ไหว้สาพระธาตุดอยตุง : พระธาตุประจำปีเกิดปีกุน(หมู)

Тәжірибелік нұсқаулар және стиль

เที่ยวจังหวัดเชียงรายต้องห้ามพลาดการแวะไปสักการะ พระธาตุดอยตุง ซึ่งมีความเก่าแก่สวยงาม ตั้งอยู่บนยอดเขาที่สามารถมองเห็นวิวเมืองเชียงรายได้อย่างเต็มตา พระธาตุดอยตุงมีลักษณะเป็นเจดีย์สีทองอร่าม 2 องค์คู่กัน
ตามตำนานกล่าวว่าเป็นเจดีย์แห่งแรกในอาณาจักรล้านนา ที่พระเจ้าอชุตราชทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกขธาตุจากประเทศอินเดียมาบรรจุไว้ในเจดีย์ ต่อมาครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้บูรณะใหม่และสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นมาคู่กัน พระธาตุดอยตุงยังเป็นพระธาตุประจำปีกุนอีกด้วย
ฉะนั้น ผู้ที่เกิดในปีนักษัตรใดก็ตาม ควรที่จะหาโอกาสไปสักการะพระธาตุพระจำปีเกิดของตนให้ได้หนึ่งครั้งในชีวิตเป็นอย่างน้อย เพื่อความเป็นสิริมงคลของตนเอง จึงเป็นที่มาของความเชื่อในปัจจุบันที่พุทธศาสนิกชนนิยมไปสักการะพระธาตุประจำปีเกิดของตนเองตามวัดวาอารามต่างๆ
สำหรับในปี 2562 นี้ นับว่าเป็นปีนักษัตรปีกุน (หมู) ตามความเชื่อของชาวล้านนา ผู้ที่เกิดในปีนักษัตรนี้จะต้องไปกราบไหว้บูชา “พระธาตุดอยตุง” ที่อยู่ภายในวัดพระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย
มีตำนานเล่าขาน กล่าวถึงพระธาตุดอยตุงไว้ว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคือ อ.แม่จัน จ.เชียงราย) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่พระเจ้าอชุตราชได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วา ปักบนยอดเขา หากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยเจ้ามังรายนราชแห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ เจ้ามังรายนราชจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้
สำหรับพระธาตุดอยตุงที่แต่เดิมมีองค์เดียวนั้น รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสอง คล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ จนกระทั่งเจ้ามังรายนราชได้สร้างเจดีย์อีกองค์ใกล้กันอีกองค์หนึ่ง จึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์
ที่เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลง จนมาเมื่อปี พ.ศ.2470 ครูบาศรีวิชัย และชาวเมืองเชียงรายได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยมตามศิลปะแบบล้านนา
ต่อมา ได้มีการสร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบพระเจดีย์เดิมไว้ องค์พระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก การสร้างพระธาตุองค์ใหม่นั้นใช้วิธีหล่อคอนกรีตมาประกอบครอบเจดีย์คู่ทั้งสององค์ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงแบบขององค์พระธาตุดังกล่าวสามารถอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ภายในได้
จนกระทั่งปี พ.ศ.2549 กรมศิลปากร มีโครงการรื้อถอนรูปแบบศิลปกรรมของพระธาตุดอยตุงที่กระทรวงมหาดไทยได้ก่อครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคนท้องถิ่นไปทางจังหวัด และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรีวิชัยได้บูรณะไว้ ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง ซึ่งคณะทำงานได้มีการหารือทางเจ้าคณะอำเภอเรียบร้อยแล้ว และได้ให้นำพระสถูปครอบที่ถอดออกมา จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์สมัยครูบาศรีวิชัยให้คืนกลับมาสภาพดังเดิม
ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวสามารถขับรถขึ้นไปจนบนลานจอดรถด้านบนพระธาตุดอยตุงได้เลย หรือจะจอดรถไว้ที่บริเวณวัดด้านล่าง แล้วนั่งรถสองแถวขึ้นไปก็ได้ หรือหากมีกำลังขา ก็สามารถเดินขึ้นไปตามบันไดมกรคายนาค ที่ทอดยาวจากด้านล่างขึ้นไปสู่องค์พระธาตถ ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร และระหว่างทางเดินก็จะมีระฆังเรียงรายอยู่
ด้านบนจะมี “วิหาร” ที่ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ให้เข้าไปกราบสักการะกันได้ มีองค์พระธาตุดอยตุงสีเหลืองทองโดดเด่นเป็นสง่า ผู้คนนิยมขึ้นมากราบสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล บริเวณด้านหน้าพระธาตุจะมี “รอยปักตุง”
นอกเหนือจากที่พระธาตุดอยตุงจะเป็นพระธาตุประจำปีนักษัตรปีกุน (หมู) แล้ว ก็ยังถือว่าเป็นพระธาตุที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย และยังเป็นพระธาตถศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงรายอีกด้วย แม้ว่าผู้คนที่เข้าไปสักการะองค์พระธาตุจะเกิดในปีกุนหรือไม่ สิ่งสำคัญสูงสุดที่ได้รับกลับมาก็คือ ความเป็นสิริมงคลในชีวิตที่ก้าวเข้าสู่ปีใหม่นี้นั่นเอง
“พระธาตุดอยตุง” ตั้งอยู่ภายในวัดพระธาตถดอยตุง อ.แม่สาย จ.เชียงราย การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงราย-แม่สาย-พระตำหนักดอยตุง ก่อนจะถึงทางแยกเข้าพระตำหนักดอยตุงให้ตรงไปทางสวนรุกขชาติดอยช้างมูบ จะมีป้ายบอกทางขึ้นวัดพระธาตุดอยตุง ระยะทางจากเชียงรายถึงพระธาตุดอยตุงประมาณ 60 กิโลเมตร

Пікірлер: 1

  • @user-rm5de3kn3s
    @user-rm5de3kn3s3 жыл бұрын

    ๒ครั้งแล้ว

Келесі