอร์นี้ ❤

  • @BirmDindaeng

    @BirmDindaeng

    Жыл бұрын

    คอนเทนต์ใช่ไหมครับ

  • @fozzchannel5901
    @fozzchannel5901 Жыл бұрын

    ชอบครับ ละเอียดยิบ

  • @ToTo_Lekato
    @ToTo_Lekato Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ 😊

  • @IHaoRango
    @IHaoRango Жыл бұрын

    ละเอียดมากกกกกก

  • @littan
    @littan Жыл бұрын

    ช่วยทำเรื่องทางยกระดับที่พังลงมาที่ กทม ด้วยได้ไหมครับ

  • @somkiatmaystock6781
    @somkiatmaystock6781 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากมากครับ

  • @curiosity-channel

    @curiosity-channel

    Жыл бұрын

    ขอบคุณมากเลยคร้าบ

  • @dmt2095
    @dmt2095 Жыл бұрын

    ขอ1ชัวโมงฉํ่าๆแบบนี้อีกนะ🙇

  • @surachaikmitnb2969
    @surachaikmitnb2969 Жыл бұрын

    Thanks!

  • @lanlanha
    @lanlanha Жыл бұрын

    แล้วความแตกต่างของแรงดันภายนอกกับในร่างกายมนุษย์ ต้องแตกต่างกันแค่ไหนร่างกายถึงเริ่มรับไม่ได้ แค่ดำน้ำลึก 1 เมตร ก็มีความดันเพิ่มขึ้น 1 ตันแล้ว แค่ฟังก็รู้สึกว่าเยอะเหลือเกิน แต่เรากลับดำน้ำได้ลึกกว่านั้นเป็นปกติ (ปล. ถามแบบบ้านๆนะครับ ไม่มีความรู้ อย่าดราม่าเลย)

  • @Azathoth-bj4tn

    @Azathoth-bj4tn

    Жыл бұрын

    แรงดัน 0 คืออวกาศครับ ถ้ามนุษย์ไปอวกาศแบบถอดชุดตัวจะ พองขึ้นมากเลย

  • @Azathoth-bj4tn

    @Azathoth-bj4tn

    Жыл бұрын

    แต่ละคนรับแรงดันได้ต่างกันครับ

  • @ontpollakul9610
    @ontpollakul9610 Жыл бұрын

    ไปอวกาศ มันยากน้อยกว่าไปใต้ทะเลอีตรงที่ความแตกต่างของความดันมัน max ที่ 1 atm ในขณะที่ใต้ทะเลเกินกว่านั้นมาก

  • @ontpollakul9610

    @ontpollakul9610

    Жыл бұрын

    คาร์บอนไฟเบอร์ น่าจะรับแรงดึงได้ดีกว่าแรงดันมาก ใช้เป็นตัวถังเครื่องบินได้เพราะรับแรงดึงเป็นหลัก แต่พอให้รับแรงดันแบบเรือดำน้ำ อันนี้ลุ้น

  • @narakonsirisopa9980
    @narakonsirisopa9980 Жыл бұрын

    แรงบีบฉับพลัน ซึ่งต่างกับแรงดูดหรือแรงกดทับด้านใดด้านหนึ่ง เพราะแรงบีบมันมีแรงมากระทำทั่วทิศทาง

  • @user-zg6hc3xv1p
    @user-zg6hc3xv1p7 ай бұрын

    อธิบายเรื่องแรงดันง่ายๆครับ😊ลองเอาถุงหูหิ้ว ถุงยงถุงยางก็ได้😅เป่าลมเข้าไป แล้วก็เอาไปกดลงน้ำดูว่ามันเป็นอย่างไร ถ้ากดลงตื้นก็จะกดลงง่าย แต่ถ้าคุณจะกดลงลึกๆคุณจะเห็นว่าถุงมันโดนบีบจนลมข้างในจะระเบิดออกมาเป็นโกโก้ครั้นอยู่แล้ว😂😂😂😂กล่าวคือมันมีอากาศอยู่ข้างในมันจึงมีผลต่อแรงดันน้ำ😊😊ยิ่งกดลงลึกยิ่งแรงดันสูง😊😊

  • @kboyhat
    @kboyhat Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @user-fy3gd4uz9s
    @user-fy3gd4uz9s Жыл бұрын

    ปัญหามันเกิดจากเรื่องเดียวเลยครับ คือความมักง่ายของมนุษย์ โดยเฉพาะมนุษย์ที่เป็นเจ้าของบริษัท อะไรๆ ก็ลดต้นทุน เพื่อให้กำไรมากที่สุด กำไรน้อยลงหน่อยก็คงไม่ตายหรอกมั้ง

  • @Yoyo123A
    @Yoyo123A Жыл бұрын

    7:45 ผมเรียกว่าการถูกบีบอัดแบบฉับพลันครับ

  • @MrSssseo
    @MrSssseo Жыл бұрын

    ความหนาแน่นในน้ำลึก กับน้ำตื้นต่างกันอีกด้วยครับ ที่น้ำลึกน้ำเย็นก่ว่า มีเกลือผมสมอยู่มากกว่า เคยอ่านมาผ่านๆครับ

  • @yaazilla
    @yaazilla29 күн бұрын

    น่าสนใจครับ

  • @gOd.father__
    @gOd.father__ Жыл бұрын

    เข้าใจล่ะ ทำไม แก้ว แตก ง่าย 👍 เรือ ของ ลุงเจม เป็น ทรงกลม น่าจะเเข็งแรงกว่า ทรงกระบอก

  • @zigaroldman8190

    @zigaroldman8190

    4 ай бұрын

    ทรงกลม มันช่วยหักเหแรงดัน ได้ดีกว่าทรงกระบอก

  • @gOd.father__

    @gOd.father__

    4 ай бұрын

    @@zigaroldman8190 เขาเรียก กระจายแรง ไม่ใช่ หักเหแรง

  • @zigaroldman8190

    @zigaroldman8190

    4 ай бұрын

    @@gOd.father__ เอ่อนั้นแหละ แหม่กรูก็ตกฟิสิกอะนะ จริงๆมรึงตอบแบบนี้ก็ได้นะ เขาเรียกกระจายแรง หรือป่าวครับ? พ่อนักฟิสิกใหญ่ พ่อๆมิการันเจโล่ พ่อๆไอแซคนิวตัน แหม่ พ่อเอ็ดเวิดนอตัน พ่อแบล็คพีค !

  • @zigaroldman8190

    @zigaroldman8190

    4 ай бұрын

    และจริงๆมึงบอกน่าจะแข็งแรงกว่า ไม่ใช่น่าจะนะ มันแข็งแรงกว่า 100% น่าจะไม่ได้ครับ ฟิสิกส์ น่าจะ ไม่ได้นะครับ

  • @zigaroldman8190

    @zigaroldman8190

    4 ай бұрын

    @@gOd.father__ ทรงกลมแข็งกว่าทรงกระบอกแน่นอน ไม่ใช่น่าจะ ! เข้าใจป่าว

  • @suriyaburana822
    @suriyaburana8223 ай бұрын

    ดูคลิปนี้แล้วคิดถึงโบอิง เลยครับ การตลาดนำวิศวกรรม = โศกนาฏกรรม

  • @HDSKOS1
    @HDSKOS1 Жыл бұрын

    พี่ครับพี่ทำคลิปเรื่ง เซโน้ พาราด็อก ได้ไหมครับ

  • @r.j.8774
    @r.j.8774 Жыл бұрын

    ตอนนี้บริษัทโอเชียนเกตท์มีเพิ่มรายการ ทัวร์ซากเรือไททันเพิ่มอีกทริปแล้วรึยังครับ

  • @user-xs7dc2tx6d

    @user-xs7dc2tx6d

    Жыл бұрын

    ไม่มีค่ะเพราะซากไททันได้กู้ซากขึ้นมาแล้วค่ะ กู้โดยยานดำน้ำ ROV ค่ะ

  • @luckyriri7232
    @luckyriri7232 Жыл бұрын

    ขอ เรื่อง จิตวิทยา พฤติกรรม มนุษย์

  • @kruing02
    @kruing02 Жыл бұрын

    เราชาววิศวะ ฟังกูรู แล้วขำ แม้กระทั่งคนอ่านข่าว มันสะกดคนละแบบอยู่แล้ว "ระเบิด" เป็นไปได้อย่างไร ตัวอย่าง "เครื่องบิน" ข้างในความดันสูง กับ "เรือดำน้ำ" ข้างนอกความดันสูง ปรากฏการณ์มันคนละอย่าง

  • @sustainabi
    @sustainabi Жыл бұрын

    Explosionระเบิด Implosionระบุบ

  • @piyaratchhongtaweekul
    @piyaratchhongtaweekul Жыл бұрын

    ทักทายครับ ตั้งตารอครับ

  • @lordseyren5454
    @lordseyren5454 Жыл бұрын

    พูดถึงเรื่องอุบัติเหตุใต้ทะเลลักษณะนี้แล้วผมนึกถึงเรื่อง Byford dolphin accident เลยครับ สนใจทำซักคลิปมั๊ยครับ ?

  • @Sora-bo2rl
    @Sora-bo2rl Жыл бұрын

    ขอบคุณมากครับ เรื่องนี้ผมถือว่าเป็นบทเรียนที่ดีสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์แบบผมมาเลยครับ ทำให้เข้าใจความสำคัญของการออกแบบที่ดีเลยครับ ขอบคุณมากครับ

  • @mypicturena
    @mypicturena5 ай бұрын

    ไม่ว่าเราเรียนจบ หรือ เชี่ยวชาญอะไรก็ตาม ก็อย่ามั่นใจตัวเองสูงมากจนเกินไป เราต้องทำตามมาตรฐานสากลจึงจะดีที่สุด

  • @anurakthappayasan603
    @anurakthappayasan603 Жыл бұрын

    พี่ครับ ผมอยากรู่ว่าไฟแชคแก๊ส ดอกล่ะ 5 บาท 10 บาท ทำไมแก๊สในไฟแชคข้างในมันเป็นน้ำ แต่พอปล่อยออกมามันเป็นก๊าซครับ ทำไมมันไม่ไหลออกมาเป็นน้ำแบบน้ำทั่วไปครับ อันนี้เกี่ยวกับแรงดันด้วยหรือเปล่าครับ

  • @chowwalitpuakaosan3249
    @chowwalitpuakaosan32494 ай бұрын

    ที่ผมทึ่ง คือ ทร. เมกานี้ แน่นอนจริง ยังจับสัญญาณได้ แสดงว่าเรือดำน้ำเขาประจำการอยู่ทั่วโลกนี้แน่นอน

  • @goodwordmerithappy6395
    @goodwordmerithappy63955 ай бұрын

    ส่วนมากถ้าเป็นเกี่ยวกับอากาศหรือลมผมเรียกความดันอากาศ ส่วนแรงดัน ผมใช้เรียกแรงดันไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าครับ

  • @user-ti6rk2im5k
    @user-ti6rk2im5k5 ай бұрын

    ดูแว็บเดียวก็รู้ได้ง่ายๆเลย คือ จุดอ่อนอยู่บริเวณตรงก้นยาน เมื่อเจอแรงดันมหาศาล ก้นจะบีบแบนก่อน ทีนี้หล่ะ การบิดเบี้ยวจะเกิดขึ้นทันทีในเสี้ยววินาที และแรงระเบิดของอากาศจะสวนทางออกจากการบีบอัด ทันทีดังนั้นชิ้นส่วนจึงถูกฉีกออกเป็นชิ้น รูปทรงที่เหมาะสมควรจะเป็นทรงกลมหรือไกล้เคียงทรงกลมเพราะสามารถรับแรงอัดได้รอบตัว ทรงกระบอกยาวไม่น่าจะทนได้ !

  • @vivitkeaophan968
    @vivitkeaophan9689 ай бұрын

    ผมว่าเกิดจากงาน2ชิ้นมาบรรจบกัน ไฟเบอร์คาบอนเป็นทรงกระบอก แล้วเอาไทเทเทียมปิดหัวท้าย ถ้ามันปิดชิ้นเดียวกันจะแข็งแรงกว่านี้

  • @user-bi8mb7ud2v
    @user-bi8mb7ud2v11 ай бұрын

    🎉Much thank! ขอบคุณ สุดยอด!?😮

  • @CableGraceCB
    @CableGraceCB Жыл бұрын

    โอ้ดีเลย ได้สาระเรื่องสายก่อสร้างเพิ่ม

  • @wizardClass2
    @wizardClass2 Жыл бұрын

    สำหรับผมปัญหามันอยู่ที่การใช้รอบสูงสุด ยกตัวอย่างเช่นการขึ้นลงของจรวดอีรอนมัส เมือวัสดุทุกอย่างถูกใช้งานเต็มที่จำนวนรอบการใช้ก็จะถูกจำกัด ซึ่งจากที่ตามข่าวไม่ได้มีการทดสอบว่ายานดำน้ำลงได้กี่รอบก่อนจะเริ่มเสียหาย....อีกเรื่องก็ระบบแจ้งเตือนความเสียหายแบบrealtimeคือหลักการดีนะแต่ลองคิดดูสมมุติเอาไปติดรถยนต์คุณคิดว่าจอดไว้เฉยมันจะพังไหม? มันก็ต้องพังต้องที่รถถูกขับเครื่องยนต์กำลังทำงานใช้ไหมละ แล้วมันจะไปมีประโยชน์อะไรถ้ามันแจ้งเตือนสายเบรกขาดต้อนคุณขับ120 กรณีเดียวกันคือคุณดำลงไปแล้ว3000กว่าแล้วระบบแจ้งว่าโครงสร้างได้รับความเสียหาย...ตู้ม! ธุระกิจแบบนี้ความปลอดภัยต้องมาก่อนเสมอ

  • @user-lg4xq5yp9c
    @user-lg4xq5yp9c4 ай бұрын

    ชอบชื่อ❤❤❤😂😂โปร

  • @preechaphankasem9338
    @preechaphankasem9338 Жыл бұрын

    ขอ คารวะในการหาข้อมุลมานำเสนอของท่านครับ

  • @user-Samachai2512
    @user-Samachai2512 Жыл бұрын

    ครบท่วนจริงๆตอนแรกคิดว่าจะไม่มีการพูดถึงคนบนเรือซะอีก🎉

  • @tanakridchanburi6748
    @tanakridchanburi6748 Жыл бұрын

    ถ้าเราออกไปนอกอวกาศโดยไม่มีชุดอวกาศเราจะเกิด explotion ไหมครับ

  • @Azathoth-bj4tn

    @Azathoth-bj4tn

    Жыл бұрын

    ตัวเราจะพองเหมือนลูกโป่งครับ แต่ไม่แตกเพราะเนื้อหนังมนุษย์ เหนียว

  • @user-cl6nv7eq2n
    @user-cl6nv7eq2n Жыл бұрын

    ในถนะสถาปนิก ผมเห็นด้วยกับท่าน

  • @nttk.5861
    @nttk.5861 Жыл бұрын

    ได้อีกความรู้เลยค่ะ😊 แอบคิด กองทัพสหรัฐ จับสัญญาณเก่ง! น่าแปลก ทำไมMH370 กองทัพต่างๆ ไม่เห็นเลยหรอคะ....

  • @Dioxin-qi6jz

    @Dioxin-qi6jz

    Жыл бұрын

    Mh 370 ถ้ารู้จุดตก ก็หาเจอครับ นี่ไม่รู้อะไรเลย งมเข็มในมหาสมุทรของจริง นี่ไม่นับว่ามันอาจไม่ได้ตก อาจถูกพาไปเก็บที่อื่นอีก

  • @peradolthaimanit
    @peradolthaimanit Жыл бұрын

    ผทชอบคลิปนี้มากเลย แต่ผมอยากช่วยเสริม ฟังมาอีกช่อง คือ cabon fiber เขาใช้ตรงกระบอกส่วนหัวท้ายที่เป็นโดมเขาใช้โลหะ ปัญหาคือ วัสดุต่างกันจะมีการเปลี่ยมรูปไม่เท่ากัน เมื่อวัสดุใดวัสดุหนึ่งเปลี่ยนรูปก่อนจะมีช่องว่าง จึงเกิดเหตุการณ์ Implotion ครับ

Келесі