จบราชภัฏแล้วจะทำไม? จบที่ไหนก็เหมือนกันจริงหรือ? | echo

Ойын-сауық

“ราชภัฏก็เรียนส่งๆ ไป ด้วยความที่สังคมมันพูดอย่างนั้นมา ก็เลยรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่าด้วยมั้ง จะเกียรตินิยมอันดับ 1 แต่นามสกุลราชภัฏน่ะ เขาก็ไม่สนหรอก”
อย่าว่าแต่โดนคนอื่นเหยียด กระทั่งปากคำเด็กราชภัฏเองก็ยังบอกตรงๆ ว่ารู้สึกด้อยกว่า
ทั้งที่เป็นวิทยาลัยครูมาก่อน แต่ทำไมสังคมต้องดูถูกเด็กราชภัฏขนาดนั้นอะ?
ไหนๆ วันนี้ก็วันครู ขอชวนไปลองดูว่าในมายาคติสุดดราม่า
มันยังมีประเด็นซุกไว้อีกเพียบ ทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำ มาตรฐานการศึกษาไทย ไปยันสวัสดิการเรียนฟรี!
-----------------------------------------------------------------------------------------------
หนับหนุน echo แบบเบิ้มๆ ทุกช่องทางได้ที่
👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇
linktr.ee/fookingecho
☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️☝️
จะได้ไม่พลาดคอนเทนต์ใหม่ๆ จากชาว Fooking friends 💚
#วันครู #ราชภัฏ #เหยียดราชภัฏ #มาตรฐานการศึกษา
#เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน #รัฐสวัสดิการ #เรียนฟรี #echo #fookingecho
-----------------------------------------------------------------------------------------------

Пікірлер: 2 100

  • @watermemol7774
    @watermemol7774 Жыл бұрын

    สรุปสั้นๆคลิปนี้ให้นะ "ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสันดานแต่ละคน ไม่ใช่ชื่อมหาวิทยาลัย และโปรดกระจายอำนาจบริหารและงบประมาณให้ทั่วถึงด้วย"

  • @nnn0017

    @nnn0017

    Жыл бұрын

    พวกสอบไม่ติดมหาลัยชั้นนำ เพราะไม่เก่งเท่าคนอื่น เลยต้องมาอยู่ราชภัฏ

  • @thboy1037

    @thboy1037

    Жыл бұрын

    มหาวิทยาลัยจะมีการแบ่งกลุ่มงานครับ กลุ่มวิจัย นวัตกรรม งบประมาณจะไม่เท่ากัน ของราชภัฏถ้าจำไม่ผิดคือเพื่อสนับสนุนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ทุกประเทศมีแบบนี้ อเมริกามี Ivy League เกาหลีใต้มี SKY อังกฤษมี Oxford Cambridge

  • @udomsakchomsuk9138

    @udomsakchomsuk9138

    Жыл бұрын

    ปัจจุบันทำงานบริษัทต่างชาติยังมีเด็กราชภัฏอยู่เลยนะ เดี๋ยวบริษัทเขาไม่ได้แบ่งว่าจบราชภัฏ รัฐบาล หรือเอกชน

  • @yorika6464

    @yorika6464

    Жыл бұрын

    งานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยตอนม.ราชภัฏเป็นเจ้าภาพ เคยไปสถานที่เขายิ่งใหญ่อลังการกว่าม.ดังๆหลายๆม.อีก จะบอกว่างบประมาณไม่ทั่วถึงก็คงไม่น่าใช่ ได้งบไปแล้วจัดสรรไปลงกับส่วนไหนมากกว่า

  • @Samakurono

    @Samakurono

    Жыл бұрын

    @@udomsakchomsuk9138 คนเก่งจบที่ไหนก็เก่งครับ มหาลัยก็มีส่วน แต่ทุกที่มีอัจฉริยะ ผมบอกแค่นี้ บางคนมันอคติก็เหมารวมไปเรื่อย

  • @rungjung7509
    @rungjung7509 Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ทำงานเป็น HR มา 10 กว่าปี มหาลัยที่เรียนจบมีผลจริงๆครับ ผมเจอเด็กราชภัฏมาสมัครงานเยอะ ส่วนมากจะไม่มีความสามารถตามต้องการ หรือตอบไม่ได้แม้จะเป็นคำถามง่ายๆพื้นฐานสำหรับสายงานที่ตัวเด็กจบมาก็ตาม มีแค่ประมาณ 10% ที่รับเข้าทำงานจริงๆครับ เทียบกับคนที่จบมอดัง เด็กเหล่านั้นมีโอกาสเข้าทำงานสูงกว่ามากครับ

  • @bobby7131

    @bobby7131

    Жыл бұрын

    Soft skills ต่ำมากครับ ผมจบราชภัฏ เพื่อนที่เรียนด้วยบางคนจบเพราะเพื่อนครับ ผมจบได้นี่แบกคนอื่นแทบลากเลือด แถมความรู้รอบตัวนอกห้องเรียนต่ำมาก หัวไม่ก้าวหน้าครับ ต้องปฏิรูปเยอะเลย

  • @moungkhalee

    @moungkhalee

    Жыл бұрын

    คนเข้าม.ดังได้มันกรองไปเเล้วตรงความพยายามพัฒนาตัวเอง ทั้งติวทั้งถีบตัวเองเพื่อให้เข้าให้ได้ นี่คือเหตุผล

  • @piyaphummuetkhambong768

    @piyaphummuetkhambong768

    Жыл бұрын

    จริงครับผมเรียนวิทย์คอม ม.เกษตร ไปถามเพื่อนที่เรียนอีกที่นึงเป็น ม.ราชภัฏ วิทย์คอมเหมือนกัน ผมถามไปว่า Array คืออะไรมันตอบไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่มันก็เรียน C เหมือนผมเเถมข้อสอบเเบบฝึกหัด ที่มันเรียนสำหรับผมคือง่ายมากอ่านตอบได้เลย ข้อสอบกลางภาคก็เป็นตัวเลือกอีกซึ่งจะต่างจากที่ ผมเรียนคือข้อสอบกลางภาคปลายภาค เป็นอัตนัยหมด เขียนโค้ดก็เขียนตอบเเบบอัตนัย เเค่เนื้อหามันก็ต่างกันฟ้ากับเหวเเล้ว

  • @user-uu3zb8oy7q

    @user-uu3zb8oy7q

    Жыл бұрын

    @@piyaphummuetkhambong768 ยืนยันอีกเสียงครับ

  • @user-sc8oc1fh6n

    @user-sc8oc1fh6n

    Жыл бұрын

    เม้นนี้อ่านขาด ถูกทุกอย่าง​

  • @rnkthun715
    @rnkthun715 Жыл бұрын

    เอาง่ายๆนะครับ ราชภัฏในกรุงเทพ กับ ตจว คุณภาพยังต่างกันเลยครับ เรื่องงบ เรื่องคุณภาพหลักสูตร แต่ผมอยากจะบอกว่าสุดท้ายมันก็อยู่ที่ตัวเราเองครับ คนจะประสบความสำเร็จได้ถ้าเราตั้งใจและไม่ยอมแพ้ ไม่ว่าอะไรเราก็ทำได้ครับ ใบเบิกทางเราสู้มอใหญ่ๆไม่ได้ แต่ใจเราสู้ซะอย่าง จากใจเด็กจบราชภัฏเหมือนกันครับ

  • @Flothiz
    @Flothiz Жыл бұрын

    เราจบจากราชภัฏ สาขามัลติมีเดีย บอกตรงๆว่าหลักสูตรห่วยจริงๆค่ะ แม่เราให้เลือกว่าจะเรียนราชภัฏหรือรังสิต ใจอยากไปรังสิต แต่เราอยากอยู่ใกล้แม่และปัญหาเรื่องการเงินเนื่องจากพ่อเสียตั้งแต่ยังเล็ก แม่เลยเลี้ยงเราด้วยตัวคนเดียว เลยจำใจต้องเรียนราชภัฏ ตอนแรกเราหวังว่าจะได้ความรู้ที่แน่น แต่การเรียนจริงๆคือ แค่พื้นฐานเรียน1-2คาบก็เปลี่ยนเรื่อง หรือบางทีอ.ส่งลิงค์งานไว้ในกลุ่มแล้วให้นศ.ศึกษาเอาเอง พอคาบต่อไปก็สอบจากเรื่องที่เคยส่งลิงค์ให้อ่านคาบก่อนหน้าโดยที่อ.ไม่เคยเข้าสอน เป็นแบบนี้ค่อนข้างบ่อย แต่ก็มีอ.บางคนที่สอนเก่ง ความรู้แน่น เข้าใจง่าย แต่วิชานั้นดันไม่ใช่วิชาหลักของสายการเรียน บอกตรงๆว่าไม่ค่อยได้อะไรกับการเรียนเลย 4 ปี ตอนฝึกงานก็ใช้ความรู้ที่มีก่อนเรียนมหาลัยอยู่แล้วมาใช้ พี่ที่ทำงานสอนหรือศึกษาเอง ถ้าให้นึกขอบคุณก็คงขอบคุณที่ฝึกงานที่มอบงานโหดๆให้จนมีสกิลติดตัว

  • @nonarealchannel7397

    @nonarealchannel7397

    Жыл бұрын

    เหมือนกันค่ะ นี่กำลังเรียนอยู่ ปี3 แต่ดรอปเรียนทำงานหาเงิน เพราะเศรษฐกิจการเงินบ้านมันแย่ถึงมี กยศ ก็ตาม ที่เรียนมามันบางทีเนื้อหาไม่จำเป็นเลยและเทียบกับเพื่อนต่างมหาลัยคือคนละเรื่องเลยค่ะแบบดอกฟ้ากับหมาวัด การที่เรียนมาทั้งหมดบอกตรงๆว่าศึกษาเองเป็นส่วนใหญ่จริงๆ อยากเรียนที่รังสิตไม่ก็ศรีปทุมมาตลอด แต่แบบเงินไม่ถึงไง การเงินมันสำคัญต่อการคัดเลือกการเรียนคุณภาพที่จำกัดลงด้วยอะ มาถึงตอนนี้แบบ....นั้นแหละเศร้า

  • @Flothiz

    @Flothiz

    Жыл бұрын

    @@nonarealchannel7397 บีบมือนะคะ นึกย้อนกลับไปก็เสียดายที่ไม่เลือกรังสิต

  • @hellome7819

    @hellome7819

    Жыл бұрын

    ผมก็เรียนสาขามัลติมีเดียครับ ปี3 เห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้มาก!!! ส่วนตัวอยากเรียนที่รังสิตหรือไม่ก็ศรีปทุม แต่ติดปัญหาเรื่องเงินนี่แหละ หลักสูตรที่สอนคือแค่พื้นฐานจริงๆ คือไปดูตามKZreadก็มีสอนอะ ดีๆไม่ดียังละเอียดกว่าอาจารย์สอนอีก การเรียนคือ..ศึกษาเองซะส่วนใหญ่กับประสบการณ์ที่เคยฝึกงานตอนปวช. การสอนบางวิชาก็เป็นอย่างที่กล่าวมาจริงๆ ทิ้งไฟล์ไว้ในกลุ่ม ให้ไปอ่านเอง คาบต่อไปก็มาสอบ เจอค่อนข้างบ่อย(บางคนสอนเก่งและตั้งใจสอนก็มีนะ) บอกตรงๆเหมือนกันว่าไม่ค่อยได้ความรู้อะไรที่ลึกๆสักวิชาสู้ไปหาดูออนไลน์ดีกว่าเยอะ ไม่ได้อยากด้วยค่าสถาบันนะครับแต่มันคือเรื่องจริงอะ!

  • @nonarealchannel7397

    @nonarealchannel7397

    Жыл бұрын

    @@hellome7819 จริงที่สุดค่ะ ตอนนี้รอกลับไปเรียนตอนปิดเทอมแล้ว บอกตรงๆว่าเรียนไปทำงานไปไม่ได้เลยอันนี้ มันเหนื่อยมากต้องใช้สมองทำความเข้าใจเองแล้วอะไรเยอะมากๆค่ะ นี่เลยพอเปิดเทอมจะเน้นเรียนเลยค่ะ เรียนเองค่ะ 55555555

  • @Flothiz

    @Flothiz

    Жыл бұрын

    @@hellome7819 เอ้ะ ที่เดียวกันรึป่าวคะเนี้ย 55555

  • @Nyrf-kb6wl
    @Nyrf-kb6wl Жыл бұрын

    1. งบประมาณไม่เพียงพอ 2. จ้างครูเก่งไม่ได้ 3. ได้ครูไม่มีคุณภาพมาสอนเด็ก 4. เป็นแม่พิมพ์ที่บิดเบียวให้เด็ก 5. เด็กพัฒนาได้ไม่เต็มความสามารถตลอด4ปีในรั้วมหาลัย เป็นลูปแบบนี้ตลอด ถ้ากระทรวงศึกษาต้องการให้คนเข้าถึงการเรียนรู้โดยให้งบประมาณที่ต่ำขนาดนี้ อย่างน้อยที่สุดสื่อการเรียนการสอนก็ควรจะได้มาตราฐานมากกว่านี้ เด็กบางคนใจเขาใฝ่เรียนรู้ เพียงแต่ว่าเค้าถูกหลอมให้อยู่กันไปแบบนั้น แบบที่แทบไม่ได้พัฒนาความรู้ต่อยอดเลย แล้วมันก็ทึบ ทางตัน บางคนโชคดีฮึดสู้ขึ้นมาได้ บางคนก็ได้แค่นั้นการศึกษาเท่านั้นแหละ เพราะชีวิตรู้จักอะไรแค่นี้ ปัจจัยในการดำเนินชีวิตมันต่าง

  • @joelyessir4724

    @joelyessir4724

    Жыл бұрын

    ผมดูจาก ช่อง เดอะสแตนดาร์ด แล้วตามไปดูที่เขาทำวิจัย เกี่ยวกับ จบจาก ม. ไหน นายจ้างรับทำงานมากสุด อันดับต้นๆใน กทม. ทั้งนั้นเลย แม้จะเป็น ราชภัฏ ก็เถอะ อันนี้คือเรื่องจริง

  • @kiattikornsinchai1310

    @kiattikornsinchai1310

    Жыл бұрын

    ตามนั้น เรื่องจริงที่หลายคนไม่กล้าพูด

  • @biil3444

    @biil3444

    Жыл бұрын

    @@joelyessir4724 จริงครับผมว่ามันก็ไม่ได้แยาอะไรนะ คนเก่งๆที่ผมรู้จักก็เรียนราชภัฏเยอะ กับบางคนเรียนกลางๆไม่ได้เก่งมาก แต่จบลาดกระบังก็เยอะ ทุกวันนี้การศึกษาหรือหนังสือที่ใช้เรียนก็เหมือนๆกันหมดแล้วหละครับ

  • @puddingman2331

    @puddingman2331

    Жыл бұрын

    ผิดทุกข้อ

  • @puddingman2331

    @puddingman2331

    Жыл бұрын

    @@biil3444 ไปทำความเข้าใจใหม่นะ

  • @Ak-rt7br
    @Ak-rt7br Жыл бұрын

    ตาโตตอนอาจารย์แชร์ว่า การเกณฑ์ทหารใช้งบประมาณมากกว่ามหาวิทยาลัยฟรี ปัจจุบันไม่เห็นด้วยเรื่องการเกณฑ์ทหารมากๆ

  • @Idk-hg8jr

    @Idk-hg8jr

    Жыл бұрын

    ไม่น่าเชื่อเลยครับว่าระบบประเทศเรามันพังไปแค่ไหน

  • @ozoneCrispyPork

    @ozoneCrispyPork

    Жыл бұрын

    ขนาดนั้นเลยหรอครับผมขอโพสต์หน่อยได้ไหมครับอยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติม

  • @calicush8166

    @calicush8166

    Жыл бұрын

    น่าเบื่อคครับ มีนาต้องไปจับละ เกิด 45 ต้องทุกคน ไม่ทันซะเเล้วรุ่นผม

  • @excorsxd215

    @excorsxd215

    Жыл бұрын

    มีด้วยหรอ อยากได้ข้อมูลเพิ่มจัง

  • @imonseafooddiet

    @imonseafooddiet

    Жыл бұрын

    จริงค่ะ ใครโดนตอนเรียนมหาลัยคือ คิดดู มหาลัยเรียนยากมาก ถ้าหายไป 2 ปี 🥶 ทำไมต้องมาทำใบผ่อนผัน บางคนก็ไม่รู้อีก ทำไมนะ ทหารมันสำคัญกว่าการศึกษา อนาคตของชาติหรอ สมัยนี้

  • @minimuy5885
    @minimuy5885 Жыл бұрын

    เผลอกดเข้ามาอ่านคอมเม้นก็ค่อนข้างหดหู่นะคะ5555 ส่วนตัวก็เรียนราชภัฏแห่งหนึ่งอยู่ค่ะ ใกล้จบแล้ว เราไม่ได้มีโอกาสเหมือนคนอื่นค่ะ บางคนอาจจะบอกว่าทำไมไม่ถีบตัวเองขึ้นมาเพื่อสอบเข้าม.แนวหน้าล่ะ ปัจจัยแวดล้อมคนเรามันต่างกันมากๆและสำคัญมากๆนะคะ ส่วนตัวยอมรับในความเก่งของคนที่สอบได้เข้าเรียนม.แนวหน้ามากๆค่ะ ขยันอดทน และเก่งมากๆ ตัวเราทำไม่ได้ขนาดนั้น ทั้งโอกาส ทั้งความรู้ที่น้อยนิด เราปากกัดตีนถีบด้วยตัวเองค่ะ พาตัวเองมาจนจะจบ เราอยากจบแบบภูมิใจมากๆค่ะที่พาตัวเองมาได้เราต้องการแค่นั้นค่ะ เรารู้ค่ะว่าโลกการทำงานมันยาก เราก็โดนเหยียดมาเยอะค่ะ ทุกคนย่อมอยากพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีค่ะ #ไม่มีใครอยากให้คนอื่นมาด้อยค่าความตั้งใจหรือความภูมิใจของเราหรอกค่ะ และเป็นกำลังใจให้เด็กรุ่นหลังให้ได้สอบเข้ามอที่ตั้งใจได้นะคะ♡♡

  • @nv6399

    @nv6399

    Жыл бұрын

    มาให้กำลังใจน้อง ตั้งใจเรียน มุ่งมั่น มีเป้าหมายที่ชัดเจน เดินตามเป้าหมายที่วางไว้ ที่สำคัญ อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ ค้นคว้า หาข้อมูลพัฒนาตัวเอง พี่เรียนจบราชภัฎเหมือนกัน ทำงานแล้วยังต้องค้นคว้าหาข้อมูล เรียนรู้ตลอดเวลา ทำงานเป็นผู้บริหาร บริษัทอินเตอร์ติด top 5 ของโลก เงินเดือนหลักแสน แต่ทุกอย่างไม่ได้มาง่าย ไม่ยากเกินไปถ้าใจคิดไขว่คว้า เป็นกำลังใจให้ ... เราต้องฝัน เดินตามฝัน น้องทำได้แน่นอน มั่นใจตัวเอง

  • @blookerchannel6666

    @blookerchannel6666

    Жыл бұрын

    ผมก็จบจากราชภัฏครับ ตอนนี้มีงานที่กำลังทำไปเรื่อยๆเพราะมุ่งหน้าชนกับมันทุกวัน แต่ผมเชื่อว่าวันนึงงานที่ผมทำอยู่มันจะสำเร็จแน่นอนครับ ก็เลยอยากจะบอกอะไรเล็กๆน้อยๆกับคนที่เข้ามาอ่านเม้นนะครับว่า ในความคิดผมนะ ไม่ว่าเราจะจบอะไรมา มันจะไม่สำคัญเลย ถ้าเรา อยากเรียนรู้ที่จะทำอะไรต่อ สิ่งๆนั้นที่เราสนใจและอยากจะทำมันจริงๆ เชื่อมั่นและมุ่งมั่นว่าทำได้ หลังจากนั้นละครับที่จะเป็นตัวจุดฉนวนในการมุ่งไปข้างหน้า อย่างไม่ยอมแพ้ ผมเชื่อว่าเราทุกคนทำได้ครับ แต่เเค่คนเหล่านั้นจะกล้าออกมาจาก SafeZone ตัวเองจริงๆหรือเปล่า อันนี้ ก็อยู่ที่ตัวคุณเองแล้วละ

  • @helloboo7167

    @helloboo7167

    Жыл бұрын

    คอมเมนต์นี้โดนใจเรามากเลย เพราะเราก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน​

  • @palmtp4186

    @palmtp4186

    Жыл бұрын

    เราจบเอกชนดังมาเกรดปานกลางไปสมัครงานกับเพื่อนสนิทมอราชภัฏ นางเรียนดี ขยัน มีวินัยกว่าเราเยอะมากแต่นางไม่ผ่าน 😢ส่วนเราก็ทำงานไปด้วยเรียน ขายของ จนดันตัวเองจบป.โทราม เด็กเอกชนก็จะโดนเหยียดเหมือนกันแต่ไม่เยอะ อารมณ์ลูกคุณหนูทำไรไม่เป็น

  • @KT-zk4pr

    @KT-zk4pr

    10 ай бұрын

    ถ้าเลือกได้ใครก็อยากเข้ามหาลัยท็อปของประเทศทั้งนั้นแหละ แต่ก่อนจะอยากเข้ามหาลัย สังคมมันคัดตั้งแต่เราเกิดในท้องแม่ละ การกิน กานเรียน การส่งเสริม ต้นทุนชีวิตมันต่างกัน ตั้งแต่แรก มันก้แน่นอนว่า มหาลัยท็อปพวกนี้ จะมีแต่เด็กที่ได้รับโอกาสที่ดีแต่เด็ก

  • @thngb4759
    @thngb4759 Жыл бұрын

    เราเรียนมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปริญญาตรี คณะนึง ไปดูหลักสูตรปริญญาโทของราชภัฏที่นึง แล้วอึ้งมากก เพราะคณะปริญญาตรีที่เราเรียนคือปริญญาโทของราชภัฏนั้นทั้งหมดเลย ส่วนตัวเราคิดว่าคนจบราชภัฏไม่ใช่ทุกคนที่ไม่เก่ง บางคนเก่งมาก โคตรขยัน แต่หลักสูตรห่วยมากๆๆบวกกับโอกาสที่ได้รับระหว่างเรียนในมอนั้น แต่บางคนมอดังทอป 3 ตอนฝึกงานเป๊ะเนื้อหา เป๊ะทฤษฎีมาก แต่เจอชาวต่างชาติแล้วไม่ได้เลย ไม่สามารถสื่อสาร รับหน้า แก้งานได้เลยเหมาะสำหรับงานเขียนงานสอนดีกว่า ป.ล อยากให้ดูที่ตัวรายบุคคลดีกว่า

  • @numai8131
    @numai8131 Жыл бұрын

    ดูแล้วสรุปก็คือราชภัฏมีปัญหาจริงๆไม่ใช่แค่มายาคติสินะ จริงๆเราว่าเป็นเรื่องดีที่ราชภัฏมีหลายแห่งและเข้าถึงง่ายเพราะมันช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา แต่คุณภาพมัน...น่าเสียดาย

  • @lflam__l1219

    @lflam__l1219

    Жыл бұрын

    @@Zemon7664 เขามาเยอะเเหละเเต่ ก็โกงเยอะเช่นกัน

  • @thboy1037

    @thboy1037

    Жыл бұрын

    ใช่ครับ อย่างน้อยคือมันก็ช่วยให้คนมีปริญญา พอจะไปหางานทำได้ ส่วนเรื่องงบประมาณ มหาวิทยาลัยจะมีการแบ่งกลุ่มงานครับ กลุ่มวิจัย นวัตกรรม งบประมาณจะไม่เท่ากัน ของราชภัฏถ้าจำไม่ผิดคือเพื่อสนับสนุนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ทุกประเทศมีแบบนี้ อเมริกามี Ivy League เกาหลีใต้มี SKY อังกฤษมี Oxford Cambridge

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ

  • @hokijooki

    @hokijooki

    Жыл бұрын

    ในด้านหลักสูตรทำไมถึงง่ายอาจารย์เราเคยบอกไว้ว่าเขาวัดจากประสิทธิภาพนศ ซึ่งส่วนมากเกณฑ์ตาำก็ต้องปรับการสอนลง นี่แหละข้อเสีย แต่ก็เข้าใจว่าเปิดให้เด้กทุกคนได้เรียน แต่มีวิธีการยังไงให้ดีกว่านี้ไหมนะ

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    @@hokijooki ใช่ครับ ราชภัฎ ราชมงคล เอาจริง ๆ ปรับให้ยาก ก็ทำได้ แต่ที่ไม่ทำ เพราะเด็กที่ไม่เรียนบางคน มันจะเปอร์ ไปเรื่อยครับ หาว่า อาจารย์โหด ยังโง้น ยังงี้

  • @syxyn
    @syxyn Жыл бұрын

    ปัญหาของประเทศไทยคือประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษามากขนาดนั้น อยากเรียนเก่งก็ไปหาติวเตอร์เก่งๆสิ มันเห็นชัดมากว่าถ้าอยากเก่งก็ต้องมีเงินถึงจะไปหาติวเตอร์เก่งๆได้ เด็กบางคนเก่งมากขยันอดทนแต่พ่อแม่ไม่มีเงินส่งเรียนก็ต้องตัดใจจากมหาลัยที่ค่าเทอมสูงๆ เรียนที่ไหนอาจมีส่วนจริงแต่คุณค่าของคนมันไม่ได้ขึ้นอยู่ที่มหาลัยที่เรียน

  • @puddingman2331

    @puddingman2331

    Жыл бұрын

    สรุปสั้นๆคือ มึงไม่เข้าใจ

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    ใช่ครับ บางคน เก่งมาก แต่ตังก์ไม่ถึง

  • @haveyou633
    @haveyou633 Жыл бұрын

    ถูกต้องครับ ม.ราชภัฏ สำหรับผมคือมหาลัยกำลังมีปัญหาเฉยๆครับ ปัญหาจากหลายๆอย่างที่ไม่พร้อมทำให้มีโอกาสที่เด็กจบมาจะไม่มีคุณภาพครับ แต่ไม่ได้หมายความทุกคนจะไร้คุณภาพทั้งหมดนะครับ และคนที่จบมาแบบมีคุณภาพนี้ต้องซื่นชมมากเลย เพราะ ต้องใช้ความพยายามและความอดทนสูงมากๆครับ วิธีแก้ไม่ยากครับ เพียงแค่พัฒนาระบบการศึกษา ทางโครงสร้างทั้งหมด ในหลายปัจจัย ตั้งแต่ระดับเล็กๆจนถึงภาพรวมเลยครับ (ที่บอกไม่ยากนี่พูดเล่นนะ) อาจจะต้องใช้เวลานานมากๆ และ งบประมาณจำนวนมากเลยครับ แต่ผลตอบแทนคุ้มค่าแน่นอน เพราะมันหมายถึงการเจริญก้าวหน้า ของระบบการศึกษาไทยโดยภาพรวมเลยครับ ถ้ามองซะว่าราชภัฏคือตัวแทนของ การศึกษาไทย เพราะมีการกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทยและ มีนักศึกษา รวมกันจำนวนเยอะมากๆ ถ้าพัฒนาจุดนี้ได้ แล้วเพิ่มอัตราการเรียนจบให้มีประสิทธิภาพได้ ก็จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ให้เวลาเดียวกัันเลยครับ ก็เหมือนแก้เกรดครับ ทำคะแนนวิชาอื่นๆได้คะแนนดีมาก เกรด3+ หมด แต่วิชาที่หน่วยกิจ3หน่วยกิต ได้แค่เกรด1 แต่ด้วยความที่วิชานั้นมันหน่วยกิตสูงมาก ทำให้ดึงเกรดโดยรวมให้ต่ำไปด้วย และการแก้ไขปัญหาของม.ราชภัฏ ก็เหมือนแก้วิชาที่ได้เกรด1 นั่นแหละครับ อย่างน้อยอาจจะทำให้ออกมาดีไม่ได้เพราะเราไม่ถนัดวิชานี้ แต่ถ้าใช้ความพยายามเพิ่มขึ้นมาน่อย ก็อาจจะเพิ่มเกรดขึ้นมาเป็นเกรด2 ได้ก็ได้ และพอเป็นแบบนั้น เกรดโดยรวมก็เพิ่มขึ้นด้วย หลักการง่ายๆ เพราะงั้นโดนส่วนตัวผมมองว่า "ราชภัฏคือรากฐานของการศึกษาไทย ที่ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ เป็นเหมือนกระจกสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของบุคลากรไทยและอนาคตของประเทศไทยครับ" เป็นรากฐานการศึกษาที่ไม่ถูกให้ความสำคัญครับ ถ้าให้แนะนำว่าเข้าราชภัฏดีมั้ย ผมจะตอบว่า "ถ้าไม่มีทางเลือก ก็เข้าได้ครับ" ก็สู้ๆนะครับ สำหรับDek66 สอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมก็Dek66เหมือนกันตอนนี้ยังไม่รู้จะเข้าม.ใหนเลย555

  • @abcdefuggg3716
    @abcdefuggg3716 Жыл бұрын

    เป็นคนนึงที่คิดว่าตัวเองมีศักยภาพอยู่ประมาณนึงค่ะ แต่ด้วยอยู่ต่างจังหวัด เราต้องคิดทั้งค่าเดินทาง ค่าหอ ค่าชุด ค่าครองชีพ และคิดถึงด้วยว่าหากเข้าไปเรียนแล้วต้องเสียค่าอะไรอีกบ้าง เราไม่ได้มีฐานะมาก พออยู่ พอกิน ยังคิดว่าการศึกษาแพงเลยค่ะ สุดท้ายก็เลยเลือกไปยื่นพอตราชภัฏ เราตกใจมากที่พอไปยื่นแล้วพบว่ามีคนที่ไปยื่นเหมือนกันแต่ไม่ได้ทำพอตไป ไปแค่สัมเฉยๆ กับเอาผลงานของตัวเองให้ดู เรารู้สึกแย่มาก ที่เราตั้งใจทำพอตและทำงานทุกอย่าง เรียบเรียงทุกอย่างออกมาให้ดีที่สุด แต่ทางม.ไม่ได้ให้เกียรติเด็กที่ทำตามกฏกติกาด้วยซ้ำ สุดท้ายคืออยากบอกว่า เรียนที่ไหนก็ไม่เหมือนกันหรอกค่ะ คุณภาพ อะไรใดๆต่างกันอยู่แล้ว เป็นค่านิยมของคนไทยไปแล้วด้วยซ้ำ มีทางเดียวคือรัฐบาลลงมาใส่ใจการศึกษาและงบประมาณ ของการศึกษาไทยให้มากกว่านี้ อนาคตของเด็กไทยเก่งๆที่ไม่มีทุนในการเรียนมากพอจะได้ไม่ถูกขโมยไปโดยค่านิยมของคนในสังคมที่ยากจะแก้อีกค่ะ สุดท้ายคือ เราอยากใช้ชีวิตในนามของเด็กราชภัฏอย่างมีคุณภาพ และทำตามความฝันของตัวเองอย่างสุดความสามารถ ใช้ชีวิตของตัวเองให้มีความสุขบนมาตรฐานสังคมที่กดทับลงมา ขอบคุณค่ะ

  • @malongyed
    @malongyed Жыл бұрын

    เพื่อนผมจบราชภัฏ แม่งก็เป็นคนบอกเองว่ามหาลัยห่วยมาก ผมกับเพื่อนเรียนสาขาเดียวกัน แต่คนละ มอ เวลาคุยเรื่องเรียนจะเหวอๆว่า เด็กราชภัฏ มันเรียนอะไรกันว่ะเนี่ยทำไมหลักสูตรมันแปลกๆ อาจารย์ก็ค่อนข้างจะปล่อยเกรด

  • @Bossgreatwall

    @Bossgreatwall

    Жыл бұрын

    จริง

  • @Bossgreatwall

    @Bossgreatwall

    Жыл бұрын

    มหาลัยดังๆ ปรับหลักสูตรตลอดเเทบจะทุกๆ2-3ปี ปรับได้ดีขึ้น ปรับให้เข้ากับความต้องการของผู้ประกอบการเเต่ละสาขานั้นๆ

  • @bobby7131

    @bobby7131

    Жыл бұрын

    เราจบราชภัฏ ทุกวันนี้ได้แต่บอกเด็กๆ ว่าอย่าเข้า สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ แถมคอนเนคชั่นต่ำมาก น้อยมากที่จะได้งานจากคอนเนคชั่น ถ้าไม่เก่งจริง จบไปไม่มีงานรองรับมหาลัยนี้เลย เศร้า

  • @Ttttttttt421

    @Ttttttttt421

    Жыл бұрын

    เคยดูชีทวิชาภาษาอังกฤษของเพื่อนราชภัฏแล้วอึ้งเลย is am areอยู่เลย🤦🏻‍♀️

  • @user-cx3zp9wo3i

    @user-cx3zp9wo3i

    Жыл бұрын

    ผมเรียนราชภัฏก็คิดงั้น

  • @forlua9211
    @forlua9211 Жыл бұрын

    ที่เยอรมันนี เด็กๆทุกคนมี options ในการเข้าเรียนหลากหลายมากๆ เช่น - เด็กที่ชอบวิชาการมากๆหน่อยก็ไปเรียน University คือมหาลัยชั้นนำที่เป็น research oriented เหมือน จุฬา มหิดล - เด็กพอเรียนทฤษฏีได้บ้างแต่ชอบปฏิบัติมากกว่าก้อไปเรียน University of Applied Sciences (เทียบได้กับราชภัฎ ราชมงคล) - เด็กที่ไม่ชอบทฤษฏีเลยชอบปฎิบัติอย่างเดียว ก็ไปเรียน vocational school (คล้ายๆเทคนิค) เรียน 2 วันทำงาน 3 วัน ไม่ว่าเด็กจะเก่งไม่เก่ง ชอบวิชาการชอบปฏิบัติ เด็กทุกๆคนจะมีทางเดินที่สามารถไปได้ในแบบที่เหมาะกับตัวเอง ปัญหาของ ราชภัฎ ราชมงคล คือ "การวาง position ของตัวมหาลัย" ที่พยายามที่จะเป็นเหมือน จุฬา ธรรมศาสตร์ ทั้งๆที่บุคคลากรไม่ได้มีความเข้มข้นทางการทำวิจัยและตัวนักศึกษาเองก็ชอบปฎิบัติมากกว่าวิชาการ ในความเป็นจริงแล้วราชภัฎและราชมงคลควรจะสร้างมหาวิทยาลัยที่เน้นปฏิบัติไม่ใช่เน้นวิจัย ไม่ต้องไปวิ่งไล่ตามตูด research oriented universities แต่ควรสร้างทางเลือกกลางๆสำหรับคนที่พอเรียนทฤษฏีได้แต่ชอบปฏิบัติมากกว่า (ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศนี้) ... สิ่งที่เด็กๆในประเทศไทยต้องการไม่ใช่ "มหาลัยอันดับหนึ่งของประเทศ" แต่เป็น "มหาลัยที่มีความแตกต่างหลากหลายและตอบโจทย์กับสิ่งที่เค้าชอบ" ... ที่เยอรมันนีเราไม่ได้เห็นระดับชนชั้นสูงต่ำของมหาลัยเหมือนอย่างที่บ้านเรา เพราะแต่ละมหาลัยเค้ามี focus ในแต่ละด้านของเค้า University เน้นวิชาการ ส่วน University of Applied Sciences เน้นปฏิบัติป้อนคนเข้าอุตสาหกรรม ของบ้านเรามันจะวิ่งไปเป็น research oriented university กันอย่างเดียว พอความเข้มข้นทางวิชาการไม่ถึงและธรรมชาติของนักศึกษามันไม่ได้ มันก้อโดนมองว่าเป็นมหาลัย research oriented ปลอมๆ "ที่ไร้คุณภาพ" ... เพิ่มเติม: University of Applied Sciences (เทียบได้กับ ราชภัฎ ราชมงคล) ในเยอรมันนี ไม่สามารถสอนในระดับปริญญาเอกได้ด้วยตนเองหากแต่ต้องไป co กับ University (มหาลัยวิจัย) ที่อื่น เพราะ University of Applied Sciences ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานวิจัย ต่างจากกรณีของไทยที่ ราชภัฎ ราชมงคล แห่สร้างหลักสูตรปริญญาเอก(ที่ไม่ได้มาตรฐาน)แข่งกัน โดยไม่สนธรรมชาติของผู้เรียนและตลาดแรงงาน

  • @andysdairy

    @andysdairy

    Жыл бұрын

    ผมเรียน Applied Science มาบอกเลยว่าเน้นCase studyจริงๆ มันคือการสอนเพื่อเอาไปทำงานจริงๆ จะเป็นการให้เรารู้ว่าควรเอาทฤษฎีไป Implement กับงานยังไง

  • @alexgo4081

    @alexgo4081

    10 ай бұрын

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

  • @HighOctaneExtreme

    @HighOctaneExtreme

    10 ай бұрын

    บ้านเรายังเรียนตามเพื่อนตามเทรนอยู่เลย

  • @SuFangEungKhaiNBTFan

    @SuFangEungKhaiNBTFan

    10 ай бұрын

    อันนี้น่าสนค่ะ

  • @realme5249

    @realme5249

    9 ай бұрын

    ทำไมถึงพูดประเด็นนี้ได้ครบถ้วนรอบด้านขนาดนี้ แจกแจงได้ดีมาก ยกตัวอย่างดีมาก เห็นภาพชัดเจน ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

  • @nualsleeper6891
    @nualsleeper68918 ай бұрын

    input : เด็กมอดังมีทรัพยากรอัดฉีดเข้าไปมากกว่าเด็กราชภัฏ + ไหนจะสภาพแวดล้อมในการเรียนที่ดีมากกว่า output : เด็กมอดังมีสัดส่วนเด็กเก่งมากกว่าเด็กราชภัฏ มีโอกาสเติบโตไปเป็นผู้บริหาร หรือพนักงานระดับ management มากกว่า ซึ่งนั่นเป็น fact ที่ไม่ว่าจะ teamมอดัง หรือ teamราดพัด หรือไม่ว่าใครก็สามารถเข้าใจใน fact นี้ได้เหมือนกัน input หรือการได้ทรัพยากรในการศึกษา = เด็กมอดัง > เด็กราชภัฏ output หรือผลผลิตของเด็กเก่ง = เด็กมอดัง > เด็กราชภัฏ ที่นี้ การที่เด็กราชภัฏหลายๆ คนออกมาพูดทำนองว่า จบราชภัฏมาก็เอาตัวรอดได้, เด็กราชภัฏก็เก่งกว่าเด็กมอดังได้ ถ้าพยายาม มันทำให้เด็กมอดังหลายคนไม่พอใจ ประมาณว่าเอ็งมาจะดีกว่าข้าได้ไง จนบางทีก็ลืมมองความจริงไปว่า ในเด็กเก่ง 100 คน อาจจะมีเด็กมอดังในนั้นอยู่ 90 คน แต่อีก 10 ที่เหลืออาจจะเป็นเด็กราชภัฏ หรือมอในเครือท้องถิ่นอื่นๆ ก็ได้ การที่เด็กราชภัฏพูดว่า เด็กราชภัฏบางคนเก่งกว่าเด็กมอดัง พวกเขาหมายถึง ‘เด็กราชภัฏส่วนหนึ่งเอง ก็สามารถพัฒนาตัวเองจนเก่งกว่าได้ ภายใต้ต้นทุนหรือทรัพยากรที่ด้อยกว่า’ ซึ่งต่างจากเด็กมอดังที่มีทรัพยากรด้านการศึกษาครบถ้วนจนแทบจะเหลือใช้ ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่เขาจะภูมิใจ และพูดเพื่อให้กำลังใจเพื่อนราชภัฏด้วยกัน และแม้จะตั้งใจหรือไม่ มันเป็นเหมือนการทำตัวเหนือกว่าเด็กมอดังไปโดยปริยาย > ผลคือเด็กมอดังเข้ามา defense ว่าราชภัฏดีกว่าตรงไหน ห่วยจะตาย เป็นการกดยิ่งไปกว่าเดิม > เด็กราชภัฏเถียงกลับ เป็นสงครามน้ำลายที่ไม่จบไม่สิ้น เหมือนต่างฝ่ายพยายามเถียงให้ได้ว่า ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เป็น fact ที่ปฏิเสธไม่ได้คือ มันมีเด็กราชภัฏบางคน อาจจะสัดส่วนน้อย แต่ก็มีคนที่เก่งกว่าเด็กมอดังจริงๆ *ในความหมายที่ว่า สามารถถีบตัวเองให้เก่งกว่าได้ภายใต้สภาพแวดล้อมและ input ที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น เด็กราชภัฏบางคนที่พยายามด้วยตัวเองจนเก่งขึ้นมาได้ คุณควรภูมิใจ ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เรื่อง input และ output เด็กมอดังมีโอกาสเยอะกว่ามาก ไม่มีใครปฏิเสธเรื่องนั้น แต่เรื่องที่ว่าเด็กราชภัฏ ‘บางคน’ ก็เก่งกว่าเด็กมอดังได้ มันเป็น fact ที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกัน ในหลายครั้งที่เด็กราชภัฏออกมาพูดในแง่ให้กำลังใจกันเองแบบนี้ ก็จะถูกล่าโดย teamมอดังบ่อย บางคนไม่ได้จบมอดังด้วยซ้ำแต่อยากเข้ามาร่วมวงสนทนา (อยากมาด่าเด็กราชภัฏ) ด้วย ก็จะเข้ามารุม (ใส่ not all เอง) ซึ่งอย่าลืมว่า ที่เด็กราชภัฏออกมาพูด คือบางคนเขาต้องการให้กำลังใจกันและกัน ไม่ได้กะจะเหยียดเด็กมอดังหรืออะไร (แต่ใครที่อยากเหยียดเด็กมอดังจริงๆ อันนั้นเป็นสันดาน) ใน ปสก ส่วนตัวเราทำงานเป็นล่ามในบริษัทผลิตรถยนต์ในเขตอุตสาหกรรม เห็นกับตาว่าเด็กจบมอเอกชนที่ไม่ได้มีชื่อเสียง (เพื่อนร่วมงาน) เก่งกว่าเด็กมอดัง top 3 ของประเทศแบบเทียบไม่ติด หรืออีกตัวอย่าง เราเองจบราชภัฏ (ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ และไม่มีใครปฏิเสธด้วยว่าหลักสูตรมันแย่จริง แต่เราพยายามด้วยตัวเองมาเยอะ) แต่เราสอบวัดระดับภาษาอันดับสูงสุดได้ก่อนเพื่อนที่จบมหาลัย top 5 ของประเทศถึงสองปี และในงานล่ามทุกวันนี้ก็แบกเพื่อนมอดัง top 5, top 3, top 1 ในหลายๆ ประชุมจนหลังหัก ดังนั้นน้องๆ ที่เรียนราชภัฏอย่าเพิ่งหมดกำลังใจกันนะ ถึงหลักสูตรมันจะห่วยแต่เรายังพัฒนาตัวเองได้ตลอด ส่วนเหล่าเพื่อนมอดังบางคนที่ยังเหยียดเด็กราชภัฏอยู่ เราห้ามความคิดคุณไม่ได้ ถึงคุณจะดูถูกเด็กราชภัฏที่เก่งกว่าหรือด้อยกว่าคุณ แต่อย่าลืมว่าในการทำงาน ผู้บริหารเองก็ขับเคลื่อนองค์กรไม่ได้เช่นกัน หากขาดแรงงานและพนักงานระดับปฏิบัติการ และถ้ายังไม่หายเหี้ยน ลองเทียบมอดัง top ประเทศไทยกับ global university ranking ดูนิดนึง หรือเอาแค่ในเอเชียก็พอ ว่าตัวเองอยู่อันดับที่เท่าไหร่ เผื่อเม็ดมั่นจะหลุดจากมือ แล้วก็เรื่อง connection สุดท้ายก็เป็นแค่อีกหนึ่ง factor ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ

  • @nuuatjoo6418
    @nuuatjoo6418 Жыл бұрын

    ต้องยอมรับว่าหลักสูตร ส่วนมากของราขภัฏคือสู้ไม่ได้จริงๆ นี่เรียนจบมาคือยังงงๆเลยว่าจบมาได้ยังไง ไม่รู้เรื่องซักอย่าง 555 แต่ที่มีงานทำทุกวันนี้ เพราะโอกาสและประสบการณ์ล้วนๆ

  • @aukikyo7943

    @aukikyo7943

    Жыл бұрын

    เหมือนกัน😂

  • @VOV-se4to

    @VOV-se4to

    8 ай бұрын

    ม.ราชภัฏ ปัจจุบัน มีการอัพเกรด กว่าเดิม

  • @erudonz2134
    @erudonz2134 Жыл бұрын

    จากใจคนเรียนราชภัฏแห่งนึงในภาคใต้ - ปัญหาหลักสูตรเอาวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องยัดมาให้เรียนตอนปี 1 อ้างว่าจำเป็นต้องเรียนเพราะสาขาวิชาอยู่ในคณะนั้น ทำให้เสียเวลาเรียนวิชาที่ไม่ได้ประโยชน์ในการออกไปทำงานไปเยอะเลย - วิชาที่เกี่ยวกับตัวสาขาจริง ๆ ไม่ค่อยแน่น สิ่งที่ควรจะได้เรียนก็ไม่ได้เรีนย อาจารย์ก็ไม่พอที่จะสอน คนที่ใจรักในด้านที่เรียนอยู่จะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองเยอะ ๆ อาจารย์ก็พอจะไกด์ให้ได้ว่าจะต้องไปศึกษาอะไร สุดท้ายเรียนกับ KZread เยอะกว่าด้วยซ้ำ แล้วสุดท้ายบางสาขาวิชาก็ต้องปิดตัวลงไป - ขาดแคลนอุปกรณ์ในการเรียนรู้ บางอย่างต้องมีเป็นของตัวเอง ไม่มีให้ยืม ไม่เคยได้จับอุปกรณ์ดี ๆ ที่ทันสมัย ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วในงานสเกลใหญ่เค้าใช้อุปกรณ์อะไร ทำได้แค่ฝึกจากอุปกรณ์ที่มีกับสิ่งที่ตัวเองพอจะเอื้อมถึงได้ - ถ้าจะบอกว่าคนเรียนราชภัฏไม่เก่ง ไม่มีความพยายาม อันนี้ไม่ใช่เลย บางคนพยายามมาก ๆ ทั้งเรียนในห้อง รับงานนอกระหว่างเรียน เรียนรู้ด้วยตัวเอง ลองผิดลองถูกมาเยอะจนเก่งก็มีเยอะแยะ ด้วยปัญหาทั้งหมดที่มีทำให้คนส่วนใหญ่ที่จบออกมามีความรู้ ทำนู่นทำนี่ได้ แต่มันไม่สุดสักทาง ทำได้หลายอย่าง แต่มันไม่เก่งจริง ๆ จัง ๆ สักอย่าง เพราะมันขาดโอกาสจริง ๆ จบออกมาได้แต่ไม่ค่อยมีความมั่นใจ เหมือนกับว่าค้นหาตัวเองไม่เจอว่าจริง ๆ แล้วถนัดอะไร แต่ก็สามารถเอาสิ่งที่เรียนมาและพอจะทำได้ไปประกอบอาชีพเอาตัวรอดได้ แต่ก็ต้องไปต่อสู้กับค่านิยมข้างนอกที่มักจะถูกเรซูเม่หาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่สังคมมองว่าดีวางทับ ๆ จนอยู่ลำดับท้าย ๆ " #เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน "

  • @sitthasimarugumapi2883
    @sitthasimarugumapi2883 Жыл бұрын

    แชร์จากคนวงในราชภัฏ ผมเนี่ยเกิดในราชภัฎเลย อยู่มาทั้งชีวิต 35ปี มีเพื่อน พ่อแม่ญาติพี่น้องอยู่ในราชภัฎทั่วประเทศ ปัญหาอันดับ1ที่ผมเห็นเลยคือเรื่องคอรัปชั่น อาจจะพูดไม่ได้เต็มปากว่าเป็นทุกที่ แต่ทุกที่ที่ผมรู้จักเป็นเหมือนกันหมด ผู้บริหารที่ขึ้นมาทุกยุคมีแต่เสือสิง เข้ามาเพื่อกอบโกยโกงกิน ตั้งแต่ค่าดินสอยันที่ดิน จะเล็กจะน้อยเอาหมด ผมโตมากับสิ่งเหล่านี่จนช่วงนึงของชีวิตผมคิดว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่อง"ปกติ" ใครๆก็ทำ หรือมันต้องทำ ไม่ว่าจะเบิกงบไปเที่ยวแล้วอ้างว่าสัมมนา แม้แต่ผมเองได้ไปเที่ยวต่างประเทศหลายครั้งตั้งแต่เด็กก็เพราะสิ่งเหล่านี้ เดิมน้ำมันต้องทำบิลแยก ต้องเบิกเงินค่าข้าวคนขับรถ เอาญาติพี่น้องมาใช้รถ ใช้บ้านพัก เอาญาติตัวเองเข้าทำงานในทุกตำแหน่ง แล้วคนกันเองก็โหวดคนกันเอง ขึ้นเป็นผู้บริหาร ได้งบสร้างอาคาร งบพัฒนานักศึกษามา เอามานั่งประชุมกันว่าจะหั่นงบตรงไหนเอามาใช้ส่วนกลาง(กันเอง)ได้ ช่วงนึงผมเชื่อจริงๆว่าทำแบบนี้คือถูกแล้วเพราะให้งบมาไม่ตรงกับที่ต้องการเลยต้องเล่นแร่แปลธาตุเอางบนั้นแอบมาทำอันนี้ แต่วนไปวนมาก็คือผลประโยชน์เข้าพวกพ้อง ใครไม่เอาด้วยก็นั่งสอนหนังสือไปเถอะไม่ได้เติบโตไปไหน เก่งแทบตาย งานวิจัยระดับประเทศก็ได้แค่2ขั้น เส้นใหญ่มาทีหลังขึ้นเป็นหัวหน้าภาคเรียนร้อย แล้วคนพวกนี้สอนหนังสือไม่เคยรู้เรื่องโยนงานให้นศ.โยนงานให้ผู้ช่วยไปเรียนกันเอาเอง แล้วก็ปล่อยเกรดไม่ก็ขายเกรดให้จบๆไป นศ.ก็รู้กันดี จะเรียนทำไมให้เหนื่อยตายก็ได้แค่C ยกกระเช้าให้อาจาย์B+ก็มาละ ดังนั้นแค่จัดงบมาลงให้เท่ามหาลัยก็ไม่ช่วยครับ งบนั้นจะละลายหายหมดเหมือนโยนเงินใส่กองไฟ แล้วก็ไม่ต้องหวังจะตรวจสอบอะไร เวลามีเรื่องก็พวกเดียวกันทั้งนั้นเป็นกรรมการสอบ อธิการที่นี่มีปัญหาก็ตั้งอธิการที่อื่นที่เป็นเพื่อนกันและทำเหมือนกัน มาสอบ สอบให้ตายก็ไม่ผิด ต่อให้ผิดก็ไม่ลงโทษ ต่อให้มีโทษก็ไม่ลงซักทีดึงไปดึงมาจนเกษียณ บางคนจนแก่ตายไปก็เยอะแยะ

  • @sitthasimarugumapi2883

    @sitthasimarugumapi2883

    Жыл бұрын

    เรื่องมันเยอะเล่าเป็นปีก็ไม่หมด ช่วงที่ครูทำอาจารย์3กันเยอะๆ แล้วต้องให้อาจารย์ราชภัฎเป็นคนอ่าน แค่ยื่นให้อ่านก็ 5000บาทละ (10กว่าปีแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่รู้เท่าไหร่แล้ว) ไม่ใส่ซองก็วางกองไว้ตรงนั้นแหละ คนส่งให้อ่านเป็นร้อย จะเลือกคนไหนมาอ่านก่อนหละ ถ้าเขียนดีมากก็จบที่ 5000 เขียนกลางๆก็แก้ไป3-4รอบ ถ้าขี้เกียจเสียเวลาแก้ก็ใส่ซัก 4-5หมื่น เดี๋ยวอาจาย์แก้ให้เอง555 เลวร้ายที่สุดที่เคยได้ยินแพคเกจผ่านแบบไม่ต้องเขียนซักตัวอักษร 2แสน เอาไปเลย ผ่อนจ่ายได้ คนยอมจ่ายเยอะด้วย เพราะ1-2ปีคืนทุนละที่เหลือกำไร บางคนทำนานกว่า2ปียังไม่ผ่านเยอะแยะ

  • @Uknowdonttouchmelife

    @Uknowdonttouchmelife

    Жыл бұрын

    จริง

  • @itsjustopinion_are_asfollows

    @itsjustopinion_are_asfollows

    Жыл бұрын

    แซ้ดเลย

  • @my-de5kj

    @my-de5kj

    Жыл бұрын

    ชอบคอมเม้นท์นี้ คุณเล่าได้เห็นภาพเลยครับ ซึ่งบางสิ่งบางอย่าง รร.มัธยมก็มีแบบนี้

  • @pointch.1094

    @pointch.1094

    Жыл бұрын

    อันนี้จริง ไม่เชื่อไปดูเมืองดอกบัวได้เลย งบ สอนไม่ค่อยจะมีแต่งบสร้างสนาม นี้เยอะจัง วิทยาเขต ก็มีสระว่ายน้ำด้วยนะ แต่ได้ใช้ไม ก็ไม่น่าจะได้ใช้เพราะห่างจากตัวมหาลัยตั้ง 20 30 กม.

  • @Hopbitz
    @Hopbitz Жыл бұрын

    บทดีมากกก เปรียบเทียบ ถูกจุดชัดเจน ตรงประเด็นมากค่ะ ความเหลือมล้ำทางด้านการศึกษา

  • @p0314z
    @p0314z Жыл бұрын

    ผมDek66ที่พ่อเเม่บอกห้ามเรียนราชภัฏครับ พอผมเริ่มโตขึ้นได้รู้มากขึ้นทั้งทัศนะคติของคนข้างบน ทั้งความเลื่อมล้ำ ทั้งราคาค่าชีวิตทั้งๆที่ผมอายุเเค่18เเต่มันมีทั้งค่าเรียนพิเศษ ค่ามหาลัย ค่าสัมภาษณ์ ค่าเดินทาง ปีนี้ผมเสียเยอะมากเพื่อเข้ามาในระบบที่ทำให้ผมสิ้นหวังขนาดนี้

  • @scarlett9750

    @scarlett9750

    Жыл бұрын

    😢

  • @itsjustopinion_are_asfollows

    @itsjustopinion_are_asfollows

    Жыл бұрын

    ชั่งน้ำหนักดูเอาค่ะ ทุกอย่างได้อย่างก็เสียอย่าง ทุกสิ่งมีราคาที่ต้องจ่าย และไม่ได้จ่ายเป็นเงินไปทั้งหมด ทำไงได้เนาะในเมื่อเรายังต้องอยู่ในระบบ เราก็ต้องทำตามเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้ให้ได้ อย่างเราเราสอบเข้าม.รัฐได้โดยการเรียนพิเศษแค่วิชาเดียวคือวิชาที่ไม่ถนัดจริงๆ นอกนั้นที่ถนัดก็ทำได้ดี ส่วนที่กลางๆก็ไม่เสียเงินเรียนเลยสักบาทหาดู KZread เอา+ซื้อหนังสือติวสอบบ้าง แต่ไม่ซื้อยังได้เลยห้องสมุดมีให้ยืมเยอะแยะ และเชื่อไหมว่า KZread มีทุกอย่าง อยู่ที่ว่าแค่น้องจะหามันไหม ความรู้ฟรีมีเยอะมากๆ ติวเตอร์ส่วนใหญ่ ชอบสอนฟรีเพื่อขายคอร์ส แต่การสอนฟรีเขาตั้งใจสอนเกือบทุกคนเท่าที่เจอ แล้วเราได้ความรู้กลับมาจริงๆไม่จำเป็นต้องเสียเงินสักบาทเลย

  • @ochachaisoda4704

    @ochachaisoda4704

    Жыл бұрын

    @ช่างหนู ผม จบเทคนิคการแพทย์ มข ผม สอนพิเศษ ให้เด็ก กทม เข้า จุฬา มหิดล มข มช ผม ส่วนตัวผมไม่ให้เรียนราดพัดเด็ดขาด

  • @guyjirawut7910

    @guyjirawut7910

    Жыл бұрын

    @ช่างหนู เกือบดีครับ แต่บางคำที่สื่อน่าจะหาคำที่ทำให้ดูฉลาดได้มากกว่านี้

  • @secretsealingclub.8130

    @secretsealingclub.8130

    Жыл бұрын

    ราชภัฏ มีแต่พวกขี้แพ้สอบเข้าที่ดีๆไม่ได้เรียนเท่านั้นละครับ พ่อผมยังบอกเลยว่ายอมจ่ายแพงๆไปเรียนเอกชนดีกว่า

  • @beformidable12
    @beformidable12 Жыл бұрын

    0:25 จริงๆที่อาจารย์พูดก็น่าสนใจนะครับ ที่บอกว่าโลกมันพัฒนาไปแล้ว เด็กราชภัฎก็มีคุณภาพไม่ต่างกัน แต่ถ้าให้อาจารย์ต้องเลือกเด็กจบใหม่สักคนไปทำงานสักงานหนึ่งโดนมีชีวิตอาจารย์เป็นเดิมพัน ถามว่าอาจารย์จะเลือกเด็กจากไหนครับระหว่าง เด็กจุฬา/ธรรมศาสตร์/มหิดล กับเด็กราชภัฎ ? คนเราเวลาบอกให้คนอื่นเลือกโดยไม่มีอะไรเป็นเดิมพันมันก็พูดได้ทั้งนั้นแหละครับ แต่พอถึงเวลาตัวเองต้องเลือก ต้องเดิมพันด้วยธุรกิจ ด้วยเงิน ด้วยตำแหน่งของตัวเอง 9/10 ก็เลือกในตัวเลือกที่คิดว่าเซฟที่สุดทั้งนั้นแหละครับ

  • @sermpongsuwanna

    @sermpongsuwanna

    7 ай бұрын

    เห็นด้วยครับ

  • @ursamajor8683
    @ursamajor8683 Жыл бұрын

    เราพยายามกันตั้งแต่ช่วงมัธยมต้นถึงปลาย เพื่อจะเก็บเกี่ยววิชาความรู้ไปสอบเข้าสถาบันการศึกษาแถวหน้าของประเทศ แม้แต่ตอนอยู่ในรั้วมหา'ลัยเราก็เต็มที่เพื่อจะสำเร็จการศึกษาแล้วเข้าสู่ตลาดแรงงาน ที่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับที่สั่งสมความรู้มา และพัฒนาตัวเองในสายอาชีพที่ทำ แค่ความพยายามเราก็ต่างกันแล้ว แต่เราไม่เคยไปเหยียดมหา'ลัยอื่นเพราะเราเรียนหนักและไม่มีเวลามากขนาดนั้น ขอบคุณค่ะ

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    ม.ระดับล่าง ๆ เข้าง่าย เด็กจะค่อนข้างขี้เกียจครับ คาดหวังให้ครูบาอาจารย์ ปล่อยเกรด

  • @Red-hf4rw

    @Red-hf4rw

    Жыл бұрын

    @@mccarterstartrek9395 ครับ ออพติมัสไพร์ม

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    @@Red-hf4rw ครับ คุณ สไปเดอร์แมน เพื่อนบ้านที่แสนดี

  • @Squier123

    @Squier123

    10 ай бұрын

    ​@@mccarterstartrek9395ตัดมาที่ มก. สอบ Mid Term คณะวิทยาศาสตร์นี่คือไม่ได่นอนตอนนี้อยู่ช่วงสอบ Mid Term อยู่ติวกันทั้งวันทั้งคืน สอบ 8.30 สอบเสร็จ 11.30 กลับมาที่ห้องนอน 4 ชม. ตื่นมาอ่านต่อ เพราะข้อสอบข้อเขียนทั้งหมดและโจทย์เป็นภาษาอังกฤษ

  • @nattkett7786
    @nattkett7786 Жыл бұрын

    นี่เคยสอนทั้งใน ม.ใหญ่ และ ม.ราชภัฏ ต่างค่ะ ต่างจริงๆ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งโทษใครฝ่ายเดียวก็ไม่ถูก

  • @nattawutn.4643
    @nattawutn.4643 Жыл бұрын

    ส่วนตัวก็จบราชภัฎ แต่ที่มองเห็นปัญหาจากที่เจอตอนเรียนจริงๆ จะมีปัจจัยสำคัญมีไม่กี่อย่างจริง ๆ คือ 1.อาจารย์ผู้สอน ที่เจอคือ อาจารย์ไม่สอนให้นักศึกษา หาความรู้เอง 1 เทอมคือได้เจอแค่ไม่กี่ครั้ง เช็คชื่อผ่านการถ่ายรูปหน้าคลิปวิดีโอที่ให้ศึกษา หรือ ส่งงานครบ เอา A ไป คนไหนสนิทกับอาจารย์ เอา A ไป วิจัย Ctrl + c and Ctrl+v ไม่มีคำผิด เข้าเล่มไว ได้ A (แต่อักขราวิสุทธิ์เกิน 50%) คนไหนถึงจะทำวิจัยออกมาดี เก็บค่าข้อมูลเอง สำรวจเอง แต่ไม่ได้สนิทกับอาจารย์ แก้หลายรอบ เอา C ไป 2.ตัวนักศึกษา(บางคน)เองที่ไม่มีคุณภาพ บางคนซื้องานวิจัย คัดลอก จ้างคนอื่นทำรายงาน ไม่เข้าเรียน แต่เข้าร้านเหล้าไม่เคยขาด คิดแค่ว่าเข้าเรียนยังไงก็ผ่าน อย่างน้อยก็ได้ D หรือ C เพราะคิดอยู่แค่นี้ถึงได้โดนอย่างที่โดยอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้าถามว่า ทำไม ถึงเรียนราชภัฏ ตอบตรงๆคือ เรื่องทุนทรัพย์ ค่าครองชีพ และอื่น ๆ (ความเหลื่อมล้ำมันอยู่ที่จุดตรงนี้ )

  • @thitikornphumma6140

    @thitikornphumma6140

    Жыл бұрын

    ผมอยากเรียนมหาลัยในกรุงนะครับ แต่ผมเองก็ไม่มีทุน ผมก็ทำงานหาเงินอย่างหนักแต่ก็ไม่ได้ทำให้มีโอกาสได้เรียนเลย เพราะค่าครองชีพ ที่เพิ่มขึ้น มันไม่แฟร์เลย ที่คนรักเรียนไม่มีโอกาสได้เรียน แต่กับพวกที่มีโอกาสได้เรียนแต่ไม่คิดอยากจะเรียน ไม่ได้รักเรียนเลยกลับไม่คิดอยากจะเรียน

  • @user-if3vy5yu8z

    @user-if3vy5yu8z

    Жыл бұрын

    ต่างกับผมมาก ตอนเมื่อก่อนเรียน มช อาจารย์สอน เราจะเข้าไม่เข้าก็ได้ ส่วนมากมาเรียนกัน 60-70% สอบรอบเดียว 100 คะแนนเต็มปลายภาค ไม่มีกิจกรรมไรเลย ทำไม่ได้ก็เรื่องของเอ็ง 555555

  • @sutuachai4361

    @sutuachai4361

    Жыл бұрын

    @@user-if3vy5yu8zของผมก้สอบ100 น้ำตาแทบไหล หนีFตลอด5555

  • @Pizzanoo

    @Pizzanoo

    Жыл бұрын

    ผมก็ไม่มีทุนทรัพย์ นะ แต่เลือกเรียนใน กทม. กู้เรียน รวมถึงขอทุนต่างๆ มา support ก็จบมาได้นะครับ และคำว่าไม่มีของผมก็คือ “ไม่มีจริงๆ” ถึงขนาดจะดรอปเรียน ผมคิดว่าถ้ายังไม่ลองพยายาม ก็อย่าเพิ่งปิดโอกาสตัวเองและพูดถึงความเหลื่อมล้ำดีกว่า เพราะพูดไปปัญหานี้ก็แก้ไม่ได้ภายในวันสองวัน ต้องลองลงมือทำก่อนครับ

  • @user-if3vy5yu8z

    @user-if3vy5yu8z

    Жыл бұрын

    ​@@Pizzanoo เห็นด้วยครับ ยิ่งไม่มีทุนยิ่งต้องเข้า ม.ใหญ่ๆ รัฐบาลเลย พวกมอใหญ่ทุนมันเยอะอย่างของผม มช ถ้าขยันหาทุนหน่อยมีทั้งทุนทำงาน(เดือนละ6000) ทุนเรียนฟรี(จ่ายค่าเทอมให้หมด4ปี) ยังไม่นับกู้ กยศ. และทุนศิษย์เก่าอีก เอาจริงๆถ้าขยันและเก่งจริง ยังไงก็ใช้ทุนน้อยกว่าราชภัฎ เยอะครับ

  • @Repository3
    @Repository3 Жыл бұрын

    จริงมาก สวัสดิการ อุปกรณ์การเรียน ใด ๆ ไม่ดีเท่าม.ประจำจังหวัดหรือ ม.ระดับประเทศ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แลกมาด้วยค่าเทอมที่ถูกพอสมควร เทอมละหกพันบ้าง แปดพันบ้าง หมื่นต้น ๆ ในขณะที่ ม.จังหวัด เริ่มที่หมื่นห้า อีกประการคือ ทุนช่วยนักศึกษามีไม่กี่ทุน ถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับ ม.อื่น ในด้านของคณาจารย์ เรารู้สึกว่า แต่ละท่านเก่งมาก Content แน่น ความเป็นครูแน่น (เท่าที่พบมา) หลายท่านเคยเป็นนักศึกษาทุนที่ไปต่างประเทศ หลายท่านเองก็จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ แต่ภาพจำเวลาไปคณะหรือเรียนทำแลปคือ ตึกเก่า ๆ ของบางอย่างยังมีคำว่า วิทยาลัยครูเขียนอยู่เลย และเรายังได้ใช้มัน เครื่องแก้วเก่า ๆ เก้าอี้พัง ๆ แล้วก็อุปกรณ์บางทีไม่พอ ห้องแลปเล็กพอควร ซึ่งพวกอุปกรณ์เหล่านี้ ต่างจาก ม.ประจำจังหวัดที่เคยไปเรียนสมัยมัธยมมาก

  • @bellalachandos4600
    @bellalachandos4600 Жыл бұрын

    ประสบการณ์จากมหิดลนะ สภาพแวดล้อม สังคม มีส่วนมากๆกับการพัฒนาตัวเอง มองไปทางไหนก็เจอแต่คนเก่ง จนรู้สึกต้องพัฒนาตัวเองตลอด(กลัวตกมีน) จบมาก็ล้อมรอบไปด้วยเพื่อนๆรุ่นพี่ที่หน้าที่การงานดี ทำให้มีคอนเนคชั่นที่ดีต่อยอดได้ง่าย

  • @ketsadakrontreesudakul1358
    @ketsadakrontreesudakul13589 ай бұрын

    ผมเป็น HR มา 17 ปี รับสมัครงานคนมากกว่า 3,500 คน ดูแลลูกน้องเกือบพันคน ผมคิดว่าไม่สำคัญว่าคุณจะจบที่ไหนมา ขอแค่คุณทำงานให้เป็นแก้ไขปัญหาได้ เป็นคนดีของสังคมก็พอคับ

  • @user-bj8xq1zs8y

    @user-bj8xq1zs8y

    9 ай бұрын

    ขึ้นอยู่กับงานที่ทำด้วย

  • @Pamcuup
    @Pamcuup Жыл бұрын

    พูดในฐานะคนร่วมวงการครูนะคะ มีผลมากจริงๆค่ะ ครูที่ตีเด็ก มีข่าวคึกโครม หรือมีแนวความคิดล้าหลังมากๆ ส่วนใหญ่ (ไม่ใช่ทุกคน) มักจะเป็นสถาบันนี้+ยิ่งเจนเนอเรชั่นแก่ๆยิ่งกู่ไม่กลับเลย คงไม่โทษคนเรียนค่ะ แต่อยากให้ระบบมหาลัยปรับปรุงมากๆ เพราะส่วนใหญ่ออกมาเป็นครูเยอะ ต้องบ่มเพาะเยาวชน ถ้ามหาลัยบ่มเพาะนักศึกษามาผิด แล้วเด็กรับไปผิด ประเทศเราก็จะย่ำกับที่แบบนี้ค่ะ แต่เจอครู รชภ รุ่นใหม่ๆ หลายคน เขาก็ไม่โอเคกับระบบความคิดล้าหลังนะ เขาเองก็บ่นเหมือนกัน ผิดที่ระบบเลย สอนให้คนเชื่องมากๆ จะได้ปกครองง่ายๆ รีบแก้ไขเถอะค่ะ สงสารคนที่เขามาเรียน หลายคนเขาจำเป็นต้องมาเรียนที่นี่ เขาก็อยากจบมามีคุณภาพเหมือนกัน

  • @pettrider8079

    @pettrider8079

    Жыл бұрын

    จริงเลยครับ เเฟนผมเป็นครูที่สอนอยู่กับครูที่จบราชภัฏทั้งโรงเรียน mindset วิธีการคิดของพวกเขาเป็น pattern เดียวกันหมด ชอบคิดไปเองว่าคนอื่นเขาดูถูก พยายามจะเเข่งขันทุกเรื่อง ชิงดีชิงเด่น กดดันตัวเอง เเล้วบรรยากาศในที่ทำงานเเย่มาก มีเเต่อิจฉา นินทา ใส่ร้ายป้ายสี วันๆพูดเเต่เรื่องคนอื่น เรื่องการสอนไม่ใส่ใจ สนใจเเต่ผลงานตัวเอง เเล้วทั้งหมดที่พูดมานี้ไม่ใช่ครูที่เเก่ คือเด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งบรรจุได้ 2 ปี ส่วนตัวผมเองก็จบจากราชภัฏ แต่แปลกที่เพื่อนหรือรุ่นพี่ผมไม่ค่อยเจอคนเเบบนี้เท่าไหร่ เรื่องราชภัฏต่างจังหวัดกับในกรุงเทพก็มีความเเตกต่างพอสมควรครับ

  • @ChaemRockshit

    @ChaemRockshit

    Жыл бұрын

    จริงค่ะ ต้องยอมรับว่าครูราชภัฏตอบโจทย์กับวงการราชการไทยมาก แต่ไม่มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ ส่วนตัวเรียนมาทั้งม.รัฐและม.ราชภัฏ ระบบต่างกันมากจริงๆ แค่ห้องน้ำก็ต่างกันมาก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ราชภัฏไม่มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พอตั้งคำถามเกี่ยวกับความไม่สะดวกสบาย ไม่มีใครตอบได้ ขนาดอาจารย์ก็ตอบไม่ได้ งงเลย

  • @itsjustopinion_are_asfollows

    @itsjustopinion_are_asfollows

    Жыл бұрын

    ไม่อยากให้การเรียนครูเป็นอะไรที่เรียนปุ๊บแล้วจบออกมาง่ายๆเลย มาตรฐานควรสูงกว่านี้จริงๆ ไม่ได้สูงแค่เรื่องวิชาการแต่เรื่องจรรยาบรรณก็ด้วยค่ะ ไม่ว่าจะม.ดังหรือไม่ดังก็ตาม

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    @ช่างหนู ปั่น โพสต์ ปั่น คอมเม้นท์ เหมือนเราเลย

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ

  • @robin2591
    @robin2591 Жыл бұрын

    ไปฝึกสอนเมื่อเทอมที่แล้ว ไปเจอเพื่อนราดพัดเขาไม่เขียนแผนการสอน ไม่ค่อยใช้สื่อการสอน บ่นว่าไม่อยากทำ จะทำเฉพาะอาจารย์มานิเทศ เพื่อนๆราดพัดนิสัยดีน่ารัก แต่ด้วยแนวคิดที่เขาเรียนมาคือไม่ได้เอาจริงเอาจังกับการสอนเลย ครูพี่เลี้ยงที่จบจากที่เดียวกัน(ราชภัฏ) เคยแซะเราว่าจีบผ้า พับผ้า ไม่เป็นเหมือนเพื่อน ที่คณะไม่สอน ที่ มศว ไม่สอนหรือไง เรานี่อึ้งเลย แต่ก็ตอบว่าไม่เป็นแต่เรียนรู้ได้ค่ะ ไม่ยากอะไร

  • @handsomeguy1234

    @handsomeguy1234

    Жыл бұрын

    แล้วทำไม จากมศวย้ายมาราชภัฏครับ

  • @robin2591

    @robin2591

    Жыл бұрын

    @@handsomeguy1234 เราหมายถึงว่า ได้ฝึกสอนโรงเรียนเดียวกันกับเพื่อนราชภัฏค่ะ แต่เรามาจากอีกสถาบันคือ มศว แต่ตัวบุคคลน่ารักค่ะ แต่ด้วยวิชาเรียนที่ไม่แน่น และไม่ค่อยเทรนให้นักศึกษาจริงจังกับการสอน สอนแต่ละวันยังเปิดหนังสืออ่านให้เด็กนักเรียนฟังอยู่เลย มันน่าเสียดายมากๆค่ะ สำหรับเด็กที่ควรได้รับความรู้จากกระบวนการสร้างความรู้จากครูโดยตรง ไม่ใช่การอ่านให้ฟัง แต่นี่แค่เป็นประสบการณ์ที่เจอ อาจจะตัดสินเขาไม่ได้ทั้งหมด

  • @kaelynn8103

    @kaelynn8103

    Жыл бұрын

    @@robin2591 อ่านแล้วหดหู่เลย ถ้ายังมีครูสอนแบบสมัยเราเด็กๆที่อ่านตามหนังสือไปวันๆ สอนผ่านๆ เทียบไม่ได้กับครูที่สอนจากความเข้าใจและใส่ใจเลย สงสารเด็กรุ่นหลังค่ะ

  • @robin2591

    @robin2591

    Жыл бұрын

    @@kaelynn8103 ถ้าพูดตามเนื้อผ้าคือน่าเศร้าจริงๆค่ะ บางคนสอนแบบขอไปที เอาแบบรอดวันต่อวัน ดีหน่อยก็ช่วยงานผอ.เก่ง (จะไดคำชมบ่อยๆ) ระบบอุปถัมภ์อย่างนี้ เป็นตั้งแต่ฝึกสอน เราพยายามนำกิจกรรมกลุ่ม เกมนำเข้าสู่บทเรียนสนุกๆ แต่ถูกมองว่าห้องวุ่นวาย ควบคุมชั้นเรียนไม่ได้ โดยไม่ได้สนว่ากระบวนการกลุ่มสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม สร้าง critical thinking ให้เด็ก ครูรุ่นเก่าๆมักสอนน้องฝึกสอนเสมอว่า การที่เด็กนิ่งๆคือควบคุมชั้นเรียนได้ดี ซึ่งน่าเศร้ามากหากเด็กเรียนรู้อย่างนั้น อยากให้เด็กๆโตไปเป็นคนคุณภาพ ต้องเริ่มต้นจากผู้สอนคุณภาพจริงๆค่ะ🥺

  • @kessaradao356

    @kessaradao356

    Жыл бұрын

    เรื่องจับผ้ากลายเป็นเรื่องยากเลยค่ะ โดนแซะเหมือนกัน เรียนมาทำไมจับผ้าไม่เป็น ฮัลโหลวค้า เรียนครูเค้าไม่มีวิชาเรียนจับผ้า มีแต่พวกการผลิตสื่อ นวัตกรรม วิจัย ต่างๆ ทำวิจัยในชั้นเรียน ผลิตสื่อและแผนแต่ละวัน แต่ละอาทิตย์ งานนอกของรรตอนฝึกสอนอีกกกกก

  • @keedkian
    @keedkian Жыл бұрын

    เราก็เป็นคนหนึ่งที่จบราชภัฏ จบ ม. 6 จากต่างจังหวัด มาเรียนต่อภาคค่ำ 4 ปี และ ต้องยอมรับเลยว่า ไม่ได้ความรู้อะไรมาเพื่อ ประกอบ อาชีพเลย เมื่อเรา หางานทำได้ ก็รู้สึกว่า การทำงานของเราก็คือใช้ ความรู้ของ ม. 6 นั่นแหละแต่ ในชีวิต การทำงานจริง สถาบันการศึกษาอย่างราชภัฏ ก็จะถูกด้อยค่าอยู่เสมอไป ต้องนั่งฟัง เพื่อนร่วมงานอวดเรื่องสถาบันการศึกษา จบปริญตรี โท เอก สถาบันอะไร ใบ ปริญญา เยอะจนต้องยืมนิ้วเพื่อนมานับบนโต๊ะอาหาร เราเจอแบบนี้มาตลอดเวลา 10 ปี ที่ทำงาน จนถึงปัจจุบัน แต่............. เพื่อนๆ ที่จบ ราชภัฏ เราขอสารภาพว่า สิ่งที่เราได้พูดตอนต้นว่า รู้สึกว่าไม่ได้อะไรจากการเรียน เราก็ค้นพบว่า มันไม่ใช่เรื่องของสถาบันทั้งหมด มันไม่มีใครผิด หรือใครได้ความรู้หรือไม่ได้ความรู้จากการเรียน ทุกสิ่งมันก็อยู่ที่ตัวของพวกเราทั้งนั้น เพราะการเข้ามาทำงานจริงๆ เราก็จะได้เรียนรู้ว่า งานทุกงานไม่ว่าจะเรียนจบอะไรมา สถาบันที่มีชื่อเสียงขนาดไหน ก็ต้องฝึกฝนและ เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานใหม่ทั้งสิ้น รวมทั้งยังต้องพัฒนาตัวเอง อยู่ตลอดเวลาให้ทันกับโลกสมัยใหม่ เพราะฉะนั้นส่วนตัวเราเอง เราไม่เคยด้อยค่า ตัวเราเองเลย การเรียนรู้ที่จะทำงานใดงานหนึ่ง มันไม่ได้จำเป็น ว่าจะต้องจบสถาบันดีขนาดไหน แต่สิ่งที่สำคัญคือ การที่เราเข้ามาทำงานแล้ว เด็กราชภัฏอย่างเรา จะเรียนรู้ไปตลอดชีวิต โดยไม่ต้องอาศัยใบปริญญา จากสถาบัน ที่มีชื่อเสียงแต่อย่างใด

  • @300percentbeam3
    @300percentbeam3 Жыл бұрын

    เรากำลังเรียนอยู่ที่ฬ.ค่ะตอนมัธยมเป็นคนขี้เกียจมากๆเรียนคือแทบไม่เอาเลยสังคมกับตัวมหาลัยมีผลมากๆ อาจารย์หลายคนค่อนข้างให้ความสำคัญกับเด็ก หลักสูตร ความพร้อมของมหาลัยมีผลจริงๆกิจการนิสิตคณะเราก็ค่อนข้างตามเรื่องได้เร็วแก้ปัญหาไว เซอร์วิสให้แทบทุกอย่าง อย่างคณะเรามีภาคปฏิบัติที่น่านทำงานตัวเป็นเกลียว ลงชุมชนถี่มากแต่มันได้อะไรจริงๆค่ะ มีกิจกรรมจากคนข้างนอกมาให้ความรู้แทบทุกอาทิตย์ พออยู่ในสังคมแบบนี้มันบีบให้เราเป็นคนมีวินัยเลิกผลัดวันไปแบบอัตโนมัติเลย ที่จริงการที่มหาลัยมีหลายๆอย่างคอยรองรับเรามันได้เปรียบแบบโคตรๆเขาพยายามให้ความรู้วิ่งหาเราสุดๆ ข้อเสียก็มีหลายอยู่แต่ถ้าเทียบกับหลายๆมหาลัยเราคิดว่าเด็กในมอเองก็น่าจะรู้สึกเหมือนกันค่ะว่าค่อนข้างได้เปรียบมาก

  • @mulika
    @mulika Жыл бұрын

    จริงโคตร ที่พื้นฐานมีไม่เท่ากัน ตั้งแต่ก่อนเข้ามหา'ลัยแล้ว แล้วลองคิดดูว่า in put ที่เข้าไปมันต่างกัน แล้วจะให้ out put มีคุณภาพเท่ากัน ในทางปฏิบัติ มันเป็นไปไม่ได้ อาจารย์ สอนดี สอนเข้าใจ แต่เด็กต้องมีพื้นฐานมาระดับนึง แล้วอีกอย่างคือ ข้อสอบ ถ้ายากเกินเด็กในชั้นเรียน มันจะแยกเด็กที่รู้เรื่องมาก น้อย ออกจากกันไม่ได้ ง่ายไป ก็แยกเด็กไม่ได้อีก ก็ต้องออกสอบที่มันจะตัดสินได้ ว่าใครรู้มากกว่า ใครเข้าใจมาก เข้าใจน้อย เพราะแบบนี้จะออกข้อสอบที่มาตรฐานเท่าที่อื่นไม่ได้ นี่แหละ เกรดสวยจริง แต่ความรู้ไม่เท่ากัน ปัญหานี้มีมาตั้งแต่โรงเรียนมัธยม โรงเรียนประถมแล้ว จะแก้ยังไง

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ

  • @theapirak
    @theapirak Жыл бұрын

    ขอแชร์ประสบการณ์ ในฐานะที่ตัวผมจบราชภัฏอันดับต้นๆของประเทศและเคยเป็นคนโค้ชงานหรือแม้แต่เป็น Quality Evaluator ให้กับน้องที่จบจาก มอ เอกเชนแพงๆ หรือ มอ รัฐดังๆด้วยซ้ำมาก่อนที่ผมจะออกจากงานออฟฟิศมาตามฝันแล้วเป็นราชการครู.. ไม่ได้ดูหมิ่นนะ ราชภัฏอ่อนๆมีเยอะ แต่ มอดังๆ ที่ขึ้นชื่อว่าอันดับต้นๆ พอมาเจองานจริงๆหัวทึบๆ ก็มีแยะ ท้ายสุดหลังหลุดมาจากรั้วมหาลัยทุกคนต้องเจอโลกความจริง แล้วเจอเนื้องานที่มันท้าทายทุกวัน นั้นแหละจะเป็นบทพิสูจน์ให้ตัวน้องๆเองว่า เราแม่งเจ๋งกว่าที่คนเค้าดูถูก อย่าเถียงให้เสียน้ำลาย แค่ลงมือทำ เหตุผลหลักที่ผมเรียนราชภัฏเพราะมันขึ้นชื่อเรื่องครู ผมแค่ตามฝันตัวเองตั้งแต่ ม.4 ผมเลยไม่จำเป็นต้องแคร์ขี้ปากใครดูถูก ในเมือผมพิสูจน์มันด้วยตัวเองมาแล้วว่าสุดท้าย จบจากไหนมันก็แค่ด่านแรกก่อนเริ่มงาน ถ้าคุณเจ๋งจริง จบจากไหนคุณก็ made it to the top ได้ !!!

  • @punpaidagpai
    @punpaidagpai Жыл бұрын

    ผมจบจากสวนดุสิต สวนดุสิตเป็นมหาวิทยาลัย ที่ไม่มีพ่วงท้ายว่าราชภัฏ แต่พอบอกว่าจบสวนดุสิต คนก็ยังเรียกว่า ราชภัฎ อยู่ดี ผมมีเพื่อนที่เรียนระดับเกียรตินิยมมหาลัย เขาเก่งที่จะสอบเข้าจุฬา มธ ได้เลย แต่เขามาที่นี่เพราะ พ่อแม่ไม่มีตังส่ง / ความเหลื่อมล้ำข้อนึง หากคนที่ไอคิวเท่ากัน ระหว่างคนจน เลิกเรียนไปทำงานเซเว่น ไปเสริ์ฟ ล้างจาน ที่ร้านข้าวต้ม เวลานอนยังแทบไม่มี จะเอาเวลาที่ไหนไปติว กับ เด็กที่มีฐานะ พ่อแม่ให้เรียนอย่างเดียว มีไปเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน ถามว่าใครมีโอกาสสอบติดมากกว่ากัน

  • @nopparatamt.5483
    @nopparatamt.5483 Жыл бұрын

    ก็เปลี่ยนชื่อเป็น จากราชภัฏ...เป็น จุฬา / ธรรมศาสตร (วิทยาเขต...) ทั่วประเทศก็หมดเรื่อง... จะได้ไม่ต้องเถียงกัน เสียเวลาเปล่าๆ ประเทศอื่นเขาจะไปดาวอังคารอยู่แล้ว เรายังมาเถียงเรื่องชนชั้น วรรณะ

  • @hepanxiaodang
    @hepanxiaodang10 ай бұрын

    ประสบการณ์การเรียนสำคัญมาก มีผลถึงตรรกะ ความมีเหตุมีผล professionalism มีผลต่อการงานมากจริงๆค่ะ

  • @andromedablack7377
    @andromedablack7377 Жыл бұрын

    เราคนนึงที่เรียนราชภัฏ หลักสูตรการเรียนการสอนดีมาก ไม่ปล่อยเกรด แต่สิ่งหนึ่งที่เราว่าห่วยคือเรื่องกิจกรรมค่ะ คือสรรหากิจกรรมมาให้เด็กเข้ามาก เน้นคะแนนกิจกรรมมาก ระบบเช็คชื่อกิจกรรมห่วย อัพเดตช้า เว็บชอบล่ม

  • @thanawatrunwong6879
    @thanawatrunwong6879 Жыл бұрын

    ผมก็เรียนราชภัฏเหมือนกันครับถ้าให้พูดตรงๆเลยมันอยู่ที่ความสามารถ ความขยันของแต่ละคน หาความรู้ข้างนอกดีกว่าครับ เพื่อนผมส่วนใหญ่ตอนแรกๆก็เรียนหลังๆเริ่มเผยธาตุแท้ออกมาแบบว่ามันเรียนขอไปทีสอบก็ผ่านไปเฉยๆ เอาแต่เล่นเกมแบ่งเวลาก็ไม่เป็นพอได้คะแนนน้อยก็ออกมาบ่นกัน ส่วนเรื่องงบประมาณอันนี้สุดจะปวดหัว จัดงานวันไหว้ครู แต่มาเก็บเงินที่นักศึกษา มันคืออะไรกัน แต่ตอนนี้ก็พยายามจะซิ่วอยู่ ครับ ในความคิดผมคิดว่าการที่เรียนจบออกมาแล้วตอบคำถามอะไรไม่ได้เนี่ยสื่อให้เห็นถึงลักษณะของตัวบุคคลโดยชัดเจนครับ

  • @adisonroopian
    @adisonroopian Жыл бұрын

    เอาจากประสบการณ์ที่ทำงานส่วนตัว เด็กที่มาจาก ม.มีชื่อเสียงตามที่สังคมเข้าใจและคาดหวังกันไว้สูง เก่งจริงครับ แต่อีโก้ก็มีมากตาม และขาด soft skill ที่จำเป็นในการทำงานร่วมกับองค์กรที่ดีเยอะ จนบรรยากาศในการทำงานแย่ลงมาก และไม่พยายามปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร แต่ไม่ได้บอกว่าทุกคนที่มาจาก ม.ดังๆ เป็นแบบนี้นะครับ แต่เท่าที่เห็นมันคือเยอะจริง จนหลังๆ จะหาทีม หาคนเพิ่ม เลือกที่จะมองเด็กหลากหลายที่ ไม่ต้องเก่ง แต่ขอแค่ตอบในสิ่งที่ในตำแหน่งตัวเองจะเป็น และเข้าใจมันให้ได้ก็พอ ระหว่างทางการทำงานก็จูนความรู้เพิ่ม เทรนเพิ่มได้ไม่เป็นไร แต่ทุกคนในองค์กรทำงานร่วมกันได้สบายใจคือโอเคครับ ไม่เสียสุขภาพจิต

  • @hopzahoodeenee230
    @hopzahoodeenee230 Жыл бұрын

    1.อย่างน้อยๆ แม้ทุนจะน้อย แต่...ก็ยังมีที่เรียนใกล้บ้านไง 2.ศิษย์เก่า,ครูเก่งๆก็ไปสอน ม.ดังไง คิดดูถ้าราชภัฏ ทำแบบเดียวกะอดีตม.ดัง(ซึ่งปัจจุบันดรอปลงเยอะ) คือรักสถาบันรุ่นพี่รุ่นน้อง ทั้งประเทศ พลังมันก็เพียงพอเปลี่ยน ราชภัฏทั้งหมดหรืออาจจะการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทยได้เลยนะ เด็กราชฯ ปี4 มีรุ่นพี่มารอรับเข้างาน ศิษย์เก่ามีบริจาคเงิน ซื้อสื่อการสอนทันสมัยให้ นิสิตมีความภาคภูมิตั้งใจฯลฯ 3.เรียนมหาวิทยาลัยฟรี คือดีครับ แต่แซะงบเรือดำน้ัำ,เกณฑ์ทหารนั้นไม่น่าฟัง ไม่ใช่ว่าเข้าข้างลุง แต่ งบ1.3ลำที่ว่า ไม่ใช่ซื้อทุกปี ขณะที่ เรียนฟรีนี่จ่ายทุกปีและมากขึ้นทุกๆปี แค่เอามาเทียบกันมันก็ไม่ได้แล้วป่าวครับ? (เช่น คนเราวันๆนึก ต้องดื่มน้ำ ทานข้าว ดัน เอางบ ซื้อข้าว โยงกับ งบซื้อน้ำ เอามาเทียบกัน ใช่เหรอ?) 4.จริงว่า หน้างานรู้ปัญหาชัดกว่า ส่วนกลางที่กุมอำนาจ แต่มันก็ง่ายที่จะเปลี่ยนเองตามใจชอบ ถ้าไม่มีส่วนกลางคุม (ซึ่งถ้าดีก็ดีไป ถ้าไม่ดีคือแก้ยากเพราะจะไม่มีอำนาจแทรกแซง) 5.พูดถึงล้างหนี้ คิดว่า ไร้สาระ เพราะยืมเงิน ก็ต้องใช้ ยิ่งเงินนี้เป็นกองทุนหมุนเวียนให้รุ่นถัดๆไปได้เรียนหนังสือ คือการออกมาพูดนี่ ได้ดูเรต เรียกชำระมั้ย? (เงินยืม1แสน เรียนจบให้ตั้งตัว2ปี ปีที่3(ปีแรก) พันกว่าบาท(เก็บเดือนละ100) ปี2สามพัน(เก็บเดือนละ200) ไล่ไป15ปี(หมื่นกว่า) เงินเก็บเดือนละ1พัน คนเงินเดือนหลายหมื่นยังไม่ยอมใช้หนี้เลย ..บอกจะมาให้ยกหนี้ ล้างหนี้ ? สรุป เหมือนว่าจะมาบอก ราชภัฏไม่ได้ด้อย แต่จริงๆ คือเหมือนแค่เอามาบังหน้าตีกระทบ ระบบ+แทรกแนวคิด ดึงอำนาจส่วนกลาง แค่นั้น.....เซ็งงะ

  • @dennisoniel
    @dennisoniel10 ай бұрын

    จากประสบการณ์ที่เห็นได้ชัดที่สุดในการทำงานสายโรงแรมคือ ภาษาอังกฤษ. เด็กจากมอดังแถวหน้า แม้แต่จะเรียนสาขาใดก็ตาม มีความรู้ความสามารถในการ์ใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า เด็กราชภัฏที่จบเอกภาษาอังกฤษด้วยซ้ำ แม้แต่คำศัพท์พื้นฐานพวกเขาแทบไม่รู้จัก ไม่รู้วิธีออกเสียง บางครั้งต้องให้เด็กที่ไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษมาสอนพวกเขา มันทำให้เราตกใจมาก และสงสัยว่าสิ่งที่พวกเขาเรียนตลอดสี่ปี คือเขาเรียนอะไรกัน

  • @hki2015
    @hki2015 Жыл бұрын

    ส่วนตัวจบราชภัฏ ที่เรียนเพราะทุนทรัพย์ทางบ้านไม่พร้อมทำให้ต้องจำใจเรียนใกล้บ้าน ยอมรับเลยว่าระบบการสอน การคิด มันจะแปลกๆ สอนแปลกๆ มันอยู่ที่เด็กก็จริง แต่ระบบการสอนการใช้ความคิดมันก็เกี่ยว อยากให้ปรับหลักสูตรให้เข้ากับสายวิชาที่เรียนจริงๆ

  • @suthikarn6792
    @suthikarn6792 Жыл бұрын

    จากที่เราทำ HR สรรหา มา ราชฏัชจะเหมาะในงานที่ไม่ต้องคิดพลิกแพลง ไม่ต้องครีเอทงานใหม่ ทำตามแบบไปเรื่อยๆ แล้วไม่ค่อยเปลี่ยนงานบ่อย(ส่วนใหญ่ที่เคยเจอมีค่านิยมแปลกๆว่ารักองค์กร) ไม่หาความก้าวหน้าเท่าไหร่

  • @tidapornchaokuweag

    @tidapornchaokuweag

    Жыл бұрын

    อ่อจร้า

  • @MeoMeo-wh7jf

    @MeoMeo-wh7jf

    Жыл бұрын

    @@tidapornchaokuweag อุ้ย

  • @Pamcuup

    @Pamcuup

    Жыл бұрын

    จริงค่ะ คอนเฟิม เลยไปเป็นครูกันเยอะ แล้วรักษาแต่ระเบียบเชยๆไว้ พอหาเหตุผลว่าทำไปทำไม ก็ตอบไม่ได้ เด็กไทยน่าสงสารมากค่ะ

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    @@Pamcuup เหมือน ยาม ทหาร ตำรวจ แหละครับ ทำตามหน้าที่ คิดอะไรเอง ไม่เป็น

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ

  • @real__air
    @real__air10 ай бұрын

    เราเป็นคนหนึ่งที่เรียนจบจากจบราชภัฏ และรู้สึกว่ามหาวิทยาลัยไม่มีมาตรฐานจริง ๆค่ะ เราเข้าเรียนต่อโดยการสอบข้อเขียนแล้วจึงสอบสัมภาษณ์ แต่มีอีกหลายคณะที่เข้าเรียนโดยการสอบสัมภาษณ์เท่านั้น แล้วตอนที่เรียนรวม ได้เจอเด็กจากคณะอื่น ๆ รู้สึกว่าพวกเขาทำอะไรไม่เป็น น้อยคนมากที่จะทำได้ ส่วนใหญ่จะโยนงานให้เราทำ และเราเองก็ไม่ไว้ใจให้เขาทำเหมือนกัน แล้วเราเรียนที่มันต้องใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์อะ เครื่องไม้เครื่องมือคือไม่พร้อมมาก ในกลุ่มให้อยู่ด้วยกัน5-6 คน บ้าบอมาก เราเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่นให้ทำแลปเป็นคู่ ไม่ก็เดี่ยว มาเรียนที่นี่แหละ ได้ทำแลปกลุ่ม และยืนยันจริง ๆว่าเด็กบางคน ไม่มีความรู้อะไรเลย

  • @Sentosa8683

    @Sentosa8683

    10 ай бұрын

    แสดงว่าซิ่วมาจากมหาลัยอื่นใช่ไหมครับ คนที่เรียนมหาลัยแล้วมาเรียนราชภัฏจะเห็นภาพ แต่ถ้าพูดให้เด็กราชภัฎฟังจะนึกไม่ออกเลย นึกแต่ว่าคงเรียนเหมือนๆ กัน

  • @wasins6856

    @wasins6856

    10 ай бұрын

    เรื่องมาตราฐานเห็นด้วยครับเคยไปแข่งวิชาการเปเปอร์แล้วตัว มรภ เป็นเจ้าภาพปีนั้นพอดี คือไม่ได้ว่านะครับแต่ตัวงานของเด็กมอนี่เองมันดูเหมือนแค่ไปก็อปมาจากเน็ตเฉยๆ ขนาด hyper link สียังไม่เปลี่ยนก็อปวางเลย อาจารย์เค้าก็ไม่ว่าไรเป็นกรรมการสะด้วย แต่เค้าได้รางวัลนะงานแบบนี้ ตัดภาพมาผมเป็นเด็ก ม สีเขียว วิทยาเขต งานเค้าดีมากและพูดจาได้ดี ไม่ท่องจำ แค่นั้นก็เห็นชัดแล้วครับ แน่นอนเด็กเก่งมีทุกมอแต่ตัวเลข หรือเปอเซ็นน้อยกว่าแน่นอน ผมว่าที่ทำให้คนมองไม่ดีเพราะระบบ มาตราวัดของตัวมหาลัยเองที่ไม่ดีพอ

  • @MeowMuscleTv

    @MeowMuscleTv

    10 ай бұрын

    ผมก็เรียนโดยรวมมาตรฐานไม่ดีจริงๆ แต่ดีหน่อยคณะผมมาตรฐานยังพอโอเคเพราะอาจารย์สร้างมาตรฐานให้คณะ แต่เด็กที่เข้ามาเกิน 50% ไม่มีความตั้งใจในการเรียน ไม่ขยัน ความคิดแบบแคบอยู่ในกรอบ การแข่งขันต่ำเพราะคนเก่งก็โดดขึ้นไปเลย คูแข่งไม่ค่อยมี

  • @Onijwa
    @Onijwa Жыл бұрын

    ตอน ม.1 ครูวิทยาศาสตร์ พูดออกมาเลยว่า ถ้าไปสมัครงาน เขาจะโยนใบสมัครของราชภัฏทิ้งลงขยะก่อน เขาจะเอา มหาวิทยาลัยเอกชนก่อน // คำนี้ผมจดจำจนวันนี้

  • @mccrying
    @mccrying Жыл бұрын

    จบราชภัฏครับ ใจจริงเลยก็อยากเรียน ม.ดังๆ ม.ดีๆ แต่ติดว่าบ้านจน ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่าเพราะต้องเซฟค่าใช้จ่ายสุดๆ คนอื่นเขาว่า ก็ก้มหน้ารับไป เพราะส่วนใหญ่มันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ตอนจบใหม่ๆจะไปสมัครงานในตำแหน่งดีๆลึกๆก็ยังรู้สึกด้อยค่ากว่าคนอื่นจาก ม.ดังๆนะพูดตามตรง ณ.ตอนนี้จบมาหลายปีแล้ว เลือกทำอาชีพขายของออนไลน์ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ มีบ้านมีรถมีเงินดูแลครอบครัวให้อยู่ดีมีสุขได้อยู่ครับ

  • @microcomchiangrai8184
    @microcomchiangrai8184 Жыл бұрын

    อาจารย์และบุคลากร มีคุณภาพสูงน่ะครับ นักศึกษามีโอกาสในการทำงานต่างกัน จะเหมารวมมิได้

  • @balenciagalee5579
    @balenciagalee5579 Жыл бұрын

    จบราชภัฏมาเหมือนกัน มันจริงอย่างที่ที่คอนเทนท์พูดแหละ ไม่เถียง แต่ไม่เคยอายที่จบราชภัฏ ที่ให้ความสำคัญที่สุดในชีวิตตอนนี้คงเป็น เรื่องเงิน เรื่องงานที่ต้องมีหน้าตาทางสังคมส่วนตัวไม่แคร์ เพราะไม่ชอบอยู่ในระบบ เรียนจนมาดีแค่ไหน สกิลหาแดกในชีวิตจริงต่ำก็แค่นั้น บางคนเรียนดีจบที่ดี เกาะพ่อแม่ เป็นหนี้สิน ใช้ชีวิตไม่ปลงก็ยังมี ชอบที่ตัวเองมีเงิน มั่นคง เลี้ยงดูพ่อแม่ดูแลครอบครัว ไม่มีหนี้สิน ไม่ได้มีบ้านหลังใหญ่ รถแพงๆ แต่มีความมั่นคงเรื่องเงิน พอแก่ขึ้นมาในวัยสามสิบกว่า พ่อแม่เราเข้าสู่วัยเกษียณ เริ่มเห็นรู้จักทยอยค่อยๆตาย เพราะแก่ตาย ป่วยตาย เรามามานั่งไม่โหยหาความภูมิใจอะไรแบบนี้หรอก (แม้แต่งานรับปริญญายังไม่เข้ารับ ไม่มีรูปติดฝาบ้าน )เราโหยหาเงิน ที่ต้องต้องสะสมไว้เลี้ยงดูพ่อแม่และตัวเราเอง เอาแค่ครอบครัวเรามีความสุขและอยู่รอดในรัฐบาลเผด็จการก็ถือว่าแกร่งแล้วประเทศนี้ไม่มีสวัสดิการดีๆ บ้านไหนมีเงินคือรอด ปล่อยวางเรื่อง ความภูมิใจ ลาภ ยศ สรรเสริญ การเป็นที่ยอมรับจากสังคม ตายไปก็เอาไปไม่ได้

  • @pudachakatiwong2548
    @pudachakatiwong254810 ай бұрын

    มหาลัยคือความอดทนในการเรียนจบครับ มหาลัยที่จบยากๆ มันก็บ่งบอกถึงการตั้งใจว่าเด็กคนนั้นมีการพยายามอดทนกดดัรจริงๆในการเรียน คนที่เรียนมอดังๆ คือเค้าพยายามตั้งแต่มัธยมเพื่อสอบให้เข้าได้ ถ้าให้เลือกมีเด็กสองคน 1 เรียนจบแต่มหาลัยที่เรียนหลักสูตรง่ายมาก วิจัยแบบขอไปที เรียนจบง่าย 2เรียนจบยากๆ หลักสูตรยากมีครูเก่งๆ มีงานวิจัยก่อนจบที่ยากมากๆ

  • @p959d7
    @p959d73 ай бұрын

    แล้วแต่ตน แล้วแต่คิดเพราะแต่ละชีวิตไม่เหมือนกัน แล้วทุกวงการมีทั้งตนดีและไม่ดีถ้า ทำงานได้ ทำงานดี อดทน มุ่งมั่น ประสบความสำเร็จทั้งนั้น...ใจกว้างๆครับ❤อย่าหวั่นไหวก้าวหน้าต่อไป เป็นกำลังใจครับ❤

  • @bybeer6880
    @bybeer6880 Жыл бұрын

    จะดีมากถ้ากลายเป็น ทุกมหาวิทยาลัยอัพเป็นพื้นฐานเดียวกันหมดเลย พื้นฐานการศึกษาไม่ต่างกันมาก แต่มีพร้อมส่งให้เด็กไปต่อได้

  • @youknow514

    @youknow514

    Жыл бұрын

    ลองแบบรามสอบ 50/50 ดูสิตายเรียบ

  • @lflam__l1219

    @lflam__l1219

    Жыл бұрын

    @@youknow514 เกษตร 30/สอบ70 นะ TYT

  • @channie2002

    @channie2002

    Жыл бұрын

    @@youknow514รามสอบ100นะคะ จะมีก็นานน๊านนนนนนนนนบางวิชาที่จะ 90\10,80\20

  • @itsjustopinion_are_asfollows

    @itsjustopinion_are_asfollows

    Жыл бұрын

    ไม่มีการพัฒนาหรอกค่ะ

  • @MeoMeo-wh7jf

    @MeoMeo-wh7jf

    Жыл бұрын

    ถ้าเอาหลักสูตรแบบจุฬา เด็กราชพัดจะไม่จบสักคนนะสิคะ

  • @paulaiab9525
    @paulaiab9525 Жыл бұрын

    ราชภัฏมาจากวิทยาลัยครูค่ะ คณะอื่นๆจึงไม่โดดเด่น แต่เรื่องผลิตครูก็ไม่เป็นรองใคร เราเรียนเอกคณิตศาสตร์ ตอนนี้บรรจุราชการได้ครบทั้งห้องแล้ว

  • @pirapatchurwongboon4651

    @pirapatchurwongboon4651

    Жыл бұрын

    อย่างว่าครับ เกิดจากวิทยาลัยครู แต่หลังๆมา เปิดสาขา สะเปะสะปะ มาก เปิดแบบตัวเองไม่ถนัดก็เปิด พี่ผมจบราชภัฎก็บอกงั้นครับ

  • @lxlxdx5597

    @lxlxdx5597

    Жыл бұрын

    ออกตัวก่อนว่าพี่ก็จบราชภัฏมาค่ะ การเป็นครูในประเทศไทยมันโคตรง่าย ไม่ต้องเรียนวิทยาลัยครูก็เป็นได้ เพื่อนพี่จบตรีแล้วไปต่อหลักสูตรอะไรก็ไม่รู้ ปีเดียวเองมั้ง เรียนแค่เสาร์อาทิตย์ ได้วุฒิครูแล้ว มันสอบผ่านแล้วด้วย ตอนนี้มันเป็นครูที่โรงเรียนเก่าของมัน ที่พี่เม้นไม่ใช่อะไรนะ พี่ก็มีเพื่อนเรียนครู คณะเราติดกัน เพื่อนพี่ประมาณ 5 คนเรียนครู ตอนเรียนหนักมาก แต่ละวิชาต้องทำแผนการสอนเล่มหนาเหมือนทำวิจัย การแต่งกายก็ต้องเรียบร้อย แต่งหน้าทำสีผมแรงๆไม่ได้ ไม่รู้เราเรียนมอเดียวกันหรือเปล่า แต่ที่พระนครเป็นแบบนั้น ต้องใส่กระโปรงจีบกระโปรงยาว ห้ามแต่งหน้าสีสัน ห้ามทำสีผมแรง แถมตอนนี้ ได้ข่าวว่า รัฐจะเปลี่ยนกฎใหม่อีกแล้ว เรียนอะไรก็เป็นครูได้ งงมากแม่

  • @user-cd6hb9oq5w

    @user-cd6hb9oq5w

    Жыл бұрын

    ถ้าเน้นครูไปเลย ตั้งแต่ ก่อนอนุบาลจนถึง ม.6 ก็คิดว่าดีอยู่นะ แต่5-8ปีมานี้ สาขาวิศวะงี้ สาขาพยาบาลงี้ สาขาเภสัชงี้ สาขาเทคนิคการแพทย์งี้ ผมว่าเปิดแพทย์กับทันตะสัตวะเพิ่มอีกเลยไหม

  • @AojingdiDede

    @AojingdiDede

    Жыл бұрын

    ครูเก่ง ๆ ม.ดังไปเป็นติวเตอร์หมด ไม่ก็ทำวิจัยที่ปรึกษาให้บ.ใหญ่ในประเทศ รายได้ต่างฟ้ากับเหว ไม่เชื่อลองไปรับสอนติเตอร์เหมือนพวกจบม.ดังสิ จะได้รู้ว่าเราหารายได้เท่าเขาไหม ลองไปเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทใหญ่สิ ทำได้ไหม ทำได้แล้วมาบอกด้วยนะ แต่ถ้าถามว่าทำไมพวกจบม.ดังไม่มาสอบเป็นครู รับราชการ เพราะรายได้มันน้อยไง แค่นั้น เค้าเลยไม่มา การจะคิดว่าเค้าไม่สอบหรือไม่ติดเพราะไม่เก่งต้องคิดใหม่นะ ความจริงทั้งนั้นอยู่ที่จะรับได้หรือเปล่า

  • @shuishibiddd5539

    @shuishibiddd5539

    Жыл бұрын

    ล่าสุดมีดราม่าขอลด คะแนนโทอิคอยู่นิครับ

  • @patipanseepuri6857
    @patipanseepuri6857 Жыл бұрын

    จากใจจบราชภัฏมา ให้พูดตรงๆเลย การศึกษาระบบการเรียนการสอน คือค่อนข้างแย่ เรียนไปแทบไม่ได้อะไรเท่าที่ควรจะเป็น สุดท้ายเราก็ต้องไปหาเรียนเพิ่มเอง พัฒนาตัวเองจนสามารถทำงานได้ดี ถ้าเลือกได้ก็คงไม่เข้าเรียนหรอก แต่ก็แหละ เราขาดงบประมาณเลยจำเป็นต้องเรียนเพื่อเอาวุฒิการศึกษา มีแต่ความสามารถ แต่ไม่มีวุฒิ ก็ทำงานไม่ได้ ในประเทศเรามันเป็นแบบนี้

  • @Ap-nu8bb
    @Ap-nu8bb Жыл бұрын

    คนที่เรียนในระดับอุดมศึกษา กับตัวสถาบันอุดมศึกษาไม่ว่าจะ ม. ดัง ๆ หรือ ม.ราชพัด มันต่างกัน คนละอย่าง ต้องจับแยกออกจากกันเสียก่อน คนจะเก่ง จะดีได้ จะประสบความสำเร็จได้ มันขึ้นอยูที่ตัวบุคคลล้วน ๆ ครับ สถาบันการศึกษาเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการเรียนเท่านั้นครับ ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าคุณจะมาจาก ม. อะไร ก็ต้องจบออกไปทำงานหาเงินอยู่ดี คนที่เรียนต้องพิสูจน์ตัวเอง มหาลัยเขาไม่ได้มาพิสูจน์ร่วมกับคุณหรอก เพราะคนสัมภาษณ์งาน เขาถามตัวบุคคล ไม่ได้ถามมหาลัย .......ผมเองก็จบราชพัดครับ แต่ก็เอาดีได้ พิสูจน์ตัวเองได้ เป็นที่ยอมรับของสังคมได้ครับ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกน้อง ๆ ทุกคนที่กำลังเรียนราชพัดอยู่ครับ

  • @beerker5131
    @beerker5131 Жыл бұрын

    เห็นด้วยโดยภาพรวมเนื้อหาครับ และเชื่อว่าทุกที่มีคนเก่ง แต่ % ที่พบเจอ ก็จะแตกต่างกันบ้าง

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ

  • @Fablopicassoii
    @Fablopicassoii Жыл бұрын

    สรุปง่ายๆเลยคือ ชนชั้นนำใน กรุงเทพ ไม่ต้องการให้เกิดการกระจายอำนาจ ครับ เพราะ เท่ากับ คนกรุงเทพ จะมีคู่แข่งมากขึ้น ถ้าหากต่างจังหวัดเจริญ กรุงเทพ จะเสียผลประโยชน์ เป็นความจริงที่โหดร้าย และ เห็นแก่ตัวของคน เพราะคนย่อมอยากได้ดี

  • @dwaynejohnson17

    @dwaynejohnson17

    10 ай бұрын

    ตรรกะโคตรเพี้ยนเลย ถถถถถ

  • @lastlife.7532

    @lastlife.7532

    10 ай бұрын

    ปญอ. ผมว่าถ้ามีศักภาพก็พร้อมกระจายไปทุกจังหวัดล่ะครับ

  • @by4981
    @by4981 Жыл бұрын

    ตอนเข้ามหาลัยนี่สอบติด 3 ที่ ทั้งมหิดล มช. ราชภัฏ แต่สุดท้ายก็เลือกราชภัฏเพราะด้วยสถานะการเงินและค่าใช้จ่ายเพราะจังหวัดเรามี ม.ราชภัฏ จึงไม่ต้องย้ายที่อยู่ แต่จริงตรงที่จบมาแล้วคอนเนคชั่นไม่เท่ากับ ม.ดังๆ ต้องคอยหาเองและต้องพยายามหาเรียนเสริมสกิลอื่นเพิ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เท่าๆกับคนจบ ม.ดังๆ เรายอมรับว่าคนจบม.ดังๆ บางคนมี mindset ที่ดีมาก ได้ทำงานกับคนพวกนี้คือต้องกระตือรือร้นในการพัฒนาตัวเองจริงๆค่ะ แต่ก็ไม่อยากให้ตัดสินอะไรเพียงเพราะแค่จบม.ราชภัฏเลยค่ะ บางคนเก่ง มีความสามารถ แต่อาจเพราะไม่มีทุนทรัพย์มากพอจะเข้าม.ดังๆได้

  • @pongjakyamsuk5028
    @pongjakyamsuk5028 Жыл бұрын

    ปฏเสธไม่ได้จริงๆ เข้าใจเจตนารมณ์ในการ เพิ่มโอกาสทางการศึกษา ให้กับคนที่ขาดโอกาส แต่ในทางกลับกัน คุณภาพ ควรจะยกระดับตั้งแต่บุคคลการ อาจารย์ ในสถาบัน ให้มีมาตรฐานมากขึ้น เพื่อคัดกรองคนจบออกมา

  • @foffybenanz2985
    @foffybenanz2985 Жыл бұрын

    นี้ก็เรียนราชภัฏ บางวิชาที่เรียนคิดเหมือนกันว่าง่ายมาก ง่ายกว่าตอนที่เรียนมัธยม นี้ได้เกรด 3.9x ตอนสอบได้มหาลัยดังๆของรัฐอยู่แต่ด้วยโอกาสต่างๆอยู่ๆก็มาจุดนี้ นี้คิดว่าตอนจบไปถ้าอยากให้มหาลัยไม่มีผลก็คือจะสอบราชการ ยังงัยถ้าไปทำงานเอกชนชื่อมหาลัยยังงัยก็มีผลจนกว่าจะทำงานฝึกประสบการณ์ไปประมาณนึง เราลองถามเพื่อนหลายคนในคณะเรียนเก่งนะ บางคนจบจากโรงเรียนประจำจังหวัดดังๆมา หลายคนสอบได้มหาลัยท็อปๆด้วย แต่เลือกมาเพราะติดทุนราชภัฏ ❤

  • @hoenfainthanam4745
    @hoenfainthanam4745 Жыл бұрын

    ปัจจุบัน​เรียนอยู่​ราชภัฏ​แห่งหนึ่งครับ ปัญหา​ที่เจอตอนนี้คือ 1.เพื่อนร่วมกลุ่ม​ ความสามารถ​ไม่ถึง​ ไม่ทำอะไรเลยแม้กระทั่งพรีเซนต์​งาน ถ้าคนในกลุ่มมี5คน​ อีก2คนไม่ทำไรเลย 2.งบประมาณ​ครับ​ ด้านเทคโนโลยี​ หรืออุปกรณ์​การเรียน​การสอน ยกตัวอย่าง​ อย่างคอมพิวเตอร์​ เป็นของเมื่อ4-5ปีที่แล้ว​ เครื่องช้าบ้างใช้ไม่ได้บ้าง​ เน็ตช้ามากกก 3.เรื่อง​อาจารย์​ บางท่านก็สอนดีครับ​ ให้ความสำคัญ​กับผู้เรียน​ ไม่แบ่งแยกนักศึกษา​ แต่บางท่านสอนอะไรไม่รู้​ เหมือน​รอหมดเวลาอะ​ สอนไปงั้นๆ​ ตัวอย่าง​ สอนโปรแกรม​เมื่อ10ปีที่แล้ว โดยให้เหตุผล​ว่าเป็นพื้นฐาน และคอมที่เรียนอยู่​ไม่สามารถ​ลงโปรแกรม​ที่ทันสมัยได้

  • @skyfunny5428

    @skyfunny5428

    Жыл бұрын

    มรภ. ของเรา อ.เก่งมากๆค่ะ และดีมากด้วย แต่เพื่อนๆยังไม่ได้จริงๆความกล้าแสดงออกคือติดลบมากค่ะ

  • @hoenfainthanam4745

    @hoenfainthanam4745

    Жыл бұрын

    @@skyfunny5428 อันนี้ผมเห็นด้วยเลยครับ555​

  • @snapwork5559

    @snapwork5559

    Жыл бұрын

    @@skyfunny5428 มหาวิทยาลัยราชภัฏอะไรค่ะ

  • @lxlxdx5597

    @lxlxdx5597

    Жыл бұрын

    พี่จบราชภัฏมา 10 ปีแล้ว จริงทุกอย่างแบบที่คุณบอกค่ะ เคยไปนั่งเล่นกับเพื่อนที่เอแบคและมกรุงเทพฯ บรรยากาศการเรียนที่นั่นแตกต่างมาก ความเข้มข้นการศึกษาความแตกต่างจริงๆ

  • @hoenfainthanam4745

    @hoenfainthanam4745

    Жыл бұрын

    @@lxlxdx5597 เห็นด้วยครับ ผมได้มีโอกาส​ไปดูการสอนที่ม.หลายแห่ง​ เขาแตกต่าง​กับเราเยอะอยู่​ ทั้งอาจารย์​และอุปกรณ์​การสอน​ อาจรวมถึงสภาพแวดล้อม​ด้วย

  • @jiramatejongnimitpaiboon677
    @jiramatejongnimitpaiboon677 Жыл бұрын

    ผมจบราชภัฏเหมือนกัน ผมว่าสมัยนี้การทำงานอยู่ที่ทัศนคติ วิธีคิด วิธีแก้ปัญหา สำคัญเลย คือ อดทนกับงาน หาทางแก้ไขที่ดีที่สุด มีแผนในการทำงาน อดทนในที่นี้คือ อดทนแบบเข้าใจ รู้ว่าตนเองมีดีอะไร จุดเด่น จุดด้อยอะไร จุดดีเราพัฒนาให้ดีขึ้น จุดด้อยก็ค่อยปรับหาทางแก้ไข ลองคิดในมุมบริษัท ว่า ทำไมเขาถึงต้องรับคุณ คุณมีดีอะไร ถ้ายังตอบตัวเองไม่ได้ โอกาสหางานยากครับ

  • @achirayasamew11
    @achirayasamew11 Жыл бұрын

    ครูเราจบราชภัฏ เขาทัศนคติดีและมีความสามารถมาก เก่งมาก

  • @ps9591
    @ps9591 Жыл бұрын

    ราชภัฏไม่ต้องไปเทียบกับมหาลัยอื่นหรอก ขนาดราชภัฏด้วยกันเอง 38 แห่ง คุณภาพการศึกษายังไม่เหมือนกันเลย

  • @rnkthun715

    @rnkthun715

    Жыл бұрын

    จริงครับ ราชภัฏตจวสู้ราชภัฏในกรุงเทพไม่ได้

  • @cielotardecita343

    @cielotardecita343

    Жыл бұрын

    38 อันนี้ทั่วประเทศไทยรวมทั้ง กทม หรอครับ

  • @ps9591

    @ps9591

    Жыл бұрын

    @@cielotardecita343 ใช่คับ

  • @user-ni8im8jg4q

    @user-ni8im8jg4q

    Жыл бұрын

    @@cielotardecita343 รวมสิ

  • @user-cd6hb9oq5w

    @user-cd6hb9oq5w

    Жыл бұрын

    สำหรับผมที่เคยสัมผัสมานะ สวนสุนันทา โอเครที่สุดใน 38 แห่งที่กล่าวมา ถ้าให้เทียบผมว่าพอๆกับ ม.บู ม.นเรศวร

  • @prame3746
    @prame3746 Жыл бұрын

    ปัญหาคือม.ราชภัฏทั่วประเทศไทย อนุญาตให้เด็กที่เกรดต่ำกว่า 2.00 สามารถเข้าเรียนได้ เพื่อนผมส่งกระดาษเปล่าข้อสอบไฟนอลได้เกรด D+ เหมือนมาเรียนเอาวุฒิไปแปะผนังบ้าน

  • @gundamunicorn1848

    @gundamunicorn1848

    7 ай бұрын

    อันนี้ก็เกินไปไหมส่งกระดาษเปล่ายังได้ D+ เลยเหรอ งั้นเท่ากับว่าไปนั่งพอให้จบๆเฉยๆนะซิ เเล้วจบมามันจะภูมิใจได้ไงถ้าปล่อยขนาดนี้

  • @namesurname2231
    @namesurname22312 ай бұрын

    ผมภูมิจัยที่เรียนราชภัฏ แต่พวกจบราดพัดด้วยกันนี่ตัวดีเลย ชอบบูลลี่คนจบ ม. ดังๆ ว่าเป็นหางเสือ แล้วเปรียบตัวเองว่าเป็นหัวหมา ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นหางหมา ไม่รู้ตัว

  • @user-kg4sr8zc4d
    @user-kg4sr8zc4d Жыл бұрын

    จากใจเด็กราชภัฏ ถ้ามีโอกาส มีกำลังทรัพย์และความสามารถไปมออื่นเลย ❤

  • @fatmacaron2511
    @fatmacaron2511 Жыл бұрын

    ความเข้มข้นของหลักสูตรมีผลนะคะ ตอนเรียนป.โทเคยตรวจสารนิพนธ์ป.โทของราชภัฎให้เพื่อน สิ่งที่พบคือเนื้อหาที่เขาทำ ความง่ายมันเหมือนเป็นแค่รายงานที่เราทำตอนปริญญาตรี

  • @sudasuda7371
    @sudasuda7371 Жыл бұрын

    จากคนที่เรียนราชภัฏค่ะ ณ ตอนนี้ก็กำลังเรียนอยู่ เอาความคิดเห็นส่วนตัวที่เรียนอยู่นะคะ ส่วนตัว ที่เรียนอยู่ตอนนี้มหาลัยอาจารย์สอนให้นำวิชาที่กำลังศึกษาสามารถนำไปต่อยอดกับธุรกิจหรืองานที่กำลังทำค่ะ อย่างส่วนตัวเราเรียนภาควิชาการจัดการสาขาบัญชีบัณฑิตอาจารย์แทบจะไม่สอนอะไรที่เป็นวิชาการแต่จะเน้นสอนแนะนำเกี่ยวกับบัญชีที่ตามบริษัทได้ทำจริงๆเช่นการปิดงบ ภาษีอากรหรืออื่นๆ เรามองว่าราชภัฏเหมือนบริษัทอบรมที่อบรมและพัฒนาให้นักเรียนนักศึกษามีศักยภาพและสามารถนำวิชาที่กำลังศึกษาไปใช้งานได้จริงๆอันนี้เราไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกับภาควิชาหรือเปล่าแต่สำหรับเราได้ใช้งานจริงๆค่ะและอยากยืนยันอีกเสียงเพื่อนเราจบมอดังย่านบางเขนย่านบางนาย่านดินแดง แต่ตอนนี้ถือใบจบทางบริษัทต่างๆที่เพื่อนไปสมัครเค้าไม่รับเนื่องจากไม่มีประสบการณ์ในการทำงานและความอดทน ณ ปัจจุบันอาจจะมองว่ามหาลัยอย่างเดียวก็ไม่ถูกแต่อาจจะต้องมองไปถึงประสบการณ์ในการทำงานประสบการณ์ชีวิตและความอดทน บางคนยังยึดติดกับเรื่องเดิมๆธรรมเนียมเดิมๆคำพูดเดิมๆว่าจบจากมอนั้นมอนี้แล้วจะทำงานไม่ได้ไม่มีศักยภาพแต่เท่าที่เราได้ลองไปสัมภาษณ์งานมาหลายหลายที่เราก็ไม่เห็นว่าเค้าจะมาว่าในเรื่องของมหาลัยที่เรากำลังเรียนอยู่แต่เค้ามองว่าเรามีประสบการณ์ไหมเพราะฉะนั้นจบจากมหาลัยไหนถ้าเรามั่นใจว่าเรามีความสามารถและเก่งมากพอยังไงเราก็มีงานทำค่ะ ส่วนตัวเราที่ทำงานเราเคยทำทั้งงานเอกชนและราชการไม่ได้ต่างกันมากค่ะพอเราบอกว่ากำลังศึกษาอยู่มหาลัยราชภัฎเค้าก็ไม่ได้ว่าอะไรแค่ถามว่าจบปีไหนเราจบก่อนไหมค่อยเอาวุตมายื่นปรับเค้าก็จะรับเอาไว้ก่อนกลับกลายเป็นเราเสียเองที่เลือกว่าโอเคจะเอาหรือไม่เอางานนี้เพราะฉะนั้นมั่นใจในตัวเองฝึกประสบการณ์ชีวิตในการทำงานและฝึกความอดทนในการทำงานให้ได้มากๆค่ะยังไงอย่างที่บอกถ้ามีความสามารถมากพอบริษัทเขาจะเล็งเห็นและมองเห็นเองค่ะ ❤❤❤❤❤

  • @rodsukonsomna7826

    @rodsukonsomna7826

    Жыл бұрын

    เห็นด้วยค่ะ ส่วนตัวก็เรียนที่ม.ราชภัฏอยู่ปัจจุบันค่ะ สาขาที่เรียนให้พูดตรงๆคืออาจารย์ปล่อยเกรดเทคลาสเป็นส่วนมาก เเต่ดีตรงที่ว่านักศึกษาในสาขาส่วนมากมีเวลาให้ตัวเองได้ลองทำงานหาประสบการณ์ด้วยตัวเอง และอาจารย์ผู้สอนเขาไม่ค่อยว่างมาสอนเเต่ก็มีการเเนะนำคำปรึกษาการทำงาน มีอีเว้นต์ออกงานทั้งในสถานที่เเละนอกสถานที่มหาลัย บางทีก็มีคนมาติดต่อให้นักศึกษาในสาขาไปร่วมทำงานด้วยกับโครงการใหญ่ๆ เราดีตรงที่เคยมีประสบการณ์ทำงานกับผู้คนกลุ่มใหญ่มาก่อนภายใต้โครงการFix and Center ในตอนที่เรียนอาชีวะ เวลามีงานอะไรเขาจะรับเราเข้าร่วมทำงานไม่ลังเล เพราะมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนค่ะ ส่วนตัวมีโอกาสได้เข้าม.ดังๆหลายที่และมีโควต้าที่ยื่นเข้าได้ไม่จำเป็นต้องสอบอะไร เเต่ตัวเองเลือกที่นี่เพราะเรื่องของเวลาเเละกำลังทรัพย์ค่ะ อีกส่วนหนึ่งคือไม่ชอบการเเข่งขันสูงด้วยค่ะ อยู่เรื่อยๆสบายๆเเบบนี้ได้ค้นพบตัวเองก็ดีมากๆเลยค่ะ (ความคิดเห็นส่วนตัว)

  • @puddingman2331

    @puddingman2331

    Жыл бұрын

    เดียรู้จร้า โลกหนูยังแคบ

  • @user-in9cr3jq1u

    @user-in9cr3jq1u

    Жыл бұрын

    ลองจบ ออกมาก่อน เดี๋ยวได้ตื่นจากฝัน แน่นอน

  • @sudasuda7371

    @sudasuda7371

    Жыл бұрын

    จะจบแล้วค่ะ ตอนนี้มีบริษัทชั้นนำกับโรงพยาบาลชั้นจองตัวให้รอใบจบออกแล้วค่อยไปยื่นค่ะในการสมัครค่ะ บางทีคุณลองเปิดใจมองโลกกว้างๆบ้างนะคะ โลกมันไม่ได้แคบอย่างที่คิด คนสมัยนี้ก็มีหัวสมัยใหม่ปรับเปลี่ยนทัศนคติตั้งนานแล้วลองออกมานอกกรอบเดิมๆดูบ้างนะคะ 🙏🏻

  • @sudasuda7371

    @sudasuda7371

    Жыл бұрын

    @@rodsukonsomna7826 จริงเลยค่ะ ไม่รู้ว่าหลายท่านอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะอีโก้ในตัวเองด้วยหรือเปล่าถึงได้มองราชภัฏแย่ขนาดนั้น

  • @wanidaposhae8596
    @wanidaposhae8596 Жыл бұрын

    ต้องคัดคุณภาพและคุณธรรมของอาจารย์ มันต้องไปควบคู่กัน ระหว่างคนที่อยากเป็นอาจารย์เพราะเงินอำนาจ หรืออยากเป็นครูอาจารย์เพราะรักในสิ่งที่จะทำ ความคิดคนกับคุณภาพและคุณธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่างเราเรียนภาคพิเศษเสาร์อาทิตย์ อาจารย์ที่มาสอนบางคนเป็นครูพิเศษจากข้างนอก แต่นศ.ภาคปกติเรียนกับอาจารย์ของมอ แบบนี้แบ่งแยกกันเห็นๆ ทั้งๆที่เราก็จ่ายตังมาเรียนเหมือนกัน เผลอๆแพงกว่าด้วยซ้ำ

  • @chenjirayuth6241
    @chenjirayuth6241 Жыл бұрын

    555 ใครอยากเรียนอะไรก็เรียนเนอะ ผมว่าถ้าสังคมมีการแบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียนที่ไหนก็ได้ ผมมองว่าอยู่ที่สังคมที่คนนั้นๆเจอครับ รวมถึงอุปนิสัยของคนนั้นๆด้วย จริงอยู่ที่สถาบันก็มีส่วน แต่ที่สำคัญคือตัวบุคคล เขาเลือกที่จะทำ จะอยู่ได้ ถ้าไม่คิดจะก้าวหน้าก็ต้องยอมรับ แต่ถ้าเขามีความตั้งใจ ผมเขื่อว่าไม่ว่าเรียนอะไรมา ก็สามารถอยู่ในสังคมได้แน่นอนครับ ^^

  • @jangmaster921
    @jangmaster921 Жыл бұрын

    ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับค่าเทอมฟรีเท่าไรคับ อีกอย่าง ม จุฬาที่ผมเรียนอยู่ถ้าไม่มีจิงๆติดต่อคณะเค้าจะให้ทุนมาใช้คับเป็นการทำกิจกรรม ชมละ 1000 บาท ก้คือค่าเทอม 20000 ก้หาเวลาไปช่วยงานคณะ 20 ชม เเปปเดียวเองคับส่วนค่าใช้จ่ายเค้าให้เดือนละ 2000-5000 เเล้วเเต่คนมออื่นผมก้คิดว่าน่าจะมีนะครับอย่างเกษตร มหิดล มหาลัยเป็นการศึกษาทางเลือกครับไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ ถ้าค่าเทอมฟรีเด็กจบมาเยอะก้ตกงานอยู่ดีงานในประเทศไทยมันหายากครับเค้าเลยออกเเบบข้อสอบให้ยากเพราะทรัพกรไม่ได้เพียงพอขนาดประเทศในอุดมคติน่ะครับ อีกอย่างการจัดการของภาครัฐเฮงซวยสุดๆครับ

  • @user-ud1ug4fl9w

    @user-ud1ug4fl9w

    Жыл бұрын

    ขอแสดงความเห็นค่ะ การให้เรียนฟรีอาจไม่จำเป็นกับจุฬา(เพราะกิจการนิสิต ทุนคณะ ฯลฯ)มีส่วนจริงอยู่ค่ะ ส่วนจะให้กู้กยศ.ฯลฯเท่าที่พอทราบคือเค้าดูคณะมหาลัยฯลฯด้วยในการให้ทุน แต่กับราชภัฏเราคิดว่าไม่ได้มีทุนมากมายขนาดนั้น(จะกู้กยศ เท่าที่ทราบคือเงินออกช้า/ คหสต.คือ การมีหนี้ติดตัวตั้งแต่ตั้งต้นชีวิตใหม่เป็นการสร้างความลำบากต่อการขยับสถานะทางสังคมฯลฯมากๆๆๆ) ดังนั้นการให้การศึกษาฟรีจึงจำเป็นค่ะ สิ่งที่เป็นเป้าหมายของทุกประเทศอยู่แล้วในการยกระดับคุณภาพชีวิต คุณภาพสังคมก็คือการลดความเหลื่อมล้ำ การลดช่องว่าง การศึกษานี่แหละค่ะที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ได้ จะให้ปล่อยๆไปเลยแล้วมองว่าการศึกษามีไว้สำหรับคนที่พร้อมเท่านั้นดูจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะเท่าไหร่

  • @-ImperiaL-
    @-ImperiaL- Жыл бұрын

    ขอโทษนะครับ โรงแรมผมเมื่อก่อนผมเจอเด็กเกียรตินิยมราชภัฏบ่อยมากๆ ยังสู้เด็กธรรมดา ม. ดังๆ ไม่ได้เลยครับ .... ยกเว้น 2-3 ปีมานี้ ผมเริ่มยอมรับความเก่งของเด็กราชภัฏมากขึ้น (มากขึ้นมากๆ) เพราะส่วนใหญ่ไม่ต้องเกียรตินิยมแต่ก็ทำงานเป็นโดยแทบจะไม่ต้องสอนอะไรมาก ตรงกันข้ามกัน ม. ดัง ติดอีโก้ ผมพูดตรงๆ เลยนะ (ความคิดเห็นส่วนตัว) ทุกวันนี้ ที่ผมเจอ เด็กราชภัฏส่วนมากเริ่มพัฒนาขึ้น แต่ ม. ดัง กลับเริ่มแย่ลงๆ ๆ ๆ อีโกสูง ไม่พร้อมเรียนรู้ บางคนมองเด็ก ม.อื่นด้อยกว่าตัวเอง ทั้งๆ ที่เขาเป็นงานกว่า

  • @forgotten3617

    @forgotten3617

    Жыл бұрын

    เรื่องอีโก้นี่โคตรจริง บางคนผมเสนอให้ 5หมื่น กลับขอ 6หมื่น5 เพราะเกียรตินิยม ม.ดังระดับประเทศ ผมก็จ้างนะ ถ้าคุ้ม ตำแหน่งสำคัญคนเดียวก็อยากได้ที่เก่งๆ ไปเลย แต่ผลคือ ทำงานได้ไม่ตามเป้าของโรงงาน พอลดยอดเป้าสุทธิลง ก็ยังทำไม่ได้อีก แถมยังมีการติดต่อประสานงานกับบริษัทอื่นผิดพลาดอีกได้ไงไม่รู้ พอจะยื่นซอง บอก ขอโอกาส ลดเงินเดือนเหลือ 3-4 หมื่นก็ได้ .... แต่สุดท้ายผมก็ไม่เอาครับ

  • @scarlett9750

    @scarlett9750

    Жыл бұрын

    คิดเหมือนกันตรงที่เด็กบางคนที่จบมอดังๆชอบดูถูกเด็กราดพัด

  • @scarlett9750

    @scarlett9750

    Жыл бұрын

    @@forgotten3617 จี๊ด

  • @igot7callmyname177

    @igot7callmyname177

    Жыл бұрын

    ความเห็นนี่+ด้วยคนค่ะ อีโก้แก้ยากแต่ไม่เก่งเนี้ยทำไปบ่อยๆมันเก่งได้

  • @kaikai_daisuki7788

    @kaikai_daisuki7788

    Жыл бұрын

    @@supasinjongjarukawin1998 ไปว่าคนอื่นว่าทำงานในที่ง่อยๆนี่คิดก่อนเขียนรึยังคะ? เด็กราชภัฏมีประชากรเยอะมาก ไม่แปลกที่การรับงานเเต่ละครั้งจะมีจำนวนเด็กราชภัฏเข้ามาเยอะกว่าม.อื่นๆ ก็เรื่องปกตินี่คะที่เด็กราชภัฏจะเข้าเยอะ มันเกี่ยวอะไรกับตัวโรงเเรมหรอคะ?

  • @natachalee375
    @natachalee375 Жыл бұрын

    พออายุเข้าเลข3 เวลาไปสมัครงาน เขาจะเลิกถามมหาลัย​ที่จบมาแล้วค่ะ หัวหน้าหรือHR จะมองแค่ใบปริญญา​ เกรดก็แทบจะไม่มองเลย เขารับเอกสารไว้เพื่อยืนยันตัวตนเท่านั้น ช่องที่มองจริงๆคือช่องประสบการณ์​ เคยทำอะไรมาบ้าง มีความสามารถด้านไหนเป็นพิเศษ​ไหม ต่อให้จบITแต่คุณพูดอังกฤษ​หรือภาษาอื่นๆ​คล่อง แล้วไปสมัครงานที่เกี่ยวกับภาษา เช่นงานตามสนามบิน งานCallcenter งานสายท่องเที่ยว​ งานตอบแชทลูกค้า บริษัท​ก็ให้ความสนใจคุณ และเรียกมาสัมภาษณ์​แน่นอนค่ะ

  • @Mickey-lc7ch
    @Mickey-lc7ch Жыл бұрын

    มันขึ้นอยู่กับคน คนเก่งๆก็มี ตั้งใจจริงๆก็มี แต่คนส่วนมากดันมีแต่คนขี้เกียจ แถมงานที่ได้มาก็ไม่ยาก อย่างสอบภาษาอังกฤษ ให้เอาหนังสือเข้าไปได้ ก็ยังลอกเพื่อนหมดคำจะพูด มันเป็นความจริง คัยๆก็เห็น

  • @gameralove6418
    @gameralove6418 Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ตรงนะครับ ตอนผมกลับมาไทย เวลาฝรั่งเค้ามาจะชอบบอกว่า ทำไม คนที่จบราชภัฏเอกภาษาอังกฤษแต่กลับพูดไม่ค่อยได้ บางคนบอกเค้าว่า เค้าเก่งที่สุดในห้องแล้ว คือ พูดได้ฟังได้ แต่เด็กอีกมหาลัย ไม่ได้เรียน เอกภาษาอังกฤษ แต่กลับพูดได้คล่องมาก ผมบอกว่าผมก็ไม่รูเหมือนกัน การศึกษา เป็นสิ่งที่สำคัญมากนะครับ แต่ก่อนผมไปเที่ยวที่จีนตอนประถม เค้าแย่มากในปักกิ่งนี่บ้านติดๆกันแบบบ้านเก่าๆในหนังจีนอ่ะ เค้าทุบๆตอนนั้น คนปั่นจักรยาน ตอนนี้เป็นเมืองที่แพงมาก ตอนโตผมไปดูงาน ผมก็กลับมาบอกคนไทยแบบนี้ว่า การศึกษาเค้าดีมาก ในยูเซี่ยงไฮ้ นี่มันไม่ได้ต่างจากมหาลัยระดับโลกเลย (ตอนนั้นไม่รู้ว่าเค้าติดระดับโลกไปแล้ว หรือมาติดทีหลังก็ไม่แน่ใจ) เด็กมหาลัยเค้าไม่ได้คุยกัน งุ้งงิ้งนะครับ เค้าคุยกันเรื่องเปิดบริษัท ระดับโลก เพื่อนผมวันก่อนผมยังมึนเลยเห้ยเด็กจบใหม่จับเงิน21ล้านอ่ะ ทำเองได้จากความรู้ล้วนๆ ครั้งแรกที่ผมเห็น ในหัวผมคือเครื่องคิดเลขเสีย ผมกดใหม่ๆ ผมก็ไม่ได้คิดอะไรนะ คือคิดว่ามือถือคงพัง มันช็อคอ่ะ ไม่ใช่คนเดียวนะครับ อันนี้พ่อแม่ เป็นคนขับรถประจำทาง อีกคนทั้งๆพ่อแม่เลยเป็นคนกวาดขยะ ความรู้ที่ถูกต้อง มันเปลี่ยนชีวิตเราได้เลย คือลองคิดง่ายๆ ผมจำได้ว่าเค้ามียูนิงเชิญ mark zuckerberg ไปอ่ะ เค้าก็ไม่ได้ลงข่าวอะไรเลย เหมือนเป็นเรื่องธรรมดา เด็กเค้าได้เรียนกับของจริงอ่ะ ผมชอบพูดเรื่องนี้ให้คนฟังเพราะมัน จะได้ reaction คนละแบบ ส่วนนึงจะบอกว่า ผมอวยจีน ผมชอบมากเลยน่ารักดี เวลาได้ยินจะยิ้มนิดๆให้ เป็นคนที่ความคิดง่ายๆ simple อีกลุ่มจะ เห้ย เราก็ทำได้นะ เป็นพลังในการตั้งใจเรียนและทำตัวเองให้ดีกว่าจีน อีกกลุ่มจะเป็นจนจีนเองนี่แหละ จะบอกผมว่า ผมนี่เกลียดประเทศจีนมากเลยเนอะ ผมบอกว่าเปล่าเลย เพราะจริงๆผมอยากให้คนไทยเห็นว่า เห้ยคนที่เค้าเคยจน ลำบากกว่าเรามากๆๆ เค้าก็ทำได้ แล้วการศึกษาในที่ๆ สามารถให้ความรู้จริงๆได้จริง มันสำคัญมาก

  • @handsomeguy1234
    @handsomeguy1234 Жыл бұрын

    ราชภัฏ กับ มชั้นนำ ก็ต่างกันละครับ ทั่งไอเดีย ความคิด ทั้งทรัพยากร ทั้งแนวความคิด ทั้งบุคลากร ราชภัฏ เป็นมอแฟรนไชส์ที่มีเยอะเกลื่อน คุณภาพก็ต้องเกลี่ยกันไป เอาง่ายๆ ขนาดร้านข้าวสาขาใหญ่ ไปเปิดแฟรนไชส์ คุณภาพยังไม่เท่ากับสาขาใหญ่เลยครับ ผมเปรียบราชภัฏ เป็นร้านอาหารใหญ่ มาเป้ดร้านอาหารตามภูมิภาค คุณภาพก็ถูกเกลี่ยตาม ไม่เท่าสาขาใหญ่ ราชภัฏสมัยชื่อวิทยาลัยครู เครติดดีมาก แถม 17-18 ปีก่อน รุ่นพี่ทำไว้เสีย เขาเลยไม่ค่อยรับ

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ผม สมัยอยู่โรงเรียน ยัน จบ มหาวิทยาลัย น่ะ ผมบอกได้เลยว่า เด็ก ราชภัฏ อาจมีรวมราชมงคล ด้วย เอาจริง ๆ ไม่ใช่แค่ ไม่เก่งอย่างเดียว เด็กบางคน หรือ อาจจะส่วนใหญ่ คือ เด็กแรง เกเร ก้าวร้าว ไม่ค่อยเอาเรื่องเรียนเลยครับ . - เด็กไม่เก่ง ไม่ค่อยมีตัง เข้า ราชภัฏ ราชมงคล ม.ราม - เด็กไม่เก่ง แต่มีตัง เข้า ม.เอกชน - เด็กเก่งแต่ไม่ค่อยมีตัง เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ - เด็กเก่งด้วย มีตังด้วย เข้า ม.รัฐ ดัง ๆ ม.เอกชน . ผมเคยคุยกับ รุ่นน้อง ภาคผม เป็นลูกครึ่ง ไทย-ญี่ปุ่น แล้วภาคผมแมร่งเข้าง่าย ค่าเทอมถูก แต่หางานยาก เด็กบางคนก็ ก้าวร้าว ชอบหาเรื่อง รุ่นน้องคนนี้ เลยจะซิ่ว . มันโทรคุยกับผม ตอนนั้น ผมจบ ป.ตรี รอรับ ปริญญา ส่วนมันเพิ่ง ปี 1 . มันบอกว่า พี่ผมอยู่ไม่ได้ เพื่อนหาเรื่องจะต่อยผม . ผมเลยบอกมันว่า น้องย้ายไป เอกที่สังคมดีกว่านี้ หางานง่ายกว่านี้ซิ หรือ ย้ายมหาลัย ก็ได้ . มันบอกผมว่า พวกเด็กตลาดล่างที่ไม่เอาไหน กับ พวกเด็กตลาดบนที่ขยันและเป็นคนดี มันวัดกันไม่ได้หรอก . สุดท้าย มันย้าย ไปเอา อักษร จุฬา เอกญี่ปุ่น เพราะ คะแนน แอดอันเก่า มันถึงครับ

  • @user-jo9yd4ku9y
    @user-jo9yd4ku9y Жыл бұрын

    ผมจบมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี เป็นผู้จัดการโรงงานที่ไทย2แห่ง ปัจจุบันเป็นผู้จัดการโรงงานที่ต่างประเทศ ปีนี้ปีที่11 ภูมิใจมากครับ

  • @ACPx-bn2fx

    @ACPx-bn2fx

    4 ай бұрын

    เขมร หรอครับ ต่างประเทศที่ว่า ?

  • @tir2292
    @tir229210 ай бұрын

    ผมก็เรียนราชภัฏ ผมว่าต่าง ต่างจริงๆ มาตรฐานมหาวิทยาลัยชั้นนำ สูงกว่ากว่าจริงๆ แต่ในไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาด้อยค่าราชภัฏ เพราะคนเก่งมีมาก ควรวัดกันที่ผลสอบกลางไปเลย

  • @rinkudorinki5063

    @rinkudorinki5063

    9 ай бұрын

    ผมเชื่อถือคน ที่ประสบการณ์และความมัวุฒิภาวะ มากกว่ามาเลือกที่จบจากไหนมา เพราะไม่ว่าจะจบจากมหาลัยมีชื่อแค่ไหน ถ้าในความคิดผมและที่ผมทำงานมาตั้งแต่เด็กๆ คือ เขาดูที่ประสบการณ์การทำงาน และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะพวกจบม.ดัง มีสิ่งที่คนทำงานด้วยเกลียดอย่างแรงเลยก็คือ อีโก้ และความไม่เชื่อฟัง ทำตัวเหมือนพวกรู้มาก แต่ทำงานแล้วไปไม่รอด

  • @pigarnboi9113
    @pigarnboi9113 Жыл бұрын

    ถึง editor/บรรณาธิการของ Echo และผู้ที่เกี่ยวข้อง: ผมอยากให้คุณทบทวนจรรยาบรรณสื่อของคุณให้มากกว่านี้ครับ เรื่องการที่คุณปล่อยให้มี footage ห้องสมุดที่วิศวะจุฬามาใช้ (เพื่อจะสื่อว่าfacility ดูหรูหรา ให้ดูย้อนแย้งกับสภาพห้องสมุดมหาลัยอื่น) โดยมองข้ามเบื้องหลังว่าเงินก่อสร้างห้องสมุดนั้นคือเงินบริจาคจากศิษย์เก่าครับ (ขนาดบางตึกยังมีได้เพราะเงินบริจาคจากศิษย์เก่าเลยครับ) ถ้าเป็นไปได้รบกวนอยากให้คุณทำงาน-เช็คcontentให้ละเอียดเพื่อให้มีคุณภาพที่ดีกว่านี้ ขอบคุณที่รับฟังกันครับ

  • @itsjustopinion_are_asfollows

    @itsjustopinion_are_asfollows

    Жыл бұрын

    ลองดูคลิปของช่องนี้เยอะๆจะเจอสิ่งที่เขาอยากจะสื่อแฝงอยู่เยอะมากจริงๆ และส่วนใหญ่เป็นแนวแบบที่คุณเห็นนี่แหละค่ะ เราเลยไม่ติดตามช่องนี้55555

  • @BangZamArt

    @BangZamArt

    Жыл бұрын

    ผมมองว่าประเด็นมันก็ไม่ต่างไปจากเดิมเท่าไหร่นะครับ ถึงเงินก่อสร้าง facility ต่างๆ จะมาจากศิษย์เก่า ไม่ใช่มาจากรัฐหรือมหาลัย แต่นั่นก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่ดี คนที่เรียนจบไปมีคุณภาพกว่า ย่อมมีโอกาสทางหน้าที่การงาน ทางสังคม ทางเศรษฐกิจที่มากกว่า จึงมีโอกาสกลับมาช่วยเหลือเกิ้อกูลพัฒนาสถาบันมากว่า

  • @joyka

    @joyka

    Жыл бұрын

    มันคือข้อเท็จจริง แม้ไม่นับเงินบริจาคศิษย์เก่า.... งบประมาณของจุฬามากกว่ราชภัฏบางแห่งเกือบ 100 เท่า เอาแค่บุคลากรห้องสมุดแบบไม่นับคนงาน นักการ จุฬามีบุคลากรห้องสมุดโดยรวมกว่า 50 คน แต่ราชภัฏบางแห่งมีไม่ถึง 10 คน ต้องเปิดห้องสมุดแบบชั้นเว้นชั้น เพราะคนไม่พอ

  • @MeoMeo-wh7jf

    @MeoMeo-wh7jf

    Жыл бұрын

    @@joyka เด็กราชพัดมีคนเข้าห้องสมุดด้วยหรอคะ

  • @aungingondatbeat9411

    @aungingondatbeat9411

    Жыл бұрын

    @@MeoMeo-wh7jfไม่เข้ามั้ง เพราะห้องสมุดมันเหี้ย เลยไม่เข้าไง

  • @user-jf1gk8xy8i
    @user-jf1gk8xy8i Жыл бұрын

    เราจากใจเด็กราชภัฏ ราชภัฏกิจกรรมเยอะมากไม่ได้ตอบสนองความรู้หรือสร้างความรู้พยายามปลูกฝังให้ นศ มีจิตรได้สำนึกอะไรก็ไม่รู้ ทั้งที่ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลยพยายามเอางบมาทำกิจกรรมที่ไร้ประโยชน์เเละสิ้นเปรืองไม่เกิดความรู้อะไรเลย โดยเฉพาะการอบรมวิศวกรสังคมเสียเวลามาก เเละพยายามบังคับให้เข้าร่วมกิจกิจกรรมเกือบทุกกิจกรรม เราว่าควรจัดการการศึกษาใหม่ อีกอย่างนึกการศึกษาไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าไหนด้วยอุปกรณ์เอยอะไรเอยไม่ค่อยอำนวยความสะดวก

  • @pedallgg3455
    @pedallgg345510 ай бұрын

    จุฬา ธรรมศาสตร์ คนไม่มีตังก็เข้าได้นะ ไม่จำเป็นต้องมีตัง เหตุผลหลัก 1.ทั้งจุฬาและ มธ มรโครงการชนบท คือต่างจังหวัดสามารถสอบแข่งกันได้โดยเฉพาะาะคนฐานะปานกลาง ถึ่งต่ำ ถ้าเก่งจริง สอบได้จะได้ เรียนฟรีนอนฟรี กินฟรี เพราะฉนันถ้าเก่งจริงเงินไม่ใช่ปัญหาหลัก 2. ค่าเทอมไม้ได้แพงขนานนั้น ค่าหอในก็ถูกมากๆ ค่าอาหารหอในถูกมาก ทั้งสองมหาวัยที่ อาจารย์ในคลิปพูด

  • @fonnsirirattt7246
    @fonnsirirattt7246 Жыл бұрын

    จบราชภัฏจังหวัดทางอีสานค่ะ จากใจเลย เรียนง่ายจริงๆ เพราะอ.ต้องสอนให้ง่ายเพื่อที่เด็กต่างอำเภอสามารถเรียนเข้าใจได้ มันไม่ได้เหลื่อมล้ำแค่มหาลัยค่ะ มันเหลื่อมล้ำมาจากการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ถ้านักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่านักเรียนในกทม. จะไม่มีการเหยียดกันแบบนี้เกิดขึ้นค่ะ

  • @tsmovies4981
    @tsmovies4981 Жыл бұрын

    คนที่จบราชภัฎ แทนที่จะมาคอยเถียงคอยเอาชนะว่ากูก็เก่งไม่ต่างกัน ควรเอาเวลาไปตั้งใจทำงาน พัฒนาตัวให้มีคุณภาพครับ เพราะความเชื่อนี้มันคือเรื่องจริงไง ไม่ได้ถูกมโนขึ้น ถ้าคนจบราชภัฏส่วนใหญ่มันมีคุณภาพจริงๆ ความเชื่อนี้จะหายไป แล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นเลย

  • @AojingdiDede

    @AojingdiDede

    Жыл бұрын

    มันไม่สามารถแสดงความสามารถได้ไงก็เลยเถียงไว้ก่อน กลัวเสียหน้า 5555

  • @Aresl3oSsaNova
    @Aresl3oSsaNova Жыл бұрын

    ผมคนนึงที่เรียนจบราชภัฏมาครับ บอกตรงๆไม่ได้อะไรเลยจริงๆ นอกจากเพื่อน แต่ก็ต้องยอมรับว่าตอนจะเลือกเรียนคือ ไม่มีเงิน ต้องทำงานไปด้วยส่งตัวเองเรียนไปด้วยครับ

  • @miraiprophat
    @miraiprophat Жыл бұрын

    จากประสบการณ์ที่จบมา (นานแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นไง แค่แชร์ตามที่ประสบมา ไม่โกรธกันนะ) เด็กที่เรียนเก่งฉลาดในราชภัฎก็เก่งจริงๆนะครับ แต่มันน่าเสียดาย ด้วยระบบการศึกษาอะไรหลายๆอย่างเค้าเลยไปไม่สุด คือเด็กเก่งควรจะไปอยู่ ม ดัง เค้าน่าจะได้อะไรๆมากกว่านี้มากจริงๆ ยกตัวอย่าง อาจารย์ที่มาสอนราชภัฎทุกคน มักจะย้ำว่า เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ที่นี้ ราชภัฎ ก็จ้างอาจารย์เก่งๆจาก มหาลัยดังๆ มาสอนทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงคือ... อาจารย์ก็ต้องสอนเอาส่วนมากให้เรียนรู้เรื่อง เพราะฉนั้นการสอนก็จะไปในแบบ ช้าๆ สโลวไลท์แบบสุดๆ แวดล้อมก็จะเต็มไปด้วยเด็กที่เค้ามาเรียนให้จบๆไป ตั้งใจมาเที่ยวหาเพื่อนมากกว่า มันทำให้การเรียนเป็นไปแบบช้า และแผนการเรียนก็ได้ความรู้แค่ตึ่งหนึ่งก็หมดภาคเรียนแล้ว แล้วเด็กเก่ง มันจะไปได้อะไรจากการเรียนที่นี้... ก็คือได้น้อย ---------- คุณภาพอาจารย์ สมัยนั้นที่เรียนเจอมา ขอแชร์ -สอนเก่ง เข้าใจเด็ก มีจิตวิญญาณในการสอน เจออาจารย์แบบนี้แค่ไม่กี่คน -นั่งอวดรวยทั้งคาบ สอนเสร็จชวน น ศ สาวๆ ไปต่อ -อาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ แต่สอนแบบ งงๆ (เหมือนจารย์ก็จะไม่เข้าใจที่ตัวเองสอนเหมือนกัน) เด็กดาวรุ่ง เกียรตินิยม เก่งแค่ไหน เจอแก ก็ได้แค่ C ไม่ก็ติด 0 ไปเลย -อาจารย์สายโดด แทบไม่เจอหน้า ไม่มาสอน นานๆเจอกันที สอนแค่ 15 นาที แล้วก็ให้ไปอ่านเอง

  • @user-cj1yl7kt9q
    @user-cj1yl7kt9q Жыл бұрын

    เราจบจากมหาวิทยาลัยอื่น แต่เรามีเพื่อนเรียนราชภัฏเยอะ ก็มีคนที่ทำงานเป็น อาจจะไม่ได้ว่าใหญ่โต แต่เพื่อนราชภัฏ รุ่นน้องราชภัฏ ที่ทำงานไม่หยิ่งเลยค่ะ น่ารักสู้ชีวิต เท่าที่เจอมานะ ไม่เห็นว่าจะไม่ดีตรงไหน น่าจะไม่เกี่ยวที่มหาลัย แต่เป็นที่ตัวบุคคล บางคนจบมาไม่ได้มองที่จบจากไหน แต่มองว่าจะดำเนินชีวิตอย่างไร ใช้ความคิดอย่างไร

  • @rahvun599
    @rahvun599 Жыл бұрын

    หลายๆคนที่เรียนที่นั่นก็รู้กันแหละครับว่าที่นี่มันมีปัญหา แต่เงินมันผุดออกมาแบบหญ้า แบบเห็ดไม่ได้อะดิ ผมก็เรียนราชภัฏเหมือนกัน ถึงจะเสียใจหน่อยๆ แต่ กยศ. ตอนนี้ก็ติดเกือบ 2 แสนบาทไปแล้ว แบ่งทั้งตัวเอง แบ่งทั้งทางบ้าน มันเป็นตัวเลือกสุดท้ายละสำหรับคนกระเป๋าฉีกแบบผม ://

  • @bosssawanna3116
    @bosssawanna3116 Жыл бұрын

    ส่วนตัวเป็นเด็กต่างจังหวัด สภาพเเวดล้อมรอบตัวมีเเค่ยาเสพติด ทางบ้านฐานะยากจน ไม่เคยมีโอกาสเรียนพิเศษเหมือนคนอื่นๆ สักครั้งในชีวิต ตอนเรียนประถม มัธยม จนมหาวิทยาลัย ก็ทำงาน part time ส่งเสียตัวเองเรียนมาตลอด ถ้าไม่มีงานก็ขอทุนเรียน เรียนให้ดีเข้าไว้ จนปัจจุบันจบ ม. ดังในกรุงเทพ เป็นนักวิจัยในองค์กรของรัฐในมหาวิทยาลัย + เรียน ป. โท สายวิจัยใช้ทุนวิจัยของอาจารย์ เเละมหาวิทยาลัย ความคาดหวังในอนาคตคือจบด๊อกเตอร์ เเละเป็นอาจารย์มาสอนคนอื่นๆ ต่อ บอกเลยปากกัดตีนถีบสุดๆ ที่พิมพ์มาทั้งหมดไม่ใช่จะอวดนะ เเต่อยากจะบอกว่าต่อให้เราต้นทุนไม่เหมือนคนอื่นๆ ขอให้พยายามเข้าไว้ พึ่งตัวเองให้ได้ เเละอย่าทิ้งโอกาสถ้ามันมาถึง ให้คว้าเอาไว้ อาจจะไม่เห็นหนทางให้ทำๆ ไปก่อน เพราะสุดท้ายมันจะได้มีตัวเลือกเยอะๆ อีกอย่างจบราชภัฏ ไม่ใช่ปัญหา เเค่มี skill การทำงานให้เก่ง การเข้าสังคมให้เลิศ ก็ต่อยอดได้ครับ

  • @MewYonlada

    @MewYonlada

    Жыл бұрын

    Comment นี้ดีค่ะ ถูกต้อง 👍🏻

  • @TheNeololita
    @TheNeololita Жыл бұрын

    ที่จริงไม่ใช่แค่ราชภัฏนะ แต่รวมไปถึงสายอาชีพต่างๆด้วยทั้งๆที่เขามีส่วนสำคัญในตลาดแรงงานกว่าสายสามัญซะอีก

  • @littleboy5853
    @littleboy5853 Жыл бұрын

    ในไทยอะไรที่ เป็นเอกชน มีคุณภาพมากกว่าอยู่แล้วครับ ทั้งโรงเรียนกับมหาลัย แต่ว่าไม่ว่ายังไงก็แล้วแต่ บางคนเก่งมีความสามารถ แต่ติดเที่ยวติดเล่นตอนมหาลัย จากไม่เคยกินเหล้าไม่เคยทำอะไรก็ได้ทำจนเสียคนก็มี สุดท้ายแล้ว การประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเรียนมหาลัยไหน แต่ขึ้นอยู่กับตัวคุณต่างหากว่าคุณจะพัฒนาตัวคุณเองได้ไกลแค่ไหน

  • @jirayu534
    @jirayu534 Жыл бұрын

    พูดได้ดีคับ ตรงประเด็น ถูกใจ👍👍👍

  • @PB-fr7lu
    @PB-fr7lu Жыл бұрын

    คือยังไงดีมันก็ด้อยกว่ามออื่นจริงๆเพราะผมเองก็เคยสัมผัสเพื่อนๆกลุ่มที่เรียนที่นั้นมาเยอะงบางอย่างควรรู้แต่ไม่รู้ซะงั้น ลองลงมาก็ตระกูลเทคโนฯที่ผมเรียนมาเรียนง่ายกว่าสมัยมัธยมใช้ความพยายามแค่ไม่มากก็ได้ 3.75 แล้ว 😢😢😢 สุดท้ายแล้ว มันไม่ใช่ตัวชี้วัด “ความสำเร็จ” ของชีวิตคนจบราชฏัธก็สามารถประสบความสำเร็จได้ถึงแม้คำว่า “คนที่ให้โอกาส” มันจะน้อยกว่ามหาลัยอื่นๆก็ตาม… เพราะสมัยนี้อาชีพก็ไม่ได้มีน้อย

  • @mccarterstartrek9395

    @mccarterstartrek9395

    Жыл бұрын

    แต่บางอาชีพ ก็เริ่ม ๆ หายไปจากสังคมแล้วล่ะครับ ร้านเช่าวิดีโอ ร้านถ่ายรูป นี่ล่าสุด อาชีพ สอนพิเศษ ใกล้ หาย ๆ ไปล่ะ เพราะว่า คนหันมาดู KZread มีคลิปสอนฟรีเพียบ อย่างเด็กจุฬา นี่คือ ติวเตอร์ สอนพิเศษ ทำกันเยอะ ก็ไม่รู้ว่ากระทบแค่ไหน

  • @creamzip5206
    @creamzip5206 Жыл бұрын

    เคยไปศึกษากับเรียนที่ราชภัฏมาค่ะ บอกเลยว่าพี่ๆเพื่อนๆเก่งชิบหาย แต่ตอนนั้นเราเรียนควบที่บ้านส่งไม่ไหวบวกกับมีปัญหาทางบ้านจึงเรียนที่ๆถูกกว่าค่ะ …

  • @tiwaphonchanthuk2880

    @tiwaphonchanthuk2880

    Жыл бұрын

    @@Zemon7664 จริงงง

  • @makarov4099
    @makarov4099 Жыл бұрын

    ผมเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง ตอนม.ต้นจำได้ดี มีการส่งตัวแทนแข่งตอบคำถามวิชาการแล้วมีเด็กราชภัฏมาแข่งด้วย แต่ผลที่ออกมาคือเด็กราชภัฏแพ้เด็กสาธิต(ม.ต้น)แบบยับเยินคะแนนทิ้งห่างแบบไม่เห็นฝุ่น แต่ปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นไหมไม่รู้…

  • @moonislove1437
    @moonislove1437 Жыл бұрын

    เราว่า ความเข้มข้นในการเรียนมันต่างกันค่ะ (ความรู้ ความอดทน ความมานะ ความกดดัน ความพยายาม ความถ่อมใจ ความมั่นใจ ความตั้งใจ) ถูกสอนหมดโดยไม่รู้ตัว เเล้วเเต่ละคนกว่าจะผ่านจุดนั้นมา ร้องไห้เกือบทุกวัน ปล.เกี่ยวไม่เกี่ยวเราไม่รู้หรอก เเต่เราเข้าใจ สำหรับเราไม่เคยเลือกคบเพื่อนมอดัง มอเอกชน มอรัฐ คนรวยคนจน ผอม ดำ อ้วน ไม่เคยเลย เป็นคนที่มีจิตใจดี นิสัยเข้ากันได้พอ ส่วนเพื่อนร่วมงาน ตั้งใจเเละพยายามทำงาน พยายามเรียนรู้ ไม่ทำให้คนอื่นเเละตัวเองเดือดร้อน เเบบนี้ก็ไม่มีใครมาว่าหรือดูถูกเราได้หรอกค่ะ สิ่งสำคัญคือ อย่าดูถูกตัวเอง เเม้ว่าใครจะดูถูกก็ช่างเขา เขาก็ทำได้เเค่ให้เรารู้สึกด้อยค่าเท่านั้น เเต่เขาไม่มีค่าอะไรในจิตใจของเราเลย พาตัวเองไปอยู่ในที่ ที่เป็นประจุบวกค่ะ ☺️☺️☺️ (กฎเเรงดึงดูด)

  • @TechnologyThailandGod
    @TechnologyThailandGod7 ай бұрын

    ผมจบมหาวิทยาลัยต้นๆ ของประเทศแต่ช่วยเหลืออาจารย์น้องๆ ราชภัฏ….ปัญหาคืองบประมาณมาต่ำ จะซื้อของมาพัฒนาเด็กมันลำบากเกินนนน และระเบียบราชการทำไรมากก็ไม่ได้… มหาวิทยาลัยอยากให้น้องๆมีคุณภาพสูงๆ โดยไม่เกี่ยงว่าพื้นฐานมายังไง แต่การสนับสนุนจากระบบมันต่ำเกินไปครับ😊

  • @13_chanoknatesuwandarak78
    @13_chanoknatesuwandarak78 Жыл бұрын

    จากคนที่เรียนอยู่ตอนนี้นะคะ คือ อาจารย์สอนดีจริงๆให้ความรู้เยอะมาก ไม่ต่างจากมอดังๆเลยค่ะ คือเราก็เอาเอกสารการสอนจากเพื่อนมาเทียบนะคะพูดเลยว่าเหมือนกันมากๆ แต่มันขึ้นอยู่กับนักศึกษาเองว่าจะรับความรู้เหล่านั้นไหม มาตราฐานเรารู้สึกว่ามีความเหลื่อมล้ำมากค่ะขนาดแต่ละที่ยังไม่เหมือนกันเลยค่ะ:(

  • @bebrownbear8354

    @bebrownbear8354

    Жыл бұрын

    เราเรียนมอดัง เค้าเน้นให้ศึกษาเอง ของเราอ.มัวแต่ทำวิจัย สอนแบบขอไปที(บางท่าน)

  • @nyounjinnmk5161

    @nyounjinnmk5161

    Жыл бұрын

    แล้วจะรู้ได้ไงว่ามอดังอื่นสอนเหมือนมอคุณหมดอ่ะ งง อย่าพาดพิง เจียมตัวไว้ก็ดีนะ เพราะโดนดูถูกหรอเลยเข้าข้างตัวเองขนาดนั้น🤨

  • @user-en8uy9gf8y

    @user-en8uy9gf8y

    Жыл бұрын

    ปลอบใจตัวเองหรือครับ

  • @AojingdiDede

    @AojingdiDede

    Жыл бұрын

    คิดไปเองว่ามันเหมือนกัน 5555

  • @aiphonebigc7528

    @aiphonebigc7528

    7 ай бұрын

    ​@@user-en8uy9gf8yค่าของคนอยู่ที่ เป็นคนดี ทำมาหากินสุจริต และไม่ดูถูก คนที่เขามีไม่เท่าตัวเอง

  • @Bell-ty8wu
    @Bell-ty8wu Жыл бұрын

    อาจารย์ให้สัมภาษณ์ได้ดีมาก

  • @SirabhatArtroom
    @SirabhatArtroom9 ай бұрын

    ผมจบราชภัฏครับ แต่ศึกษาเรียนรู้ต่อยอดจากครูบาอาจารย์ เวลาว่างเข้าหอสมุด ศึกษาจากสื่อจากหนังสือที่มี ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ , บางครั้งมันอยู่ที่คนด้วยครับ มหาวิยาลัยให้โอกาสแต่คนไม่ไขว่คว้าหาความรู้จากสื่อที่มี อยู่ตรงไหนก็ยากครับ แต่ยอมรับว่าหมาวิทยาลัยดัง ๆ โอกาสในการต่อยอดกว้างขวางกว่าครับ

  • @doubleeagle136
    @doubleeagle136 Жыл бұрын

    สู้ๆนะทุกคน โตขึ้นก็จะเข้าใจเอง หมั่นพัฒนาตัวเองเสมอๆ ก็มีเส้นทางให้เดิน เหนื่อยหน่อย ช้าหน่อยแต่ก็ไปถึงนะ✌✌

Келесі