Optocoupler ออปโต้-คลัปเปอร์ สิ่งสำคัญในวงจรสวิทช์ชิ่ง/และอินเวอร์เตอร์

.... ในการควบคุมการทำงานของภาคจ่ายไฟในปัจจุบันที่เป็นแบบ Switching
Power Supply ส่วนของการป้อนกลับ หรือการแยกกราวด์ออกระหว่าง
กราวด์ร้อนและกราวด์เย็น
.... ในการส่งผ่านข้อมูล หรือ Data หรือที่เราเรียกว่าการสื่อสารในส่วนของแอร์
แบบอินเวอร์เตอร์
เรามักจะใช้เจ้าตัว Optocoupler (ออปโต้-คลัปเปอร์) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวอื่น ดังนั้นเราจึงควรมาศึกษารูปร่าง หน้าตา หน้าที่ องค์ประกอบภายใน การใช้งาน และการวัดดี-เสีย กันซักหน่อย ก่อนที่จะไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของภาคจ่ายไฟที่ใช้ ไอ.ซี. Switching กันต่อ
ในตัวของ Optocoupler (ออปโต้-คลัปเปอร์)จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ชนิดอยู่ภายในตัวเดียวกันนั่นก็คือ
- IR LED หรือที่เราเรียกว่า “ ไดโอด..อินฟราเรด “ เป็นไดโอดชนิดหนึ่ง
ทำหน้าที่เป็นส่วนของ Input(อินพุท) หรือสัญญาณขาเข้า ซึ่งจะส่งแสงอินฟราเรด
ออกมา เมื่อตัวมันได้รับการจ่ายไฟตรงขั้ว
- Photo..Transistor หรือที่เราเรียกว่า “ โฟโต้..ทรานซิสเตอร์ “ เป็น
ทางออกของสัญญาณหรือ Output (เอ้าท์พุท) เป็นทรานซิสเตอร์ที่มีขา B
(หรือขาเบส) เป็นตัวรับแสง และจะทำงานเมื่อมีแสงจากไดโอด..อินฟราเรดส่งมา
ทำให้ไฟจากขา C (หรือขาคอลเลคเตอร์) ไหลไปครบวงจรที่ขา E
(หรือขาอีมิเตอร์) ได้ หมายเหตุ ทรานซิสเตอร์เป็นชนิด NPN
** รูปร่างหน้าตาของ Optocoupler (ออปโต้-คลัปเปอร์) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีขาด้านละ 2 ขา ที่ขาด้านหนึ่งจะทำเครื่องหมายเป็นบาก เป็นจุดหรือรอยบุ๋มลงไปเพื่อแสดงให้เรารู้ว่า ขาเริ่มต้นขา 1 อยู่ตรงไหน หรืออาจจะเปิดดูจาก Data Sheet ก็ได้เช่นกัน และเนื่องจากการใช้งานที่หลากหลาย ตัว Optocoupler (ออปโต้-คลัปเปอร์) ก็อาจจะไม่ได้มีขาเพียงแค่ด้านละ 2 ขาเท่านั้น ในบางเบอร์อาจจะมีขามากกว่า 2 ขาในแต่ละด้าน นั่นก็หมายถึงว่าอาจจะมีอุปกรณ์ภายในตัวมากกว่า 1 ชุดขึ้นไปเช่น ถ้ามีขาใช้งานข้างละ 4 ขารวมเป็น 8 ขา ก็หมายถึงว่ามีชุดอุปกรณ์ 2 ชุดเป็นต้น **
*** การใช้งานจะได้อธิบายไว้ในคลิปวีดีโอ ***
การตรวจเช็คว่าดีหรือเสีย ...ในตัวอย่างจะเป็นแบบ 4 ขา
... เนื่องจากตัว Optocoupler (ออปโต้-คลัปเปอร์) ประกอบด้วยไดโอด กับทรานซิสเตอร์ การตรวจสอบด้วยการวัดนั่นก็คือการตรวจวัดไดโอด กับทรานซิสเตอร์เช่นกัน ซึ่งไม่น่าจะยุ่งยากซับซ้อนเท่าไรนัก
- วัดที่ขา 1 กับขา 2 (นั่นก็คือเราวัด..ไดโอด) ด้านที่มีรอยบากหรือที่ทำตำหนิไว้
ใช้มิเตอร์แบบเข็มตั้ง Rx10 หรือ Rx1K วัดคร่อมที่ขาและลสลับขั้วการวัดถ้า
... ปกติผลการวัด เข็มจะต้องขึ้นครั้ง และไม่ขึ้นครั้ง
... เข็มขึ้น 2 ครั้ง เสียในลักษณะช๊อต
... เข็มไม่ขึ้นทั้ง 2 ครั้งเสียในลักษณะขาด
- วัดที่ขา 3 กับขา 4 (คือการวัดตัวทรานซิสเตอร์ที่ขา C กับขา E นั่นเอง)
ใช้มิเตอร์เข็มตั้ง Rx10K วัดคร่อมที่ขา 3 และขา 4 โดยสลับการวัด
... ถ้าปกติจะขึ้น 1 ครั้งและไม่ขึ้น 1 ครั้งเช่นกัน
... เข็มขึ้นสุดสเกลทั้ง 2 ครั้ง เสียในลักษณะชีอตและไม่ขึ้นทั้ง 2 ครั้ง เสียในลักษณะ
ขาด
ส่วนจะเหมือนหรือคล้ายกันอย่างไร ภายในตัว Optocoupler (ออปโต้-คลัปเปอร์) เองหรือวงจรที่นำไปใช้งาน ก็ลองศึกษาจากคลิปวีดีโอตัวนี้กันได้เลย ...
จึงหวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์และแนวทางได้บ้างสำหรับท่านผู้ที่สนใจได้บ้างพอควร หากข้อมูลในคลิปถ้ามีความผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดทำขอน้อมรับและนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป... กราบขอบพระคุณ
สามารถสนับสนุนช่องยูทูปของเราได้ที่ ธ.กสิกรไทย เลขที่บ/ช
089-8-70371-1
You can support our KZread channel at Kasikorn Bank 089-8-70371-1 ...Thank you very much.
“ ขอให้ความสำเร็จจงสถิตอยู่กับตัวท่าน ”
สงสัยอย่างไร,ประการใด โทรถามได้ที่
มือถือ 084-666-3328 โทรได้ตลอด ถ้าสะดวกจะรับสาย ถ้าไม่ได้
รับก็เพียรพยายามอีกนิด..เว้นช่วงและโทรเอาใหม่นะครับ จะไม่
โทรกลับสำหรับกรณีปรึกษา
ID Line ssc-services เป็นวิธีที่สะดวกสุด กดเป็นเพื่อนก่อนกดแจ้งมาก่อนว่า ID Line ของท่านชื่ออะไร เราจะได้กดรับ ถ้าไม่กดรับเราจะติดต่อกันไม่ได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพ,วีดีโอ อาการของเครื่องที่ต้องการปรึกษา
“ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน”
และกราบขอบพระคุณอีกครั้งที่ติดตามและรับชม...สวัสดี
นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์
7/3/2565 เวลา 15.30น.

Пікірлер: 108

  • @mongkolsomboon5718
    @mongkolsomboon57182 жыл бұрын

    ผมเป็นอีกคนที่ติดตามอาจารย์มาตลอด แต่ยังไม่ทั้งหมด จะตามดูและศึกษาไปเรื่อยครับ เพราะ.สอนดีมาก มีขั้นมีตอน มีตัวอย่างชัดเจน ผมจึงชอบการสอนของอาจารย์มาก ผมชอบการศึกษาด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็กเพราะทางบ้านยากจน ขอบคุณอาจารย์มากครับ หวังว่าอาจารย์จะทำคลิปสอนเช่นนี้ต่อไป และทำสารบัญไว้ให้กลับไปศึกษาทบทวนภายหลังเมือเจอปัญหา ขอบคุณครับ

  • @praphanngernthavorn1730
    @praphanngernthavorn17302 жыл бұрын

    ขอบคุณครับ ที่มาให้ความรู้

  • @dumrongdaorueng9494
    @dumrongdaorueng9494 Жыл бұрын

    ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ

  • @user-fr6yj8sj1o
    @user-fr6yj8sj1o2 жыл бұрын

    ขอบคุณครับที่ไห้ความรู้ครับ

  • @user-xv8po8gi4d
    @user-xv8po8gi4d Жыл бұрын

    ขอบคุนครับอาจาร🙏

  • @user-sx6no3cl7x
    @user-sx6no3cl7x2 жыл бұрын

    สวัสดีครับ ผมชอบคริปอาจารย์มากๆ

  • @somchaisomchai7276
    @somchaisomchai7276 Жыл бұрын

    ขอบคุณครับอาจารย์

  • @user-hb9wb9kj1f
    @user-hb9wb9kj1f

    ขอขอบคุณมากๆนะครับอาจารย์ ที่ให้ความรู้

  • @anuwatfamicom4642
    @anuwatfamicom4642 Жыл бұрын

    ขอบคุณมากๆเลยครับ ทำคริปดีๆออกมาสอนอีกนะครับ

  • @huaweihuawei7659
    @huaweihuawei76592 жыл бұрын

    อธิบายการทำงานได้ละเอียด​และเข้าใจง่าย​ ผมซ่อมเครื่อง​เชื่อมอินเวอร์เตอร์​อยู่​ อยากรู้การทำงานของเจ้าตัวนี้อยู่พอดีขอบคุณ​สำหรับความรู้ดีๆที่นำมาแบ่งปันครับ

  • @ponsukpodsuwan
    @ponsukpodsuwan2 жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @user-tb7ht8nl7q
    @user-tb7ht8nl7q2 жыл бұрын

    ขอบครัับที่วิทยาทานความรู้

  • @noinkorat3733
    @noinkorat37332 жыл бұрын

    ขอบคุณครับครู

  • @TawanWangrungTW
    @TawanWangrungTW

    ขอบคุณมากครับ..♥

  • @Ken-pz7of
    @Ken-pz7of Жыл бұрын

    ชอบคับอธิบายดีมากคับ

  • @payootnamoon2881
    @payootnamoon28812 жыл бұрын

    ดีครับอาจารย์

  • @user-nk6xc1gt5o
    @user-nk6xc1gt5o2 жыл бұрын

    ได้ ความดีครับ ผม

  • @rapinpattarapa7010
    @rapinpattarapa7010 Жыл бұрын

    ผมชอบคำพูดช่วงท้าย แสดงว่าคุณก็เป็นแฟน สตาร์วอร์ เช่นเดียวกับผม "ขอให้พลังสถิตในตัวเจ้า" ชอบครับ

  • @pppooo3773
    @pppooo37732 жыл бұрын

    สวัสดีครับอาจารย์ ผมชอบดูคลิปของอาจารย์มากเลยครับ แต่งานที่ทำ ผมได้บ้าง ไม่ได้บ้าง(ผมขี้ลืมครับอาจารย์)แต่ใจชอบ อัดเข้าไปในสมองเยอะๆ ผมว่าประเดี๋ยวมันต้องค้างติดอยู่บ้างแหละ ขอบพระคุณอาจารย์มากๆที่ สอน แบ่งปันความรู้ไห้ครับ ไม่เข้าใจย้อนดูไหม่ สบายหายห่วงครับ(อาศัยประสบการณ์ครับ)ขอบพระคุณครับ

  • @nartnart2940
    @nartnart29402 жыл бұрын

    ขอบคุนคับ​ รอมานานแล้วคับออฟโต้​ ขอบคุนคับ

Келесі