No video

EP29 โรคไฟทอปธอร่าในทุเรียน (โรครากเน่าโคนเน่า) - คุยเฟื่องเรื่องทุเรียน กับ อ.สัญชัย

โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน / โรคไฟทอปโทรา ทุเรียน / โรคทุเรียน
โรคไฟทอปธอร่าทุเรียน
โรคที่สำคัญและเป็นปัญหามากที่สุดกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในภาคตะวันออกและภาคไต้ของประเทศไทย คือ โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เรียกว่า ไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.) การเรียกชื่อโรค นั้น นักวิชาการและเกษตรกร มักเรียกตามอาการที่มองเห็น เช่น โรครากเน่า โรคโคนเน่า แต่ในความเป็นจริง เชื้อไฟทอปธอรา สามารถก่อให้เกิดอาการโรคได้ทุกส่วนของต้นพืช ตั้งแต่รากที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นและใบ ไปจนถึงบนผลทุเรียน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เชื้อแพร่กระจายเข้าทำลายในต้นพืช ดังนั้น เพื่อไม่เกิดความสับสนในสาเหตุของการเกิดโรคและครอบคลุมอาการต่างๆบนต้นพืช นักวิชาการบางส่วน จึงเลือกที่จะเรียกว่า โรคไฟทอปธอรา (Phytophthora diseases) และในบทความทางวิชาการนี้ ก็จะขอเรียกชื่อโรคว่า โรคไฟทอปธอราในทุเรียน แทนชื่อโรครากเน่า-โคนเน่าในทุเรียน ที่ใช้เรียกกันทั่วไปในประเทศไทย ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่า วัตถุประสงค์ของบทความนี้ ต้องการสื่อสารข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับ ชีวิตของเชื้อโรค อาการต่างๆบนต้นพืชและแนวทางในการป้องกันกำจัดโรค แด่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนทั่วไป
อาการของโรคไฟทอปธอราในทุเรียน
เชื้อไฟทอปธอรา โดยทั่วไปจะเข้าทำลายต้นทุเรียนทางรากหรือโคนต้นระดับดิน เชื้อจะเข้าสู่ระบบท่อน้ำของลำต้น เมื่อเชื้อโรคเจริญเติบโต ก็จะแพร่กระจายไปทั่วต้น (systemic infections) อาการของโรค ก็จะเห็นแผลเน่าบนเปลือกของลำต้น ที่เราเรียกกันว่า “โคนเน่า” แต่อาการที่พบโดยทั่วในสวนทุเรียน เรามักเห็นอาการแผลอยู่บนลำต้น มากกว่าที่โคนต้น แผลของโรค มีลักษณะเป็นแผลตกสะเก็ดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมม่วง ซึ่งนักวิชาการเรียกว่า stem canker (ไม่มีคำแปลในภาษาไทย อาจจะเรียกว่า โรคแคงเคอร์บนลำต้น) ตามด้วยอาการ ใบเหลือง เมื่อโรคแพร่กระจายไปสู่ยอด ก็จะเกิดอาการใบยอดหลุดร่วง เหลือแต่กิ่ง ในช่วงทุเรียนติดผล โรคก็อาจลุกลามไปที่ผล ทำให้เปลือกของผลทุเรียนมีอาการเน่า (fruit rot) ทุเรียนที่ถูกเชื้อไปทอปธอราเข้าทำลาย จะทรุดโทรมไปเรื่อยๆ ผลผลิตลดลง หรือผลทุเรียนไม่สมบรูณ์และยืนต้นตาย ในที่สุด โรคไฟทอปธอรา จึงเป็นโรคเรื้อรังในต้นทุเรียน เมื่อต้นทุเรียนทรุดโทรมจากโรคมากขึ้น เกษตรกรก็จะโค่นต้นเก่าทิ้ง แล้วปลูกทดแทนใหม่บนพื้นที่เดิม ต้นใหม่ก็จะเป็นโรคอีก โรคไฟทอบธอรา จึงไม่เคยหมดไปจากสวนทุเรียนเลย
EP30 การใส่ปุ๋ยทุเรียนระยะไข่ไก่
• EP30 การใส่ปุ๋ยทุเรียน...
ติดต่องาน คุณน้อง nongwave.win@gmail.com
ติดตามช่อง คนเที่ยวป่า กันค่ะ - is.gd/Vwvuc3
ช่องทางติดตาม คนเที่ยวป่า นะคะ
Facebook - / nongwave.win
Instagram - / nongnsupa
TikTok - / konteawpa_nong
#ทุเรียน #โรคไฟทอปธอร่า #สัญชัย

Пікірлер: 15

  • @DkfnekslJxiensk
    @DkfnekslJxienskАй бұрын

    คนเที่ยวป่าน้องสุภาพร 😊

  • @user-fw9mp6mk4i
    @user-fw9mp6mk4i2 жыл бұрын

    ชอบมากค่ะ

  • @12supaporn

    @12supaporn

    2 жыл бұрын

    💕💕💕😁😁😁

  • @user-vf2gp6gl1w
    @user-vf2gp6gl1w2 жыл бұрын

    ต้องการซื้อค่ะ

  • @user-wx4cu5nl1f
    @user-wx4cu5nl1f3 жыл бұрын

    ขอบคุนคับ

  • @12supaporn

    @12supaporn

    3 жыл бұрын

    ✌️✌️✌️😁😁😁

  • @oppoa-oi7hs
    @oppoa-oi7hs3 жыл бұрын

    สุดยอดครับอาจารย์

  • @paseeja
    @paseeja3 жыл бұрын

    มาฟังโรคไฟทอปธอร่าในทุเรียนด้วยคนค่ะ

  • @nsdkongsuk2987
    @nsdkongsuk29873 жыл бұрын

    อาจารคับทุเรียนขอผมอายุประมาน3ปี่ครึ่งมีน้ำเยิ้มออกมาที่กิ่งประมาน2นิ้วเกือบทุกต้นเกิดเกินจากอะไรคับขอความรู้หน่อยคับ

  • @12supaporn

    @12supaporn

    3 жыл бұрын

    ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามาถามคำถาม รบกวนเข้าไปถามอาจารย์ในกลุ่มทำสวนเอาเงินไม่ได้เอาเงินทำสวนตามลิงก์นี้เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อนชาวสวนด้วยกันค่ะ facebook.com/groups/1126891724014748/?ref=share

  • @korkung4863
    @korkung48633 жыл бұрын

    โรคไฟทอปกับราสีชมพูโรคเดียวกันป่าวครับอาจาร

  • @12supaporn

    @12supaporn

    3 жыл бұрын

    คนละโรคกันค่ะ

  • @12supaporn

    @12supaporn

    3 жыл бұрын

    เข้าไปถามอาจารย์ในกลุ่ม เพื่อเป็นความรู้กับเพื่อนชาวสวนด้วยกันค่ะ facebook.com/groups/1126891724014748/?ref=share

  • @itcity6181

    @itcity6181

    3 жыл бұрын

    อ.พูดไม่จบมีคำถามก่อนหมดเอาถัง18ลิตรมาใส่ยาคลอไฟร์...ยาฟูอาร์ฟอส..แล้ว......ใส่อะไรอีกคะ.

  • @user-nf3rc3xm2p
    @user-nf3rc3xm2p2 жыл бұрын

    จิงคับจารย์หนองแดกนึกว่าต้นมะม่วงเถอะของผมตอนนี้นะ555

Келесі