หน่วยวัดทางไฟฟ้า Watt Volt Amp AmpHour Kw KVA คืออะไร?

Автокөліктер мен көлік құралдары

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นกันก่อนนะครับ
โวลท์ (Volt หรือ V) คือ หน่วยเรียกขนาดแรงดันไฟฟ้าในบ้าน เช่น ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าแบบ 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลท์ โดยแรงดันไฟฟ้าจะเคลื่อนที่จากจุดที่มีความต่างศักดิ์สูงกว่าไปสู่จุดที่มีความต่างศักดิ์ต่ำกว่าเสมอ เปรียบได้กับการไหลของน้ำ จะไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำเสมอ โดยคำว่า Volt นี้ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักเคมี ฟิสิกส์ชาวอิตาลีชื่อ Alessandro Volta
แอมป์ (Ampere หรือ A) คือ หน่วยเรียกขนาดปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำ หรือสายไฟต่างๆ เปรียบได้กับขนาดของท่อน้ำ ที่ยิ่งใหญ่ก็ยิ่งส่งน้ำได้มากกว่า โดยคำว่า Ampere นี้ ได้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักฟิสิกส์ ชาวฝรั่งเศสชื่อ Andre-Marie Ampere
วัตต์ (Watt หรือ W)หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า ที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด เช่น เครื่องปรับอากาศ 1,000 วัตต์ หมายถึง เครื่องปรับอากาศนี้ใช้กำลังไฟฟ้า 1,000 วัตต์ โดยคำว่า Watt นี้ ได้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักประดิษฐ์ และนักเคมีชาวสก๊อตชื่อ James Watt ซึ่งเป็นผู้บัญญัติศัพท์ คำว่า “แรงม้า” ขึ้นมา
:ซึ่งสูตรในการคำนวณหา วัตต์ ก็มาจาก P(watt) = E (Volt) * I (Ampere) นั่นเอง
แอมป์ ฮาวด์ (Amp Hour) แอมป์ชั่วโมง คือ หนึ่งแอมป์ต่อหนึ่งชั่วโมง คือ แอมป์ * ชั่วโมง หากคุณมีอุปกรณ์ที่ดึงกระแสไฟ 20 แอมป์ และคุณใช้เป็นเวลา 60 นาที เมื่อคุณใช้แบตเตอร์รี่ไปเรื่อยๆ กระแสไฟฟ้าจะถูกดึงออกไปจากแบตเตอร์รี่จรหมด นั่นแสดงว่า แบตเตอรี่นั้นมีความจุ 20 Ah ถ้าแบตเตอร์รี่มีความจุ 1 Ah หมายความว่าแบตเตอร์รี่สามารถจ่ายกระแสได้ 1 แอมแปร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง ในวันนี้ จะขอยังไม่พูดถึงเรื่อง C Rate นะครับ เดี๋ยวมือใหม่จะท้อเสียก่อน เดี๋ยวจะยกตัวอย่างแบบเห็นภาพง่ายๆให้ชมกันครับ
คราวนี้เมื่อเราพอเข้าใจในเรื่องหน่วยทางไฟฟ้าแบบพื้นฐานแล้ว เรามาพูดเรื่องเกี่ยวกับโซล่าร์เซลล์กันบ้างครับ พื้นฐานแล้วก็ใช้ Volt Amp Watt เช่นเดียวกันครับ แต่มีสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ เราจะติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ขนาดเท่าไร
ที่เคยเจอมาหลายๆคน มักจะบอกว่า อยากติดขนาด 5 KVA บ้าง 10 KVA บ้าง จริงๆแล้ว เราเรียกกันหน่วยเป็น Kw ครับ แล้วทั้ง 2 หน่วย มันต่างกันอย่างไร เรามาคุยกันต่อเลยครับ
ความแตกต่างของ "หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า" ระหว่าง "กิโลวัตต์ (KW) และ กิโลวา (KVA) หรือเควีเอ" ว่าแท้จริงแล้ว มันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
เริ่มจากหน่วยกิโลวัตต์ (KW) หน่วยนี้เป็นหน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่พวกเราชาวบ้านๆ (หรือผู้ใช้งาน) คุ้นหูกันมากกว่า เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันแทบทุกอย่างก็ระบุค่ากำลังไฟโดยใช้หน่วยกิโลวัตต์นี้ล่ะครับ
ข้อมูลสำคัญที่ควรทราบ:
"กำลังไฟฟ้า" (มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์) คิดคำนวณมาจาก "ผลคูณระหว่างกระแสไฟฟ้า (มีหน่วยเป็นแอมป์) และความต่างศักย์ (มีหน่วยเป็นโวลต์)"
1 KW เท่ากับ 1,000 วัตต์
746 วัตต์ เท่ากับ 1 แรงม้า (HP หรือ Horse Power)
กิโลโวลต์แอมป์ หรือเควีเอ (KVA) หน่วยนี้เป็นหน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เหล่านายช่างนิยมใช้กันมากกว่า เพราะเป็นข้อมูลดิบของกำลังไฟฟ้า "ก่อนนำไปคูณ Power Factor" ครับ
ข้อมูลสำคัญที่ควรทราบ:
เนื่องจากในโลกแห่งความเป็นจริง มนุษย์เราไม่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าโดยไม่มีค่าสูญเสียใดๆ เลยได้จริง (หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ พลังงานไม่สามารถเปลี่ยนรูปไปได้ 100% โดยไม่เกิดการสูญเสียใดๆ เลย .. อย่างน้อยมันก็ต้องมีกระแสบางส่วนสูญเสีย หรือแปรรูปไปเป็นพลังงานความร้อนในขดลวดบ้าง)
ดังนั้น เราจึงสามารถสร้างเครื่องปั่นไฟที่สามารถให้กำลังได้มากที่สุด ตามสมการ P = IV x (0.8)
จึงทำให้เราได้ว่า 1 KVA เท่ากับ 0.8 KW นั่นเอง
ซึ่งเจ้า (0.8) ที่คุณเข้ามานี้เราเรียกว่า "Power Factor" นั่นเองครับ
และ 746 วัตต์ ก็ยังคงเท่ากับ 1 แรงม้า (HP หรือ Horse Power) เหมือนกัน
ด้วยเหตุนี้เอง หน่วยทั้งสองนี้จึงถูกพูดถึงบ่อยๆ ในแง่มุมที่ต่างกัน (มุมของผู้ผลิตและมุมของผู้ซื้อไปใช้งาน) บ่อยครั้งที่ ผู้ซื้อมักเข้าใจผิด คิดว่า กิโลวัตต์ และ เควีเอ มีขนาดเท่ากัน
บอกเลยว่าอันนี้ "ผิดถนัด" ความจริงทั้งสองหน่วยนี้ไม่เท่ากันนะครับ!!!
ยกตัวอย่างขนาดเพื่อเปรียบเทียบ "กิโลวัตต์" และ "เควีเอ" ไว้ให้บางส่วน ดังนี้ครับ
6 KVA โดยประมาณ เท่ากับ 6 x (0.8) = 4.8 KW
8 KVA โดยประมาณ เท่ากับ 8 x (0.8) = 6.4 KW
10 KVA โดยประมาณ เท่ากับ 10 x (0.8) = 8.0 KW
ประเด็นที่สำคัญมากอีกเรื่องก็คือเรามาดูกันว่าขนาดกำลัง 1 KVA จะสามารถผลิตกระแสได้กี่แอมป์
จาก 1 KVA เท่ากับ 0.8 KW หรือ 800 วัตต์
ดังนั้น กระแสที่เราควรได้รับจากกำลังขนาด 1 KVA คิดเป็นประมาณ 3.64 แอมป์
(คิดมาจากนำ 800 มาหารด้วยความต่างศักย์ 220 โวลต์) นั่นเอง
ดังนั้น เวลาสอบถาม อย่าลืมระบุขนาดมาให้ละเอียดหน่อยนะครับ (เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง) เนื่องจาก บางท่านแจ้งมาแค่ "ขอราคา 5 K?"
ก็ต้องสอบถามกลับว่า 5 Kw หรือ 5 KVA? (เพราะถ้าต้องการ 5 Kw จริงๆ มันเท่ากับ 7 KVA ครับ)
เป็นกำลังใจให้ช่อง Captain DIY / Buy Me a Coffee : ko-fi.com/captaindiy
ฝากกดติดตามด้วยครับ / @captaindiy
Link สำหรับเข้ากลุ่ม พลังงานสะอาด เพื่ออนาคต : / 229210145584059
สนใจติดตั้งโซล่าร์เซลล์ และระบบ EV Charger ติดต่อได้ที่
Line : @108ukwwg
captain-diy.com/

Пікірлер: 19

  • @suphachokejittanophajai5114
    @suphachokejittanophajai51142 жыл бұрын

    อธิบายดีมากๆเลยครับ ทำให้เข้าใจง่ายมากๆครับ

  • @CaptainDIY

    @CaptainDIY

    2 жыл бұрын

    ขอบคุณมากครับ

  • @kamonmeth
    @kamonmeth2 жыл бұрын

    มีประโยชน์มากครับ ผมคิดแค่วัตต์ตรงๆจนลืมเรื่องพวกkvaไปหมดระ เมื่อรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าเบื้องต้นเวลาไปซื้ออุปกรณ์ต่างๆในร้านค้าออนไลน์ก็จะไม่สับสนจนโดนหลอกด้วย เพราะบางร้านก็ชอบใช้คำกำกวมจนลูกค้าที่ไม่รู้พื้นฐานไฟฟ้าเข้าใจผิด เช่น UPS ส่วนมากก็จะซื้อรุ่นที่ราคาถูกที่สุดกำลังไฟที่โฆษณาก็พอดีๆกับที่ใช้หรือมากกว่าที่ใช้นอดหน่อย แต่พอใช้งานจริงกลับกำลังไฟไม่พอเพราะไม่รู้เรื่องค่าสูญเสียในระบบ

  • @wanchaijanthakhu8287
    @wanchaijanthakhu8287 Жыл бұрын

    สอนดีมากครับ เข้าใจง่ายมองเห็นภาพแจ่มชัดเลย

  • @CaptainDIY

    @CaptainDIY

    Жыл бұрын

    ขอบคุณมากครับ

  • @siripu06
    @siripu062 жыл бұрын

    ขอบคุณมากๆเลยค่ะ🙏🙏🙏 กำลังหาคำอยู่ว่า kVA คืออะไร ได้คำตอบจากคลิปนี้ แถมได้ความรู้เรื่องไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเติมมาด้วย อธิบายเข้าใจง่าย เป็นประโยชน์ ดีมากๆๆๆเลยค่ะ👍👍👍

  • @CaptainDIY

    @CaptainDIY

    2 жыл бұрын

    ขอบคุณมากๆครับ

  • @k066445569
    @k0664455692 жыл бұрын

    มีประโยชน์มากเลยครับ แต่จำไม่ได้สักหน่วยเลย ลืมเก่ง 555+

  • @surtee360
    @surtee3602 жыл бұрын

    Nice

  • @apisitpoonsawut1391
    @apisitpoonsawut13912 жыл бұрын

    ไม่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าเลย พอมาฟังละพอเข้าใจบ้าง👍 ตอนนี้เริ่มสนใจ

  • @user-ds9zs7zd3y
    @user-ds9zs7zd3y Жыл бұрын

    1โวนคิดเป็นแฮมได้กี่แฮมครับ

  • @CaptainDIY

    @CaptainDIY

    Жыл бұрын

    ต้องคิดจากสูตร V=IR ครับ มีค่าความต้านทานเท่าไรประกอบ

  • @user-ej4yw2lt4l
    @user-ej4yw2lt4l2 жыл бұрын

    สวัสดีครับพี่

  • @CaptainDIY

    @CaptainDIY

    2 жыл бұрын

    สวัสดีครับ

  • @nationmusic1
    @nationmusic1 Жыл бұрын

    แอมแปร์ อ่าน แอม-แป

  • @watcharapongsri5484
    @watcharapongsri54842 жыл бұрын

    สอบถามครับ ผมมี plan จะชื้อรถ EV เร็วๆนี้ เลยมีคำถามเกี่ยวกับระบบไฟหน่อยครับ พอดีตอนนี้ที่บ้านผมใช้มิเตอร์ 15 A อยู่ เป็นของ PEA ครับ ผมเข้าใจว่า ถ้าจะใช้ EV มันต้องเปลียนมิเตอร์การไฟฟ้าใหม่ อย่างต่ำคือ 30 A . ผมเคยสอบถามจากกการไฟฟ้า เค้าบอกว่า ถ้าจะเปลียนมิเตอร์ เค้าบังคับว่าต้องเปลี่ยนสายไฟภายในบ้าน ให้รอบรับด้วย (ผมก็ยังงงๆ ว่าทำไมต้องเปลียน เพราะผมจะเปลี่ยนมิเตอร์แค่มาใช้กับรถไฟฟ้า เท่านั้น และไม่อยากมีค่าใช้จ่ายในการเปลียนสายภายในบ้านเอง) แต่การไฟฟ้าบอก ทำแบบนั้นไม่ได้... ยังไงก็ต้องเปลียนสายในบ้านถ้าจะเปลียนขนาดมิเตอร์ . แต่ปัญหาของผมคือ การที่จะเดินสาย main ในบ้านใหม่ ผมคิดว่าน่าจะทำลำบากหรือยาก เนื่องจากระบบสายภายในบ้านระบบสาย main เดิมนั้น มันมีการเดินร้อยท่อ เข้าไปในตัวบ้านแล้ว แล้วมีผนึกปูนปิดไว้ ถ้าหากเดินสายใหม่ ผมคิดว่า น่าจะต้องได้ทุบ ผนังแน่ๆ ผมไม่แน่ใจว่าถ้าใช้วิธีนี้ ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า การขอมิเตอร์อีกตัวไหมหรือป่าว . และผมเคยเห็นเค้า ใช้อีกวิธี คือ ขอมิเตอร์ใหม่อีกตัว ที่ไม่ยุ่งกับมิเตอร์เดิม และใช้สำหรับ charge EV อย่างเดียว ผมเลยสงสัยว่า แบบไหนดีกว่าและค่าใช้จ่ายในการเตรียมอุปรกรณ์น้อยกว่าและคุ้มกว่าครับ

  • @tainum

    @tainum

    2 жыл бұрын

    เนื่องจากระบบออกแบบไว้ที่ 15 A สายไฟภายในก็จะเล็กกว่า เมื่อมีการดึงกระแสมากขึ้นในสายไฟที่เส้นเล็กสิ่งที่ตามมาคือความร้อน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้ได้ครับ ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนหม้อแปลง สายไฟหลังหม้อแปลง จนถึง เบรคเกอร์ต้องรองรับกระแสสูงสุดได้ และจะต้องมีการตรวจสอบระบบภายใน แต่ถ้า ไม่ไปยุ่งกับระบบเดิม คือเดินสายแยกไปเลย จะปลอดภัยกว่าครับ

  • @watcharapongsri5484

    @watcharapongsri5484

    2 жыл бұрын

    @@tainum ขอบคุณครับ

  • @darknessultimate8177
    @darknessultimate817711 ай бұрын

    V โวลต์ = แรงดัน เหมือนหัวฉีดน้ำ พุ่งแรงแค่ไหน หรือ ไกลแค่ไหน A แอมป์ = ขนาด ความกว้าง ท่อแป๊ป , ถนน2เลน,4เลน ยิ่งกว้างก็ยิ่งวิ่งสะดวกขึ้น คล่องขึ้น บางทีก็เปรียบเทียบกับขนาดความจุถังน้ำ ก็ได้เหมือนกันใช้เป็น กรณีๆไป W วัตต์ = กำลัง ก็เปรียบเหมือน ถังฝักบัวรดน้ำ ต้องรวมเอา แรงดัน V กับ ขนาดความจุ A ของถังด้วย ยกตัวอย่างคือ ผมจะไปซื้อ ถังฝักบัวรดน้ำต้นไม่ ที่ร้านมีหลายขนาด ถังแรก ความจุ5ลิตร(A) น้ำจะพุ่งไกล(V)และรัศมีน้ำกระจายกว้าง 2เมตร ใช้แปปเดียวหมดถังต้องไปตักน้ำใหม่, หรือจะเปรียบเทียบกับมอไซค์ ก็คือ รถคันนี้ ถวามจุถังน้ำมัน 5 ลิตร ใช้ความเร็ว 120km/h ระยะทาง 100 กิโลเมตร น้ำมันหมด😂 พูดง่ายๆคือ อัตราการสิ้นเปลือง หรือ อัตราการเผาผลาญ นั่นแหละ

Келесі