เช็คด่วน! Time-out ที่เราเข้าใจ เป็นการสร้างวินัยหรือทำร้ายจิตใจลูกกันแน่ I Mature Your Child EP.13

Тәжірибелік нұсқаулар және стиль

Time-Out ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจและนำไปใช้นั้น มักทำให้เด็กเกิดรู้สึกโกรธและมีอารมณ์ขุ่นมัวมากขึ้น และการปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวหรือการเข้ามุม เพื่อพิจารณาความผิดของตัวเองนั้น ไม่ได้ทำให้เด็กคิดเช่นนั้น ในทางตรงกันข้าม เด็กกลับใช้เวลานี้คิดว่าทำไมพ่อแม่ถึงได้ใจร้าย และทำโทษพวกเขาได้เจ็บปวดขนาดนี้
แล้วความหมายที่แท้จริงของ Time-Out คืออะไร
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองทุกท่านจะนำไปปรับใช้อย่างไรจึงจะเรียกได้ว่าเป็นการเลี้ยงลูกเชิงบวกที่แท้จริง
พบคำตอบได้ใน Mature Your Child Podcast EP.13 นี้เลยค่ะ
---------------------------------------------------
ช่องทางการติดต่อ
Facebook: matureyourchild
E-mail : n.sukpreedee@yahoo.com
Tel. : 093 446 6692
#จิตวิทยาเด็ก #พัฒนาการเด็ก #matureyourchild

Пікірлер: 2

  • @tuekorpor
    @tuekorpor8 ай бұрын

    Time out ต้องเรียนรู้วิธีการใช้ให้ถูกต้อง เพราะใช้วิธีการผิดอาจสร้างรอยแผลในจิตใจมากกว่า ❌ให้เด็กเข้ามุมสงบของตัวเอง ❌ไล่เด็กออกจากสถานการณ์ไปเฉยๆ ❌เพิกเฉยโดยไม่อธิบายว่าผิดอะไร ❌แยกตัวเด็กจากสังคม เหล่านี้จะทำให้เด็กรู้สึกถูกทอดทิ้ง ขุ่นมัวยิ่งกว่าเดิม ผลกระทบจะรุนแรงถ้าใช้ผิดวิธีในเด็กเล็ก เด็กจะยิ่งรู้สึกห่างเหินจากพ่อแม่

  • @tuekorpor

    @tuekorpor

    8 ай бұрын

    Time out คล้ายกับการขอเวลานอกขอกีฬาบางประเภท ในสถานการณ์ที่ต้องการแก้เกม ในเด็กคือเราต้องการให้เข้าหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดีและแก้ไขในอนาคต คล้ายๆโค้ช✅เรียกออกมาคุย ❌ไม่ใช่ไล่ออกจากสนาม ✅พ่อแม่ต้องอยู่ด้วย สงบใจไปกับเด็ก อาจไม่ต้องคุยเหมือนโค้ชนักกีฬา ⭐ไม่จำเป็นต้องเข้ามุม ⭐ไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ห้องมืดๆ ‼️‼️ แก่นที่แท้จริงของ time out ‼️‼️▶️แค่เอาออกจากสถานการณ์ ให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนก็เพียงพอ 😁ถ้าทำถูกต้องใช้เวลาไม่นาน เด็กก็จะสงบ ปรับอารมณ์ได้ แล้วกลับไปสนุกกับกิจกรรมเดิมต่อ 😁 📝time out เป็นการปรับพฤติกรรม ไม่ใช่การลงโทษ / ไม่ใช่การเสริมแรงเชิงบวก(การให้รางวัล) 🪜เป็นเพียงขั้นตอนช่วยเด็กสงบ บางทีเวลาเขาอยู่ในพฤติกรรมที่ไม่ดีเขาก็ไม่รู้ตัวเพราะกำลังสนุก หรืออาจเป็นที่สนใจเวลาแสดงพฤติกรรมปัญหา 👉จึงต้องเอาเขาออกมาเพิ่งให้รู้ตัวว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่ไม่ถูก🚫จะมีความสุขกับพฤติกรรมไม่ดี ไม่ได้นะ พอเด็กสงบก็ปรับพฤติกรรมต่อ ไม่ว่าจะด้วยวิธีสอน หรืออื่นๆ

Келесі