กลองปู่เจ่กับรำไม้กระบอง

✅ กลองปู่เจ่
กลองปู่เจ่ เป็นกลองหน้าเดียวรูปร่างคล้ายกลองยาวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น อุเจ่ อู่เจ่ ปุ๊ดเจ่และปั๊ดเจ่ เป็นต้น เดิมนิยมเล่นในหมู่ชาวไทใหญ่ ซึ่งเรียกกลองชนิดนี้ว่า "กลองก้นยาว” ส่วนชาวไทลื้อเรียกกลองชนิดนี้ว่า "กลองตีนช้าง”
☘ วิธีสร้างกลองปู่เจ่อันดับแรกต้องคัดเลือกไม้ที่จะนำมาสร้างเป็นตัวกลองก่อนไม้ที่นิยมกันมากได้แก่ ไม้ซ้อและไม้ขนุน เมื่อได้ไม้แล้วนำมาถากพอเป็นรูปร่าง จากนั้นจึงกลึงและเจาะตามลำดับขนาดและส่วนสัดของตัวกลองเดิมทีใช้ขนาดของหน้ากลองเป็นหลักสำหรับกำหนดส่วนสัดอื่นๆคือความยาวของไหกลองยาวเป็น 2 เท่าของหน้ากลอง
ความยาวจากไหกลองไปถึงส่วนคอด (แอวกลอง)ยาวเป็น1.1/2เท่าของหน้ากลองความยาวส่วนคอดยาว 1 เท่าของหน้ากลองและความยาวส่วนท้ายกลองยาวเป็น 2 เท่าของหน้ากลองตามสูตร
ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขบางส่วนจากประสบการณ์ของ "สล่ากลอง” (ช่างทำกลอง) เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงตามที่นิยมกันอยู่ โดยกำหนดสัดส่วนหน้ากลองกว้างประมาณ 25-28 เซนติเมตร ความยาวของไหกลองประมาณ 40เซนติเมตร ความยาวจากไหถึงส่วนคอดประมาณ 30 เซนติเมตร ความยาวส่วนคอดประมาณ 20 เซนติเมตร และความยาวส่วนท้ายประมาณ 47-50 เซนติเมตร
สำหรับหนังที่ใช้ขึงเป็นหนังหน้ากลองนิยมใช้หนังวัวตัวเมียอายุ 3-5 ปีไม่มีรอยแส้และต้องเป็นหนังจากลำตัวด้านซ้ายเพราะมีลักษณะบางไม่ด้านหรือหนาเหมือนหนังจากลำตัวด้านขวาที่ถูกนอนทับ การขึงหรือหุ้มหน้ากลอง ขึงให้ตึงด้วยสายเร่งเสียงโยงระหว่างคร่าวหูหิ่งกับเล็บช้าง การติดถ่วงหรือขี้จ่ากลองเสียงกลองจะดังกังวานไพเราะ ต้องมีการติดถ่วงหน้าหรือติดขี้จ่ากลองซึ่งหมายถึง การติดขี้จ่าที่ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก บดผสมขี้เถ้าละเอียด ในการติดนั้นเริ่มจากศูนย์กลางของหน้ากลองแผ่ออก ในขณะที่ติดจะทดลองตีฟังเสียงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้เสียงตามต้องการ
☘การประสมวง
ใช้กลองปู่เจ่ใบเดียว ฉาบขนาดกลาง 1 คู่และฆ้องโหม่ง ประมาณ3-5 ใบ จังหวะและลีลาการตี จังหวะของวงกลองปู่เจ่นั้นค่อนข้างจะเร่งเร็ว โดยมีฆ้องโหม่งตียืนจังหวะด้วยความพร้อมเพรียง
สำหรับการตีกลองนั้น ผู้ตีจะต้องมีลีลาประกอบ คือสะพายกลองย่อตัวขึ้นลงตามจังหวะขาข้างหนึ่งมักเหยียดไปข้างหลังขนานคู่กับตัวกลองส่วนท้าย ทำอาการยักไหล่ เอียงศีรษะให้ดูน่าชม ลูกเล่นการตีที่เรียก "ลีลาหน้ากลอง” มักละเอียดซับซ้อน คือใช้ทั้งฝ่ามือ นิ้วมือ กำปั้น ตีเต็มเสียงครึ่งเสียงลักจังหวะมีการกดหน้ากลองให้เกิดเสียงต่างๆ หลากเสียง
ส่วนฉาบนั้น นอกจากจะใช้ตีขัดจังหวะระหว่างฆ้องโหม่งและกลองแล้วยังมีลีลาหลอกล่อกับคนตีกลองอีกหลายลักษณะ เช่น ตีด้านหน้า ตีด้านหลัง ตีลอดใต้ขาตบกับพื้นเข้าหาและออกจากคนตีกลองด้วยเชิงรุกเชิงรับและหนีอย่างมีชั้นเชิง เพื่อให้ผู้ที่ได้ชมเกิดความประทับใจ
☘ โอกาสในการตีกลองปู่เจ่
มักพบเห็นในงานบุญของวัด ขบวนแห่ต่าง ๆ รวมถึงการแห่หรือประโคมประกอบการฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ เต้นโต รำไม้กระบอง ฟ้อนนางนก กระทั่งการปล่อยว่าวควันและโคมไฟ เป็นต้น
☘กลองปู่เจ่ ปัจจุบันยังเป็นที่นิยมจึงมักพบการตีกลองนี้ในงานบุญหรืองานประเพณีสำคัญต่างๆ ในเชียงใหม่ และลำพูน เป็นต้น และมักมีการจัดประกวดการตีกลองชนิดนี้อยู่เสมอ
ทีมโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย ตีกลองปู่เจ่และฟ้อนกระบอง ณ วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
❤️🩷💚 ขอบคุณบริษัท ธธันเดอร์ ดีซี ผู้สนับสนุนช่องสองปันพาเที่ยว
ฝากขายอุปกรณ์มือถือ ขายก่อนเจ่ายทีหลัง จ่ายเฉพาะที่ขายได้ ขายง่าย ขายเร็ว สินค้ามีรับประกัน
☎️ร้านค้าสนใจติดต่อ โทร 087-178-6171
#กลองปู่เจ่
#ทีมโรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
#รำไม้กระบอง
#รำไม้พอง
#ศิลปะการแสดงภาคเหนือ
#สองปันพาเที่ยว
#สองปันปาแอ่ว
#ลุงตรีโว
#ธันเดอร์ดีซี

Пікірлер

    Келесі