กระต่ายเต้น วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ครบเครื่องเรื่องปี่พาทย์ Ep.13

Музыка

#ครบเครื่องเรื่องปี่พาทย์ Ep.13
เพลงกระต่ายเต้น วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
ทางทีมงาน Siammelody ร่วมกับ ดร.สมาน น้อยนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ท่านเป็นทั้งศิลปินกองการสังคีต เป็นอาจารย์สอนดนตรีไทย วิทยาลัยนาฏศิลป จนเกษียณอายุราชการ และยังได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษสอนตรีไทย ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน
ท่านได้รวมองค์ความรู้เรื่องวงปี่พาทย์แบบต่าง ๆ ของไทยซึ่งมีทั้งสิ้น 19 ตอน เพื่อให้ความรู้ ว่าด้วยเพลงปี่พาทย์อย่างครบครัน เหมาะสำหรับประชาชนคนไทย นักเรียน นักศึกษา ได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติและความเป็นมาของเพลง เมื่อได้รับฟังจนจบครบทุกตอนแล้ว เชื่อเหลือเกินว่าท่านผู้ฟังจะได้ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของชาติไทยเรา ที่มีมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย เรื่อยมาจวบจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสิทร์
ท่านจะรู้สึกได้ว่า "วัฒนธรรมดนตรีไทยของชาติไทยเราไม่แพ้ชาติใดในโลก"
#วงปี่พาทย์มอญ เป็นวงที่ได้รับรูปแบบมาจากมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องมาถึงกรุงธนบุรี และเพิ่มเติมในสมัยกรุงรัตนโกสิทร์ จากหลักฐานในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏอยู่ในหมายรับสั่งงานฉลองพระแก้วมรกต เดิมวงปี่พาทย์มอญเป็นวงดนตรีประจำของชาวรามัญอย่างหนึ่ง ซึ่งใช้บรรเลงในโอกาศต่าง ๆ ทั้งงานมงคลและอวมงคล แต่ในปัจจุบันคนไทยนิยมใช้วงปี่พาทย์มอญ บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น อาจจะเนื่องจากได้เห็นวงปี่พาทย์มอญเฉพาะในพระราชพิธีพระบรมศพ พระศพ งานออกพระเมรุ ซึ่งจะใช้วงปี่พาทย์มอญประโคมตลอดเวลา ส่วนปี่พาทย์ไทยคือปี่พาทย์หลวง ใช้เฉพาะพิธีทรงธรรม จึงเป็นเหตุสืบเนื่องมาว่าเมื่อมีงานศพ จะใช้ปี่พาทย์มอญบรรเลง เป็นเกียรติแก่งานนั้น หรืออาจจะเป็นอีกนัยว่าเสียงของปี่พาทย์มอญ มีความไพเราะ เยือกเย็นระคนเศร้า นอกจากนั้นเครื่องดนตรีของปี่พาทย์มอญ ก็ยังสวยงาม มีการแกะสลักลวดลายลงรักปิดทอง เข้ากับตู้พระธรรมและเครื่องตั้งศพ วงปี่พาทย์มอญ ได้มีวิวัฒนาการขยายวง เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ของไทย โดยเพิ่มเครื่องดนตรีเป็นปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
1.ปี่มอญ ผู้บรรเลง อ.จักรยุทธ ไหลสกุล
2.ระนาดเอก ผู้บรรเลง อ.มนตรี เปรมปรีชา
3.ระนาดทุ้ม ผู้บรรเลง อ.วีระชาติ สังขมาน
4.ฆ้องมอญวงใหญ่ ผู้บรรเลง อ.ไพรัตน์ จรรย์นาฏย์
5.ฆ้องมอญวงเล็ก ผู้บรรเลง อ.ศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน
6.ตะโพนมอญ ผู้บรรเลง อ.พันธ์ศักดิ์ เอี่ยมจรูญ
7.เปิงมางคอก ผู้บรรเลง อ.นิรุจน์ ฤาวิชา
8.ฉิ่ง ผู้บรรเลง อ.ทวีศักดิ์ อัครวงศ์
9.ฉาบใหญ่ ผู้บรรเลง อ.ศุภฤกษ์ กลิ่นสุคนธ์
10.ฉาบเล็ก ผู้บรรเลง อ.กิตติ อัตถาผล
11.โหม่งสามใบ ผู้บรรเลง อ.เกรียงไกร อ่อนสำอางค์
วิดีโอชุดนี้จัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือของนักดนตรีชั้นนำจากกรมศิลปากร เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดความรู้เกี่ยวกับรูปแบบวงปี่พาทย์ที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จวบถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงสมัยรัชกาลที่ 9
จัดทำด้วยระบบสื่อ Multi Media ประกอบด้วยคำอธิบายความเป็นมาของวงปี่พาทย์ แนะนำหน้าที่เครื่องดนตรีประกอบวง และแสดงการบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์รูปแบบต่าง ๆ เหมาะสำหรับครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจดนตรีไทย ตลอดจนห้องสมุดต่างๆ ได้มีไว้ใช้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น
จัดทำ/รวบรวม : ดร.สมาน น้อยนิตย์
บรรเลง/ขับรอง : คณาจารย์วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร
บันทึกภาพ/เสียง : บริษัท โอเชี่ยน มีเดีย จำกัด
อำนวยการผลิต : ปรีชา ธรรมพิภพ
ทางทีมงานรู้สึกยินดี และขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่รับชม รวมถึงเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม และดนรีไทย ท่านสามารถร่วมสนับสนุนเราได้ ด้วยการกดติดตาม กดไลก์ กดแชร์ ส่งต่อสิ่งดีงามให้ญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อช่วยกันจรรโลงวัฒนธรรม ดนตรีไทยให้แพร่หลาย ก้าวไกลสู่สังคมไทย ขจรไกลไปทั่วโลก
อัปเดตศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทุกวันที่นี่ / @siammelodies
#Siammelodies

Пікірлер: 3

  • @nirannanthinon8504
    @nirannanthinon85042 жыл бұрын

    ไพเราะ ละมุนมากๆ สุดยอดจริงๆ ขอบคุณมากที่นำมาให้ได้ชมครับ

  • @user-wq3on2np5d
    @user-wq3on2np5d2 жыл бұрын

    ดู ฟังแล้วนึกถึงคุณตาผมครับมีเครื่องมอญใหญ่แบบนี้ที่ปากเกร็ด ท่านเสียไปนานไม่มีวงแล้ว

  • @user-eb2fo5xu6g
    @user-eb2fo5xu6g Жыл бұрын

    ทำนองนี้เพลงลูกทุ่งเอาไปใช้หลายเพลง

Келесі