ความแตกต่างของการเจียรจานเบรก แบบประชิดล้อ และ แบบถอดจาน

ความแตกต่างของการเจียรจานเบรก แบบประชิดล้อ และ แบบถอดจาน
เมื่อจานเบรกเกิดการสึกหรอจากการใช้งานไปสักระยะ อาจทำให้เกิดอาการพวงมาลัยสั่น แป้นเบรกสั่น หรือเกิดเสียงดังขณะเบรก ซึ่งส่วนมากมักเกิดจากการที่ผิวหน้าของจานเบรกไม่สม่ำเสมอ เป็นรอย เป็นร่อง เป็นสนิม หรือคดบิดเบี้ยว ซึ่งหากความหนาของจานเบรกยังไม่น้อยกว่าที่กำหนด ก็สามารถแก้ไขได้โดยการเจียรจานเบรก ซึ่งทั่วไปตลอดอายุการใช้งานของจานดิสเบรกรุ่นหนึ่ง สามารถเจียรได้ไม่เกิน 2 ครั้ง
การเจียรจานเบรก คือ การปรับสภาพผิวหน้าของจานเบรกให้เรียบ ช่วยขจัดสิ่งสกปรก รวมถึงคราบสนิมออกจากจานเบรก โดยใช้เครื่องเจียรปาดที่ผิวหน้าของจานเบรก ทำให้จานเบรกกลับมาจับกับผ้าเบรกได้แนบสนิท และสามารถเบรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันการเจียรจานเบรกมีด้วยกัน 2 วิธี คือ
1.การเจียรแบบประชิดล้อ เป็นการนำเครื่องเจียรเข้ามาวางประชิดที่จานเบรก ซึ่งวิธีนี้จะไม่ต้องถอดจานเบรกออกจากล้อ จึงทำให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการเจียร สามารถปรับความหนาและความเรียบของผิวหน้าจานเบรกได้ที่ตัวรถเลย
2.การเจียรแบบถอดจาน เป็นวิธีที่ใช้เวลานานและมีขั้นตอนที่มากกว่าแบบประชิดล้อ เพราะจะต้องถอดจานเบรกออกจากล้อและนำไปเจียรที่แท่นเจียร แต่วิธีนี้สามารถปรับมุมและองศาของใบมีดเจียรได้อิสระกว่าแบบประชิดล้อ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเจ้าของรถ ความชำนาญของช่าง รวมถึงความเหมาะสมในการเจียรด้วย เพราะในรถบางรุ่นจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การถอดจานออกจากล้ออาจทำให้เซนเซอร์ต่างๆ ผิดเพี้ยนได้ หรือในรถแต่งบางคัน จานเบรกจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ การเจียรแบบถอดจานอาจจะเหมาะสมกว่า เพราะสามารถปรับใบมีดให้รับกับการเจียรจานที่มีขนาดใหญ่ได้ง่ายกว่า
ที่สำคัญ หากจานเบรกมีรอยร้าว รอยสึกที่ลึกมาก คดบิดเบี้ยวมาก เป็นสนิมมาก หรือมีความหนาของจานเบรกต่ำกว่าที่กำหนด ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่ทันที เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการเบรก และทำให้เบรกได้อย่างนุ่มนวลมากขึ้น
#ความแตกต่างของการเจียรจานเบรกแบบประชิดล้อและแบบถอดจาน
#แอดวิคส #ADVICSThailand
#อะไหล่ #อะไหล่รถยนต์ #สินค้าคุณภาพ
#มโนยนต์ #มโนยนต์ชัย
#Manoyontchai #ManoyontGroup
ขอบคุณข้อมูลจาก : ADVICS Thailand

Пікірлер: 1

  • @TheBanyut
    @TheBanyut6 ай бұрын

    มีสาระดีครับ

Келесі