"C" ต่างประเภทกัน...!! จับมา..ต่อขนานกัน ได้ผลลัพท์ดีขึ้น.. 1,000,000%

Ойын-сауық

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZIMZIM DIY
สำหรับวันนี้ผมจะมาพูดถึง เรื่องของ Capacitor หรือตัว C กันนะครับ ว่า C ที่ต่างประเภทกัน ทำไมบางที ในหลายๆวงจรมัก จะนำมาต่อใช้งานร่วมกัน
ยกตัวอย่าง อย่างเช่น วงจรนี้ เพื่อนๆก็จะเห็นว่า ก่อนที่กระแสไฟจะออกไปที่ Output
จะมี ตัว C ที่เป็นแบบ อิเล็กโทรไลท์ 1 ตัว และก็มี C ที่เป็น แบบเซรามิก อีก 1 ตัว ต่อขนานกัน
ทำไมเราไม่ใช้ C ที่เป็นแบบ อิเล็กโทรไลท์ 2 ตัว ต่อขนานกัน เพื่อให้มัน มีค่าการเก็บประจุที่เยอะขึ้น หรือ ไม่งั้นก็ใช้ C ตัวเดียว ตัวใหญ่ๆไปเลย
แล้วเราจะต่อ C ทั้งสอง ประเภท แบบนี้ไปเพื่ออะไร
ที่มันเป็นแบบนั้นก็เพราะว่า C แต่ละประเภท เนี้ยะ
ถ้าเราต่อมัน ในวงจร โดยมี Frequency หรือ ความถี่เข้ามาเกี่ยวข้อง
มันจะมีพฤติกรรม ที่แปลกประหลาด แตกต่างกันออกไป ตามความถี่ที่มันได้รับ
เรื่องนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่อง ที่ใหญ่ สำคัญเรื่องหนึ่ง นะครับ แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง สักเท่าไหร่นัก
เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพูดถึงมันกันครับ
ปกติถ้าเพื่อนๆได้เคยติดตามช่อง ZimZim DIY
เพื่อนๆก็จะทราบว่า ตัว C 1 ในหน้าที่หลักๆ ก็คือสามารถ ยอมให้ ไฟฟ้ากระแสสลับไหลผ่านตัวมันไปได้
แต่ สำหรับ ในความเป็นจริง ภายใน ตัว C เอง มันไม่ได้มีค่าการเก็บประจุเพียงอย่างเดียว เท่านั้น
มัน จะมี ค่าความต้านทาน และ ค่าการเหนี่ยวนำ ที่เราไม่ต้องการ อยู่เสมอๆ
ซึ่งค่าเหล่านี้ มันเกิดขึ้นได้จาก วัสดุชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งหมดที่งมวล ที่ประกอบ เป็น Capacitor ขึ้นมา
และไม่เว้นแม้แต่ขาของ C เอง มันก็ยังมีค่า ความต้านทาน และ ค่าการเหนี่ยวนำ เกิดขึ้น จำนวนเล็กน้อย
เพราะฉะนั้นก็ถือว่า C มี พฤติกรรมการตอบสนองความถี่ ที่มีลักษณะ เป็น เอกษลักษณ์ ของตัวมันเอง
มาตั้งแต่กำเนิด เกิดมาตั้งแต่กระบวนการผลิตแล้วละครับ
ถ้ามาเพื่อนๆมาดูที่ รูปนี้ คาปาซิเตอร์ตัวนี้ ก็จะมีค่าความจุ อยู่ค่าๆหนึ่ง ใช่ไหมครับ
และก็จะมี ค่าพารามิเตอร์ อื่นๆที่เราไม่ต้องการ เพิ่มมาอีกสองตัว นั้นก็คือ ค่า ESL และ ค่า ESR
อย่าง ค่า ESR ก็คือ ค่าความต้านทานแฝง ลักษณะเด่นของมัน ก็คือ มันจะทำหน้าที่ ต้านทานกระแสๆไฟฟ้า ทุกๆช่วงความถี่ ที่ไหลผ่านเข้ามา
และ ค่า ESL หรือ ค่าความเหนี่ยวนำแฝง ลักษณะเด่นของมัน ก็คือ มันก็จะขัดขวาง กระแสไฟฟ้าAc ที่ไหลผ่านมา ยิ่งความถี่สูง มันก็จะยิ่งก่อกวนมาก
เพื่อ ทำหน้าที่ รักษาสนามแม่เหล็ก อะไรของมัน นั้นแหละครับ
ดังนั้น ค่า ESR และ ESL สำหรับ C ถือว่าไร้ ประโยชน์ และ เป็นตัวถ่วง ความสามารถของตัว Capacitor เอง
ผมจะยกตัวอย่าง สมมุติว่าผมมี C อยุ๋ สองตัว
ซึ่ง C ทั้งคู่ มีค่าการเก็บประจุ ที่เท่ากันอยู่ที่ 10 uF
เพื่อนๆคิดว่า C ตัวไหนมีค่า ESL ESR มากกว่ากันครับ....
หลายๆคนทายถูก ครับ นั้นก็คือ C แบบ อิเล็กโทรไลท์จะมีค่า เหล่านี้ ที่สูงกว่า อย่างชัดเจน
ที่จริงถึง แม้ว่า C ทั้งสองตัวนี้จะมีค่าการเก็บประจุที่เท่ากันก็จริง
แต่ C เซรามิกจะทำงานได้ดีกว่า ที่ความถี่สูง เพื่อความเข้าใจมากขึ้น
เรามาดู กราฟ ความแตกต่างของ C แต่ละประเภท จากเส้นกราฟตรงนี้กันครับ
เส้นพวกนี้เราจะเรียกว่าเส้น อิมพีแดนซ์ หรือ ค่าความต้านทาน ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
ก็จะเห็นได้ว่า
C ทั้งหมดทำงานได้ ค่อนข้างดี ที่ความถี่ที่ต่ำกว่า 1kHz ลงไป
แต่เมื่อความถี่ของ กระแสสลับเพิ่มขึ้น อิมพีแดนซ์์ ของมันก็จะลดลง ลงมาทั้งหมด
ถ้าสังเกตุ ช่วงความถี่ สัก 2 - 3 กิโลเฮิร์ต C แบบอิเล็กโทรไลต์ จะเริ่มมี อิมพีแดนซ์์ ที่มีค่า คงที่อยู่อย่างงั้น ไม่เพิ่มไม่ลด ซึ่งจะเริ่มเป็นอุปสรรค
แต่สำหรับ C เซรามิก ที่ความถี่ เกิน 3 kHz ขึ้นไป อิมพีแดนซ์ก็จะ จะลดลงเรื่อยๆ จนไปถึงระดับ MhZ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ
เพราะฉะนั้น C บางตัว เราอาจจะไม่สามารถ เลือกเฉพาะ ค่าความจุของมันมาใช้ เพียงอย่างเดียว
เราจะต้องดู ประเภทของมันด้วย
ผมจะพามาดูอย่าง
บอร์ดวงจร Buckcoverter ที่ทำมาจาก IC TPS 54331D ตัวนี้
ซึ่งช่องต่างประเทศ ของคุณ Afrotechmods เคยได้ทดสอบเอาไว้ ดีมากๆ เด๊่ยว ผมขออนุญาต นำเนื้อหาบางส่วน มายกตัวอย่าง ละกันนะครับ
สมมุติว่าวงจรนี้ เราป้อน input ที่ 10 Volte และ มี output ออกมาที่ 3.3V และตรง Output มีโหลอยู่ที่ 650mA
เมื่อเช็คดูที่ ออสซิโลสโคป กับพบว่า เอาพุตของแหล่งจ่าย ว่ามี ริปเปิ้ล
ที่เป็นสัญญาณรบกวน อยู่ ประมาณ 40mV VPP
คิดเป็น ประมาณ 1.2% ของแรงดันไฟขาออก 3.3V
ถ้าเรามาดูที่แผนผัง ไดอะแกรม เราจะเห็นว่า ลายวงจร เขาใช้ C เซรามิก 47uF สองตัว
ขนานกันอยู่ เพื่อให้ได้ค่าความรุ รวม 94 uF
แต่ในคลิปเขาทดลองว่า ถ้าเพิ่มความจุโดย
โดยแกะ ตัว C แบบเซรามิกออก
แล้วใส่ C อิเล็กโทรไลค์ ไปเพียง ตัวเดียวค่าความจุ 220uF เข้าไป
ผลปรากฎว่า.... output มีระลอกคลื่น มากกว่าเดิม เพิ่มเป็น 330 mV Vpp
ทั้งที่ ความจุ มากกว่าของเดิมกว่า สองเท่า
ถ้าคิดดู มันเท่ากับ 10% ของ Output DC 3.3V ที่ออกมาเลยนะครับครับ
เพราะฉะนั้น
ตัว C แบบ เล็กโทรไลค์ จะไม่มีประโยชน์ ในการกรองความถี่สูง
ตัว Buck ดีๆ ก็อาจจะใช้เป็น C ประเภท เซรามิก หรือพวก แทนทาลัม แทน หรือ C เกรดคุณภาพ
เพื่อให้ลดสัญญาณรบกวนตรงนี้ได้
หรือ เราก็จะเห็นเขา วาง C อิเล็กโทรไลต์ และ C เซรามิก ขนานกันเพื่อให้ได้ค่าความจุที่สูงขึ้นและ ให้ ค่า ESR กับ ค่า ESL ต่ำ น้อยลง นั้นเอง
สำหรับคลิปนี้ ผมขออธบิายำว้เท่านี้ก่อน
ถ้าเพื่อนๆ อยากได้ข้อมูลที่ จากสมาชิกท่านอื่นๆ มากขึ้น หรือ ต้องการแชร์ประสบการณ์
สามารถมาโต้วาที กันได้ ที่ ชุมชน ของเราได้เลยครับ ที่หัวข้อ ตรงนี้
ก็จะเพื่อนๆหลายๆ บอกเคล็ดลับ เกร็ดความรู้ดีๆเอาไว้
หรือแสดงความคิดเห็นใต้คลิปเข้ามาได้ครับ
ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Пікірлер: 65

  • @user-ji9xb4mp8m
    @user-ji9xb4mp8m Жыл бұрын

    อธิบายเข้าใจง่ายดีมากครับ

  • @johnmcprom2514
    @johnmcprom2514 Жыл бұрын

    อธิบายได้ดี เลยหละครับ ว่าแต่ว่า ได้ยินเสียงและข้อมูลที่พี่ทำแล้ว ผมนึกถึงอาจารย์ที่ปรึกษาผมจังเลย เสียงประมาณนี้ พูดประมาณนี้ และหลงใหลใน อิเล็กทรอนิกส์มาก

  • @kouinarak
    @kouinarak Жыл бұрын

    ขอบพระคุณมากๆๆๆๆๆครับ อาจารย์ได้ความรู้มากเลยครับ

  • @charin2520
    @charin25208 күн бұрын

    หายสงสัยเลย ฟังสบายๆ เข้าใจง่ายจริงๆ

  • @user-sd8lh1cr3y
    @user-sd8lh1cr3y Жыл бұрын

    เป็นคำถามที่ไม่ค่อยมีใครอธิบาย เมื่อก่อนผมก็สงสัย จุดเริ่มมาจากว่า "ถ้าต้องการความจุเยอะๆทำไมไม่ใช้ อิเล็กโทรไลต์ ทำไมต้องเอาตัวเล็กๆ มาขนานกัน" ก็เลยไปหาคำตอบในเว็ปฝรั่ง

  • @bang_marn

    @bang_marn

    Жыл бұрын

    ใครถาม

  • @mananprat8681
    @mananprat86814 ай бұрын

    ขอบคุณ​มาก​ครับ​ ผมใช้ c เซอรามิค ต่อค่อมลำโพง​บลูทูธ​จีน​ จากเสียงแหลมแสบหู​ กลายเป็น​เสียงทุ้มนุ่มหูดีขึ้น​เลย​ แต่ลองใช้​ C.อิเล็คโทร​ไลท์​ ต่อบ้าง​ เสียงกลับเพี้ยน​ๆ มีรีเลย์​แปลกดีครับฟังไม่ได้เลย​ เลยกลับไปใช้แบบเซอรามิคครับ​ ไม่รำคาญ​หูเลย

  • @minuteminute9511
    @minuteminute9511 Жыл бұрын

    อยากให้อธิบายการทำงานของ cap bank ของตู้ MDB หน่อยครับ ขอบคุณครับ

  • @user-ic3dd2hl1g
    @user-ic3dd2hl1g Жыл бұрын

    เยี่ยมไปเลย

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @user-ee2hb2my8j
    @user-ee2hb2my8j Жыл бұрын

    ติดตามตลอดครับ

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ขอบคุณมากครับ

  • @wanchaisirikam7237
    @wanchaisirikam7237 Жыл бұрын

    ขอซีแทนทาลัม หน่อยครับ

  • @somsakulv
    @somsakulv Жыл бұрын

    สุดยอด

  • @korn4169
    @korn4169 Жыл бұрын

    มาแล้วค้าบ

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @user-fb9rk4vp4h
    @user-fb9rk4vp4h Жыл бұрын

    ทำข้อมูล ไดโอด ความถี่ต่ำ กับ ความถี่สูง ต่างกันยังไง ใช้งานประเภทไหน ทีครับ🙏🙏🙏

  • @arnuphaptaweekoon1823
    @arnuphaptaweekoon1823 Жыл бұрын

    เนื้อหาดีมากครับ แต่เนื้อหายังน้อยไปหน่อยครับ

  • @dnewraptorraptornew
    @dnewraptorraptornew Жыл бұрын

    พี่ทำคลิปการดูค่าc และr และมันมีขั่วไหม แบบชิบด้วยนะครับ

  • @OomhonOomhon-qq8sc
    @OomhonOomhon-qq8sc Жыл бұрын

    อธิบายการทำงานของโฟโต้หน่อยคับ

  • @PampostReturning
    @PampostReturning Жыл бұрын

    ขอบคุณมากครับผม!.

  • @Neslo96
    @Neslo96 Жыл бұрын

    C เซรามิค สามารถใช้ ทดแทนได้ไหมครับ เช่นที่เสียมีขนาดใหญ่ แล้วใส่ตัวเล็กนิดหนึงแทน จะเกิดผลเสียอะไรไหมครับ ผมไม่ค่อยมีความรู้ใครทราบช่วยตอบทีนะครับจะขอบคุณมากๆเลย

  • @kish7540
    @kish7540 Жыл бұрын

    อยากให้ทำตัวแปลง 12v to 220v แบบพกพางับบ

  • @user-cb6ed6ol5f
    @user-cb6ed6ol5f10 ай бұрын

    อยากได้เบอร์ติดต่อเป็นการภายใน เพื่อขอคำแนะนำ จะได้ไหมครับอาจาร์ย

  • @UnhappyTube
    @UnhappyTube Жыл бұрын

    สมัยเรียนโปรเจกจบ ผมเจอโจทย์ย่อย จงออกแบบวงจรตรวจจับการทำงานหลอดไฟแบบหลอไส้ ป้อนกลับ mcu rasp pi โดยที่ สามารถเช็กว่า หลอดไม่ติด หรือ sensor ทำมือเสีย เทอมนึงเต็มๆเลยแบบไม่ได้อะไร สรุปผ่านได้เพราะใช้ c ไมล่า กับการ ตรวจจับ input 0 ครับ สมัยนั้น rasp pi ยังไม่แพร่หลาย เลยต้องงมเอง sensor ทำมือล้วนครับ 555

  • @vilakonechanthamala9055
    @vilakonechanthamala9055 Жыл бұрын

    พี่ใช้ program อะไรในกานวาดวงจร

  • @dun2529
    @dun2529 Жыл бұрын

    สอบถามหน่อยครับอาจารย์ บัคคอนเวอร์เตอร์ ถ้ามีความถี่ฝั่งเอาต์พุทออกมาแบบที่อาจารย์อธิบาย แล้วเรานำไปใช้งาน เช่นชาร์ทโทรศัพท์ มันจะมีส่วนให้ระบบชาร์จโทรศัพท์เสียหายไหมครับ พอดีว่าผมใช้ตัวบัคมาชาร์จโทรศัพท์อินพุทจากโซลาร์เซลล์ ใช้ไม่กี่วันระบบชาร์จโทรศัพท์ผมพังครับอาจารย์ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    มีส่วนแน่นอนครับ ถ้า ไฟฟ้ากระแสตรงมีการกระเพื่อม ไม่ทราบว่าต่อ ผ่านคอนโทรลชาร์จเจอร์ จากแผง มาแล้วหรือเปล่าครับ ก่อนเข้าบัค

  • @mrkrittinjanthong7146
    @mrkrittinjanthong7146 Жыл бұрын

    พี่ครับ..ช่วยแนะนำ วงจรกล่องบาลานซ์ไฟ หน่อยได้ไหมครับ ว่าควรใช่คาปาอย่างเดียว หรือ ควรมีการต่อวงจรตัวอื่นเพิ่มเติมดีครับ ขอบคุณครับพี่

  • @tukbabyfast

    @tukbabyfast

    Жыл бұрын

    ที่เห็นส่วนมากก็มีแค่คาปา กับตัววัดv ยังมีวงจรไหนอีกเหรอครับ

  • @407newd6

    @407newd6

    Жыл бұрын

    +1

  • @user-bt1ud7ge6m
    @user-bt1ud7ge6m10 ай бұрын

    รบกวนขอความรู้นิดครับอาจารน์cเซลามิค ไหม้ แล้วเราจะcตัวใหญ่ตัวอื่นแทนได้ไหมครับผมขอบคุณครับ

  • @pongsakornroobchai1854
    @pongsakornroobchai1854 Жыл бұрын

    ถ้าขนานแล้วเอามาทำตัวกรองความถี่ให้ลำโพงเสียงแหลมเสียงจะดีขึ้นไหมครับ

  • @user-kz9ou8zu1s
    @user-kz9ou8zu1s Жыл бұрын

    ขอบพระคุณมากๆครับอาจารย์คลิปนี้มีประโยชน์มากๆเคยสงสัยมานานแล้ว

  • @krupreecha
    @krupreecha11 ай бұрын

    ใครที่เล่นเครื่องเสียงมานานๆจะรู้นะ ว่ามันช่วยให้การชดเชยดีขึ้น

  • @user-gb5sw7qc4x
    @user-gb5sw7qc4x7 ай бұрын

    ถ้าเอามาทำเป็นตัวกันไฟตกพ่วงต่อกับปลั๊กไฟจะได้ใหมครับ

  • @user-oe5sk1jo1m
    @user-oe5sk1jo1m Жыл бұрын

    สวัสดีครับ

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    สวัสดีครับ

  • @mandkhambalat3897
    @mandkhambalat38976 ай бұрын

    สอนทำแอัมไห้ละองดแนดเดียวเร่าจะติดตาไปนะลอด

  • @bouaphanhkhamvanh3967
    @bouaphanhkhamvanh3967 Жыл бұрын

    👍👍👍❤️

  • @suriyajampasa6932
    @suriyajampasa6932 Жыл бұрын

    เสียหมดไปกลับไปกลับมา

  • @pilee3222
    @pilee3222 Жыл бұрын

    ทีเขียนตัวเลขc1c2c76มันคืออะไรครับ

  • @amphanpinphong8810
    @amphanpinphong8810 Жыл бұрын

    ชัดเจนครับอาจารณ์ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว ขอนคุณครับตามครับ

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ขอบคุณครับ

  • @popota6474
    @popota6474 Жыл бұрын

    ผมน่าจะเจอช่องพี่ตอนผมเรียน 🥲🥲🥲🥲🥲

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ตอนนี้จบออกมา แล้วเหรอครับ

  • @popota6474

    @popota6474

    Жыл бұрын

    @@ZimZimDIY ครับ จบแล้วครับ

  • @user-sk4ye9qq1k
    @user-sk4ye9qq1kАй бұрын

    🙏👍❤️❤️❤️❤️

  • @uzesound2368
    @uzesound2368 Жыл бұрын

    ในวงจรขยายเสียงเปลี่ยน c smd เปลี่ยนเป็นc ธรรมดา ให้เสียงดีขึ้นจริงหรือเปล่า แล้วถ้าให้เสียงดีขึ้นจริงเป็นเพราะอะไร

  • @ZimZimDIY

    @ZimZimDIY

    Жыл бұрын

    ผมคิดว่าอาจะขึ้นอยู่กับน้ำเสียงที่ออกมา ว่าผู้ฟังชอบแบบไหน มากกว่านะครับ อย่างเช่น C SMD อาจจะเสียงชัดใส บางคนก็บอกว่าไม่ชอบ มันแข็งไป แสบหู ส่วน C ธรรมดา สัญญาณ อาจจะได้ความขุ่นมัวนิดส์ๆ ก็กลายมาเป็น ความ หวานนุ่มละมุน หู มันจะเป็นประมาณนี้นะครับ ฮ่าๆ

  • @uzesound2368

    @uzesound2368

    Жыл бұрын

    @@ZimZimDIY ขอบคุณครับ

  • @uzesound2368

    @uzesound2368

    Жыл бұрын

    @@ZimZimDIY ทุกคลิปที่ลงมามีความรู้ทุกคลิปเลยครับคำต่อไปครับ

  • @user-ok7zj1bk3y
    @user-ok7zj1bk3y Жыл бұрын

    ถ่วงความเจริญก็ประยุดไงครับ

  • @user-nx7ic9rn2u

    @user-nx7ic9rn2u

    Жыл бұрын

    👉👍👍👍👍👍

  • @khunpan_007

    @khunpan_007

    Жыл бұрын

    ทวยเหอะ

  • @kasemsantsrimuang1145

    @kasemsantsrimuang1145

    Жыл бұрын

    ไม่รู้สิ แต่แถวบ้านผม ถนน หนทาง ทางรถไฟความเร็วสูง มอเตร์เวย์ เกิดในสมัยที่มีนายกชื่อพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา แต่ก็ไม่รู้ว่าพื้นที่อื่นเป็นอย่างไร ผมเล่าเท่าที่ผมมองเห็น

  • @user-ok7zj1bk3y

    @user-ok7zj1bk3y

    Жыл бұрын

    @@kasemsantsrimuang1145 จริงเหรอมั่วป่าว แต่ถนนชนบทหลายที่ก็ยังเป็นหลุมเป็นบ่ออะนะ ขับรถไปนี่ไม่รู้ว่าจะพลาดสะดุดหลุมตกข้างทางตอนไหนก็ไม่รู้ ขับรถเร็วก็ไม่ได้

  • @kasemsantsrimuang1145

    @kasemsantsrimuang1145

    Жыл бұрын

    @@user-ok7zj1bk3y อยากรู้ก็มาดู บ้านผมอยู่เขตรอยต่อระหว่าง อ.มวกเหล็ก กับ อ.ปากช่อง แต่ส่วนที่ว่าในชนบท ถนนยังเป็นหลุม เป็นบ่อนั้น สมัยไหนที่ไม่เป็นแบบนั้น และทุกประเทศทั่วโลกก็น่าจะเป็นเหมือนกันหมด พื้นที่บางแห่งพัฒนาดีกว่าพื้นที่อีกแห่ง ไม่เห็นแปลก มันจะแปลกมาถ้าทุกพื้นที่ในประเทศไทย พัฒนาเท่ากับกรุงเทพฯ ถ้าเป็นแบบนั้นประเทศไทยก็เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอันดับ1ของโลกไปแล้วสิ

  • @user-ur1ys2ym9o
    @user-ur1ys2ym9o3 ай бұрын

    ท้ายแอมป์ไออีซีแบบหนีบไม่มช่แบบขันนอต3ขาถอดออกมาซ่อมเปลี่บนได้ยังไงครับจารย์

Келесі